xs
xsm
sm
md
lg

สัปดาห์สุดท้าย! สมัครด่วนสุดยอด 2 หลักสูตรสุขภาพ ม.รังสิต ควบวิชากัญชาเวชศาสตร์/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ภายหลังจากการที่สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดรับข้อมูลผู้ที่แอบใช้น้ำมันกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ จึงได้เห็นอย่างชัดเจนว่าความคาดหวังของประชาชนในเรื่องการใช้กัญชาเป็นยาเดี่ยวแต่เพียงอย่างเดียวนั้น นอกจากจะทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งคาดหวังต่อสรรพคุณของกัญชามากเกินความเป็นจริง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลข้างเคียงจากกัญชาในหลายรูปแบบที่จำเป็นต้องให้ความรู้กับประชาชนให้มากขึ้น

การที่ประชาชนจำนวนมากหันมาสนใจกัญชาจนเกินความสามารถของสมุนไพรตัวนี้ สะท้อนให้เห็นว่าการแพทย์แผนหลักของประเทศไทยยังมีปัญหาอยู่มาก ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพของการรักษา คุณภาพการรักษา ความแออัด หรือหากแม้คุณภาพดีไม่แออัดก็จะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง และยิ่งไปกว่านั้นคือการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะยังไม่ตอบโจทย์ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงอีกด้วย

เหตุผลที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ในด้านสุขภาพอย่างแท้จริง หรือแม้แต่ความคาดหวังกัญชาเกินสรรพคุณที่แท้จริงนั้น ก็มาจากปัญหาเดียวกันคือความเชื่อเรื่องปัญหาสุขภาพต้องฝากเอาไว้กับคนอื่น หรือสมุนไพรเดี่ยวตัวใดตัวหนึ่ง หรือรักษาที่ปลายอาการ

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วมีสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ “ยาที่ดีที่สุดคือปัญญา” และ “หมอที่ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง”

สิ่งที่จะดีกว่าการรักษาที่ปลายอาการของโรคก็คือ “บูรณาการแห่งปัญญา รักษาที่เหตุแห่งโรค” เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือกินยาให้น้อยลง และไปหาหมอให้น้อยลง พึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น

ถ้าสาเหตุของผู้ป่วยมะเร็งคนหนึ่งเกิดจากสารพิษในร่างกายมาก เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช โลหะหนัก ลำพังกัญชาเพียงอย่างเดียวจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าคนคน นั้นยังคงได้รับสารก่อมะเร็งสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีภาวะท้องผูกเป็นประจำขับสารพิษออกจากร่างกายได้น้อย กินเนื้อแดงแปรรูปเป็นประจำ หรือกินยาปฏิชีวนะมากทำลายแบคทีเรียชนิดดีมาเป็นเวลานานทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้มากขึ้น จะทำให้ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้อย่างไรด้วยการใช้กัญชาแต่เพียงอย่างเดียว จริงหรือไม่?

ถ้าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานของผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่กินอาหารด้วยคาร์โบไฮเดรตมาก ดื่มเครื่องดื่มน้ำตาลมาก หากใช้กัญชาก็อาจจะช่วยทำให้น้ำตาลตกลงชั่วคราวในระยะหนึ่ง แต่ก็ทำให้คนคนนั้นหิวแป้งและน้ำตาลมากขึ้นซึ่งอาจทำให้มีการบริโภคแป้งและน้ำตาลมากขึ้น หากคนคนนั้นยังบริโภคแป้งขัดขาวและน้ำตาลมากต่อไปหรือบริโภคมากขึ้นกว่าเดิม ลำพังกัญชาแต่เพียงอย่างเดียวจะช่วยแก้ปัญหาโรคเบาหวานได้จริงหรือไม่?

เช่นเดียวกับภาวะหลอดเลือดอักเสบ ที่นำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีสาเหตุมาจากการกินไขมันทรานส์ การกินของผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัว การกินแป้งและน้ำตาลมากๆ รวมถึงโลหะหนัก ฯลฯ ลำพังกัญชาจะช่วยได้อย่างถาวรจริงหรือไม่?

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การสูบบุหรี่” และการ “ดื่มเหล้า” ซึ่งเป็นสาเหตุของสารพัดโรค รวมถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคเหลือดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง จะหายได้ด้วยกัญชาอย่างเดียวได้อย่างไร หากผู้ป่วยคนนั้นยังคงดื่มเหล้าสูบบุหรี่อยู่เหมือนเดิม

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เรายังไม่ได้กล่าวถึงการใช้กัญชาอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกโรค ไม่ถูกปริมาณการใช้ ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลเสียได้เช่นกัน ซึ่งในวันนี้มนุษย์เราเพิ่งจะได้มีโอกาสรวบรวมผลเสียอันเกิดจากน้ำมันกัญชาเพื่อรักษาโรค ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากอดีตที่มนุษย์เราเคยมีความรู้ ควบคู่ไปกับงานวิจัยยุคใหม่ หรือข้อมูลใหม่ซึ่งได้จากการรวมถึงผลกระทบจากกรณีศึกษาอื่นๆที่น่าติดตามมากขึ้น เช่น ผลกระทบต่อระบบการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ผลกระทบต่อระบบเม็ดเลือดขาวโดยรวม ผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน ฯลฯ ซึ่งนั่นหมายความว่าเรามีความจำเป็นต้องเรียนรู้การรับมือหรือการแก้อาการที่เกิดผลเสียของกัญชาเหล่านี้ด้วย

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้เปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับกัญชาผ่านหลักสูตรที่ต้องมีการบูรณาการสุขภาพองค์รวมหลายศาสตร์ เพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลทางด้านสุขภาพอย่างรอบด้านมากที่สุด โดยได้จัด 2 หลักสูตรสุขภาพ คือ หลักสูตร วิถีชีวาเวชศาสตร์ (Lifestyle Medicine)รุ่นที่ 4 และหลักสูตร การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน (Culinary Course for Anti Aging and Genomic Diet) รุ่นที่ 3

สำหรับวิชาที่จะสอนในหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 4” ได้แก่ วิชาโภชนาการบำบัดจากงานวิจัย สมุนไพรประจำบ้านเบื้องต้น การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร การกดจุดแก้อาการเบื้องต้น การนวดปรับสมดุลในครอบครัว พื้นฐานการจับชีพจรและพื้นฐานการฝังเข็มของการแพทย์แผนจีน การประยุกต์การแพทย์แผนไทยในชีวิตประจำวัน การบริหารระบบภูมิคุ้มกัน การบูรณาการอดอาหารและการล้างพิษ การสืบค้นและอ่านข้อมูลงานวิจัยด้านสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อลดการปวดกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ธรรมานามัย การแพทย์ทางเลือก ฯลฯ

โดยเฉพาะในหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 4” นี้ได้มีการเปิดวิชาพิเศษคือ วิชาพื้นฐาน “กัญชาเวชศาสตร์สำหรับประชาชน” และ วิชา “ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ” ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนในการบูรณาการกัญชากับศาสตร์อื่นในหลักสูตรนี้ได้อย่างรอบด้าน

สำหรับหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 4” จะเริ่มเรียนในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 และจะเรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์ใน 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเริ่มเรียนเฉพาะทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562 ถึงวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2562

ส่วนอีกหลักสูตรหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ หลักสูตร “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3” (Culinary Course for Healthy and Anti Aging Genomic Diet) เพื่อเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีในการสืบค้นข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัยของวัตถุดิบทุกชิ้น เพื่อเป้าหมายในการคิดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีนจากงานวิจัย ควบคู่กับการบูรณาการและการประยุกต์ใช้ 9 รสยาไทยเพื่อช่วยป้องกันและบำบัดโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันแทรกตับ โรคความดันโลหิต ท้องผูก โรคนอนไม่หลับ โรคมะเร็ง ฯลฯ

และหมายความว่าผู้เรียนในหลักสูตร “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3” (Culinary Course for Healthy and Anti Aging Genomic Diet) จะได้รับการสอนการอ่านผลแล็บพื้นฐานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับโภชนาการและสมุนไพรเพื่อปรับผลการตรวจนั้น

สำหรับการลงมือปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีนนั้นจะต้องทำอาหารสุขภาพที่ต้องอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัย มาบูรณาการร่วมกับการใช้ศิลปะเพื่อการปรุงอาหารให้มีรสชาติอร่อย ด้วยการจัดองค์ประกอบการนำเสนอการจัดจานสวยงาม ภายใต้ข้อจำกัดที่ต้องใช้วัตถุดิบเพื่อสุขภาพเท่านั้น เช่น กลุ่มอาหารมังสวิรัติแบบบริสุทธิ์(ไร้เนื้อ นม และไข่) กลุ่มไขมันชนิดดีสูง กลุ่มไฟเบอร์สูง กลุ่มไร้น้ำตาลและแป้งดัชนีน้ำตาลต่ำที่สุด กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดระดับโลก กลุ่มอาหารพรีไบโอติกเพื่อเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ซึ่งภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดข้างต้นก็นับว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะสร้างสรรค์ให้เป็นเมนูอาหารที่อร่อยและสวยงามได้หากไม่ได้เรียนหลักสูตรดังกล่าวนี้

และหลักสูตร “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3” (Culinary Course for Healthy and Anti Aging Genomic Diet)

แต่ที่พลาดไม่ได้ในหลักสูตรนี้ก็คือหลักคิดค้น”เมนูอาหาร เพื่อแก้อาการผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้กัญชา” !!!!

หลักสูตร “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3” (Culinary Course for Healthy and Anti Aging Genomic Diet) จึงเปรียบเสมือนการทำให้คนธรรมดาเป็น “หมออาหาร”เพื่อทำให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น อร่อย และสวยงาม โดยไม่ใช่การจำสูตรตำรับอาหารที่สอน เพราะรสอาหารและวัตถุดิบตลอดการปรุงอาหารจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละบุคคลซึ่งไม่เหมือนกัน

ดังนั้นผู้เรียนจึงจะได้เรียนรู้ “วิธีการเรียนรู้” เพราะการจำเมนูที่อาจารย์สอนจะทำได้เฉพาะเมนูที่สอน แต่การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้จะทำให้เกิดการพัฒนาเมนูใหม่ๆได้ต่อไป

ผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้ “วิธีคิด” เพื่อทำให้เกิด “ความเข้าใจ” เพราะกลไกการคิด การค้นหาข้อมูลและงานวิจัย ตลอดจนการเปิดมุมมองใหม่ภายใต้อาหารที่มีข้อจำกัดรอบด้านเพื่อสุขภาพควบคู่ไปกับการใช้ศิลปะการปรุงอาหารให้อร่อยและจัดแต่งจานให้สวยงาม เพื่อชะลอวัยหรือเพื่อผู้ป่วย พื้นฐานเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะคิดเมนูอาหารตามสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันได้

ผู้เรียนจะได้มีการพัฒนาผ่านการสอบทั้งภาคทฤษฎีด้วยเอกสารและการเล่าเรื่องราว และการสอบภาคปฏิบัติที่จะต้องมีการคิดเอง จัดหาวัตถุดิบเอง และปรุงอาหารเองในเมนูสร้างสรรค์ใหม่ 3 ครั้งในเวลา 3 เดือน โดยคณะกรรมการสอบที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายอาชีพทั้งในด้านสุขภาพและอาหาร รวมถึงคำแนะนำจากเชฟมืออาชีพในระดับแถวหน้าของประเทศไทยที่จะให้คำแนะนำในการสอบภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาอันจำกัด

สำหรับหลักสูตร“การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3” จะเริ่มเรียนปรับฐานภาคทฤษฎี 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2562 และวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2562 ร่วมกับหลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ 2 วิชา หลังจากนั้นจะเรียนทุกวันเสาร์ในภาคทฤษฎีและลงมือปฏิบัติประกอบอาหารจริงทุกวันเสาร์ โดยเริ่มจากวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป โดยจะเรียน 2 เสาร์ และสอบ 1 เสาร์ ไปจนถึงวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2562

หลักสูตร“วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 4” จึงมีลักษณะรู้รอบในหลายศาสตร์ให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะสามารถนำมาประยุกต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น แต่หากถึงเวลาต้องไปหาแพทย์ก็จะมีทางเลือกของแพทย์และวิธีการรักษาได้มากขึ้นกับการรักษาแผนหลักของแพทย์แผนปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียว แต่หลักสูตร“การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3 มีลักษณะที่ลงลึกในรายละเอียดในเรื่องอาหารภาคปฏิบัติการมากกว่า ซึ่งไม่สามารถจะหาเรียนหลักสูตรการบูรณาการองค์ความรู้ในระยะเวลาอันสั้นได้เช่นนี้

และเนื่องจากการจัดทั้ง 2 หลักสูตรข้างต้น ได้จัดเวลาสำหรับคนที่สนใจเรียนควบทั้ง 2 หลักสูตรพร้อมกัน โดยหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 4” จะรับสมัคร 50 คน ส่วนหลักสูตร“การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 3”จะรับสมัครจำกัดเพียง 20 คนเท่านั้น ทั้ง 2 หลักสูตร ไม่จำกัดอายุและวุฒิการศึกษา เมื่อจบหลักสูตรตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

ทั้ง 2 หลักสูตรนี้ ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์เฉพาะประชาชนทั่วไปที่จะเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเหมาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จะสามารถประยุกต์การบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพจากหลายศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการต่อยอดในการเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพองค์รวม เป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพหรือเวลเนสต่อไปด้วย

ทั้ง 2 หลักสูตรเปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 ซึ่งหมายถึงว่ามีเวลาอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์ก็จะปิดรับสมัครแล้ว

สนใจติดต่อได้ที่สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 061-950-6666

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต






กำลังโหลดความคิดเห็น