"ศักดิ์สยาม"เตรียมควง"อนุทิน" ถกทูตจีนนอกรอบ เคลียร์ปมสัญญา 2.3 ไฮสปีด"ไทย-จีน" มั่นใจปิดดีลได้ เผยส.ค.นี้ ชงครม.เคาะแผนเช่าซื้อเครื่องบิน 38 ลำ วงเงิน 1.56 แสนล้าน และรถไฟฟ้าสีส้ม (ตะวันตก)
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กรุงเทพฯ–หนองคาย ระยะแรกช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ซึ่งการเจรจาเงื่อนไขสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร ) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม และตนเอง จะนำรายละเอียดไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทย อย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุม คณะกรรมการร่วมไทย-จีน ต่อไป
ทั้งนี้ มั่นใจว่าการเจรจาจะมีข้อสรุป เพราะทั้งฝ่ายไทยและจีน ต้องการให้โครงการเกิด และเดินหน้า โดยได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรวบรวมรายละเอียดรวมถึงร่างสัญญา ที่ทางอัยการสูงสุด มีความเห็นเพิ่มเติม
"ประเด็นที่ยังไม่จบ เป็นเรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่า เป็นการผูกมัด ส่วนการรับประกันผลงาน เจรจาจบแล้วโดยจีนยอมปฎิบัติตามกฎหมายไทย"
ชงครม.เช่าซื้อฝูงบิน38ลำ1.56 แสนล.
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่าในเดือนส.ค.นี้ คาดว่าจะเสนอครม. พิจารณา โครงการจัดหาเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 38 ลำ วงเงินลงทุน 156,169 ล้านบาทได้ หลังจากตรวจสอบรายละเอียด เหตุผลความจำเป็น ซึ่งการบินไทย ยืนยันเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้และชำระคืนเองโดยไม่เป็นภาระงบประมาณอีกทั้งบอร์ดสภาพัฒน์ฯ ได้เห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้ เห็นว่ามีความจำเป็น และต้องเร่งตัดสินใจเพื่อให้ การบินไทยสามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ให้จัดซื้อตามมาตรฐานสากล ล่าสุดนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กำลังตรวจสอบรายละเอียดอีกเล็กน้อย ซึ่งคงไม่นาน จะสรุปได้ โดยโครงการจัดหาเครื่องบินจำนวน 38 ลำ ปี 62- 69 แบ่งการจัดหาเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ปี 62-67 จำนวน 25 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบิน พิสัยกลาง-ไกล ขนาด 250-375 ที่นั่ง จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ พิสัยใกล้ ขนาด 170-220 ที่นั่ง จำนวน 22 ลำ วงเงินลงทุน 71,874 ล้านบาท พร้อมทั้งเครื่องยนต์สำรอง 8 เครื่องยนต์ วงเงิน 6,740 ล้านบาท โดยวงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 78,614 ล้านบาท
ช่วงที่ 2 ปี 63-69 จัดหาเครื่องบินแบบ Option Orderจำนวน 13 ลำ พร้อมเครื่องยนต์สำรอง วงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 77,555 ล้านบาท เพื่อทดแทนการปลดระวางเครื่องบินแบบ A380-800และ B777-200ER
ทั้งนี้ จัดหาโดยวิธีการเช่าซื้อทั้งหมด 38 ลำ แต่หากไม่สามารถดำเนินการจัดหาด้วยวิธีเช่าซื้อได้ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่มีเครื่องบินตามเวลาที่ต้องการ หรือ สถานะการเงิน/การแข่งขัน มีการเปลี่ยนแปลง จึงจะพิจารณาเช่าดำเนินงานตามความจำเป็น
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Costมูลค่ารวม 122,041 ล้านบาท เนื่องจากเพดานกรอบวินัยการเงินการคลัง ปี 2563 เหลือเพียง 30,000 ล้านบาท ไม่พอกับต้องการที่ 90,000 ล้านบาท จึงให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งปรับปรุงแผนงานและนำเสนอครม.ขออนุมัติหลักการ การลงทุนในงบประมาณปี 2564 ต่อไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กรุงเทพฯ–หนองคาย ระยะแรกช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ซึ่งการเจรจาเงื่อนไขสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร ) กรอบวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม และตนเอง จะนำรายละเอียดไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทย อย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุม คณะกรรมการร่วมไทย-จีน ต่อไป
ทั้งนี้ มั่นใจว่าการเจรจาจะมีข้อสรุป เพราะทั้งฝ่ายไทยและจีน ต้องการให้โครงการเกิด และเดินหน้า โดยได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรวบรวมรายละเอียดรวมถึงร่างสัญญา ที่ทางอัยการสูงสุด มีความเห็นเพิ่มเติม
"ประเด็นที่ยังไม่จบ เป็นเรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่า เป็นการผูกมัด ส่วนการรับประกันผลงาน เจรจาจบแล้วโดยจีนยอมปฎิบัติตามกฎหมายไทย"
ชงครม.เช่าซื้อฝูงบิน38ลำ1.56 แสนล.
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่าในเดือนส.ค.นี้ คาดว่าจะเสนอครม. พิจารณา โครงการจัดหาเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 38 ลำ วงเงินลงทุน 156,169 ล้านบาทได้ หลังจากตรวจสอบรายละเอียด เหตุผลความจำเป็น ซึ่งการบินไทย ยืนยันเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้และชำระคืนเองโดยไม่เป็นภาระงบประมาณอีกทั้งบอร์ดสภาพัฒน์ฯ ได้เห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้ เห็นว่ามีความจำเป็น และต้องเร่งตัดสินใจเพื่อให้ การบินไทยสามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ให้จัดซื้อตามมาตรฐานสากล ล่าสุดนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม กำลังตรวจสอบรายละเอียดอีกเล็กน้อย ซึ่งคงไม่นาน จะสรุปได้ โดยโครงการจัดหาเครื่องบินจำนวน 38 ลำ ปี 62- 69 แบ่งการจัดหาเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ปี 62-67 จำนวน 25 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบิน พิสัยกลาง-ไกล ขนาด 250-375 ที่นั่ง จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ พิสัยใกล้ ขนาด 170-220 ที่นั่ง จำนวน 22 ลำ วงเงินลงทุน 71,874 ล้านบาท พร้อมทั้งเครื่องยนต์สำรอง 8 เครื่องยนต์ วงเงิน 6,740 ล้านบาท โดยวงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 78,614 ล้านบาท
ช่วงที่ 2 ปี 63-69 จัดหาเครื่องบินแบบ Option Orderจำนวน 13 ลำ พร้อมเครื่องยนต์สำรอง วงเงินลงทุนรวมไม่เกิน 77,555 ล้านบาท เพื่อทดแทนการปลดระวางเครื่องบินแบบ A380-800และ B777-200ER
ทั้งนี้ จัดหาโดยวิธีการเช่าซื้อทั้งหมด 38 ลำ แต่หากไม่สามารถดำเนินการจัดหาด้วยวิธีเช่าซื้อได้ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่มีเครื่องบินตามเวลาที่ต้องการ หรือ สถานะการเงิน/การแข่งขัน มีการเปลี่ยนแปลง จึงจะพิจารณาเช่าดำเนินงานตามความจำเป็น
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 35.9 กม. และการร่วมลงทุนเอกชนแบบ PPP Net Costมูลค่ารวม 122,041 ล้านบาท เนื่องจากเพดานกรอบวินัยการเงินการคลัง ปี 2563 เหลือเพียง 30,000 ล้านบาท ไม่พอกับต้องการที่ 90,000 ล้านบาท จึงให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งปรับปรุงแผนงานและนำเสนอครม.ขออนุมัติหลักการ การลงทุนในงบประมาณปี 2564 ต่อไป