“เครือข่ายต้านสารพิษ” ตบเท้ามอบดอกไม้ให้กำลังใจ "หมอธีระวัฒน์" หลังถูก “จุฬาฯ” ตั้งกรรมการสอบ จี้ปกป้องนักวิชาการที่ต่อสู้เพื่อสุขภาพ ปชช. ติงตรวจสอบข้อมูลก่อนตั้ง กก.สอบ ร้อง"เสี่ยหนู-มนัญญา" ทำตามสัญญาแบนสารพิษ ด้าน “หมอธีระวัฒน์” น้ำตาซึม-รับหดหู่ แต่ยืนยันชัด “พาราควอต” อันตรายถึงตาย
วานนี้ (29 ส.ค.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร นำโดย นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) น.ส.รสนา โตสิตระกูล กรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย และ นายยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ศิลปินชื่อดัง ได้เดินทางมาให้กำลังใจ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นผู้ออกมารณรงค์อย่างหนัก ถึงการให้ยกเลิกสารพิษทางการเกษตร แต่ถูกจุฬาฯ ตั้งคณะกรรมการ สืบหาข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องเรียน กล่าวหา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร และมีการเชิญให้เข้าชี้แจง วันที่ 29 ส.ค. แต่มีการเลื่อนออกไป
ทั้งนี้ เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษฯ ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ โดยเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ก่อนการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ควรตั้งคณะทำงานที่ปราศจากผลประโยชน์เพื่อตรวจสอบข้อมูลจากผู้กล่าวหาก่อน พร้อมสนับสนุนบทบาทของ นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ที่มีแนวนโยบายจะยกเลิกการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูงโดยเร็ว
จากนั้นทางเครือข่ายฯ ได้มอบดอกไม้เป็นกำลังใจ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ และ ส่งเสียงตะโกน “คุณหมอสู้ๆ” เป็นระยะ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือ พร้อมน้ำตา ว่า ก่อนหน้าวันนี้ ยอมรับว่า หดหู่ เหมือนเราสู้กันอยู่ไม่กี่คน ตลอดเวลา 30-40 ปี ตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ ได้เห็นคนเสียชีวิตจากพาราควอตมาตลอด และยืนยันว่ามีอันตรายถึงเสียชีวิต หากจิบเพียง 2-4 ซีซี หรือสัมผัสปริมาณน้อยนิดก็สามารถซึมเข้าไปในเนื้อเยื่ออ่อนได้แล้ว ฉะนั้นที่บอกว่า พาราควอต เป็นสารอันตรายระดับปานกลางนั้นไม่เป็นความจริง รวมไปถึงที่บอกว่า พาราควอต เมื่อตกลงดินแล้วจะถูกตรึงที่ดิน และมีการทำลายพิษของมัน ก็ขัดแย้งกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงปี 58- 61 ในประเทศไทย มีจำนวนคนหนังเน่า เนื้อเน่า กว่า 68,600 คน มีคนจำนวนมากถูกตัดขา และใส่ขาปลอม และจำนวนมากต้องเสียเสียชีวิต ก็มาจาการไปย่ำหรือสัมผัสน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนทั้งสิ้น
วานนี้ (29 ส.ค.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร นำโดย นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) น.ส.รสนา โตสิตระกูล กรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย และ นายยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ศิลปินชื่อดัง ได้เดินทางมาให้กำลังใจ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นผู้ออกมารณรงค์อย่างหนัก ถึงการให้ยกเลิกสารพิษทางการเกษตร แต่ถูกจุฬาฯ ตั้งคณะกรรมการ สืบหาข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องเรียน กล่าวหา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร และมีการเชิญให้เข้าชี้แจง วันที่ 29 ส.ค. แต่มีการเลื่อนออกไป
ทั้งนี้ เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษฯ ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ โดยเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ก่อนการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ควรตั้งคณะทำงานที่ปราศจากผลประโยชน์เพื่อตรวจสอบข้อมูลจากผู้กล่าวหาก่อน พร้อมสนับสนุนบทบาทของ นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ที่มีแนวนโยบายจะยกเลิกการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูงโดยเร็ว
จากนั้นทางเครือข่ายฯ ได้มอบดอกไม้เป็นกำลังใจ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ และ ส่งเสียงตะโกน “คุณหมอสู้ๆ” เป็นระยะ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือ พร้อมน้ำตา ว่า ก่อนหน้าวันนี้ ยอมรับว่า หดหู่ เหมือนเราสู้กันอยู่ไม่กี่คน ตลอดเวลา 30-40 ปี ตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ ได้เห็นคนเสียชีวิตจากพาราควอตมาตลอด และยืนยันว่ามีอันตรายถึงเสียชีวิต หากจิบเพียง 2-4 ซีซี หรือสัมผัสปริมาณน้อยนิดก็สามารถซึมเข้าไปในเนื้อเยื่ออ่อนได้แล้ว ฉะนั้นที่บอกว่า พาราควอต เป็นสารอันตรายระดับปานกลางนั้นไม่เป็นความจริง รวมไปถึงที่บอกว่า พาราควอต เมื่อตกลงดินแล้วจะถูกตรึงที่ดิน และมีการทำลายพิษของมัน ก็ขัดแย้งกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงปี 58- 61 ในประเทศไทย มีจำนวนคนหนังเน่า เนื้อเน่า กว่า 68,600 คน มีคนจำนวนมากถูกตัดขา และใส่ขาปลอม และจำนวนมากต้องเสียเสียชีวิต ก็มาจาการไปย่ำหรือสัมผัสน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนทั้งสิ้น