**จะเรียกว่าน่าผิดหวังกับบรรดาพรรคฝ่ายค้าน ที่จนถึงเวลานี้ยังมองไม่เห็นเป็นโล้เป็นพาย ยังไม่เห็นแนวโน้มในการสร้างผลงานให้เป็นไปตามที่ชาวบ้านคาดหวัง หรือเป็นไปตามที่ชาวบ้านต้องการ แต่กลับเน้นไปทำในเรื่องอื่นๆ ที่มีปัญหาในเรื่องการจัดเรียงลำดับความสำคัญ
แน่นอนว่าเวลานี้หากพิจารณาจากการเคลื่อนไหวหลักของบรรดาพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะพบว่าโฟกัสไปกับสองเรื่องที่ดูแล้วเอาจริงเอาจังจนผิดปกติ นั่นคือ การเคลื่อนไหว แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และ สอง ทำทุกทางเพื่อล้มรัฐบาลหรือล้ม“บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม อย่างที่เห็นในเวลานี้ก็คือ พยายามกระพือเรื่องการ“ถวายสัตย์ฯ”ไม่ครบถ้วน โดยอ้างว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา161
หากมองจากบทบาทดังกล่าวของฝ่ายค้าน ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขามีสิทธิอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนไหวแบบนั้น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณากันอย่างหนัก และไม่ควรมองข้ามก็คือ ความรู้สึกและความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ ว่าสิ่งที่พวกเขาอยากให้ทำอะไรเป็นเรื่องเร่งด่วน ก่อน หลัง
หากตรวจสอบจากผลสำรวจที่ออกมาตรงกันทุกสำนักก็คือ สิ่งที่ชาวบ้านอยากให้มีการแก้ไขเป็นเรื่องเร่งด่วนอันดับแรก คือ ปัญหาปากท้อง เรื่องสินค้าราคาเกษตรตกต่ำ ชาวบ้านกังวลในเรื่องเศรษฐกิจที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง มีเรื่องหนี้สิน ที่อยากให้รัฐบาลแก้ไข อยากให้ฝ่ายค้านสร้างผลงานด้วยการ“ไล่บี้” พร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือออกไปรับฟังปัญหาทุกข์ร้อนของชาวบ้าน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มากกว่าหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่มันไกลตัวของชาวบ้าน
**แน่นอนว่าในแง่เทคนิคทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พยายามขยายความในเรื่องของปมการถวายสัตย์ฯไม่ครบถ้วน รวมไปถึงการผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือในความหมาย“ฉีกทิ้ง”ฉบับปัจจุบันทั้งฉบับ แล้วร่างใหม่ กับเรื่องแรกที่เคลื่อนไหวในเรื่อง ถวายสัตย์ฯไม่ครบ และระบุว่าขัดรัฐธรรมนูญนั้น มันเป็นพฤติกรรมที่ “ย้อนแย้ง”ขัดกันเองพิกล เพราะเรื่องแรกเหมือนกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่เห็นการกระทำที่ขัดกฎหมายแล้วทนไม่ได้ขึ้นมาทันที ต้องจัดการให้เด็ดขาด แต่อีกอารมณ์หนึ่งกลับมีความพยายามเคลื่อนไหวจะ “ฉีกทิ้ง”แล้วร่างใหม่ ความรู้สึกมันจึงสวนทางกัน
การเคลื่อนไหวดังกล่าวของพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างที่ระบุเอาไว้ในตอนต้น ว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา แต่ขณะเดียวกันหากคิดให้เกิดพลังให้มากกว่านี้หลายเท่ามันก็ต้องสร้าง “อารมณ์ร่วม”ในวงกว้างจากสังคมภายนอก ไม่ใช่เป็นลักษณะของการสนองความรู้สึกของคนกันเอง พวกเดียวกันเองเดิมๆ จนกลายเป็นว่าเวลานี้อารมณ์ร่วมเริ่มสวิงไปทางรัฐบาล โดยเฉพาะ “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในแบบที่ได้แต้ม เพราะสิ่งที่ นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำก็คือ ต้องเร่งแก้ปัญหา“ปากท้อง”ก่อน หรือใช้คำว่า "เศรษฐกิจฐานราก" ส่วนจะได้ผลหรือทำจริงแค่ไหนก็ยังไม่รู้ เพราะเพิ่งได้ทำหน้าที่เพียงไม่กี่วัน แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องไหนเป็นเรื่องเร่งด่วน เป็นอันดับแรก
ขณะเดียวกัน เมื่อได้เห็นความเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน มันก็เหมือนกับอีกอารมณ์หนึ่งที่เดินไปอีกทาง เหมือนกับไม่ได้รับรู้ความรู้สึกของชาวบ้านว่าต้องการสิ่งไหนมาก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากอีกมุมหนึ่งมันก็อาจสะท้อนความเป็นจริงได้เหมือนกันว่า อาจเป็นเพราะความอ่อนด้อยประสบการณ์ หรือ“มือใหม่”ไม่ว่าจะเป็นพรรคแกนนำอย่างพรรคเพื่อไทย ที่เคยชินแต่กับการเป็นรัฐบาล ที่ทำงาน“นายใหญ่”ที่เป็นเจ้าของเท่านั้น
ภารกิจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับถูกมองว่า เป็นภารกิจที่ต้องการ“ลบล้าง”ความผิดที่กลายเป็นชนักปักหลังไปตลอดกาลอีกแล้วหรือไม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งพรรคน้องใหม่ อย่าง พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ในสองความรู้สึกปะปนกันไป ที่ก่อนหน้าในตอนเริ่มแรก เลขาธิการพรรค อย่าง ปิยบุตร แสงกนกกุล คิดจะเสนอแก้ไขบางมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากตัวเองได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ก็ถูกสอนมวยจากพรรคเพื่อไทยในตอนนั้น ในทำนองว่า “อ่อนหัด” โดยระบุว่าไม่ว่าจะแก้ทั้งฉบับ หรือรายมาตรา มันก็มีความยากไม่ได้แตกต่างกัน
**ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของพรรคร่วมฝ่ายค้านในเวลานี้ถือว่า ยังไม่สร้างพลังแบบมีลำหักลำโค่นที่แรงพอ อีกทั้งยังเคลื่อนไหวที่สวนทางกับความต้องการของชาวบ้าน เวลานี้มันก็เหมือนกับการ “ติดกับดักความแค้น”ไม่ได้ทำหน้าที่ตามบทบาทฝ่ายค้านในแบบมืออาชีพอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่านาทีนี้ ฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ถือว่าโดดเด่น เพราะเพิ่งเริ่มสตาร์ท แต่ตราบใดที่ฝ่ายค้านยังคลำทางไม่เจอ มันก็น่าหนักใจเหมือนกัน !!
แน่นอนว่าเวลานี้หากพิจารณาจากการเคลื่อนไหวหลักของบรรดาพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะพบว่าโฟกัสไปกับสองเรื่องที่ดูแล้วเอาจริงเอาจังจนผิดปกติ นั่นคือ การเคลื่อนไหว แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และ สอง ทำทุกทางเพื่อล้มรัฐบาลหรือล้ม“บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม อย่างที่เห็นในเวลานี้ก็คือ พยายามกระพือเรื่องการ“ถวายสัตย์ฯ”ไม่ครบถ้วน โดยอ้างว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา161
หากมองจากบทบาทดังกล่าวของฝ่ายค้าน ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขามีสิทธิอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนไหวแบบนั้น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณากันอย่างหนัก และไม่ควรมองข้ามก็คือ ความรู้สึกและความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ ว่าสิ่งที่พวกเขาอยากให้ทำอะไรเป็นเรื่องเร่งด่วน ก่อน หลัง
หากตรวจสอบจากผลสำรวจที่ออกมาตรงกันทุกสำนักก็คือ สิ่งที่ชาวบ้านอยากให้มีการแก้ไขเป็นเรื่องเร่งด่วนอันดับแรก คือ ปัญหาปากท้อง เรื่องสินค้าราคาเกษตรตกต่ำ ชาวบ้านกังวลในเรื่องเศรษฐกิจที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง มีเรื่องหนี้สิน ที่อยากให้รัฐบาลแก้ไข อยากให้ฝ่ายค้านสร้างผลงานด้วยการ“ไล่บี้” พร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือออกไปรับฟังปัญหาทุกข์ร้อนของชาวบ้าน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มากกว่าหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่มันไกลตัวของชาวบ้าน
**แน่นอนว่าในแง่เทคนิคทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พยายามขยายความในเรื่องของปมการถวายสัตย์ฯไม่ครบถ้วน รวมไปถึงการผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือในความหมาย“ฉีกทิ้ง”ฉบับปัจจุบันทั้งฉบับ แล้วร่างใหม่ กับเรื่องแรกที่เคลื่อนไหวในเรื่อง ถวายสัตย์ฯไม่ครบ และระบุว่าขัดรัฐธรรมนูญนั้น มันเป็นพฤติกรรมที่ “ย้อนแย้ง”ขัดกันเองพิกล เพราะเรื่องแรกเหมือนกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่เห็นการกระทำที่ขัดกฎหมายแล้วทนไม่ได้ขึ้นมาทันที ต้องจัดการให้เด็ดขาด แต่อีกอารมณ์หนึ่งกลับมีความพยายามเคลื่อนไหวจะ “ฉีกทิ้ง”แล้วร่างใหม่ ความรู้สึกมันจึงสวนทางกัน
การเคลื่อนไหวดังกล่าวของพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างที่ระบุเอาไว้ในตอนต้น ว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา แต่ขณะเดียวกันหากคิดให้เกิดพลังให้มากกว่านี้หลายเท่ามันก็ต้องสร้าง “อารมณ์ร่วม”ในวงกว้างจากสังคมภายนอก ไม่ใช่เป็นลักษณะของการสนองความรู้สึกของคนกันเอง พวกเดียวกันเองเดิมๆ จนกลายเป็นว่าเวลานี้อารมณ์ร่วมเริ่มสวิงไปทางรัฐบาล โดยเฉพาะ “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในแบบที่ได้แต้ม เพราะสิ่งที่ นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำก็คือ ต้องเร่งแก้ปัญหา“ปากท้อง”ก่อน หรือใช้คำว่า "เศรษฐกิจฐานราก" ส่วนจะได้ผลหรือทำจริงแค่ไหนก็ยังไม่รู้ เพราะเพิ่งได้ทำหน้าที่เพียงไม่กี่วัน แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องไหนเป็นเรื่องเร่งด่วน เป็นอันดับแรก
ขณะเดียวกัน เมื่อได้เห็นความเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน มันก็เหมือนกับอีกอารมณ์หนึ่งที่เดินไปอีกทาง เหมือนกับไม่ได้รับรู้ความรู้สึกของชาวบ้านว่าต้องการสิ่งไหนมาก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากอีกมุมหนึ่งมันก็อาจสะท้อนความเป็นจริงได้เหมือนกันว่า อาจเป็นเพราะความอ่อนด้อยประสบการณ์ หรือ“มือใหม่”ไม่ว่าจะเป็นพรรคแกนนำอย่างพรรคเพื่อไทย ที่เคยชินแต่กับการเป็นรัฐบาล ที่ทำงาน“นายใหญ่”ที่เป็นเจ้าของเท่านั้น
ภารกิจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับถูกมองว่า เป็นภารกิจที่ต้องการ“ลบล้าง”ความผิดที่กลายเป็นชนักปักหลังไปตลอดกาลอีกแล้วหรือไม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งพรรคน้องใหม่ อย่าง พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ในสองความรู้สึกปะปนกันไป ที่ก่อนหน้าในตอนเริ่มแรก เลขาธิการพรรค อย่าง ปิยบุตร แสงกนกกุล คิดจะเสนอแก้ไขบางมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากตัวเองได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ก็ถูกสอนมวยจากพรรคเพื่อไทยในตอนนั้น ในทำนองว่า “อ่อนหัด” โดยระบุว่าไม่ว่าจะแก้ทั้งฉบับ หรือรายมาตรา มันก็มีความยากไม่ได้แตกต่างกัน
**ดังนั้น หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของพรรคร่วมฝ่ายค้านในเวลานี้ถือว่า ยังไม่สร้างพลังแบบมีลำหักลำโค่นที่แรงพอ อีกทั้งยังเคลื่อนไหวที่สวนทางกับความต้องการของชาวบ้าน เวลานี้มันก็เหมือนกับการ “ติดกับดักความแค้น”ไม่ได้ทำหน้าที่ตามบทบาทฝ่ายค้านในแบบมืออาชีพอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่านาทีนี้ ฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ถือว่าโดดเด่น เพราะเพิ่งเริ่มสตาร์ท แต่ตราบใดที่ฝ่ายค้านยังคลำทางไม่เจอ มันก็น่าหนักใจเหมือนกัน !!