นายกฯ ห่วงผลกระทบสถานการณ์เศรษฐกิจโลก-สงครามการค้า ชี้ส่งออก 5 เดือนแรกหดตัว เตรียมหารือครม.เศรษฐกิจ ขณะที่ "ซุเปอร์โพล" ชี้การเมืองไทยยังไม่นิ่ง ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภค
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นห่วงถึงผลกระทบของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และสงครามการค้า พร้อมกำชับให้รายงานข้อมูลผลกระทบดังกล่าวทุกระยะ เพื่อเตรียมการหารือใน คณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจ ขณะที่การส่งออกของไทย ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวลงและสถานการณ์ของสงครามการค้า ตั้งแต่ต้นปี 2561 ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ หดตัวลงร้อยละ 2.7 แต่ยังถือว่าหดตัวต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ที่มีอัตรามูลค่าการส่งออกช่วง 5 เดือนแรกของปี หดตัวลง ร้อยละ8.7และ ร้อยละ7.4 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน คาดว่าจะอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบผลกระทบทางลบ คือ กลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ส่วนผลกระทบทางบวก คาดว่าจะมาจากการส่งออกสินค้าที่ไทยสามารถคว้าโอกาสทดแทนในตลาดจีน เช่น กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และในตลาดสหรัฐฯ เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เคมีภัณฑ์เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้า ยังอาจส่งผลให้เกิดการย้ายการลงทุนจากจีนมาไทย เพราะจีนเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญอันดับ 7 ของไทย ในปี 2561 โดยมีมูลค่าคงค้าง 5,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.12 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปีก่อนหน้า และขยับสูงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ในไตรมาส 1 ปี 2562 โดยจีนขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยถึง 38โครงการ มีมูลค่ารวม 9,072 ล้านบาท
"ท่านนายกฯ ได้มอบหมายให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาหาแนวทางรองรับผลกระทบทางลบ และปรับเปลี่ยนมาตรการที่ระดับโครงสร้างเพื่อให้ไทยเราได้รับประโยชน์จากผลกระทบทางบวกให้ได้มากที่สุด โดยจะได้นำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาในครม.เศรษฐกิจต่อไป ท่านนายกฯ กำชับว่า การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะต้องดูแลเศรษฐกิจทั้ง 3 ระดับ คือ บน กลาง และล่าง เน้นให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง "
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังฝากถึงประชาชน จิตอาสา ข้าราชการ และเอกชน ในท้องถิ่น ทุกจังหวัด ร่วมใจกันปฏิบัติภารกิจจิตอาสา ด้วยการร่วมกันนำเครื่องจักร มาช่วยกันเปิดทางน้ำ ร่วมแรงกันขุด และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เมื่อฝนตกลงมาจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมขอพลังคนไทย ร่วมกันเสียสละค่าน้ำมัน สำหรับเครื่องจักรกันเล็กน้อยเพื่อช่วยกัน และร่วมแสดงพลังจิตอาสา เพราะหากรอการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจักรใหม่ ที่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณ ที่จะต้องใช้เวลาอาจไม่ทันเวลาเมื่อฝนมา ขอให้ร่วมมือกันแก้ปัญหาในเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดขวางทางน้ำ ทางน้ำที่ตื้นเขิน หรืออาจร่วมแรงกันช่วยขุดทางน้ำ ทั้งจะได้เกิดความรักความสามัคคีของคนไทย ในยามที่ประเทศมีปัญหา หากใครมีเครื่องจักร ใครมีแรง ใครมีน้ำอาหาร ก็นำมาสนับสนุนกันเพื่อแสดงพลังน้ำใจคนไทย
รัฐบาลจึงขอคนไทย ร่วมแรงร่วมใจกันทำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
โพลชี้การเมืองไม่นิ่ง กระทบความเชื่อมั่น
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ร่วมกับ สำนักวิจัย UCSI POLL มหาวิทยาลัย UCSI ประเทศมาเลเซีย เผยผลสำรวจ เรื่อง "ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเทียบ ไทย-มาเลเซีย" จำนวน 1,144 ตัวอย่าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 55.6 ระบุ เป็นไปได้น้อย ถึง เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ ร้อยละ 29.9 ยังไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 14.5 ระบุ เป็นไปได้มาก ถึง มากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 75.3 ระบุ เป็นไปได้น้อย ถึง เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะซื้อบ้านหลังใหม่ หรือรถคันใหม่ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่ร้อยละ 16.0 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 8.7 ระบุ เป็นไปได้มาก ถึง มากที่สุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 84.7 ระบุ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ในขณะที่ ร้อยละ 15.3 ระบุ มีรายได้ มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2560 พบว่า คนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.7
นอกจากนี้ จำนวนมาก หรือ ร้อยละ 43.5 รู้สึกมั่นคงน้อย ถึง ไม่มั่นคงเลยในอาชีพการงาน ในขณะที่ ร้อยละ 39.1 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 17.4 รู้สึกมั่นคงมาก ถึง มากที่สุด ที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเทียบ ไทย กับ มาเลเซีย พบว่า ผู้บริโภคคนไทยครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 50.1 และ คนมาเลเซียร้อยละ 26.9 มีความเชื่อมั่นแย่ลง ต่อเศรษฐกิจของประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่คนไทยเพียงร้อยละ 6.5 เชื่อมั่นดีขึ้น น้อยกว่าคนมาเลเซียที่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของมาเลเซียสูงถึงร้อยละ 37.6 ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล กล่าวว่า การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งที่ยังไม่นิ่ง กำลังส่งผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างหนัก เปรียบเทียบกับการเมืองมาเลเซียที่นิ่งมากกว่า ส่งผลให้ประชาชนชาวมาเลเซีย เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าคนไทย ทางออก คือ ทำให้ประชาชนมีงานทำที่มั่นคง และทำภาพอนาคตทางการเมืองไทยให้ชัด ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว รัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน ทั้งหมดนี้ผู้บริหารประเทศจะทราบสถานการณ์ได้ดี และ มองเห็นอนาคตข้างหน้าได้ดีกว่า อยู่ที่ว่าจะทำให้สาธารณชนสนับสนุนและเดินไปกับคณะผู้บริหารประเทศได้หรือไม่ จึงเสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนของสาธารณชนต่อการขับเคลื่อนประเทศเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตของประเทศให้เจริญมั่นคง
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นห่วงถึงผลกระทบของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และสงครามการค้า พร้อมกำชับให้รายงานข้อมูลผลกระทบดังกล่าวทุกระยะ เพื่อเตรียมการหารือใน คณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจ ขณะที่การส่งออกของไทย ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวลงและสถานการณ์ของสงครามการค้า ตั้งแต่ต้นปี 2561 ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ หดตัวลงร้อยละ 2.7 แต่ยังถือว่าหดตัวต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ที่มีอัตรามูลค่าการส่งออกช่วง 5 เดือนแรกของปี หดตัวลง ร้อยละ8.7และ ร้อยละ7.4 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน คาดว่าจะอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบผลกระทบทางลบ คือ กลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ส่วนผลกระทบทางบวก คาดว่าจะมาจากการส่งออกสินค้าที่ไทยสามารถคว้าโอกาสทดแทนในตลาดจีน เช่น กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และในตลาดสหรัฐฯ เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก เคมีภัณฑ์เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้า ยังอาจส่งผลให้เกิดการย้ายการลงทุนจากจีนมาไทย เพราะจีนเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญอันดับ 7 ของไทย ในปี 2561 โดยมีมูลค่าคงค้าง 5,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.12 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปีก่อนหน้า และขยับสูงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ในไตรมาส 1 ปี 2562 โดยจีนขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยถึง 38โครงการ มีมูลค่ารวม 9,072 ล้านบาท
"ท่านนายกฯ ได้มอบหมายให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาหาแนวทางรองรับผลกระทบทางลบ และปรับเปลี่ยนมาตรการที่ระดับโครงสร้างเพื่อให้ไทยเราได้รับประโยชน์จากผลกระทบทางบวกให้ได้มากที่สุด โดยจะได้นำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาในครม.เศรษฐกิจต่อไป ท่านนายกฯ กำชับว่า การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะต้องดูแลเศรษฐกิจทั้ง 3 ระดับ คือ บน กลาง และล่าง เน้นให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง "
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังฝากถึงประชาชน จิตอาสา ข้าราชการ และเอกชน ในท้องถิ่น ทุกจังหวัด ร่วมใจกันปฏิบัติภารกิจจิตอาสา ด้วยการร่วมกันนำเครื่องจักร มาช่วยกันเปิดทางน้ำ ร่วมแรงกันขุด และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เมื่อฝนตกลงมาจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมขอพลังคนไทย ร่วมกันเสียสละค่าน้ำมัน สำหรับเครื่องจักรกันเล็กน้อยเพื่อช่วยกัน และร่วมแสดงพลังจิตอาสา เพราะหากรอการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจักรใหม่ ที่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณ ที่จะต้องใช้เวลาอาจไม่ทันเวลาเมื่อฝนมา ขอให้ร่วมมือกันแก้ปัญหาในเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดขวางทางน้ำ ทางน้ำที่ตื้นเขิน หรืออาจร่วมแรงกันช่วยขุดทางน้ำ ทั้งจะได้เกิดความรักความสามัคคีของคนไทย ในยามที่ประเทศมีปัญหา หากใครมีเครื่องจักร ใครมีแรง ใครมีน้ำอาหาร ก็นำมาสนับสนุนกันเพื่อแสดงพลังน้ำใจคนไทย
รัฐบาลจึงขอคนไทย ร่วมแรงร่วมใจกันทำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
โพลชี้การเมืองไม่นิ่ง กระทบความเชื่อมั่น
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ร่วมกับ สำนักวิจัย UCSI POLL มหาวิทยาลัย UCSI ประเทศมาเลเซีย เผยผลสำรวจ เรื่อง "ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเทียบ ไทย-มาเลเซีย" จำนวน 1,144 ตัวอย่าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 55.6 ระบุ เป็นไปได้น้อย ถึง เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ ร้อยละ 29.9 ยังไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 14.5 ระบุ เป็นไปได้มาก ถึง มากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 75.3 ระบุ เป็นไปได้น้อย ถึง เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะซื้อบ้านหลังใหม่ หรือรถคันใหม่ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่ร้อยละ 16.0 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 8.7 ระบุ เป็นไปได้มาก ถึง มากที่สุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 84.7 ระบุ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ในขณะที่ ร้อยละ 15.3 ระบุ มีรายได้ มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2560 พบว่า คนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.7
นอกจากนี้ จำนวนมาก หรือ ร้อยละ 43.5 รู้สึกมั่นคงน้อย ถึง ไม่มั่นคงเลยในอาชีพการงาน ในขณะที่ ร้อยละ 39.1 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 17.4 รู้สึกมั่นคงมาก ถึง มากที่สุด ที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเทียบ ไทย กับ มาเลเซีย พบว่า ผู้บริโภคคนไทยครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 50.1 และ คนมาเลเซียร้อยละ 26.9 มีความเชื่อมั่นแย่ลง ต่อเศรษฐกิจของประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่คนไทยเพียงร้อยละ 6.5 เชื่อมั่นดีขึ้น น้อยกว่าคนมาเลเซียที่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของมาเลเซียสูงถึงร้อยละ 37.6 ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล กล่าวว่า การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งที่ยังไม่นิ่ง กำลังส่งผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างหนัก เปรียบเทียบกับการเมืองมาเลเซียที่นิ่งมากกว่า ส่งผลให้ประชาชนชาวมาเลเซีย เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าคนไทย ทางออก คือ ทำให้ประชาชนมีงานทำที่มั่นคง และทำภาพอนาคตทางการเมืองไทยให้ชัด ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว รัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน ทั้งหมดนี้ผู้บริหารประเทศจะทราบสถานการณ์ได้ดี และ มองเห็นอนาคตข้างหน้าได้ดีกว่า อยู่ที่ว่าจะทำให้สาธารณชนสนับสนุนและเดินไปกับคณะผู้บริหารประเทศได้หรือไม่ จึงเสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนของสาธารณชนต่อการขับเคลื่อนประเทศเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตของประเทศให้เจริญมั่นคง