รองประธาน กมธ.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่รับเรื่องร้องเรียน จากชาวบ้าน อ.นาบอน ที่ค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เผยการทำ EIA ขัดกับหลักความเป็นจริง เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้นำกับชาวบ้านในพื้นที่ เตรียมเสนอที่ประชุม กมธ. 27 พ.ย.นี้
วานนี้ (24พ.ย.) นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การลงพื้นที่เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเมื่อวันที่ 23พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตนได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งสง อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช ได้รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนประชาชน จำนวน 1,000 คน นำโดยนายสนั่น รัตนพันธ์ เพื่อขอคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท เออีซี โซล่าร์ จำกัด และ บริษัท ไบโอ พาวเวอร์ แพลนท์ จำกัด เนื่องจากเห็นว่าบริเวณโครงการก่อสร้างฯ มีหน่วยงานราชการ โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยจะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบนิเวศในพื้นที่ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่มีข้อสงสัยถึงกระบวนการการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ซึ่งขัดกับหลักความเป็นจริง เพราะขาดการมีส่วนรวม และไม่มีความโปร่งใสและยังมีความขัดแย้งระหว่างผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น ตนในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ จึงได้รับเรื่องดังกล่าวและจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาในที่ประชุมกรรมาธิการฯ ในวันที่ 27 พ.ย.นี้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามขั้นตอนต่อไป
"หน้าที่ของคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมฯ นอกจากจะมีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้ว ยังตรวจสอบเรื่องผลกระทบอันเกิดจากอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการ สามารถอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น หากประชาชนหรือกลุ่มชาวบ้านที่ไหนมีความเดือดร้อนที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรม ก็สามารถร้องเรียนมายังกรรมาธิการฯ ได้โดยตรง" นายชัยชนะ กล่าว
วานนี้ (24พ.ย.) นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การลงพื้นที่เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเมื่อวันที่ 23พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตนได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งสง อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช ได้รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนประชาชน จำนวน 1,000 คน นำโดยนายสนั่น รัตนพันธ์ เพื่อขอคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท เออีซี โซล่าร์ จำกัด และ บริษัท ไบโอ พาวเวอร์ แพลนท์ จำกัด เนื่องจากเห็นว่าบริเวณโครงการก่อสร้างฯ มีหน่วยงานราชการ โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยจะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบนิเวศในพื้นที่ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่มีข้อสงสัยถึงกระบวนการการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ซึ่งขัดกับหลักความเป็นจริง เพราะขาดการมีส่วนรวม และไม่มีความโปร่งใสและยังมีความขัดแย้งระหว่างผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น ตนในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ จึงได้รับเรื่องดังกล่าวและจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาในที่ประชุมกรรมาธิการฯ ในวันที่ 27 พ.ย.นี้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามขั้นตอนต่อไป
"หน้าที่ของคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมฯ นอกจากจะมีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้ว ยังตรวจสอบเรื่องผลกระทบอันเกิดจากอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการ สามารถอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น หากประชาชนหรือกลุ่มชาวบ้านที่ไหนมีความเดือดร้อนที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรม ก็สามารถร้องเรียนมายังกรรมาธิการฯ ได้โดยตรง" นายชัยชนะ กล่าว