"พุทธิพงษ์" ยัน"บิ๊กตู่"ไปตอบสภาฯเอง มั่นใจปมถวายสัตย์ฯ กระจ่างแน่ เผย พปชร. พร้อมรับมือแล้ว แต่ประชุมลับได้ ก็ดี ด้านเพื่อไทย เชื่อรัฐบาลตั้งทีมป่วนการอภิปราย แนะ"ชวน"กล้าหาญ ชี้ 16 ก.ย. เหมาะสมสุด
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัล เศรษฐกิจเพื่อสังคม (ดีอี) ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึง การรับมือการอภิปรายนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน ว่า เชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร และเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะไปตอบข้อซักถามด้วยตัวเอง ขณะที่พรรคพปชร.ก็ได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ได้ยืนยันว่า จะอยู่ร่วมรับฟังการอภิปรายอย่างครบถ้วน จึงไม่ต้องตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี เพราะหากฝ่ายค้านอภิปรายเกินเลย นอกประเด็น หรือผิดข้อบังคับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็สามารถประท้วงให้เป็นไปตามข้อบังคับได้อยู่แล้ว และคิดว่าก่อนประชุม นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะมีการอธิบายกรอบของการอภิปรายให้สมาชิกได้รับทราบ แต่หาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่ามีอะไรเกินเลย ก็จะใช้สิทธิ์ประท้วง ตามหน้าที่
สำหรับการอภิปรายในวันที่ 18 ก.ย.นั้น เชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถชี้แจงได้อย่างชัดเจน เพราะพล.อ.ประยุทธ์ เคยพูดหลายครั้งแล้วว่า ปฏิบัติตามขั้นตอน แต่เมื่อฝ่ายค้านขอใช้สิทธิ์ตามระบอบรัฐสภา เพื่อขอเปิดอภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ ก็พร้อมใช้สิทธิ์ตัวเองในการชี้แจง ดังนั้นเมื่อชี้แจงแล้วทุกอย่างก็น่าจะจบ แต่ตอบไม่ได้ว่าหลังวันที่ 18 ก.ย.แล้ว ฝ่ายค้านยังจะหยิบยกประเด็นนี้มาพูดกันอีกหรือไม่
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ฝ่ายรัฐบาลจะเสนอเปิดประชุมลับ นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า การประชุมลับก็มีข้อดี เพราะประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณนั้น อาจมีเนื้อหาที่กระทบกระเทือนในหลายมิติ จึงเห็นว่า ถ้าประชุมลับได้ ก็จะเป็นเรื่องดี เพราะรธน. ก็กำหนดไว้ด้วยว่า ในการอภิปรายนั้น ไม่ควรมีประเด็นที่กระทบกระเทือนสถาบันหลักของชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง แต่หากมติของสมาชิกเห็นว่า ไม่ควรเปิดประชุมลับ เราก็พร้อมเห็นด้วยตามมติส่วนใหญ่
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการอภิปรายที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 ก.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในสมัยประชุมนี้ว่า รัฐบาลมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ และต้องการให้การอภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ต่อเนื่อง ขาดเนื้อหาสาระสำคัญ รวมทั้งมีเวลาน้อยในการอภิปราย เพราะสุดท้ายทางสภาฯ จะมีการเร่งให้มีการอภิปรายในญัตติดังกล่าว รวมทั้งต้องตัดผู้อภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ให้ใช้เวลาที่มีจำกัด เพราะต้องยุติก่อนเวลา 24.00 น. และเชืท่อว่าในวันดังกล่าวจะมีการเล่นเกมในสภา มีแนวโน้มว่าทางพรรคร่วมรัฐบาล จะมีการจัดทีม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ทำการประท้วงการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน จนทำให้การอภิปรายไม่ต่อเนื่อง และไม่ได้สาระสำคัญ
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า การกำหนดวันอภิปรายญัตติที่ฝ่ายค้านยื่น เป็นอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงอยากให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ใช้อำนาจในการกำหนดวันอภิปรายมาเลย ว่าวันไหน ซึ่งตนมองว่า วันที่ 16 ก.ย.62 เหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย ญัตติดังกล่าว เป็นญัตติที่สำคัญที่มีผลต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นไปตามรธน. ดังนั้น ทางรัฐสภาต้องกล้าหาญ ที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรธน. เพราะกรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะไม่ให้ความสนใจไม่ได้ ควรจะเข้ามาทำหน้าที่ เพราะประชาชนต้องการจะได้คำตอบจากนายกฯโดยตรง
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัล เศรษฐกิจเพื่อสังคม (ดีอี) ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึง การรับมือการอภิปรายนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน ว่า เชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไร และเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะไปตอบข้อซักถามด้วยตัวเอง ขณะที่พรรคพปชร.ก็ได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ได้ยืนยันว่า จะอยู่ร่วมรับฟังการอภิปรายอย่างครบถ้วน จึงไม่ต้องตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี เพราะหากฝ่ายค้านอภิปรายเกินเลย นอกประเด็น หรือผิดข้อบังคับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็สามารถประท้วงให้เป็นไปตามข้อบังคับได้อยู่แล้ว และคิดว่าก่อนประชุม นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะมีการอธิบายกรอบของการอภิปรายให้สมาชิกได้รับทราบ แต่หาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่ามีอะไรเกินเลย ก็จะใช้สิทธิ์ประท้วง ตามหน้าที่
สำหรับการอภิปรายในวันที่ 18 ก.ย.นั้น เชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถชี้แจงได้อย่างชัดเจน เพราะพล.อ.ประยุทธ์ เคยพูดหลายครั้งแล้วว่า ปฏิบัติตามขั้นตอน แต่เมื่อฝ่ายค้านขอใช้สิทธิ์ตามระบอบรัฐสภา เพื่อขอเปิดอภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ ก็พร้อมใช้สิทธิ์ตัวเองในการชี้แจง ดังนั้นเมื่อชี้แจงแล้วทุกอย่างก็น่าจะจบ แต่ตอบไม่ได้ว่าหลังวันที่ 18 ก.ย.แล้ว ฝ่ายค้านยังจะหยิบยกประเด็นนี้มาพูดกันอีกหรือไม่
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ฝ่ายรัฐบาลจะเสนอเปิดประชุมลับ นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า การประชุมลับก็มีข้อดี เพราะประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณนั้น อาจมีเนื้อหาที่กระทบกระเทือนในหลายมิติ จึงเห็นว่า ถ้าประชุมลับได้ ก็จะเป็นเรื่องดี เพราะรธน. ก็กำหนดไว้ด้วยว่า ในการอภิปรายนั้น ไม่ควรมีประเด็นที่กระทบกระเทือนสถาบันหลักของชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง แต่หากมติของสมาชิกเห็นว่า ไม่ควรเปิดประชุมลับ เราก็พร้อมเห็นด้วยตามมติส่วนใหญ่
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการอภิปรายที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 ก.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในสมัยประชุมนี้ว่า รัฐบาลมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ และต้องการให้การอภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ต่อเนื่อง ขาดเนื้อหาสาระสำคัญ รวมทั้งมีเวลาน้อยในการอภิปราย เพราะสุดท้ายทางสภาฯ จะมีการเร่งให้มีการอภิปรายในญัตติดังกล่าว รวมทั้งต้องตัดผู้อภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ให้ใช้เวลาที่มีจำกัด เพราะต้องยุติก่อนเวลา 24.00 น. และเชืท่อว่าในวันดังกล่าวจะมีการเล่นเกมในสภา มีแนวโน้มว่าทางพรรคร่วมรัฐบาล จะมีการจัดทีม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ทำการประท้วงการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน จนทำให้การอภิปรายไม่ต่อเนื่อง และไม่ได้สาระสำคัญ
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า การกำหนดวันอภิปรายญัตติที่ฝ่ายค้านยื่น เป็นอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงอยากให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ใช้อำนาจในการกำหนดวันอภิปรายมาเลย ว่าวันไหน ซึ่งตนมองว่า วันที่ 16 ก.ย.62 เหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย ญัตติดังกล่าว เป็นญัตติที่สำคัญที่มีผลต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นไปตามรธน. ดังนั้น ทางรัฐสภาต้องกล้าหาญ ที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรธน. เพราะกรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะไม่ให้ความสนใจไม่ได้ ควรจะเข้ามาทำหน้าที่ เพราะประชาชนต้องการจะได้คำตอบจากนายกฯโดยตรง