นาทีนี้หากพิจารณาจากบรรยากาศที่เห็นอยู่ในเวลานี้กลับกลายเป็นว่า บรรดาแกนนำหลักของพรรคอนาคตใหม่ ทั้ง "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรค "ปิยบุตร แสงกนกกุล" เลขาธิการพรรค หรือแม้กระทั่งคนอย่าง "พรรณิการ์ วานิช" โฆษกพรรค ที่เริ่มถูกขุดคุ้ย ถูกตอบโต้กลับมาจากสังคมรอบทิศทาง
แน่นอนว่าอาจยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าใครจะเหนือกว่า หรือฝ่ายไหนจะมีจำนวนมากกว่ากัน แต่ก็ถือว่าน่าจะเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจว่า ทุกอย่างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีการรับรู้ว่าพวกเขาได้ออกแรงกระหน่ำสังคม สร้างกระแสโจมตีรัฐบาล โจมตี “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามเน้นย้ำในเรื่องความเป็น “เผด็จการ”อำนาจนิยม ที่ต่อเนื่องมาจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
แม้ว่าในความเป็นจริงการสร้างกระแสโจมตี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่องความเป็นเผด็จการ หรือการต่อต้านกองทัพ อาจจะได้แนวร่วมจากสังคมบางกลุ่มที่มีอยู่เดิมอยู่แล้ว รวมไปถึงแนวร่วมใหม่ๆ อย่างพวก วัยรุ่น เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่มีอายุราวๆ ยี่สิบปีขึ้นมา โดยคนพวกนี้มองสังคมไทยในแบบของเขา ในมุมของเสรีภาพที่มีรายละเอียดแตกต่างออกไปจากกลุ่มเดิมๆ ที่เคยผ่านช่วงสมัยในเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญๆ ที่ผ่านมา เพราะเพียงแค่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี 2535 พวกเขาก็แทบจะไม่ได้รับรู้แล้ว
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งการมองภาพการเมืองไทยอาจไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่ว่าใครที่มีบุคลิก ใช้วาทกรรม มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมแบบเก่าที่พวกเขามองว่า เชย ล้าหลัง หรือแม้แต่มุมมองต่อพวก “มนุษย์ป้า”ที่น่ารำคาญ ที่เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นอะไรประมาณนี้
แต่ขณะเดียวกันทุกอย่างมันย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัย คนรุ่นเก่าในเวลานี้ ก็ย่อมเป็นคนรุนใหม่ในอดีต หลายคนก็ย่อมเป็นคนหัวก้าวหน้า หรือเคยเป็นฝ่ายซ้าย ต่อต้านสังคมในยุคนั้นไม่ต่างกัน บางคนไฟแรงถึงขนาดหลบหนีเข้าป่าไปร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐ ที่กดขี่ในยุคนั้น แต่ทุกอย่างก็หมุนเวียนเปลี่ยนไป มีการพัฒนาการด้วยตัวของมันเอง หลายคนที่เป็นฝ่ายซ้ายในยุคนั้น เวลานี้ก็กลายเป็นนายทุนใหญ่ หรือเข้าร่วมรับใช้กลุ่มทุน รับใช้พรรคการเมือง เป็นต้น
หากพิจารณาถึงความเป็น “คนรุ่นใหม่”รวมไปถึงกระแสฮือฮากับพรรคการเมืองที่เป็นกระแสใหม่ ก็มีมาทุกยุคสมัย เหมือนกับก่อนหน้านี้ก็เคยมีพรรค“พลังใหม่”หรือ พรรคในแนวสังคมนิยม ก็มีให้เห็น เพียงแต่ว่าในยุคนั้นยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ เหมือนกับในยุคนี้ ซึ่งในกรณีของโซเชียลฯ ก็มีกรณีแยกย่อยออกมาก็ตาม แต่หากพิจารณาในภาพรวมๆแล้วก็ถือว่า นี่คือปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามยุคสมัยเท่านั้น
เมื่อวกมาที่เหตุการณ์ในยุคปัจจุบันที่นิยามความเป็น “คนรุ่นใหม่”มาจับอยู่ที่ พรรคอนาคตใหม่ ที่มี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปิยบุตร แสงกนกกุล รวมไปถึง พรรณิการ์ วานิช ที่เปิดฉากขึ้นมาด้วยความเร้าใจ ประกาศรื้อโครงสร้างสังคมที่พวกเขามองว่ามีความล้าหลัง เน้นสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียม และที่สำคัญมุ่งเป้าไปที่กองทัพ มีการแตะต้องสถาบันเบื้องสูง ที่สร้างอารมณ์ร่วมได้ใจคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่สนใจการเมืองในมุมแบบที่พวกเขามองเห็น
แต่ขณะเดียวกันในมุมมองหรือทัศนคติในเรื่องแบบนี้ย่อมต้องมีกระแสตอบโต้กลับมาจากคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ที่ในเวลานี้หากมองในอีกมุมหนึ่งถือว่าสถานการณ์และบรรยากาศมันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย รวมไปถึง “เงื่อนไข” ที่เปลี่ยนไปด้วย เพราะกระแสต่อสู้มันไม่ใช่เรื่องการ กดขี่ข่มเหง จากอำนาจรัฐ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา และแม้ว่าในเรื่องดังกล่าวยังคงมีอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยน คนในสังคมที่มีพลังในการต่อรองตรวจสอบที่มีพลังมากขึ้นจากการที่มีโซเชียลฯ อยู่ในมือที่นำมาสู่การถ่วงดุลด้วยตัวของมันเอง
แม้ว่าในสังคมโซเชียลฯ จะเต็มไปด้วยเฟคนิวส์ มีการโฆษณาชวนเชื่อ ที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งทำแบบนั้น มันก็ย่อมต้องมีอีกฝ่ายออกมาคัดง้างถ่วงดุลได้เหมือนกัน
หากบอกว่าที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อโซเชียลฯ ปลุกกระแสสังคม หรือแม้แต่ใช้โลกล้อมประเทศ แต่ก็มีหลายครั้งที่หลักฐานและคำพูดโดนอีกฝ่ายงัดมาใช้เพื่อย้อนรอย เปิดโปงจนรัดคอตัวเอง เหมือนกับหลายเรื่อง หลายกรณีที่กำลังย้อนกลับมาถล่มบรรดา ธนาธร ปิยบุตร และ พรรณิการ์ ทำให้เห็นตัวตนได้ชัดเจนขึ้น
สังเกตหรือไม่ว่าในช่วงเวลานี้ พวกเขาเป็นฝ่ายที่ถูกกระหน่ำเข้ามาจากทุกทิศทาง ไม่เว้นแม้แต่ต่างประเทศ เช่นกรณีล่าสุดที่กำลังเป็นสาเหตุที่ทำให้ทางการจีนไม่พอใจจากการไปข้องแวะกับ โจชัว หว่อง แกนนำผู้ประท้วงในฮ่องกงในเวลานี้ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบในทางการเมืองระหว่างประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะจากท่าทีของทางการจีนผ่านทางสถานทูตในประเทศไทยดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
หรือแม้แต่กรณีของ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่เปิดศึกวิวาทะ ตอบโต้กันอย่างเผ็ดร้อน กับผู้นำกองทัพบก อย่าง "พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์" และแม้ว่าจะมีเสียงกองหนุนจากแต่ละฝ่ายไม่แพ้กัน
**หากพิจารณากันในภาพรวมๆในเวลานี้กลับเห็นบรรยากาศการตอบโต้ในแบบที่ “รวมพลัง”พุ่งเป้าไปที่ ธนาธร-ปิยบุตร อย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่พวกเขาสร้างกระแสในแบบฝ่ายซ้าย เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมใหม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังถูกรุกไล่จากสังคมจากกรณี “แก้ไขมาตรา 1”ภาพที่เห็นอย่างน้อยก็ทำให้พวกเขารุกไปข้างหน้าได้ลำบากกว่าเดิม และสังคมได้เห็นตัวตนได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน !!
แน่นอนว่าอาจยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าใครจะเหนือกว่า หรือฝ่ายไหนจะมีจำนวนมากกว่ากัน แต่ก็ถือว่าน่าจะเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจว่า ทุกอย่างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีการรับรู้ว่าพวกเขาได้ออกแรงกระหน่ำสังคม สร้างกระแสโจมตีรัฐบาล โจมตี “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามเน้นย้ำในเรื่องความเป็น “เผด็จการ”อำนาจนิยม ที่ต่อเนื่องมาจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
แม้ว่าในความเป็นจริงการสร้างกระแสโจมตี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่องความเป็นเผด็จการ หรือการต่อต้านกองทัพ อาจจะได้แนวร่วมจากสังคมบางกลุ่มที่มีอยู่เดิมอยู่แล้ว รวมไปถึงแนวร่วมใหม่ๆ อย่างพวก วัยรุ่น เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่มีอายุราวๆ ยี่สิบปีขึ้นมา โดยคนพวกนี้มองสังคมไทยในแบบของเขา ในมุมของเสรีภาพที่มีรายละเอียดแตกต่างออกไปจากกลุ่มเดิมๆ ที่เคยผ่านช่วงสมัยในเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญๆ ที่ผ่านมา เพราะเพียงแค่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี 2535 พวกเขาก็แทบจะไม่ได้รับรู้แล้ว
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งการมองภาพการเมืองไทยอาจไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่ว่าใครที่มีบุคลิก ใช้วาทกรรม มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมแบบเก่าที่พวกเขามองว่า เชย ล้าหลัง หรือแม้แต่มุมมองต่อพวก “มนุษย์ป้า”ที่น่ารำคาญ ที่เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นอะไรประมาณนี้
แต่ขณะเดียวกันทุกอย่างมันย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัย คนรุ่นเก่าในเวลานี้ ก็ย่อมเป็นคนรุนใหม่ในอดีต หลายคนก็ย่อมเป็นคนหัวก้าวหน้า หรือเคยเป็นฝ่ายซ้าย ต่อต้านสังคมในยุคนั้นไม่ต่างกัน บางคนไฟแรงถึงขนาดหลบหนีเข้าป่าไปร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐ ที่กดขี่ในยุคนั้น แต่ทุกอย่างก็หมุนเวียนเปลี่ยนไป มีการพัฒนาการด้วยตัวของมันเอง หลายคนที่เป็นฝ่ายซ้ายในยุคนั้น เวลานี้ก็กลายเป็นนายทุนใหญ่ หรือเข้าร่วมรับใช้กลุ่มทุน รับใช้พรรคการเมือง เป็นต้น
หากพิจารณาถึงความเป็น “คนรุ่นใหม่”รวมไปถึงกระแสฮือฮากับพรรคการเมืองที่เป็นกระแสใหม่ ก็มีมาทุกยุคสมัย เหมือนกับก่อนหน้านี้ก็เคยมีพรรค“พลังใหม่”หรือ พรรคในแนวสังคมนิยม ก็มีให้เห็น เพียงแต่ว่าในยุคนั้นยังไม่มีสื่อโซเชียลฯ เหมือนกับในยุคนี้ ซึ่งในกรณีของโซเชียลฯ ก็มีกรณีแยกย่อยออกมาก็ตาม แต่หากพิจารณาในภาพรวมๆแล้วก็ถือว่า นี่คือปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามยุคสมัยเท่านั้น
เมื่อวกมาที่เหตุการณ์ในยุคปัจจุบันที่นิยามความเป็น “คนรุ่นใหม่”มาจับอยู่ที่ พรรคอนาคตใหม่ ที่มี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปิยบุตร แสงกนกกุล รวมไปถึง พรรณิการ์ วานิช ที่เปิดฉากขึ้นมาด้วยความเร้าใจ ประกาศรื้อโครงสร้างสังคมที่พวกเขามองว่ามีความล้าหลัง เน้นสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียม และที่สำคัญมุ่งเป้าไปที่กองทัพ มีการแตะต้องสถาบันเบื้องสูง ที่สร้างอารมณ์ร่วมได้ใจคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่สนใจการเมืองในมุมแบบที่พวกเขามองเห็น
แต่ขณะเดียวกันในมุมมองหรือทัศนคติในเรื่องแบบนี้ย่อมต้องมีกระแสตอบโต้กลับมาจากคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม ที่ในเวลานี้หากมองในอีกมุมหนึ่งถือว่าสถานการณ์และบรรยากาศมันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย รวมไปถึง “เงื่อนไข” ที่เปลี่ยนไปด้วย เพราะกระแสต่อสู้มันไม่ใช่เรื่องการ กดขี่ข่มเหง จากอำนาจรัฐ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา และแม้ว่าในเรื่องดังกล่าวยังคงมีอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยน คนในสังคมที่มีพลังในการต่อรองตรวจสอบที่มีพลังมากขึ้นจากการที่มีโซเชียลฯ อยู่ในมือที่นำมาสู่การถ่วงดุลด้วยตัวของมันเอง
แม้ว่าในสังคมโซเชียลฯ จะเต็มไปด้วยเฟคนิวส์ มีการโฆษณาชวนเชื่อ ที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งทำแบบนั้น มันก็ย่อมต้องมีอีกฝ่ายออกมาคัดง้างถ่วงดุลได้เหมือนกัน
หากบอกว่าที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อโซเชียลฯ ปลุกกระแสสังคม หรือแม้แต่ใช้โลกล้อมประเทศ แต่ก็มีหลายครั้งที่หลักฐานและคำพูดโดนอีกฝ่ายงัดมาใช้เพื่อย้อนรอย เปิดโปงจนรัดคอตัวเอง เหมือนกับหลายเรื่อง หลายกรณีที่กำลังย้อนกลับมาถล่มบรรดา ธนาธร ปิยบุตร และ พรรณิการ์ ทำให้เห็นตัวตนได้ชัดเจนขึ้น
สังเกตหรือไม่ว่าในช่วงเวลานี้ พวกเขาเป็นฝ่ายที่ถูกกระหน่ำเข้ามาจากทุกทิศทาง ไม่เว้นแม้แต่ต่างประเทศ เช่นกรณีล่าสุดที่กำลังเป็นสาเหตุที่ทำให้ทางการจีนไม่พอใจจากการไปข้องแวะกับ โจชัว หว่อง แกนนำผู้ประท้วงในฮ่องกงในเวลานี้ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบในทางการเมืองระหว่างประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะจากท่าทีของทางการจีนผ่านทางสถานทูตในประเทศไทยดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
หรือแม้แต่กรณีของ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่เปิดศึกวิวาทะ ตอบโต้กันอย่างเผ็ดร้อน กับผู้นำกองทัพบก อย่าง "พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์" และแม้ว่าจะมีเสียงกองหนุนจากแต่ละฝ่ายไม่แพ้กัน
**หากพิจารณากันในภาพรวมๆในเวลานี้กลับเห็นบรรยากาศการตอบโต้ในแบบที่ “รวมพลัง”พุ่งเป้าไปที่ ธนาธร-ปิยบุตร อย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่พวกเขาสร้างกระแสในแบบฝ่ายซ้าย เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมใหม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังถูกรุกไล่จากสังคมจากกรณี “แก้ไขมาตรา 1”ภาพที่เห็นอย่างน้อยก็ทำให้พวกเขารุกไปข้างหน้าได้ลำบากกว่าเดิม และสังคมได้เห็นตัวตนได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน !!