“อันผักหญ้า ปลาเคล้า คาวระบาด
ใส่กระจาด ล้างน้ำ กลิ่นจางหาย
เมื่อสตรี หลงลมเสียสาว แก่เหล่าชาย
อย่าพึงหมาย ว่ากลิ่น จะสิ้นคาว
แม้นวันนี้ มิรู้ อยู่อีกหน่อย
กลิ่นก็ค่อย กระพือ ให้อื้อฉาว
ถึงใส่น้ำ ชะล้าง ไม่สร่างคาว
ขอสาวสาว จงจำ คำเตือนเอย”
“อย่าเดินกราย ย้ายอก ยกผ้าห่ม
อย่าเสยผม กลางทาง หว่างวิถี
ใครได้เห็น แล้วดู ไม่สู้ดี
เหย้าเรือนมี กลับมา จงหารือ”
“ถ้ารักจริง ไปสู่ขอ ต่อพ่อแม่
อย่าวิ่งแร่ หลงงาม ไปตามง่าย
เขาไม่เลี้ยง ไล่กลับ ต้องอับอาย
ต้องเป็นหม้าย อยู่กับบ้าน ประจานตน”
โดยนัยแห่งเนื้อหาของกลอน 3 บทข้างต้น แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของคนไทยในอดีตที่มีต่อผู้หญิงซึ่งอยู่ในวัยสาว ว่าจะต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย สงบเสงี่ยม รักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม จะรักใคร ชอบใครให้ปรึกษาพ่อแม่ ไม่เลือกทางเดินชีวิตด้วยตนเองเพียงลำพัง
กลอนทั้ง 3 บทนี้มีที่มาต่างกัน บทแรกผู้เขียนจำมาจากถุงกระดาษใส่ขนมขายเมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว และไม่รู้ว่าใครแต่ง
แต่ 2 บทหลังเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสุภาษิตสอนหญิง ซึ่งแต่งโดยสุนทรภู่ กวีเอกของไทยซึ่งเกิดในสมัยของรัชกาลที่ ๑ มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๒ ตกอับในรัชกาลที่ ๓ ถึงกับออกบวชและอาศัยอยู่ในเรือ จะเห็นได้จากบทประพันธ์ในนิราศภูเขาทองที่ว่า อนิจจาตัวเรา ก็เท่านี้ ยังไม่มีพสุธา จะอาศัย (ในขณะที่แต่งเรื่องนี้สุนทรภู่บวชเป็นพระอาศัยอยู่ในเรือร่อนเร่ไปในสถานที่ต่างๆ และถึงแก่กรรมในสมัยของรัชกาลที่ ๔ ดังนั้น สุนทรภู่จึงเป็นผู้มีประสบการณ์ทางสังคมเป็นอย่างดีเกี่ยวกับประเพณี และวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับหญิงไทย ซึ่งเกิดมาและเติบโตในครอบครัวของขุนนางในยุคนั้นถือปฏิบัติ จึงสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นผ่านทางบทกวีไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้
การที่ผู้หญิงไทยในยุคนั้นตั้งอยู่ในกรอบแห่งประเพณี และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เช่นนี้ก็ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ข้อจำกัดทางการศึกษา
การศึกษาของไทยในยุคนั้น มีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน
ดังนั้น พ่อ แม่ที่ต้องการให้ลูกของตนมีความรู้ จึงได้นำลูกชายไปฝากไว้กับพระ เพื่อศึกษาหาความรู้ควบคู่ไปกับการปรนนิบัติรับใช้พระทำกิจการงานของวัดในส่วนที่เด็กทำได้ และบางคนเมื่อโตขึ้นก็บรรพชาเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ศึกษาพระธรรมวินัยระยะหนึ่งมากน้อยตามศรัทธาแล้วลาสิกขาออกไปทำหน้าที่เป็นพลเมืองของประเทศ บางรายก็อยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตก็มี นี่คือวิถีชีวิตของผู้ชายในยุคนั้น
ส่วนผู้หญิงไม่สามารถจะไปอยู่วัดเพื่อศึกษาเยี่ยงผู้ชายได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางวัฒนธรรม และประเพณี รวมไปถึงพระธรรมวินัยของพระที่ห้ามมิให้พระภิกษุ และสามเณรใกล้ชิดกับอิตถีเพศเกินความพอดี
ดังนั้น เด็กผู้หญิงในยุคนั้น จึงได้แค่ศึกษาการเย็บปักถักร้อย และการทำอาหารหวานคาวเท่าที่แต่ละคนมีโอกาส เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี ส่วนหน้าที่ในการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงครอบครัวเป็นของผู้ชาย ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงจึงไม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อหารายได้เฉกเช่นในทุกวันนี้
2. ค่านิยมทางสังคมในการเลือกคู่ครอง
ในการหาคู่ครองให้แก่ลูกชาย พ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายชาย จะเลือกผู้หญิงที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย สงบเสงี่ยมเจียมตัว และรอบรู้ในด้านการเรือนมาเป็นคู่ครองให้แก่บุตรหลานของตน
ดังนั้น พ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง จะต้องอบรมลูกสาวของตนให้เป็นกุลสตรี มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงกับความต้องการของพ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายชาย
แต่ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากการศึกษาเจริญก้าวหน้า และผู้หญิงมีโอกาสได้รับการศึกษาทัดเทียมกับผู้ชาย ประกอบกับผู้คนในสังคมไทยโดยรวมได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตก ซึ่งให้ความสำคัญทางด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ จึงทำให้สังคมไทยซึ่งแต่เดิมให้ความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าวัตถุได้เปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมตามแบบตะวันตก เมื่อเป็นเช่นนี้ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อแสวงหาวัตถุเพื่อสนองความต้องการก็เพิ่มขึ้น และนี่เองคือจุดเปลี่ยนของค่านิยมทางสังคมที่ทำให้ผู้หญิงต้องมีงานทำเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว แทนที่จะนั่งรอรับรายได้จากฝ่ายชายเฉกเช่นในอดีต
แต่ในการหารายได้ในยุคที่มีการแข่งขันแก่งแย่งกันทำมาหากิน ผู้หญิงจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ ความสามารถให้ตรงกับตลาดแรงงาน จึงจะมีโอกาสมีงานทำที่มีรายได้พอเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้
แต่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีโอกาสมีงานทำที่มีรายได้ดี เนื่องจากว่าการศึกษาในปัจจุบันจะต้องมีทุน มีศักยภาพในการเรียนรู้ และจะต้องเป็นคนมุ่งมั่นในการศึกษา จึงจะประสบความสำเร็จในการศึกษา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
ดังนั้น จึงมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงพอจะหางานทำที่มีรายได้พอจะเลี้ยงตนเองและครอบครัว
แต่ผู้หญิงเหล่านี้ก็มีความต้องการความสุขจากวัตถุ เฉกเช่นผู้หญิงทั่วไปหรือในบางรายอาจมากกว่าด้วยซ้ำไป และนี่เองที่ทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งต้องจำใจทำงาน โดยใช้ความเป็นเพศหญิงและรูปร่างหน้าตาเพื่อแลกกับเงิน ภายใต้ชื่อของอาชีพประเภทต่างๆ เช่น พริตตี้ โคโยตี้ และพาร์ตเนอร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานเสริมความสุขแก่บุรุษเพศที่มีความเสี่ยงนานัปการ ซึ่งพออนุมานได้ดังนี้
1. เสี่ยงต่อการตกเป็นทาสสิ่งเสพติดให้โทษ เช่น สุรา และยาเสพติด เป็นต้น
2. เสี่ยงต่อการถูกลวนลามทางเพศ ด้วยการทำอนาจารและถูกข่มขืน
3. เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกาย และบางรายอาจถึงกับถูกฆ่า
นอกจากตนเองจะเสี่ยงภัยแล้ว หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการใช้ชีวิตคู่ และลูกที่เกิดมากลายเป็นเด็กมีปัญหา เนื่องจากขาดความอบอุ่น
ดังนั้น รัฐบาลน่าจะได้ทำการศึกษา และหาแนวทางแก้ไขก่อนที่ประเทศไทยจะมีปัญหาขายบริการจะกลายเป็นปัญหาสังคมระดับชาติ
ใส่กระจาด ล้างน้ำ กลิ่นจางหาย
เมื่อสตรี หลงลมเสียสาว แก่เหล่าชาย
อย่าพึงหมาย ว่ากลิ่น จะสิ้นคาว
แม้นวันนี้ มิรู้ อยู่อีกหน่อย
กลิ่นก็ค่อย กระพือ ให้อื้อฉาว
ถึงใส่น้ำ ชะล้าง ไม่สร่างคาว
ขอสาวสาว จงจำ คำเตือนเอย”
“อย่าเดินกราย ย้ายอก ยกผ้าห่ม
อย่าเสยผม กลางทาง หว่างวิถี
ใครได้เห็น แล้วดู ไม่สู้ดี
เหย้าเรือนมี กลับมา จงหารือ”
“ถ้ารักจริง ไปสู่ขอ ต่อพ่อแม่
อย่าวิ่งแร่ หลงงาม ไปตามง่าย
เขาไม่เลี้ยง ไล่กลับ ต้องอับอาย
ต้องเป็นหม้าย อยู่กับบ้าน ประจานตน”
โดยนัยแห่งเนื้อหาของกลอน 3 บทข้างต้น แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของคนไทยในอดีตที่มีต่อผู้หญิงซึ่งอยู่ในวัยสาว ว่าจะต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย สงบเสงี่ยม รักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม จะรักใคร ชอบใครให้ปรึกษาพ่อแม่ ไม่เลือกทางเดินชีวิตด้วยตนเองเพียงลำพัง
กลอนทั้ง 3 บทนี้มีที่มาต่างกัน บทแรกผู้เขียนจำมาจากถุงกระดาษใส่ขนมขายเมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว และไม่รู้ว่าใครแต่ง
แต่ 2 บทหลังเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสุภาษิตสอนหญิง ซึ่งแต่งโดยสุนทรภู่ กวีเอกของไทยซึ่งเกิดในสมัยของรัชกาลที่ ๑ มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๒ ตกอับในรัชกาลที่ ๓ ถึงกับออกบวชและอาศัยอยู่ในเรือ จะเห็นได้จากบทประพันธ์ในนิราศภูเขาทองที่ว่า อนิจจาตัวเรา ก็เท่านี้ ยังไม่มีพสุธา จะอาศัย (ในขณะที่แต่งเรื่องนี้สุนทรภู่บวชเป็นพระอาศัยอยู่ในเรือร่อนเร่ไปในสถานที่ต่างๆ และถึงแก่กรรมในสมัยของรัชกาลที่ ๔ ดังนั้น สุนทรภู่จึงเป็นผู้มีประสบการณ์ทางสังคมเป็นอย่างดีเกี่ยวกับประเพณี และวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับหญิงไทย ซึ่งเกิดมาและเติบโตในครอบครัวของขุนนางในยุคนั้นถือปฏิบัติ จึงสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นผ่านทางบทกวีไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้
การที่ผู้หญิงไทยในยุคนั้นตั้งอยู่ในกรอบแห่งประเพณี และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เช่นนี้ก็ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ข้อจำกัดทางการศึกษา
การศึกษาของไทยในยุคนั้น มีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน
ดังนั้น พ่อ แม่ที่ต้องการให้ลูกของตนมีความรู้ จึงได้นำลูกชายไปฝากไว้กับพระ เพื่อศึกษาหาความรู้ควบคู่ไปกับการปรนนิบัติรับใช้พระทำกิจการงานของวัดในส่วนที่เด็กทำได้ และบางคนเมื่อโตขึ้นก็บรรพชาเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ศึกษาพระธรรมวินัยระยะหนึ่งมากน้อยตามศรัทธาแล้วลาสิกขาออกไปทำหน้าที่เป็นพลเมืองของประเทศ บางรายก็อยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตก็มี นี่คือวิถีชีวิตของผู้ชายในยุคนั้น
ส่วนผู้หญิงไม่สามารถจะไปอยู่วัดเพื่อศึกษาเยี่ยงผู้ชายได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางวัฒนธรรม และประเพณี รวมไปถึงพระธรรมวินัยของพระที่ห้ามมิให้พระภิกษุ และสามเณรใกล้ชิดกับอิตถีเพศเกินความพอดี
ดังนั้น เด็กผู้หญิงในยุคนั้น จึงได้แค่ศึกษาการเย็บปักถักร้อย และการทำอาหารหวานคาวเท่าที่แต่ละคนมีโอกาส เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี ส่วนหน้าที่ในการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงครอบครัวเป็นของผู้ชาย ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงจึงไม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อหารายได้เฉกเช่นในทุกวันนี้
2. ค่านิยมทางสังคมในการเลือกคู่ครอง
ในการหาคู่ครองให้แก่ลูกชาย พ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายชาย จะเลือกผู้หญิงที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย สงบเสงี่ยมเจียมตัว และรอบรู้ในด้านการเรือนมาเป็นคู่ครองให้แก่บุตรหลานของตน
ดังนั้น พ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง จะต้องอบรมลูกสาวของตนให้เป็นกุลสตรี มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงกับความต้องการของพ่อ แม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายชาย
แต่ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากการศึกษาเจริญก้าวหน้า และผู้หญิงมีโอกาสได้รับการศึกษาทัดเทียมกับผู้ชาย ประกอบกับผู้คนในสังคมไทยโดยรวมได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตก ซึ่งให้ความสำคัญทางด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ จึงทำให้สังคมไทยซึ่งแต่เดิมให้ความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าวัตถุได้เปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมตามแบบตะวันตก เมื่อเป็นเช่นนี้ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อแสวงหาวัตถุเพื่อสนองความต้องการก็เพิ่มขึ้น และนี่เองคือจุดเปลี่ยนของค่านิยมทางสังคมที่ทำให้ผู้หญิงต้องมีงานทำเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว แทนที่จะนั่งรอรับรายได้จากฝ่ายชายเฉกเช่นในอดีต
แต่ในการหารายได้ในยุคที่มีการแข่งขันแก่งแย่งกันทำมาหากิน ผู้หญิงจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ ความสามารถให้ตรงกับตลาดแรงงาน จึงจะมีโอกาสมีงานทำที่มีรายได้พอเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้
แต่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีโอกาสมีงานทำที่มีรายได้ดี เนื่องจากว่าการศึกษาในปัจจุบันจะต้องมีทุน มีศักยภาพในการเรียนรู้ และจะต้องเป็นคนมุ่งมั่นในการศึกษา จึงจะประสบความสำเร็จในการศึกษา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
ดังนั้น จึงมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงพอจะหางานทำที่มีรายได้พอจะเลี้ยงตนเองและครอบครัว
แต่ผู้หญิงเหล่านี้ก็มีความต้องการความสุขจากวัตถุ เฉกเช่นผู้หญิงทั่วไปหรือในบางรายอาจมากกว่าด้วยซ้ำไป และนี่เองที่ทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งต้องจำใจทำงาน โดยใช้ความเป็นเพศหญิงและรูปร่างหน้าตาเพื่อแลกกับเงิน ภายใต้ชื่อของอาชีพประเภทต่างๆ เช่น พริตตี้ โคโยตี้ และพาร์ตเนอร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานเสริมความสุขแก่บุรุษเพศที่มีความเสี่ยงนานัปการ ซึ่งพออนุมานได้ดังนี้
1. เสี่ยงต่อการตกเป็นทาสสิ่งเสพติดให้โทษ เช่น สุรา และยาเสพติด เป็นต้น
2. เสี่ยงต่อการถูกลวนลามทางเพศ ด้วยการทำอนาจารและถูกข่มขืน
3. เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกาย และบางรายอาจถึงกับถูกฆ่า
นอกจากตนเองจะเสี่ยงภัยแล้ว หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการใช้ชีวิตคู่ และลูกที่เกิดมากลายเป็นเด็กมีปัญหา เนื่องจากขาดความอบอุ่น
ดังนั้น รัฐบาลน่าจะได้ทำการศึกษา และหาแนวทางแก้ไขก่อนที่ประเทศไทยจะมีปัญหาขายบริการจะกลายเป็นปัญหาสังคมระดับชาติ