“สุริยะ” เดินสายเก็บข้อมูลการลงทุนเวียดนาม หวังนำมาปรับเพื่อดึงดูดการลงทุนในไทย สั่ง สศอ. เร่งศึกษาแนวทางเสร็จใน 2 สัปดาห์ ก่อนนำเสนอ “สมคิด” เห็นชอบ ด้านนายกฯ เน้นให้ชี้แจง สิทธิประโยชน์การลงทุนในไทยให้ชัดเจน และคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยระหว่างการพบปะภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในเวียดนาม ณ สถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศเวียดนามว่า หลังจากที่ได้ศึกษามาตรการส่งเสริมการลงทุนของเวียดนามแล้ว ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปแนวทางในการดึงดูดการลงทุนของไทยภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศมาตรการในการดำเนินงานต่อไป
“จากสงครามการค้าทำให้นักลงทุนบางส่วนกำลังพิจารณาในการย้ายฐานการลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งเวียดนาม เป็นหนึ่งเป้าหมายของการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีมากขึ้น ซึ่งจากการมาศึกษา พบว่าไทยเองยังมีข้อได้เปรียบที่จะดึงดูดการลงทุนได้อีก”
ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อได้เปรียบของเวียดนาม จะพบว่ามีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ มีตลาดที่ใหญ่ เพราะมีประชากรถึง 95 ล้านคน มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (FTA เวียดนาม-อียู) เป็นต้น ขณะที่ไทยมีข้อได้เปรียบที่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีความพร้อม นโยบายการลงทุนไทยเปลี่ยนแปลงน้อย แม้การเมืองจะเปลี่ยนไปก็ตาม แรงงานฝีมือ ก็มีพร้อม
"ตอนนี้การเมืองของไทยมีการเลือกตั้งแล้ว มีมาตรการต่างๆ ที่จะดูแลเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องหลายอย่างที่ก่อนหน้านี้ทำไม่ได้ เช่น การทำข้อตกลง FTAไทย กับ อียู จากนี้ไปไทยเองคงจะมองการทำข้อตกลงเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและลงทุนมากขึ้น เชื่อว่าภาพรวมครึ่งปีหลังของปีนี้ การลงทุนไทยจะดีกว่าครึ่งปีแรก" นายสุริยะกล่าว
ทั้งนี้ เวียดนาม มีอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำกว่าไทย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโต 6-7% มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ดังนั้น นักลงทุนไทยที่น้นการผลิตที่ใช้แรงงานสูง ควรมองโอกาสการมาลงทุนในเวียดนามด้วยเช่นกัน เพราะจะช่วยเรื่องการสร้างเงินตราต่างประเทศเข้าไทย
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า แพคเกจที่จะออกมาเพื่อดึงดูดการย้ายฐานการผลิตนั้นจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ซึ่งจะไม่เน้นสิทธิประโยชน์การลงทุน แต่จะเน้นการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน เช่นการอนุมัติ อนุญาตต่างๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแพคเกจนี้จะกำหนดระยะเวลาให้นักลงทุนตัดสินใจเร็วขึ้น
นายมนตรี สุวรรณโพธิศรี ประธานบริษัท ซีพี เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การลงทุนในเวียดนามเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมีประชากรจำนวนมาก ควรมองเป็นพันธมิตร ขณะที่ไทยมีศักยภาพสูงในการลงทุน ควรพิจารณาสิทธิประโยชน์ใดที่ควรเพิ่ม กฏหมายต่างๆที่จะเอื้อมากขึ้น รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆที่จะรองรับ.
ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ตอกย้ำสิทธิประโยชน์การลงทุนในไทย ให้มีความชัดเจน และขอให้มาตรการส่งเสริมการลงทุนคำนึงถึงประโยชน์ขอประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญหลังจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้รายงานว่าถึง ผลทางด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่ายังคงอยู่ในวงจำกัด โดยผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะจำกัด เนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบ ดังนี้ (1) ผลกระทบทางลบ จากกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก และสินค้าที่ไทยเป็น ห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเลกทรอนิกส์ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ (2) ขณะที่ผลกระทบในเชิงบวก คาดว่าจะมาจากการส่งออกสินค้าที่ไทยสามารถคว้าโอกาสทดแทนกันในตลาดจีน อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และในตลาดสหรัฐฯ อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยระหว่างการพบปะภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในเวียดนาม ณ สถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศเวียดนามว่า หลังจากที่ได้ศึกษามาตรการส่งเสริมการลงทุนของเวียดนามแล้ว ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปแนวทางในการดึงดูดการลงทุนของไทยภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศมาตรการในการดำเนินงานต่อไป
“จากสงครามการค้าทำให้นักลงทุนบางส่วนกำลังพิจารณาในการย้ายฐานการลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งเวียดนาม เป็นหนึ่งเป้าหมายของการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีมากขึ้น ซึ่งจากการมาศึกษา พบว่าไทยเองยังมีข้อได้เปรียบที่จะดึงดูดการลงทุนได้อีก”
ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อได้เปรียบของเวียดนาม จะพบว่ามีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ มีตลาดที่ใหญ่ เพราะมีประชากรถึง 95 ล้านคน มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (FTA เวียดนาม-อียู) เป็นต้น ขณะที่ไทยมีข้อได้เปรียบที่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีความพร้อม นโยบายการลงทุนไทยเปลี่ยนแปลงน้อย แม้การเมืองจะเปลี่ยนไปก็ตาม แรงงานฝีมือ ก็มีพร้อม
"ตอนนี้การเมืองของไทยมีการเลือกตั้งแล้ว มีมาตรการต่างๆ ที่จะดูแลเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องหลายอย่างที่ก่อนหน้านี้ทำไม่ได้ เช่น การทำข้อตกลง FTAไทย กับ อียู จากนี้ไปไทยเองคงจะมองการทำข้อตกลงเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าและลงทุนมากขึ้น เชื่อว่าภาพรวมครึ่งปีหลังของปีนี้ การลงทุนไทยจะดีกว่าครึ่งปีแรก" นายสุริยะกล่าว
ทั้งนี้ เวียดนาม มีอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำกว่าไทย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโต 6-7% มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ดังนั้น นักลงทุนไทยที่น้นการผลิตที่ใช้แรงงานสูง ควรมองโอกาสการมาลงทุนในเวียดนามด้วยเช่นกัน เพราะจะช่วยเรื่องการสร้างเงินตราต่างประเทศเข้าไทย
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า แพคเกจที่จะออกมาเพื่อดึงดูดการย้ายฐานการผลิตนั้นจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ซึ่งจะไม่เน้นสิทธิประโยชน์การลงทุน แต่จะเน้นการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน เช่นการอนุมัติ อนุญาตต่างๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแพคเกจนี้จะกำหนดระยะเวลาให้นักลงทุนตัดสินใจเร็วขึ้น
นายมนตรี สุวรรณโพธิศรี ประธานบริษัท ซีพี เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การลงทุนในเวียดนามเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมีประชากรจำนวนมาก ควรมองเป็นพันธมิตร ขณะที่ไทยมีศักยภาพสูงในการลงทุน ควรพิจารณาสิทธิประโยชน์ใดที่ควรเพิ่ม กฏหมายต่างๆที่จะเอื้อมากขึ้น รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆที่จะรองรับ.
ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ตอกย้ำสิทธิประโยชน์การลงทุนในไทย ให้มีความชัดเจน และขอให้มาตรการส่งเสริมการลงทุนคำนึงถึงประโยชน์ขอประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญหลังจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้รายงานว่าถึง ผลทางด้านเศรษฐกิจ ในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่ายังคงอยู่ในวงจำกัด โดยผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะจำกัด เนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบ ดังนี้ (1) ผลกระทบทางลบ จากกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก และสินค้าที่ไทยเป็น ห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเลกทรอนิกส์ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ (2) ขณะที่ผลกระทบในเชิงบวก คาดว่าจะมาจากการส่งออกสินค้าที่ไทยสามารถคว้าโอกาสทดแทนกันในตลาดจีน อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และในตลาดสหรัฐฯ อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น