ผู้จัดการรายวัน360 - ป.ป.ช.ฟันสินบนโรงไฟฟ้าขนอม โดนถ้วนหน้า ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคเมืองคอน กับพวก 4 ราย เรียกรับเงินสินบนบริษัทข้ามชาติ 20 ล้าน นำเรือจอดเทียบท่าเพื่อลำเลียงเครื่องมือที่โรงไฟฟ้าขนอม โดยไม่ขออนุญาตก่อสร้างท่าเทียบเรือให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมเจ้าท่า พ่วง "2 บิ๊กบริษัทรับเหมารายใหญ่" ฐานให้การสนับสนุน
วานนี้ (13 พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช. แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. ว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนร่วมกันเรียกรับเงินสินบน จำนวน 20 ล้านบาท จากบริษัท มิตซูบิชิ ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (MHPS) เพื่อแลกกับการอนุญาตให้ใช้ท่าเทียบเรือชั่วคราว บริเวณโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อลำเลียงขนถ่ายชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยมิชอบ
โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อปี 2556 บริษัทร่วมค้าระหว่าง MHPS กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.ซิโน-ไทยฯ) ได้รับว่าจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (KEGCO)ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม EGCO Group เอกชนผู้ทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งนี้ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ นายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ได้ให้ความช่วยเหลือในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการเรียกรับสินบนจากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โดยมีการจัดทำสัญญาที่ไม่มีการจ้างงานจริง เพื่อให้ บมจ.ซิโน-ไทยฯ จัดเตรียมสินบนเป็นเงินสด 20 ล้านบาท
ต่อมามีการมอบเงินสินบนให้กับผู้แทนบริษัทญี่ปุ่น ที่สำนักงานใหญ่ของ บมจ.ซิโน-ไทยฯ เพื่อให้ขนเงินไปยังพื้นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้ง 4 ราย ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในช่วงเวลาเดียวกันเรือลำเลียงก็สามารถเทียบท่า และขนถ่ายชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ท่าเทียบเรือชั่วคราวโรงไฟฟ้าขนอมได้ แม้ว่าจะไม่มีการแก้ไขเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างท่าเทียบเรือให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมเจ้าท่าแต่อย่างใด
โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด เจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 ราย ได้แก่ นาวาโท สาธิต ชินวรณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขานครศรีธรรมราช นายคณิน เมืองด้วง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีตำบลท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช นายอภิชาติ สวัสดิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 ต.ท้องเนียน และ พ.ต.ท.สันติพงษ์ พันธ์สวัสดิ์ สารวัตรสถานีตำรวจน้ำ 4 กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจน้ำ มีความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด และฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 157 ประกอบ มาตรา 86
รวมถึงเอกชนผู้สนับสนุน ได้แก่ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และผู้บริหารระดับสูงใน บมจ.ซิโน-ไทยฯ ได้แก่ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และนายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ มีความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 157 ประกอบมาตรา 86
อย่างไรก็ตาม การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
วานนี้ (13 พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช. แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. ว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนร่วมกันเรียกรับเงินสินบน จำนวน 20 ล้านบาท จากบริษัท มิตซูบิชิ ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (MHPS) เพื่อแลกกับการอนุญาตให้ใช้ท่าเทียบเรือชั่วคราว บริเวณโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อลำเลียงขนถ่ายชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยมิชอบ
โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อปี 2556 บริษัทร่วมค้าระหว่าง MHPS กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.ซิโน-ไทยฯ) ได้รับว่าจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (KEGCO)ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม EGCO Group เอกชนผู้ทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งนี้ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ นายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ได้ให้ความช่วยเหลือในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการเรียกรับสินบนจากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โดยมีการจัดทำสัญญาที่ไม่มีการจ้างงานจริง เพื่อให้ บมจ.ซิโน-ไทยฯ จัดเตรียมสินบนเป็นเงินสด 20 ล้านบาท
ต่อมามีการมอบเงินสินบนให้กับผู้แทนบริษัทญี่ปุ่น ที่สำนักงานใหญ่ของ บมจ.ซิโน-ไทยฯ เพื่อให้ขนเงินไปยังพื้นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้ง 4 ราย ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในช่วงเวลาเดียวกันเรือลำเลียงก็สามารถเทียบท่า และขนถ่ายชิ้นส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ท่าเทียบเรือชั่วคราวโรงไฟฟ้าขนอมได้ แม้ว่าจะไม่มีการแก้ไขเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างท่าเทียบเรือให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมเจ้าท่าแต่อย่างใด
โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด เจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 ราย ได้แก่ นาวาโท สาธิต ชินวรณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขานครศรีธรรมราช นายคณิน เมืองด้วง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีตำบลท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช นายอภิชาติ สวัสดิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 ต.ท้องเนียน และ พ.ต.ท.สันติพงษ์ พันธ์สวัสดิ์ สารวัตรสถานีตำรวจน้ำ 4 กองกำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจน้ำ มีความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด และฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 157 ประกอบ มาตรา 86
รวมถึงเอกชนผู้สนับสนุน ได้แก่ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และผู้บริหารระดับสูงใน บมจ.ซิโน-ไทยฯ ได้แก่ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และนายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ มีความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 157 ประกอบมาตรา 86
อย่างไรก็ตาม การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด