จุฬาฯ ผุดโมเดลแสมสารไร้ขยะทะเล สร้างต้นแบบชุมชนผู้นำการจัดการขยะทะเล
รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าแสมสารไร้ขยะทะเล เป็นหนึ่งในโครงการของทะเลไทยไร้ขย ที่ได้รับการสนัสบสนุนจากสำนักงาการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ประสานงาน โครงการที่จุฬาฯ ได้รับมอบหมายเป็น โครงการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของชุมชนในการลด และแยกขยะเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลที่พื้นที่แสมสาร
ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะบนบกที่ตกลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมากเนื่องจากการจัดการขยะบนบกที่ไม่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน มีการใช้พลาสติกที่ใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ในปริมาณที่มากขึ้น และสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ขยะพลาสติกที่ใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่สามารถย่อยสลายได้เมื่อตกลงไปในทะเล ทำให้ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลมีอายุยาวนานหลายร้อยปี และกลายเป็นปัญหาในการกำจัดในทะเล รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์
นอกจากนี้ ขยะพลาสติกเมื่อตกลงไปในทะเล ทำให้เกิดการแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีขนาดเล็กที่สัตว์ทะเลสามารถบริโภคเข้าไปได้โดยไม่ตั้งใจ จึงทำให้ตัวสัตว์เหล่านั้นเกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์นั้น ๆ รวมทั้งต่อมนุษย์ที่บริโภคสัตว์ที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ดังนั้น การวางแผนการจัดการ นโยบาย และมาตรการการลดและกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
รศ.ดร.สุชนา กล่าวอีกว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการลดขยะบนบกลงสู่ทะเลจำเป็นต้องให้ชุมชน และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการลดและแยกขยะ ทั้งในระดับพื้นที่และองค์กร รวมทั้งมีการพัฒนาเครื่องมือทางสังคม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการลดและแยกขยะ ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณขยะที่ใช้ รวมถึงขยะที่ตกลงสู่ทะเลได้
“เราเลือกพื้นที่แสมสารเป็นพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้เกิดแสมสารโมเดล เนื่องจากเรามองว่า ที่แสมสารเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับพื้นที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่นิยม จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างจิตสำนึกทั้งคนในชุมชนให้เกิดความรักษ์หวงแหนธรรมชาติ และสร้างจิตสำนึกให้กับผู้มาท่องเที่ยวให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกัน”รศ.ดร.สุชนา กล่าว
ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ชาวบ้าน โรงเรียน เยาวชนทุกเพศทุกวัย ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว โดยตั้งเป้าหมายได้พื้นที่แสมสารเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการขยะบนบก ไม่ให้ลงสู่ทะเล และสร้างผู้นำทางด้านการจัดการขยะลงสู่ทะเล เพื่อให้เป็นตัวอย่างและผู้บอกต่อในอนาคตต่อไป
รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าแสมสารไร้ขยะทะเล เป็นหนึ่งในโครงการของทะเลไทยไร้ขย ที่ได้รับการสนัสบสนุนจากสำนักงาการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ประสานงาน โครงการที่จุฬาฯ ได้รับมอบหมายเป็น โครงการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของชุมชนในการลด และแยกขยะเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลที่พื้นที่แสมสาร
ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะบนบกที่ตกลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมากเนื่องจากการจัดการขยะบนบกที่ไม่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน มีการใช้พลาสติกที่ใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ในปริมาณที่มากขึ้น และสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ขยะพลาสติกที่ใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่สามารถย่อยสลายได้เมื่อตกลงไปในทะเล ทำให้ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลมีอายุยาวนานหลายร้อยปี และกลายเป็นปัญหาในการกำจัดในทะเล รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์
นอกจากนี้ ขยะพลาสติกเมื่อตกลงไปในทะเล ทำให้เกิดการแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีขนาดเล็กที่สัตว์ทะเลสามารถบริโภคเข้าไปได้โดยไม่ตั้งใจ จึงทำให้ตัวสัตว์เหล่านั้นเกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์นั้น ๆ รวมทั้งต่อมนุษย์ที่บริโภคสัตว์ที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ดังนั้น การวางแผนการจัดการ นโยบาย และมาตรการการลดและกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
รศ.ดร.สุชนา กล่าวอีกว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการลดขยะบนบกลงสู่ทะเลจำเป็นต้องให้ชุมชน และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการลดและแยกขยะ ทั้งในระดับพื้นที่และองค์กร รวมทั้งมีการพัฒนาเครื่องมือทางสังคม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการลดและแยกขยะ ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณขยะที่ใช้ รวมถึงขยะที่ตกลงสู่ทะเลได้
“เราเลือกพื้นที่แสมสารเป็นพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้เกิดแสมสารโมเดล เนื่องจากเรามองว่า ที่แสมสารเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับพื้นที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่นิยม จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างจิตสำนึกทั้งคนในชุมชนให้เกิดความรักษ์หวงแหนธรรมชาติ และสร้างจิตสำนึกให้กับผู้มาท่องเที่ยวให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกัน”รศ.ดร.สุชนา กล่าว
ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่เพื่อสร้างจิตสำนึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ชาวบ้าน โรงเรียน เยาวชนทุกเพศทุกวัย ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว โดยตั้งเป้าหมายได้พื้นที่แสมสารเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการขยะบนบก ไม่ให้ลงสู่ทะเล และสร้างผู้นำทางด้านการจัดการขยะลงสู่ทะเล เพื่อให้เป็นตัวอย่างและผู้บอกต่อในอนาคตต่อไป