xs
xsm
sm
md
lg

โละบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ไม่ง่ายเหมือนที่คิดจะทำ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

ที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ สำคัญ เท่าที่จะทำได้ เอาคนของตัวเองเข้าไปแทนที่ เพื่อจะได้ดำเนินนโยบายที่ตัวเองต้องการ โดยไม่มีใครมาขัดขวาง และเป็นการตอบแทนพรรคพวก เพื่อนฝูง ตลอดจนนายทุนที่มีอุปการะคุณ

ในช่วงหลังจากรัฐบาลแถลงนโนบายต่อรัฐสภาแล้ว จึงมีข่าวว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาในยุค คสช. โดยเฉพาะ กระทรวงคมนาคม ที่มีรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่สังกัดหลายแห่ง มีมีผลประโยชน์ มหาศาล เช่น การรถไฟ แห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยาน ไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การท่าเรือ และบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เป้นต้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า โดยธรรมเนียมเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล หรือรัฐมนตรีใหม่ บอร์ดรัฐวิสาหกิจที่อยู่หรือตั้งโดยรัฐบาลก่อนจะแสดงสปิริตลาออก เพื่อให้ รมต.ใหม่มีโอกาสจัดหาบุคคลที่จะทำงานประสานกับนโยบายได้ ดังนั้น หากมองถึงประโยชน์ประเทศก็ควรจะรู้หน้าที่

ทั้งนี้ ตนและรัฐมนตรีช่วยฯ ทั้ง 2 คน คือ นายถาวร เสนเนียม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้หารือกันตลอดเรื่องการแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจใหม่ และได้วางตัวบุคคลไว้บ้างแล้ว โดยประธานบอร์ดจะมาจากอดีตข้าราชการระดับสูง หรือข้าราชการระดับสูงในปัจจุบันของกระทรวงฯ และกรรมการบางส่วนอาจเป็นผู้ที่เคยเป็นแล้วแต่งตั้งกลับเข้ามา มั่นใจได้ว่าเมื่อตั้งแล้วบอร์ดใหม่จะทำงานตามนโยบายของตนและรัฐมนตรีช่วยฯ ได้แน่นอน

จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีข่าวการลาอออกของบอร์ดรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นทางการ มีแต่ข่าวที่อ้างแหล่งข่าวว่า มีบอร์ดหลายรายเตรียมลาอออกแล้ว เพราะรู้ธรรมเนียมดี

การลาออกของบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทั้งโดยสมัครใจ หรือถูกบีบให้ออก ไม่ใช่เรื่องยาก ที่ยากกว่าคือ การเอาคนของตัวเองมานั่ง เป็นบอร์ดใหม่ เพราะบัดนี้ ธรรมเนียม ของการตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ใช่ตัวแทนของหน่วยราชการ ได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐมนตรีไม่สามารถส่งคนของตัวเองไปนั่งเป็นบอร์ดได้ตามใจชอบ เหมือนอดีต

ช่วง 5 ปี ที่ ประเทศไทย ปลอดนักการเมือง รัฐบาล คสช. ได้ออกกฎหมายใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปล งกฎหมายที่มีอยู่หลายร้อยฉบับ หนึงในนั้นคือ พระราชบัญญัติ การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ

กฎหมายนี้ เคยมืชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า กฎหมายซูเปอร์ โฮลดิ้ง เพราะว่า จะมีการตั้ง บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์ โฮลดิ้ง ขึ้นมาถือหุ้นแทนกระทรวงการคลัง ในรัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในรูป บริษัท จำ กัด หรือ บริษัท มหาชน แต่ในขั้นแปรญัติ ของ กรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บทบัญญัติเรื่อ งการตั้ง ซูเปอร์โฮลดิ้งถูกตัดทิ้งไป

กฎหมายนี้ มีเป้าหมายเพื่อยกเครื่อง รัฐวิสาหกิจ ให้มีประสิทฺธิภาพ เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยการกำหนดให้ ต้องทำแผนรัฐวิสาหกิจ 5 ปี มีการประเมินผลงาน และสร้างกลไกป้องกันไม่ให้นักการเมือง ส่งคนเข้ามาหาผลประโยชน์

การตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ยกเว้น รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นบริษัทจำกัด รัฐมนตรีจะตั้งตามใจชอบเหมือนในอดีตไมได้ เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ในการเสนอชื่อ ผู้ที่จะเป็นบอร์ด ที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง 2 เท่า ของจำนวนที่จะแต่งตั้ง หากหาได้ไม่ครบ ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีต้นสังกัดเสนอ ให้คณะกรรมการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจ คัดเลือก แล้วส่งให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง บอร์ดรัฐวิสาหกิจ คือ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ

อำนาจในการตั้งบอร์ดที่เคยเป็นของรัฐมนตรี ถูกดึงไปอยู่กับคณะกรรมการกลั่นกรอง รัฐมนตรีมีหน้าที่เสนอชื่อ อำนาจในการคัดเลือก เป็นของคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งจะเป็นผู้ออกข้อสอบด้วย คือ กำหนดหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือก

คณะกรรมการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีจำนวน 8 คน ประกอบด้วย อดีต ปลัดกระทรวงการคลัง เลขา สภาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาร ผู้ว่แบงก์ชาติ อดีต เลขา ก.ล.ต. หรือคนที่เคยเป็นผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการใน ก.ล.ต. ส่วนนี้มีจำนวน 5 คน

อีก 3 คน มาจากภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้ ความชำนาญ ในด้านการบริหารจัดการ ด้านธรรมาภิบาล หรือด้านการวางแผนกลยุทธ์

พระราชบัญญัติ การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมนี้เอง เป็นกฎหมายใหม่ ต้อนรับการกลับมาของนักการเมือง ที่ต้องการกันไม่ให้นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงรัฐวิสาหกิจ ด้วยการส่งคนของตัวเองไปนั่งเป็นบอร์ด

จะได้ผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ ต้องรอดูกัน แต่อย่างน้อย ในเบื้องต้นนี้ ทำให้รัฐมนตรีไม่สามารถเปลี่ยนบอร์ดได้ตามใจชอบ เอาบอร์ดเก่าออกนั้น ไม่ยาก แต่เอาคนของตัวเองไปเป็นบอรืดใหม่ ไม่ง่ายแล้ว จะไปทาบทามใครมาเป็นก็ได้ แต่จะได้เป็นหรือไม่ ต้องถาม คณะกรรมการกลั่นกรอง กรรมการรัฐวิสาหกิจ


กำลังโหลดความคิดเห็น