“ศาลฎีกา” ยกฟ้อง "สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา" พ้นคดีปลอมเอกสารคิวโฆษณา ศาลฯพิเคราะห์แล้วเป็นการฟ้องซ้ำ เหลือลุ้นฎีกาคดีที่ร่วมกันโกงค่าโฆษณา อสมท.
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่ห้องพิจารณา 807 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1748/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการฯ อดีตพิธีกรรายการเล่าข่าวชื่อดัง, น.ส.มณฑา ธีระเดชอายุ เจ้าหน้าที่บริษัทไร่ส้มฯ และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาดหรือ นางชนาภา บุญโต อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอมเพื่อปกปิดกระทำความผิดของตนอันเป็นการทำให้เกิดความเสียหายและร่วมกันฉ้อโกง
คดีนี้อัยการโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.59 สรุปว่า ประมาณกลางเดือนก.ค. 49 จำเลยทั้งสี่ ร่วมกันนำเอกสารใบคิวโฆษณา รายการคุยคุ้ยข่าวระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ค. 49 จำนวน 139 แผ่น ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยร่วมกันทำปลอมขึ้นไปใช้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท จำกัด เพื่อเป็นหลักฐานในการโฆษณา และคิดค่าโฆษณาส่วนเกินในรายการคุยคุ้ยข่าว ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท หลงเชื่อ ว่าเอกสารใบคิวโฆษณานั้นเป็นเอกสารจริง ทำให้บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา หรือเสียค่าโฆษณาส่วนเกินน้อยกว่าความเป็นจริง การกระทำดังกล่าวทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจาก เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้ เป็นความผิดตามที่ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.313/2558 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบทแล้ว จึงเป็นการฟ้องซ้ำ และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจาก มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.595/2559 ของศาลนี้แล้ว สิทธิการนำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่ เป็นคดีนี้จึงระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4 ) โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสี่ เป็นคดีนี้อีก ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกาขอให้ศาลรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่การฟ้องซ้ำกับคดีที่ได้มีคำพิพากษาไปแล้ว แต่เป็นการกระทำผิดแยกอีกกรรมหนึ่ง ที่จำเลยได้ใช้น้ำยาลบคำผิด ลบข้อความการรายงานโฆษณาเกินในเอกสารเพื่อทำให้จำเลยทั้งสี่ได้รับประโยชน์จากการใช้เอกสารนั้นยื่นกับ บมจ.อสมท. ผู้เสียหาย
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ และ นายสรยุทธ จำเลยที่ 2, น.ส.มณฑา จำเลยที่ 3 นางพิชชาภา จำเลยที่ 4 มาศาลพร้อมทนายความ
ศาลฎีกาพิพากษาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือ เห็นว่า พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ เนื่องจากเห็นว่าคดีที่อัยการโจทก์ฟ้องศาล คดีปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมนั้น มีเจตนามุ่งหมายแสดงให้เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับเอกสารเพื่อปกปิดความผิดของจำเลยทั้งสี่ ที่ได้ร่วมกัน ไม่แจ้งข้อมูลที่เป็นการโฆษณาที่เกินเวลา ที่จำเลยที่ 4 ได้รับเงินค่าตอบแทน จากจำเลยที่ 1-3 อันเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรรัฐฯ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ดังนั้นที่อัยการฟ้องในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาเช่นนี้ แล้วคดีปลอมเอกสารสิทธินี้ ถือเป็นที่สุดแล้ว ส่วนคดีที่จำเลยทั้งสี่ ถูกยื่นฟ้องความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรรัฐฯ นั้น คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งคดีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้จำคุก นางพิชชาภา อดีตพนักงาน บมจ.อสมท เป็นเวลา20 ปี ส่วนนายสรยุทธ์ และ น.ส.มณฑา พนักงาน บมจ.ไร่ส้ม ให้จำคุกคนละ 13 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ส่วนบจก.ไร่ส้ม ให้ปรับ 8 แสนบาท ซึ่งทั้งหมดได้ประกันตัวระหว่างฎีกาคนละ 5 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะที่นายสรยุทธ์ ฟังคำพิพากษาเสร็จสิ้น ได้เดินทางกลับทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ทั้งนี้นายสรยุทธ์ มีสีหน้าที่ดูตึงเครียด ก่อนขึ้นรถยนต์ส่วนตัวกลับทันที
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่ห้องพิจารณา 807 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1748/2559 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการฯ อดีตพิธีกรรายการเล่าข่าวชื่อดัง, น.ส.มณฑา ธีระเดชอายุ เจ้าหน้าที่บริษัทไร่ส้มฯ และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาดหรือ นางชนาภา บุญโต อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอมเพื่อปกปิดกระทำความผิดของตนอันเป็นการทำให้เกิดความเสียหายและร่วมกันฉ้อโกง
คดีนี้อัยการโจทก์ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.59 สรุปว่า ประมาณกลางเดือนก.ค. 49 จำเลยทั้งสี่ ร่วมกันนำเอกสารใบคิวโฆษณา รายการคุยคุ้ยข่าวระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ค. 49 จำนวน 139 แผ่น ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยร่วมกันทำปลอมขึ้นไปใช้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท จำกัด เพื่อเป็นหลักฐานในการโฆษณา และคิดค่าโฆษณาส่วนเกินในรายการคุยคุ้ยข่าว ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บมจ.อสมท หลงเชื่อ ว่าเอกสารใบคิวโฆษณานั้นเป็นเอกสารจริง ทำให้บจก.ไร่ส้ม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา หรือเสียค่าโฆษณาส่วนเกินน้อยกว่าความเป็นจริง การกระทำดังกล่าวทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจาก เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้ เป็นความผิดตามที่ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.313/2558 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบทแล้ว จึงเป็นการฟ้องซ้ำ และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจาก มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.595/2559 ของศาลนี้แล้ว สิทธิการนำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่ เป็นคดีนี้จึงระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4 ) โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสี่ เป็นคดีนี้อีก ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกาขอให้ศาลรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่การฟ้องซ้ำกับคดีที่ได้มีคำพิพากษาไปแล้ว แต่เป็นการกระทำผิดแยกอีกกรรมหนึ่ง ที่จำเลยได้ใช้น้ำยาลบคำผิด ลบข้อความการรายงานโฆษณาเกินในเอกสารเพื่อทำให้จำเลยทั้งสี่ได้รับประโยชน์จากการใช้เอกสารนั้นยื่นกับ บมจ.อสมท. ผู้เสียหาย
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ และ นายสรยุทธ จำเลยที่ 2, น.ส.มณฑา จำเลยที่ 3 นางพิชชาภา จำเลยที่ 4 มาศาลพร้อมทนายความ
ศาลฎีกาพิพากษาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือ เห็นว่า พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ เนื่องจากเห็นว่าคดีที่อัยการโจทก์ฟ้องศาล คดีปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมนั้น มีเจตนามุ่งหมายแสดงให้เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับเอกสารเพื่อปกปิดความผิดของจำเลยทั้งสี่ ที่ได้ร่วมกัน ไม่แจ้งข้อมูลที่เป็นการโฆษณาที่เกินเวลา ที่จำเลยที่ 4 ได้รับเงินค่าตอบแทน จากจำเลยที่ 1-3 อันเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรรัฐฯ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ดังนั้นที่อัยการฟ้องในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาเช่นนี้ แล้วคดีปลอมเอกสารสิทธินี้ ถือเป็นที่สุดแล้ว ส่วนคดีที่จำเลยทั้งสี่ ถูกยื่นฟ้องความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรรัฐฯ นั้น คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งคดีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้จำคุก นางพิชชาภา อดีตพนักงาน บมจ.อสมท เป็นเวลา20 ปี ส่วนนายสรยุทธ์ และ น.ส.มณฑา พนักงาน บมจ.ไร่ส้ม ให้จำคุกคนละ 13 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ส่วนบจก.ไร่ส้ม ให้ปรับ 8 แสนบาท ซึ่งทั้งหมดได้ประกันตัวระหว่างฎีกาคนละ 5 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะที่นายสรยุทธ์ ฟังคำพิพากษาเสร็จสิ้น ได้เดินทางกลับทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ทั้งนี้นายสรยุทธ์ มีสีหน้าที่ดูตึงเครียด ก่อนขึ้นรถยนต์ส่วนตัวกลับทันที