“เฟื่องลดา” นางฟ้าวงการไอที โพสต์คลิปเตือนภัยคนใช้ FaceApp หรือ “แอปฯหน้าแก่” เชื่ออาจถูกดึงข้อมูล-รูปภาพในมือถือ โดยไม่ต้องขออนุญาต “ส.ว.เดโมแครต” เรียกร้อง FBI ตรวจสอบด่วน ชี้เป็นแอปฯของ “รัสเซีย” เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ “โปรแกรมเมอร์ดัง” เผยไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะตระหนักแต่อย่าตระหนก แค่ระวังอย่าปล่อยข้อมูลสำคัญผ่านแอปฯ
จากกรณีกระแสความนิยมแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้ชื่อว่า FaceApp ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนหน้าตาตัวเองให้ดูแก่ขึ้น หรือเด็กลงได้อย่างสมจริง หรือเรียกว่า “แอปฯหน้าแก่” ที่เหล่าคนดัง ดารา นักแสดง ผู้ที่มีชื่อเสียง และผู้ใช้ทั่วไปได้โพสต์รูปภาพใบหน้าของตัวเองในตอนแก่ จนมีผู้ทดลองใช้ตามกันอย่างแพร่หลายตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น
วานนี้ (18 ก.ค.) ในสังคมออนไลน์ของไทยได้เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และคำเตือนเกี่ยวกับการใช้ “แอปฯหน้าแก่” ว่าอาจมีผลทำให้ถูกดูดข้อมูลส่วนตัวสโทรศัพท์ไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจหรือทางอื่นๆโดยไม่ต้องขออนุญาต อาทิ “เฟื่องลดา” สรานี สงวนเรือง บล๊อกเกอร์สาวเจ้าของฉายา “นางฟ้าแห่งวงการไอที” ได้อัดคลิปวิดีโอเตือนการใช้แอปฯหน้าแก่ตอนหนึ่งว่า แอปฯนี้เป็นของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในประเทศรัสเซีย ก่อนใช้จะมีการขอให้เราอนุญาติการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเราต้องอนุญาตก่อนถึงจะใช้แอปฯได้ อาจทำให้เจ้าของหรือผู้พัฒนาแอปฯสามารถเข้าถึงข้อมูลรูปภาพของเราได้ทั้งอัลบั้ม รวมไปถึงโลเคชั่น ประวัติการค้นหาต่างๆ ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะเขาสามารถนำข้อมูลหรือภาพเราไปใช้ประโยชน์ต่อได้
สอดคล้องกับรายงานข่าวจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า ชัค ชูเมอร์ ผู้นำวุฒิสมาชิกเสียงส่วนน้อยจากพรรคเดโมแครต ได้ทำจดหมายเรียกร้องเอฟบีไอ และเอฟทีซี หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติและความเป็นส่วนตัว จากการใช้ FaceApp ที่ขณะนี้ชาวอเมริกันใช้กันหลายล้านคน โดยตั้งข้อสังเกตว่าแอปฯดังกล่าวถูกพัฒนาโดยบริษัทในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าบริษัทนั้นจะให้สิทธิเข้าถึงข้อมูลพลเมืองสหรัฐฯ กับบุคคลที่สามรวมถึงรัฐบาลต่างชาติหรือไม่ พร้อมกันนี้ยังมีรายงานด้วยว่า คณะกรรมการพรรคเดโมแครตได้เตือนตัวแทนพรรคให้ลบแอปฯดังกล่าวทันทีด้วย
ด้าน ยาโรสลาฟ กอนชารอฟ ผู้ผลิต FaceApp ชาวรัสเซีย ได้ยืนยันว่า แอปฯนี้ไม่ได้ใช้รูปภาพเพื่อวัตถุประสงค์อื่น และรูปภาพส่วนใหญ่ถูกลบออกจากเซิฟเวอร์ภายใน 48 ชั่วโมง โดยที่ทางการรัสเซียไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า FaceApp เปิดตัวครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์รัสเซีย Wireless Lab เมื่อปี 2017 ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อปรับแต่งภาพของผู้ใช้ เปลี่ยนสีผมของพวกเขา และเพิ่มริ้วรอยหรือลบอายุออกจากใบหน้าของผู้ใช้ โดยปัจจุบันมียอดดาวโหลดมากกว่า 100 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกูเกิลเพลย์ หลังจากมีการพัฒนาฟิลเตอร์หน้าแก่ตัวล่าสุดออกมา
ทั้งนี้เมื่อปี 2017 ยาโรสลาฟ กอนชารอฟ ผู้ผลิต FaceApp ชาวรัสเซีย ได้เคยออกแถลงการณ์ขอโทษ หลังมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนผู้ใช้แอปฯว่า “อาจเสี่ยงต่อการถูกล้วงข้อมูลส่วนตัว” และยืนยันว่าจะเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด พร้อมอ้างว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากผลข้างเคียงเครือข่ายระบบประสาท ที่สามารถประมวลผลภาพได้อัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม ทางเพจ nuuneoi.com โปรแกรมเมอร์ และบลอกเกอร์ด้านเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ ได้ระบุถึงข้อสงสัยว่าอาจถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหลังใช้ FaceApp ว่า ตระหนักแต่อย่าตระหนก เรื่อง FaceApp ไม่ปลอดภัย เป็นไวรัลมาหลายครั้งแล้ว เพราะแอปฯมีมากว่า 2 ปี มียอดดาวน์โหลดรวมหลายร้อยล้านดาวน์โหลด โดยแอปฯนี้จะส่งรูปไปประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็นระบบ AWS ของสหรัฐฯไม่ใช่ของรัสเซีย ซึ่งทางผู้พัฒนาก็ยืนยันว่า เก็บรูปไว้ 48 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาลบไฟล์อัตโนมัติต่ำสุดอยู่ที่ 48 ชั่วโมง โดยที่คำขอเข้าถึงข้อมูลต่างๆก็เป็นปกติทั่วไป ไม่มีการขอเข้าถึงที่อันตราย สิ่งที่ควรระวังการใช้แอปฯนี้ คืออย่าใช้รูปตัวเองที่โป๊เปลือยหรือรูปที่มีข้อมูลสำคัญเช่น เลขบัตรเครดิต มาใช้กับแอปฯนี้ เพราะรูปอาจถูกลบทิ้งใน 48 ชั่วโมงจริง แต่เราไว้ใจนักพัฒนาได้แค่ไหน หรืออาจดวงตกเซิร์ฟเวอร์ถูกแฮคข้อมูลหลุดไปได้
จากกรณีกระแสความนิยมแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้ชื่อว่า FaceApp ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนหน้าตาตัวเองให้ดูแก่ขึ้น หรือเด็กลงได้อย่างสมจริง หรือเรียกว่า “แอปฯหน้าแก่” ที่เหล่าคนดัง ดารา นักแสดง ผู้ที่มีชื่อเสียง และผู้ใช้ทั่วไปได้โพสต์รูปภาพใบหน้าของตัวเองในตอนแก่ จนมีผู้ทดลองใช้ตามกันอย่างแพร่หลายตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น
วานนี้ (18 ก.ค.) ในสังคมออนไลน์ของไทยได้เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และคำเตือนเกี่ยวกับการใช้ “แอปฯหน้าแก่” ว่าอาจมีผลทำให้ถูกดูดข้อมูลส่วนตัวสโทรศัพท์ไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจหรือทางอื่นๆโดยไม่ต้องขออนุญาต อาทิ “เฟื่องลดา” สรานี สงวนเรือง บล๊อกเกอร์สาวเจ้าของฉายา “นางฟ้าแห่งวงการไอที” ได้อัดคลิปวิดีโอเตือนการใช้แอปฯหน้าแก่ตอนหนึ่งว่า แอปฯนี้เป็นของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในประเทศรัสเซีย ก่อนใช้จะมีการขอให้เราอนุญาติการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเราต้องอนุญาตก่อนถึงจะใช้แอปฯได้ อาจทำให้เจ้าของหรือผู้พัฒนาแอปฯสามารถเข้าถึงข้อมูลรูปภาพของเราได้ทั้งอัลบั้ม รวมไปถึงโลเคชั่น ประวัติการค้นหาต่างๆ ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะเขาสามารถนำข้อมูลหรือภาพเราไปใช้ประโยชน์ต่อได้
สอดคล้องกับรายงานข่าวจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า ชัค ชูเมอร์ ผู้นำวุฒิสมาชิกเสียงส่วนน้อยจากพรรคเดโมแครต ได้ทำจดหมายเรียกร้องเอฟบีไอ และเอฟทีซี หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติและความเป็นส่วนตัว จากการใช้ FaceApp ที่ขณะนี้ชาวอเมริกันใช้กันหลายล้านคน โดยตั้งข้อสังเกตว่าแอปฯดังกล่าวถูกพัฒนาโดยบริษัทในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าบริษัทนั้นจะให้สิทธิเข้าถึงข้อมูลพลเมืองสหรัฐฯ กับบุคคลที่สามรวมถึงรัฐบาลต่างชาติหรือไม่ พร้อมกันนี้ยังมีรายงานด้วยว่า คณะกรรมการพรรคเดโมแครตได้เตือนตัวแทนพรรคให้ลบแอปฯดังกล่าวทันทีด้วย
ด้าน ยาโรสลาฟ กอนชารอฟ ผู้ผลิต FaceApp ชาวรัสเซีย ได้ยืนยันว่า แอปฯนี้ไม่ได้ใช้รูปภาพเพื่อวัตถุประสงค์อื่น และรูปภาพส่วนใหญ่ถูกลบออกจากเซิฟเวอร์ภายใน 48 ชั่วโมง โดยที่ทางการรัสเซียไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า FaceApp เปิดตัวครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์รัสเซีย Wireless Lab เมื่อปี 2017 ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อปรับแต่งภาพของผู้ใช้ เปลี่ยนสีผมของพวกเขา และเพิ่มริ้วรอยหรือลบอายุออกจากใบหน้าของผู้ใช้ โดยปัจจุบันมียอดดาวโหลดมากกว่า 100 ล้านครั้ง สูงที่สุดในกูเกิลเพลย์ หลังจากมีการพัฒนาฟิลเตอร์หน้าแก่ตัวล่าสุดออกมา
ทั้งนี้เมื่อปี 2017 ยาโรสลาฟ กอนชารอฟ ผู้ผลิต FaceApp ชาวรัสเซีย ได้เคยออกแถลงการณ์ขอโทษ หลังมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนผู้ใช้แอปฯว่า “อาจเสี่ยงต่อการถูกล้วงข้อมูลส่วนตัว” และยืนยันว่าจะเร่งแก้ไขโดยเร็วที่สุด พร้อมอ้างว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากผลข้างเคียงเครือข่ายระบบประสาท ที่สามารถประมวลผลภาพได้อัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม ทางเพจ nuuneoi.com โปรแกรมเมอร์ และบลอกเกอร์ด้านเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ ได้ระบุถึงข้อสงสัยว่าอาจถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหลังใช้ FaceApp ว่า ตระหนักแต่อย่าตระหนก เรื่อง FaceApp ไม่ปลอดภัย เป็นไวรัลมาหลายครั้งแล้ว เพราะแอปฯมีมากว่า 2 ปี มียอดดาวน์โหลดรวมหลายร้อยล้านดาวน์โหลด โดยแอปฯนี้จะส่งรูปไปประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็นระบบ AWS ของสหรัฐฯไม่ใช่ของรัสเซีย ซึ่งทางผู้พัฒนาก็ยืนยันว่า เก็บรูปไว้ 48 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาลบไฟล์อัตโนมัติต่ำสุดอยู่ที่ 48 ชั่วโมง โดยที่คำขอเข้าถึงข้อมูลต่างๆก็เป็นปกติทั่วไป ไม่มีการขอเข้าถึงที่อันตราย สิ่งที่ควรระวังการใช้แอปฯนี้ คืออย่าใช้รูปตัวเองที่โป๊เปลือยหรือรูปที่มีข้อมูลสำคัญเช่น เลขบัตรเครดิต มาใช้กับแอปฯนี้ เพราะรูปอาจถูกลบทิ้งใน 48 ชั่วโมงจริง แต่เราไว้ใจนักพัฒนาได้แค่ไหน หรืออาจดวงตกเซิร์ฟเวอร์ถูกแฮคข้อมูลหลุดไปได้