“ศักดิ์สยาม”ส่งสัญญาณ ล้างไพ่ “บอร์ดรัฐวิสาหกิจ” เสร็จก่อนเริ่มปีงบประมาณใหม่เดือนหน้า ย้ำหน่วยงานมีกำไรไม่เปลี่ยน ฮึ่ม “การบินไทย” ผลงานฟ้องอยู่ จนยอดขาดทุนสะสม 2.45 แสนล้านบาท ด้าน “ไกรฤทธิ์” ไขก๊อกประธานบอร์ด รฟม.แล้ว คาดตั้ง “ชัยวัฒน์” นั่งแทน เผย “บอร์ดรถไฟ” ติดปม ม.44 แต่งตั้ง ต้องหารือ “นายกฯ” แก้ไข ทางด้าน “ทอท.-กทพ.” ยังกำไรดีมีโอกาสได้ไปต่อ ส่วนรถไฟฟ้าสีส้ม ด้านตะวันตก 1.2แสน ล. “สมคิด-คลัง” พร้อมหนุนชงครม.
วานนี้ (5 ก.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณากระบวนการ และการกำกับดูแล การแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคมต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 และ พ.ศ. 2562 โดยควรจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2562 เพื่อเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีกำไรก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน และอยู่ในแผนฟื้นฟู ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บอร์ดเดิมลาออกไปแล้วอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ส่วนบอร์ด บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.), การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท.นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมของการโยกย้าย ในส่วนของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้หารือกับ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแล ส่วน รฟท.มีประเด็นว่าบอร์ดแต่งตั้งโดยคำสั่ง มาตรา 44 ซึ่งได้นำเรียนกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบเรื่องแล้ว
“ผมให้ปลัดคมนาคมไปดูกฎหมายและให้เสนอเข้ามาว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมา พอผมพูดก็บอกว่ารัฐมนตรีบ้าอำนาจ ผมก็ไม่อยากใช้อำนาจรัฐมนตรี ให้ดูระเบียบกฎหมายเป็นหลัก ทั้งนี้การแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจต้องดูเหตุผล หากที่ไหนมีกำไรจะไปโยกย้ายเขาได้ยังไง บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ยื่นลาออกไปแล้ว ส่วนการบินไทยทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าผลงานมันเป็นยังไง” นายศักดิ์สยามกล่าว
“ไกรฤทธิ์”ไขก๊อกประธานบอร์ดรฟม.
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2562 นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ด 2 คน ได้แก่ นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนาย ชูศักดิ์ เกวี ซึ่งเป็นกรรมการ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ยื่นใบลาออกแล้ว เพื่อเปิดทางให้มีการแต่งตั้งบอร์ดรฟม.ชุดใหม่ เบื้องต้นคาดว่า นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม จะได้รับการแต่งตั้งประธานบอร์ด รฟม.คนใหม่ ส่วน ขสมก.จะมีการแต่งตั้ง นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับแต่งตั้งไปเป็นอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562
รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานบอร์ดการบินไทยนั้นได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.61 พบว่าการบริหารงานมา 1 ปีกว่ายังไม่สามารถลดปริมาณการขาดทุนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จนทำให้ยอดขาดทุนสะสมของบริษัทอยู่ที่ 245,133 ล้านบาท และอัตราหนี้สินต่อกระแสเงินสด (debt to EBITDA) สูงถึง 86.43 เท่าตัว ส่วนผลประกอบการ ทอท.นั้นปรากฏว่า มียอดกำไรในปี 2561 ราว 25,000 ล้านบาท ส่วนด้าน กทท. ในแต่ละปีมีกำไรมากกว่า 5,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับ กทพ.ที่มีกำไรในปี 2561 มากกว่า 9,000 ล้านบาท
เดินหน้ารถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล.
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Cost เดินรถตลอดสาย มูลค่ารวม 122,041 ล้านบาทนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ล่าสุดได้หารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตามแผนเดิมที่อยู่ใต้กรอบวินัยการเงินการคลังปี 2563 ซึ่งทางกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะหาแนวทางให้ได้ไม่มีปัญหา
“สายสีส้ม ผ่านกก.PPP แล้ว เหลือเพื่อติดเพดานวินัยการเงินการคลัง ซึ่งในที่ประชุมครม.ศก. วันที่ 6 ก.ย. จะหารือกับรองนายกฯสมคิดอีกครั้ง นอกจากนี้จะรายงานความคืบหน้าโครงการในอีอีซีภายใต้การดุแลของกระทรวงคมนาคมต่อที่ประชุมด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว
วานนี้ (5 ก.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณากระบวนการ และการกำกับดูแล การแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคมต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 และ พ.ศ. 2562 โดยควรจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2562 เพื่อเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีกำไรก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน และอยู่ในแผนฟื้นฟู ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บอร์ดเดิมลาออกไปแล้วอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ส่วนบอร์ด บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.), การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท.นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมของการโยกย้าย ในส่วนของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้หารือกับ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแล ส่วน รฟท.มีประเด็นว่าบอร์ดแต่งตั้งโดยคำสั่ง มาตรา 44 ซึ่งได้นำเรียนกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบเรื่องแล้ว
“ผมให้ปลัดคมนาคมไปดูกฎหมายและให้เสนอเข้ามาว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมา พอผมพูดก็บอกว่ารัฐมนตรีบ้าอำนาจ ผมก็ไม่อยากใช้อำนาจรัฐมนตรี ให้ดูระเบียบกฎหมายเป็นหลัก ทั้งนี้การแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจต้องดูเหตุผล หากที่ไหนมีกำไรจะไปโยกย้ายเขาได้ยังไง บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ยื่นลาออกไปแล้ว ส่วนการบินไทยทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าผลงานมันเป็นยังไง” นายศักดิ์สยามกล่าว
“ไกรฤทธิ์”ไขก๊อกประธานบอร์ดรฟม.
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2562 นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ด 2 คน ได้แก่ นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนาย ชูศักดิ์ เกวี ซึ่งเป็นกรรมการ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ยื่นใบลาออกแล้ว เพื่อเปิดทางให้มีการแต่งตั้งบอร์ดรฟม.ชุดใหม่ เบื้องต้นคาดว่า นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม จะได้รับการแต่งตั้งประธานบอร์ด รฟม.คนใหม่ ส่วน ขสมก.จะมีการแต่งตั้ง นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับแต่งตั้งไปเป็นอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562
รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานบอร์ดการบินไทยนั้นได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.61 พบว่าการบริหารงานมา 1 ปีกว่ายังไม่สามารถลดปริมาณการขาดทุนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จนทำให้ยอดขาดทุนสะสมของบริษัทอยู่ที่ 245,133 ล้านบาท และอัตราหนี้สินต่อกระแสเงินสด (debt to EBITDA) สูงถึง 86.43 เท่าตัว ส่วนผลประกอบการ ทอท.นั้นปรากฏว่า มียอดกำไรในปี 2561 ราว 25,000 ล้านบาท ส่วนด้าน กทท. ในแต่ละปีมีกำไรมากกว่า 5,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับ กทพ.ที่มีกำไรในปี 2561 มากกว่า 9,000 ล้านบาท
เดินหน้ารถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล.
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Cost เดินรถตลอดสาย มูลค่ารวม 122,041 ล้านบาทนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ล่าสุดได้หารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตามแผนเดิมที่อยู่ใต้กรอบวินัยการเงินการคลังปี 2563 ซึ่งทางกระทรวงการคลังยืนยันว่าจะหาแนวทางให้ได้ไม่มีปัญหา
“สายสีส้ม ผ่านกก.PPP แล้ว เหลือเพื่อติดเพดานวินัยการเงินการคลัง ซึ่งในที่ประชุมครม.ศก. วันที่ 6 ก.ย. จะหารือกับรองนายกฯสมคิดอีกครั้ง นอกจากนี้จะรายงานความคืบหน้าโครงการในอีอีซีภายใต้การดุแลของกระทรวงคมนาคมต่อที่ประชุมด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว