"3โอเปอร์เรเตอร์" เฮ กสทช.ลดฮวบค่าปรับย้ายค่ายเบอร์เดิม (MNP)หมื่นล้านบาท อ้างใช้พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯ หลังโอนย้ายลูกค้าโดยพลการ แต่แจ้งสำเนาทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ด้าน "กสทช.พีระพงษ์" ขอสงวนความเห็น-ชงบอร์ดทบทวน เผยเคาะค่าปรับ 3 ค่าย AIS จาก 7.96 พันล้าน เหลือ 3.96 พันล้านบาท - DTAC จาก 1.8 พันล้าน เหลือ 907 ล้าน - TRUEจาก 2.84 พันล้าน เหลือ 201 ล้าน "คนในวงการโทรคมนาคม" กางกม.สวน ใช้ได้แค่เรื่อง"แพ่ง-พาณิชย์" ไม่เกี่ยว"คุ้มครองผู้บริโภค" เตือน กสทช.ระวังโดนถล่ม ล้มมวยเอื้อเอกชน จี้เดินหน้าปรับตามที่เลขาฯเคยออกคำสั่งปกครอง เมื่อปี 58 เผยค่าปรับรายวัน 3 ค่าย ทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาท แฉหลังได้คลื่น 3G แอบย้ายฐานลูกค้า ส่อละเมิดสัญญา BTO(Build-Transfer-Operate)หรือติดตั้ง-โอน-ให้บริการ ทำ CAT–TOTรายได้หด
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า เร็วๆ นี้ คณะกรรมการ กสทช. จะมีการประชุมเพื่อพิจารณารับรองมติเกี่ยวกับการปรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โอเปอร์เรเตอร์ กรณีการไม่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile Number Portability–MNP)และเงื่อนไขของผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่(MNP Porting Process Manual)ที่กำหนดว่า การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการในการขอโอนย้าย ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ยื่นคำขอย้ายการใช้บริการด้วยตัวเอง และผู้ให้บริการรายใหม่ มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะทำการโอนย้าย ทราบถึงเงื่อนไขการโอนย้าย อย่างเปิดเผยชัดเจน แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า ผู้ให้บริการได้ทำการย้ายลูกค้าผู้ใช้บริการไปยังบริษัทในเครือข่าย โดยไม่ได้ขอรับความยินยอมจากลูกค้าผู้ใช้บริการ ทำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการไม่ได้รู้ตัวว่าถูกย้ายผู้ให้บริการ หรือถูกเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการไปแล้ว ซึ่งเหตุเกิดนับตั้งแต่ปี 55 ภายหลังการประมูลคลื่น 2100 MHz หรือคลื่น 3G เป็นต้นมา
โดยมีรายงานว่า การประชุมกสทช. เมื่อวันที่ 24 ก.ย.62 ที่มี พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร รักษาการประธาน กสทช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้มีมติรับทราบรายงานของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม (อนุฯกทค.) ที่เสนอให้นำ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 มาใช้ในการปฏิบัติตามคําสั่งกรณีการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ดี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการฯ ได้ขอสงวนความเห็นในกรณีดังกล่าวไว้
ขณะที่นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสทช. ได้เห็นชอบการคำนวนค่าปรับผู้รับใบอนุญาตโทรคมนาคม หรือค่ายมือถือ ที่ไม่ได้ดำเนินการโอนย้ายเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กสทช.แล้ว โดยทางสำนักงาน กสทช. จะทำหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบการทุกรายทราบเร็วๆ นี้ ส่วนค่ายมือถือจะยอมจ่ายหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับค่ายมือถือ หากไม่ยอมจ่าย ก็ต้องไปยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองตามลำดับขั้นตอนไป
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าในเร็วๆนี้ จะทำหนังสือแจ้งผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานว์ ไวร์เลส เน็ตเวร์ค จำกัด (AWN)ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS),บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN)ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TrueMove H)ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)เพื่อมาชำระค่าปรับการโอนย้ายเลขหมายโทรคมนาคมที่ไม่ถูกต้อง หากไม่เห็นด้วย ก็สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์มายังกสทช. หรือยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
สำหรับการคำนวณค่าปรับเรื่องการโอนย้ายเลขหมายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 56-60 ทั้งนี้ คณะอนุกก.ได้คำนวณค่าปรับไว้เป็นอัตราที่สูงมาก แต่เมื่อนำกลับมาทบทวน คำนวณระยะเวลาการโอนย้ายเลขหมายใหม่ ว่าเป็นไปตามประกาศกสทช. และประกาศของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ดด้า ที่เห็นชอบให้มีการโอนย้ายเลขหมายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยหรือไม่
"พบว่ามีเลขหมายที่มีการโอนย้ายเลขหมายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในบางส่วน ส่งผลให้การคำณวนค่าปรับการโอนย้ายเลขหมายลดลง ดังนี้ เครือ AIS จาก 7,922 ล้านบาท ลดลงเหลือ 3,960 ล้านบาท, เครือ DTAC จากเดิม 1,818 ล้านบาท ลดเหลือ 907 ล้านบาท และเครือ TRUE จาก 2,849 ล้านบาท ลดเหลือ 201 ล้านบาท" นายฐากร ระบุ
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ย.58 นายฐากรได้ลงนามในคำสั่งให้โอเปอเรเตอร์ทุกราย ปฏิบัติตามคำสั่งในกรณีการโอนย้ายเลขหมายให้ถูกต้องตามขั้นตอนทุกขั้นตอน โดยได้กำหนดค่าปรับจากการคำนวณรายได้ของโอเปอเรเตอร์ในแต่ละราย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะกำหนดค่าปรับดังต่อไปนี้ 1. AIS กำหนดอัตราค่าปรับ 3,294,744 บาท ต่อวัน 2. AWN ค่าปรับ 11,801,567 บาท ต่อวัน 3. DTAC ค่าปรับ 8,074,568 บาท ต่อวัน 4. DTN ค่าปรับ 6,156,184 บาท ต่อวัน 5.TRUE ค่าปรับ 281,510 บาท ต่อวัน และ 6. TrueMove H ค่าปรับ 169,244 บาทต่อวัน
" จึงขอให้โอเปอเรเตอร์ทั้ง 6 ราย ให้ดำเนินการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการภายใน 7 วันที่ได้รับหนังสือ หากบริษัทไม่ปฏิบัติตาม เลขาธิการกสทช. จะใช้อำนาจตาม มาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มีคำสั่งให้บริษัทชำระค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้" หนังสือดังกล่าว ระบุ
รายงานข่าวระบุด้วยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โอเปอเรเตอร์ทั้ง 6 ราย จาก 3 เครือข่าย ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว และมีเรื่องค้างพิจารณาอยู่ใน กสทช. ซึ่งได้มอบหมายให้ คณะอนุฯ กทค.ได้พิจารณาจนแล้วเสร็จ และเสนอต่อที่ประชุม กสทช. ว่าการโอนย้ายหมายเลขของผู้ใช้บริการไปยังบริษัทในเครือข่ายแล้ว ผู้ให้บริการได้ส่งสำเนาสัญญา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแจ้งต่อลูกค้าผู้ใช้บริการทุกรายแล้ว ซึ่งเป็นการนำบทบัญญัติในพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่ว่า การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ สามารถดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เอกสารหลักฐาน หรือการลงนามในสัญญา รวมทั้งมาตรา 13 ที่ว่า คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
อย่างไรก็ตามได้มีความเห็นแย้ง คณะอนุฯ กทค.ว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถนำพ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาปรับใช้เพื่อยุติเรื่อง หรือลดจำนวนวันที่จะต้องเสียค่าปรับทางปกครองลงได้ เนื่องจากตาม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในกรณีกฎหมาย หรือกฎใดที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้ พล.ท.พีระพงษ์ สงวนความเห็น และขอให้ที่ประชุม กสทช.ทบทวนมติ
"ค่าปรับเกี่ยวกับการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นค่าปรับทางปกครอง ที่เกิดจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ยอมปฏิบัติตามที่เลขาธิการ กสทช. ออกคำสั่งทางปกครองให้ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทุกรายที่ถูกละเมิดสิทธิจากผู้ให้บริการ เลขาธิการ กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง โดยผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตาม จะเลี่ยงไปใช้วิธีการอื่นแทนไม่ได้" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อีก 2 คดี ที่กลุ่ม AISและกลุ่ม DTACยื่นฟ้อง กสทช. ว่าเลขาธิการ กสทช.ไม่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองที่ยืนยันให้ส่งสำเนาสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น แต่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องทั้ง 2 คดี โดยตัดสินว่า เลขาธิการ กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งได้
"ดังนั้นการนำ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ มาปรับใช้กับกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องทั้งข้อกฎหมาย และไม่เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อีกทั้งยังเอื้อให้เอกชนสร้างหลักฐานย้อนหลังด้วย ซึ่ง กสทช. ควรมีมติว่าเป็นการกระทำที่ขัดกฎหมาย และดำเนินการเรียกค่าปรับจากโอเปอเรเตอร์ 3 เครือข่าย ที่ปัจจุบันมูลค่ามากกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทตามที่กฎหมายกำหนดด้วย" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ ความผิดปกติเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ MNP เกิดนับตั้งแต่ปี 55 ภายหลังการประมูลคลื่น 2100MHz หรือคลื่น 3G เป็นต้นมา เนื่องจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)เจ้าของสัมปทานคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิมในขณะนั้น ตรวจสอบพบว่า โอเปอเรเตอร์ คู่สัญญาโอนย้ายลูกค้าออกอย่างผิดปกติ ส่งผลให้รายได้จากสัมปทานลดลง จึงมีหนังสือร้องเรียนไปยัง กสทช. เพราะเป็นการกระทำผิดสัญญาที่ทำกันในลักษณะ BTO หรือ Build-Transfer-Operate คือ ให้เอกชนสร้างโครงข่ายก่อนจะโอนให้กับรัฐวิสาหกิจถือเป็นเจ้าของ แล้วจึงว่าจ้างเอกชนบริการภายใต้โครงข่ายนั้นจนหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งในส่วนของรายชื่อลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่ต้องโอนให้กับ CAT และ TOT ด้วย จากนั้น กสทช. มีมติให้โอเปอเรเตอร์หยุดการย้าย
ฐานลูกค้า และให้ผู้ให้บริการทั้ง 3 เครือข่าย ส่งหลักฐานหนังสือขอย้ายบริการจากผู้ใช้บริการต่อ กสทช. ปรากฏว่า 3 โอเปอเรเตอร์ ส่งมอบได้แค่หลักพันราย จากจำนวนทั้งหมดหลายสิบล้านเลขหมาย
"ถึงปัจจุบัน กสทช. คิดค่าปรับรายวัน กับโอเปอเรเตอร์อยู่ทั้ง 3 ค่าย รวมกันมากกว่า 1.2 หมื่นล้าน โดยทางโอเปอเรเตอร์ ขอให้กสทช.ช่วยนำ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ มาใช้ เพื่อให้การโอนย้ายลูกค้าโดยพลการ และแจ้งด้วยสำเนาเอกสารทางทางอิเล็กทรอนิกส์ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องนำส่งเป็นหนังสือเอกสารจากลูกค้า และจะทำให้ค่าปรับลดลงจากหลักหมื่นล้านบาท เหลือเพียงไม่กี่ร้อยล้านบาทด้วย" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าว กล่าวด้วยว่า การโอนย้ายลูกค้าผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ที่เป็นบริษัทในเครือที่ผ่านมาเป็นการกระทำโดยพลการ ส่งผลเจ้าของสัมปทานคือ CAT และ TOT ได้รับความเสียหาย เพราะสูญเสียรายได้ จนต้องร้องเรียน กสทช. ที่มีคำสั่งเพียงให้ผู้ให้บริการเดิมทั้ง 3 เครือข่าย หยุดการโอนย้ายโดยที่ลูกค้าไม่ได้ให้ความยินยอมเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการลงโทษทางบริษัท และผู้บริหารบริษัทแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบอีกว่า แม้จะอ้างว่าปรับใช้ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ฯ ในการจัดส่งสำเนาสัญญาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ในความเป็นจริง ผู้ให้บริการทุกราย ใช้วิธีการส่งข้อความสั้น หรือ SMS ที่เป็น link หน้า website ของเครือข่ายให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการเท่านั้น โดยไม่ได้ส่งข้อความที่เป็นเนื้อหาของสัญญา การส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะนี้ก็ไม่สามารถนำมาใช้อ้างในกรณีนี้ได้เช่นกัน
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า เร็วๆ นี้ คณะกรรมการ กสทช. จะมีการประชุมเพื่อพิจารณารับรองมติเกี่ยวกับการปรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โอเปอร์เรเตอร์ กรณีการไม่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile Number Portability–MNP)และเงื่อนไขของผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่(MNP Porting Process Manual)ที่กำหนดว่า การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการในการขอโอนย้าย ผู้ใช้บริการต้องเป็นผู้ยื่นคำขอย้ายการใช้บริการด้วยตัวเอง และผู้ให้บริการรายใหม่ มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะทำการโอนย้าย ทราบถึงเงื่อนไขการโอนย้าย อย่างเปิดเผยชัดเจน แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า ผู้ให้บริการได้ทำการย้ายลูกค้าผู้ใช้บริการไปยังบริษัทในเครือข่าย โดยไม่ได้ขอรับความยินยอมจากลูกค้าผู้ใช้บริการ ทำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการไม่ได้รู้ตัวว่าถูกย้ายผู้ให้บริการ หรือถูกเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการไปแล้ว ซึ่งเหตุเกิดนับตั้งแต่ปี 55 ภายหลังการประมูลคลื่น 2100 MHz หรือคลื่น 3G เป็นต้นมา
โดยมีรายงานว่า การประชุมกสทช. เมื่อวันที่ 24 ก.ย.62 ที่มี พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร รักษาการประธาน กสทช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้มีมติรับทราบรายงานของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม (อนุฯกทค.) ที่เสนอให้นำ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 มาใช้ในการปฏิบัติตามคําสั่งกรณีการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ดี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการฯ ได้ขอสงวนความเห็นในกรณีดังกล่าวไว้
ขณะที่นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสทช. ได้เห็นชอบการคำนวนค่าปรับผู้รับใบอนุญาตโทรคมนาคม หรือค่ายมือถือ ที่ไม่ได้ดำเนินการโอนย้ายเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กสทช.แล้ว โดยทางสำนักงาน กสทช. จะทำหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบการทุกรายทราบเร็วๆ นี้ ส่วนค่ายมือถือจะยอมจ่ายหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับค่ายมือถือ หากไม่ยอมจ่าย ก็ต้องไปยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองตามลำดับขั้นตอนไป
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าในเร็วๆนี้ จะทำหนังสือแจ้งผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานว์ ไวร์เลส เน็ตเวร์ค จำกัด (AWN)ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS),บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN)ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TrueMove H)ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)เพื่อมาชำระค่าปรับการโอนย้ายเลขหมายโทรคมนาคมที่ไม่ถูกต้อง หากไม่เห็นด้วย ก็สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์มายังกสทช. หรือยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
สำหรับการคำนวณค่าปรับเรื่องการโอนย้ายเลขหมายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 56-60 ทั้งนี้ คณะอนุกก.ได้คำนวณค่าปรับไว้เป็นอัตราที่สูงมาก แต่เมื่อนำกลับมาทบทวน คำนวณระยะเวลาการโอนย้ายเลขหมายใหม่ ว่าเป็นไปตามประกาศกสทช. และประกาศของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ดด้า ที่เห็นชอบให้มีการโอนย้ายเลขหมายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยหรือไม่
"พบว่ามีเลขหมายที่มีการโอนย้ายเลขหมายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในบางส่วน ส่งผลให้การคำณวนค่าปรับการโอนย้ายเลขหมายลดลง ดังนี้ เครือ AIS จาก 7,922 ล้านบาท ลดลงเหลือ 3,960 ล้านบาท, เครือ DTAC จากเดิม 1,818 ล้านบาท ลดเหลือ 907 ล้านบาท และเครือ TRUE จาก 2,849 ล้านบาท ลดเหลือ 201 ล้านบาท" นายฐากร ระบุ
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ย.58 นายฐากรได้ลงนามในคำสั่งให้โอเปอเรเตอร์ทุกราย ปฏิบัติตามคำสั่งในกรณีการโอนย้ายเลขหมายให้ถูกต้องตามขั้นตอนทุกขั้นตอน โดยได้กำหนดค่าปรับจากการคำนวณรายได้ของโอเปอเรเตอร์ในแต่ละราย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะกำหนดค่าปรับดังต่อไปนี้ 1. AIS กำหนดอัตราค่าปรับ 3,294,744 บาท ต่อวัน 2. AWN ค่าปรับ 11,801,567 บาท ต่อวัน 3. DTAC ค่าปรับ 8,074,568 บาท ต่อวัน 4. DTN ค่าปรับ 6,156,184 บาท ต่อวัน 5.TRUE ค่าปรับ 281,510 บาท ต่อวัน และ 6. TrueMove H ค่าปรับ 169,244 บาทต่อวัน
" จึงขอให้โอเปอเรเตอร์ทั้ง 6 ราย ให้ดำเนินการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการภายใน 7 วันที่ได้รับหนังสือ หากบริษัทไม่ปฏิบัติตาม เลขาธิการกสทช. จะใช้อำนาจตาม มาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มีคำสั่งให้บริษัทชำระค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้" หนังสือดังกล่าว ระบุ
รายงานข่าวระบุด้วยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โอเปอเรเตอร์ทั้ง 6 ราย จาก 3 เครือข่าย ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว และมีเรื่องค้างพิจารณาอยู่ใน กสทช. ซึ่งได้มอบหมายให้ คณะอนุฯ กทค.ได้พิจารณาจนแล้วเสร็จ และเสนอต่อที่ประชุม กสทช. ว่าการโอนย้ายหมายเลขของผู้ใช้บริการไปยังบริษัทในเครือข่ายแล้ว ผู้ให้บริการได้ส่งสำเนาสัญญา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแจ้งต่อลูกค้าผู้ใช้บริการทุกรายแล้ว ซึ่งเป็นการนำบทบัญญัติในพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่ว่า การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ สามารถดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เอกสารหลักฐาน หรือการลงนามในสัญญา รวมทั้งมาตรา 13 ที่ว่า คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
อย่างไรก็ตามได้มีความเห็นแย้ง คณะอนุฯ กทค.ว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถนำพ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาปรับใช้เพื่อยุติเรื่อง หรือลดจำนวนวันที่จะต้องเสียค่าปรับทางปกครองลงได้ เนื่องจากตาม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในกรณีกฎหมาย หรือกฎใดที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้ พล.ท.พีระพงษ์ สงวนความเห็น และขอให้ที่ประชุม กสทช.ทบทวนมติ
"ค่าปรับเกี่ยวกับการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นค่าปรับทางปกครอง ที่เกิดจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ยอมปฏิบัติตามที่เลขาธิการ กสทช. ออกคำสั่งทางปกครองให้ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทุกรายที่ถูกละเมิดสิทธิจากผู้ให้บริการ เลขาธิการ กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง โดยผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตาม จะเลี่ยงไปใช้วิธีการอื่นแทนไม่ได้" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อีก 2 คดี ที่กลุ่ม AISและกลุ่ม DTACยื่นฟ้อง กสทช. ว่าเลขาธิการ กสทช.ไม่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองที่ยืนยันให้ส่งสำเนาสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น แต่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องทั้ง 2 คดี โดยตัดสินว่า เลขาธิการ กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งได้
"ดังนั้นการนำ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ มาปรับใช้กับกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องทั้งข้อกฎหมาย และไม่เป็นไปตามแนวทางคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง อีกทั้งยังเอื้อให้เอกชนสร้างหลักฐานย้อนหลังด้วย ซึ่ง กสทช. ควรมีมติว่าเป็นการกระทำที่ขัดกฎหมาย และดำเนินการเรียกค่าปรับจากโอเปอเรเตอร์ 3 เครือข่าย ที่ปัจจุบันมูลค่ามากกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทตามที่กฎหมายกำหนดด้วย" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ ความผิดปกติเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ MNP เกิดนับตั้งแต่ปี 55 ภายหลังการประมูลคลื่น 2100MHz หรือคลื่น 3G เป็นต้นมา เนื่องจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)เจ้าของสัมปทานคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิมในขณะนั้น ตรวจสอบพบว่า โอเปอเรเตอร์ คู่สัญญาโอนย้ายลูกค้าออกอย่างผิดปกติ ส่งผลให้รายได้จากสัมปทานลดลง จึงมีหนังสือร้องเรียนไปยัง กสทช. เพราะเป็นการกระทำผิดสัญญาที่ทำกันในลักษณะ BTO หรือ Build-Transfer-Operate คือ ให้เอกชนสร้างโครงข่ายก่อนจะโอนให้กับรัฐวิสาหกิจถือเป็นเจ้าของ แล้วจึงว่าจ้างเอกชนบริการภายใต้โครงข่ายนั้นจนหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งในส่วนของรายชื่อลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่ต้องโอนให้กับ CAT และ TOT ด้วย จากนั้น กสทช. มีมติให้โอเปอเรเตอร์หยุดการย้าย
ฐานลูกค้า และให้ผู้ให้บริการทั้ง 3 เครือข่าย ส่งหลักฐานหนังสือขอย้ายบริการจากผู้ใช้บริการต่อ กสทช. ปรากฏว่า 3 โอเปอเรเตอร์ ส่งมอบได้แค่หลักพันราย จากจำนวนทั้งหมดหลายสิบล้านเลขหมาย
"ถึงปัจจุบัน กสทช. คิดค่าปรับรายวัน กับโอเปอเรเตอร์อยู่ทั้ง 3 ค่าย รวมกันมากกว่า 1.2 หมื่นล้าน โดยทางโอเปอเรเตอร์ ขอให้กสทช.ช่วยนำ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ มาใช้ เพื่อให้การโอนย้ายลูกค้าโดยพลการ และแจ้งด้วยสำเนาเอกสารทางทางอิเล็กทรอนิกส์ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องนำส่งเป็นหนังสือเอกสารจากลูกค้า และจะทำให้ค่าปรับลดลงจากหลักหมื่นล้านบาท เหลือเพียงไม่กี่ร้อยล้านบาทด้วย" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าว กล่าวด้วยว่า การโอนย้ายลูกค้าผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ที่เป็นบริษัทในเครือที่ผ่านมาเป็นการกระทำโดยพลการ ส่งผลเจ้าของสัมปทานคือ CAT และ TOT ได้รับความเสียหาย เพราะสูญเสียรายได้ จนต้องร้องเรียน กสทช. ที่มีคำสั่งเพียงให้ผู้ให้บริการเดิมทั้ง 3 เครือข่าย หยุดการโอนย้ายโดยที่ลูกค้าไม่ได้ให้ความยินยอมเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการลงโทษทางบริษัท และผู้บริหารบริษัทแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบอีกว่า แม้จะอ้างว่าปรับใช้ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ฯ ในการจัดส่งสำเนาสัญญาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ในความเป็นจริง ผู้ให้บริการทุกราย ใช้วิธีการส่งข้อความสั้น หรือ SMS ที่เป็น link หน้า website ของเครือข่ายให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการเท่านั้น โดยไม่ได้ส่งข้อความที่เป็นเนื้อหาของสัญญา การส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะนี้ก็ไม่สามารถนำมาใช้อ้างในกรณีนี้ได้เช่นกัน