xs
xsm
sm
md
lg

ซักฟอกปมถวายสัตย์ฯ ทำฝ่ายค้านอึดอัด-ลุงตู่โล่งอก !!

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

แม้ว่าในที่สุดแล้ว ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะวินิจฉัยว่าสภาผู้แทนฯ ยังคงเดินหน้าเปิดอภิปรายตามกำหนดเดิมในญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไม่ลงมติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดยเขาระบุว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกันกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งคำร้องในกรณีดังกล่าว และย้ำว่า การอภิปรายของสภาผู้แทนฯ เป็นไปตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญในเรื่องของการตรวจสอบ และเสนอแนะต่อฝ่ายบริหาร ซึ่งการอภิปรายก็ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม
ทั้งนี้ สภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดเปิดอภิปรายในญัตติดังกล่าวของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในวันที่ 18 กันยายน ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องปมถวายสัตย์ฯ แล้วยังมีอีกประเด็นหนึ่งก็คือการแถลงนโยบายของรัฐบาลโดยไม่มีการระบุที่มาของการใช้จ่ายงบประมาณ
อย่างไรก็ดี แม้ว่านาทีนี้ทุกอย่างยังเดินหน้าไปตามกำหนดเดิม คือต้องมีการอภิปรายกันในวันที่ 18 กันยายน ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าวที่ระบุว่า
"การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เป็นการกระทำที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้ร้องเรียนไว้พิจารณาวินิจฉัย
เนื่องจากเห็นว่า แม้นายภานุพงศ์ ชูรักษ์ จะอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ แต่ ฃตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47(1) บัญญัติว่า "การใช้สิทธิ ยื่นคำร้องตามมาตรา 46 ต้องเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพ อันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ และต้องมิใช่เป็นกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) การกระทำของรัฐบาล" และ มาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติว่า "... ถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา 47 ให้ศาลสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา" ซึ่งการถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำทางการเมือง (Political Issue)ของคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ อันอยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล (Act of Government)ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47(1) ศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้ ตามมาตรา 46 วรรคสามได้
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 62 เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต หลังจากนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณจบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัส ฃเพื่อให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน และต่อมา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น. นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี ได้เข้ารับพระราชดำรัสในโอกาส เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ซึ่งพระราชทานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย โดยเข้ารับต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ห้องรับรอง ชั้น 5 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
**แต่ที่น่าสนใจก็คือ มีการเน้นย้ำว่า “ซึ่งการถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำทางการเมือง (Political Issue)ของคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์”
ก็ถือว่ามีความชัดเจนว่า การถวายสัตย์ฯ เป็นการกระทำทางการเมืองของคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์
แน่นอนว่า เมื่อผลออกมาแบบนี้ มันก็ย่อมส่งผลต่อการอภิปรายของฝ่ายค้านในญัตติซักฟอกโดยไม่มีการลงมติ โดยเฉพาะในประเด็นปมถวายสัตย์ฯ ที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายค้านหมายมั่นปั้นมือว่า “เชือดโชว์”ถึงขั้นกะขึงพืด “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกันกลางสภา หรืออาจมีการอภิปรายที่อาจทำให้ นายกฯ ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ถึงขั้น
“หลุด”ออกมาอีกก็ได้ แต่เมื่อผลการววินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่รับคำร้อง และชี้ว่าการถวายสัตย์ “เป็นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างฝ่ายบริหารซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญกับพระมหากษัตริย์”
แม้ว่านาทีนี้ ยังต้องเดินหน้าอภิปรายกันต่อไปตามกำหนด เหมือนกับ“การแสดงต้องดำเนินต่อไป”แต่รับรองว่าในความเป็นจริง มันทำได้ไม่เต็มร้อยแล้ว เพราะในเมื่อคำวินิจฉัยออกมาชี้ชัดแจ่มแจ้งแบบนั้น มันก็ทำให้ฝ่ายค้านแทบจะไปไม่เป็นเหมือนกัน และที่สำคัญหากอภิปรายเลยเถิดก็ยังเสี่ยงต่อการละเมิดอำนาจศาลเสียอีก แม้จะมี ส.ส.บางคนที่มั่น ใจในข้อกฎหมายอย่าง ปิยบุตร แสงกนกกุล จะย้ำให้เห็นว่า เขาเป็นผู้แทนปวงชนมีอำนาจสูงสุดก็ตาม แต่เชื่อว่าเมื่อถึงวันจริง ก็ต้องมีหลายคนที่ต้องมีอาการอึดอัด ไม่กล้าเสี่ยง
**ขณะที่อีกด้านหนึ่งสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องถือว่าน่าจะรู้สึกโล่งอย่างเป็นทางการ แม้ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้นำคณะรัฐมนตรีเข้ารับพระราชดำรัสในโอกาส เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ซึ่งพระราชทานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย มาแล้ว แต่เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ เป็นใครก็ย่อมต้องโล่งอกเป็นธรรมดา !!
กำลังโหลดความคิดเห็น