“คมนาคม” ล้มแผนซื้อรถเมล์ 3,000 คัน สั่ง ขสมก. เลิกเดินรถเอง เปลี่ยนจ้างเอกชนวิ่งแทน ปรับบทบาทเป็นผู้กำกับสัญญา-ควบคุมคุณภาพ ผุดโมเดลตั๋ววัน 30 วัน เหมาขึ้นได้ไม่จำกัด ลดค่าครองชีพตามนโยบาย “ศักดิ์สยาม” เดินหน้ารื้อแผนฟื้นฟู ปฏิรูปเส้นทางใหม่ รวมถึงเออร์รี่รีไทร์ “กระเป๋า” ส่วน “คนขับ” ให้เอกชนรับโอน
วานนี้ (26 ก.ย.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะทำงานปรับปรุงแผนฟื้นฟู องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้สรุปแนวทางในการแก้ปัญหา ขสมก.ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้ลดราคาค่าโดยสารรถเมล์ลง เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และลดภาระงบประมาณในการอุดหนุนและชดเชยขาดทุน ลดปัญหามลภาวะทางอากาศ และแก้ปัญหาจราจร โดยจะสรุป แนวทางเสนอรมว.คมนาคมในวันที่ 30 ก.ย.นี้ หากเห็นชอบ ขสมก.จะต้องศึกษารายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอทบทวนแผนฟื้นฟูต่อไป
ทั้งนี้ ขสมก.จะต้องยกเลิกแผนจัดซื้อรถ 3,000 คัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ส่วนการเดินรถนั้น จะเปลี่ยนเป็นการจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถแทน ซึ่งเอกชนจะต้องจัดหารถใหม่ โดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ตัวรถ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีระบบ E-Ticket GPS และกำหนดตารางการเดินรถ กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึง ค่าปรับในกรณีต่างๆ เช่น รถเสีย เป็นต้น
โดยกำหนดเป็นอัตราเดียวแบบเหมาหรือตั๋ววัน โดยขึ้นได้ไม่จำกัดเที่ยว ซึ่งราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 30 บาท ส่วนผู้ที่เดินทางเที่ยวเดียว จะใช้โครงสร้างที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางมีมติล่าสุด ที่ 4 กม.แรก 15 บาท, กม.ที่ 4- 16 อัตรา 20 บาท และกม.ที่ 16 ขึ้นไป 25 บาท
ส่วนพนักงานเก็บค่าโดยสาร ขสมก.จะต้องทำแผนเออร์รี่รีไทร์ ส่วนพนักงานขับรถจะกำหนดเป็นเงื่อนไขให้เอกชนที่เข้ามารับจ้างเดินรถ รับพนักงานขับรถ ขสมก.ไปด้วย ซึ่งพนักงาน ขสมก.จะได้รับค่าเออร์รี่รีไทร์ และไม่มีปัญหาเรื่องตกงาน อีกด้วย โดยจะมีเวลาเปลี่ยนผ่านประมาณ 2 ปี
สำหรับเส้นทางเดินรถตามการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ ในกทม.และปริมณฑล จำนวน 269 เส้นทาง (ขสมก. 137 เส้นทาง ปัจจุบันวิ่งจริง 95-96 เส้นทางทาง ,รถร่วมเอกชน 132 เส้นทาง) จะต้องปรับปรุงใหม่ด้วย โดย ให้ ขสมก. กรมการขนสงทางบก และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หารือกัน ซึ่งเสนทางอาจจะลดลง หรือมีระยะทางที่สั้นลง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เห็นด้วยกับแนวทางนี้ เนื่องจากจะไม่ก่อหนี้เพิ่ม และจะสามารถแก้ปัญหาภาระหนี้สะสมที่มี 1.3 แสนล้านบาทได้ โดย ขสมก.จะต้องทำรายละเอียดให้ชัดเจน รวมถึงรูปแบบในการว่าจ้างเอกชนเดินรถ ระยะเวลาการจ้าง เป็นสัญญาเดียว หรือแบ่งย่อยเป็นเขตการเดินรถ ที่จูงใจและคุ้มค่า ที่เอกชนจะเข้ามารับจ้างวิ่ง ภายใต้คุณภาพที่กำหนด
“ต้นทุนในการดำเนินงาน ขสมก.อยู่ที่ 50 บาทต่อกม. ส่วนเอกชนมีต้นทุนประมาณ 31 บาทต่อกม. คณะทำงานฯพิจารณาแล้ว หาก ขสมก.ซื้อรถใหม่ นอกจากไม่แก้ปัญหาขาดทุนแล้วยังทำให้เป็นหนี้เพิ่ม และลดค่าโดยสารตามนโยบายไม่ได้ ดังนั้น ขสมก.ต้องไม่เดินรถเอง เปลี่ยนเป็นจ้างเอกชนเดินรถ ส่วน ขสมก.ปรับบทบาทมาเป็นผู้กำกับสัญญาและควบคุมคุณภาพ” นายจิรุตม์ ระบุ
วานนี้ (26 ก.ย.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะทำงานปรับปรุงแผนฟื้นฟู องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้สรุปแนวทางในการแก้ปัญหา ขสมก.ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้ลดราคาค่าโดยสารรถเมล์ลง เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และลดภาระงบประมาณในการอุดหนุนและชดเชยขาดทุน ลดปัญหามลภาวะทางอากาศ และแก้ปัญหาจราจร โดยจะสรุป แนวทางเสนอรมว.คมนาคมในวันที่ 30 ก.ย.นี้ หากเห็นชอบ ขสมก.จะต้องศึกษารายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอทบทวนแผนฟื้นฟูต่อไป
ทั้งนี้ ขสมก.จะต้องยกเลิกแผนจัดซื้อรถ 3,000 คัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ส่วนการเดินรถนั้น จะเปลี่ยนเป็นการจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถแทน ซึ่งเอกชนจะต้องจัดหารถใหม่ โดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ตัวรถ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีระบบ E-Ticket GPS และกำหนดตารางการเดินรถ กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึง ค่าปรับในกรณีต่างๆ เช่น รถเสีย เป็นต้น
โดยกำหนดเป็นอัตราเดียวแบบเหมาหรือตั๋ววัน โดยขึ้นได้ไม่จำกัดเที่ยว ซึ่งราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 30 บาท ส่วนผู้ที่เดินทางเที่ยวเดียว จะใช้โครงสร้างที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางมีมติล่าสุด ที่ 4 กม.แรก 15 บาท, กม.ที่ 4- 16 อัตรา 20 บาท และกม.ที่ 16 ขึ้นไป 25 บาท
ส่วนพนักงานเก็บค่าโดยสาร ขสมก.จะต้องทำแผนเออร์รี่รีไทร์ ส่วนพนักงานขับรถจะกำหนดเป็นเงื่อนไขให้เอกชนที่เข้ามารับจ้างเดินรถ รับพนักงานขับรถ ขสมก.ไปด้วย ซึ่งพนักงาน ขสมก.จะได้รับค่าเออร์รี่รีไทร์ และไม่มีปัญหาเรื่องตกงาน อีกด้วย โดยจะมีเวลาเปลี่ยนผ่านประมาณ 2 ปี
สำหรับเส้นทางเดินรถตามการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ ในกทม.และปริมณฑล จำนวน 269 เส้นทาง (ขสมก. 137 เส้นทาง ปัจจุบันวิ่งจริง 95-96 เส้นทางทาง ,รถร่วมเอกชน 132 เส้นทาง) จะต้องปรับปรุงใหม่ด้วย โดย ให้ ขสมก. กรมการขนสงทางบก และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หารือกัน ซึ่งเสนทางอาจจะลดลง หรือมีระยะทางที่สั้นลง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เห็นด้วยกับแนวทางนี้ เนื่องจากจะไม่ก่อหนี้เพิ่ม และจะสามารถแก้ปัญหาภาระหนี้สะสมที่มี 1.3 แสนล้านบาทได้ โดย ขสมก.จะต้องทำรายละเอียดให้ชัดเจน รวมถึงรูปแบบในการว่าจ้างเอกชนเดินรถ ระยะเวลาการจ้าง เป็นสัญญาเดียว หรือแบ่งย่อยเป็นเขตการเดินรถ ที่จูงใจและคุ้มค่า ที่เอกชนจะเข้ามารับจ้างวิ่ง ภายใต้คุณภาพที่กำหนด
“ต้นทุนในการดำเนินงาน ขสมก.อยู่ที่ 50 บาทต่อกม. ส่วนเอกชนมีต้นทุนประมาณ 31 บาทต่อกม. คณะทำงานฯพิจารณาแล้ว หาก ขสมก.ซื้อรถใหม่ นอกจากไม่แก้ปัญหาขาดทุนแล้วยังทำให้เป็นหนี้เพิ่ม และลดค่าโดยสารตามนโยบายไม่ได้ ดังนั้น ขสมก.ต้องไม่เดินรถเอง เปลี่ยนเป็นจ้างเอกชนเดินรถ ส่วน ขสมก.ปรับบทบาทมาเป็นผู้กำกับสัญญาและควบคุมคุณภาพ” นายจิรุตม์ ระบุ