ผู้จัดการรายวัน 360 - ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จับหนุ่มไนจีเรีย สมาชิกคนสำคัญแก๊งอาชญากรข้ามชาติ ตุ๋นเหยื่อด้วยเล่ห์ต่างๆ ผ่านโซเชียลฯ ทั้งส่งอีเมลหลอกให้โอนเงิน และปรับแต่งอีเมลบริษัทส่งออกเพื่อให้โอนเงินค่าสินค้าเข้าบัญชีแก๊ง พบปี 2561 หลอกเงินได้กว่า 370 ล้านบาท
วานนี้ (16 ก.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. และในฐานะโฆษก.บก.ปอท. เปิดเผยว่า เมื่อวันนี้ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ปอท. ติดตามจับกุม นายเบอร์ทาน ไอฟิลไวจุกกู อคีล (MR.BERTRAND IFEANYICHUKWU AKILE) สัญชาติไนจีเรีย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2015/2558 ลงวันที่ 14 ก.ย.58 ข้อหา "ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น , ร่วมกันปลอม ใช้เอกสารปลอม , ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน , ร่วมกันกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ" ได้ที่บริเวณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชั้น 2 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า สืบเนื่องมีผู้เสียหายที่แจ้งความไว้กับ กก.1 บก.ปอท. จนขอศาลอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาและได้รับทราบข้อมูลจากสายลับว่าผู้ต้องหาจะมาติดต่อราชการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชุดจับกุมจึงได้นำกำลังไปเฝ้าสังเกตการณ์ พร้อมกับประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กระทั่งพบผู้ต้องหาตามหมายจับปรากฏตัวอยู่บริเวณดังกล่าว จึงแจ้งข้อกล่าวหาและทำการตรวจยึด แท็ปเล็ต ยี่ห้อ ซัมซุง สีขาว จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งอาจเป็นหลักฐานที่ใช้ในการกระทำความผิด ส่งให้พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ปอท. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
"จากการสืบสวนพบว่า นายเบอร์ทาน เป็นหนึ่งในสมาชิกตัวการสำคัญในแก๊งค์องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีการทำธุรกรรมในบัญชีการเงินต่างๆ ส่งอีเมลสแกมที่มีการปรับแต่งอีเมลแอดเดสของบริษัทที่เป็นเป้าหมายไปหาลูกค้าของบริษัทต่างๆ ในการรับโอนเงิน จากนั้นจะโอนเงินต่อไปยังสมาชิกฯ เครือข่ายต่อเพื่อฟอกเงินทำให้ยากต่อการติดตามเงินกลับคืน นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ทางการไทย ได้จับกุมสมาชิกแก๊งค์นี้ได้แล้วจำนวน 2 ราย คือ นาย Bright ChyokeNidubuezeและ นาย Omnyekachukwu Elvis Smart Egbuleผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1074/2558 และ 1075/2558 ลง 27 พ.ค.2558 ดำเนินคดีไปแล้ว" พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าว
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการก่ออาชญากรรมในลักษณะการหลอกลวงทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคนร้ายส่วนใหญ่จะเป็นชาวผิวสี กระทำเป็นขบวนการในลักษณะองค์กรอาชญากรรม ซึ่งในปี 2561 เป็นอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายเป็นตัวเงินมากที่สุด ประมาณ 370 ล้านบาท รายละเอียดการหลอกลวง มีดังนี้ 1.ส่งอีเมล์หลอกให้ร่วมทำธุรกิจด้วย หลอกว่าได้ภาษีคืน หลอกว่าเป็นผู้โชคดีถูกรางวัล หลอกให้ช่วยเหลือแล้วจะตอบแทนด้วยเงินก้อนโต หลอกว่าคุณเป็นทายาทของมหาเศรษฐีที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยคนร้ายจะส่งอีเมลจำนวนมาก ไปหาเหยื่อจำนวนมากๆ ในอีเมลจะมีเนื้อหาเชิญชวน โน้มน้าว ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ เช่น ลงทุนเพียงนิดเดียวแต่ได้กำไรกลับคืนมหาศาล บางครั้งยอมโอนเงินค่าดำเนินการไปให้เพื่อหวังได้รางวัลก้อนโตกลับมาในเวลาอันสั้น เมื่อเหยื่อตอบกลับมา พวกคนร้ายก็จะติดต่อกลับเพื่อดำเนินการหลอกลวงอย่างอื่นต่อไปทันที
2.การส่งอีเมล์ปลอม หรือ แฮกอีเมล์เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ของบริษัทคู่ค้าระหว่างประเทศว่า สินค้างวดต่อไปให้ชำระที่บัญชีใหม่ (เป็นบัญชีที่คนร้ายหลอกลวง) หากเหยื่อไม่ได้ตรวจสอบ อาจหลงกลโอนชำระค่าสินค้าไปยังบัญชีปลอม ซึ่งมูลค่ามักจะสูงเพราะเป็นการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ ควรตรวจสอบไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่น โทรศัพท์ หรือวิดีโอคอล (vdo. Call) ว่าจริงหรือไม่เพื่อจะไม่ตกเป็นเหยื่อ
วานนี้ (16 ก.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. และในฐานะโฆษก.บก.ปอท. เปิดเผยว่า เมื่อวันนี้ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ปอท. ติดตามจับกุม นายเบอร์ทาน ไอฟิลไวจุกกู อคีล (MR.BERTRAND IFEANYICHUKWU AKILE) สัญชาติไนจีเรีย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2015/2558 ลงวันที่ 14 ก.ย.58 ข้อหา "ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น , ร่วมกันปลอม ใช้เอกสารปลอม , ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน , ร่วมกันกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ" ได้ที่บริเวณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชั้น 2 ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า สืบเนื่องมีผู้เสียหายที่แจ้งความไว้กับ กก.1 บก.ปอท. จนขอศาลอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาและได้รับทราบข้อมูลจากสายลับว่าผู้ต้องหาจะมาติดต่อราชการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชุดจับกุมจึงได้นำกำลังไปเฝ้าสังเกตการณ์ พร้อมกับประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กระทั่งพบผู้ต้องหาตามหมายจับปรากฏตัวอยู่บริเวณดังกล่าว จึงแจ้งข้อกล่าวหาและทำการตรวจยึด แท็ปเล็ต ยี่ห้อ ซัมซุง สีขาว จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งอาจเป็นหลักฐานที่ใช้ในการกระทำความผิด ส่งให้พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ปอท. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
"จากการสืบสวนพบว่า นายเบอร์ทาน เป็นหนึ่งในสมาชิกตัวการสำคัญในแก๊งค์องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีการทำธุรกรรมในบัญชีการเงินต่างๆ ส่งอีเมลสแกมที่มีการปรับแต่งอีเมลแอดเดสของบริษัทที่เป็นเป้าหมายไปหาลูกค้าของบริษัทต่างๆ ในการรับโอนเงิน จากนั้นจะโอนเงินต่อไปยังสมาชิกฯ เครือข่ายต่อเพื่อฟอกเงินทำให้ยากต่อการติดตามเงินกลับคืน นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ทางการไทย ได้จับกุมสมาชิกแก๊งค์นี้ได้แล้วจำนวน 2 ราย คือ นาย Bright ChyokeNidubuezeและ นาย Omnyekachukwu Elvis Smart Egbuleผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1074/2558 และ 1075/2558 ลง 27 พ.ค.2558 ดำเนินคดีไปแล้ว" พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าว
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการก่ออาชญากรรมในลักษณะการหลอกลวงทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคนร้ายส่วนใหญ่จะเป็นชาวผิวสี กระทำเป็นขบวนการในลักษณะองค์กรอาชญากรรม ซึ่งในปี 2561 เป็นอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายเป็นตัวเงินมากที่สุด ประมาณ 370 ล้านบาท รายละเอียดการหลอกลวง มีดังนี้ 1.ส่งอีเมล์หลอกให้ร่วมทำธุรกิจด้วย หลอกว่าได้ภาษีคืน หลอกว่าเป็นผู้โชคดีถูกรางวัล หลอกให้ช่วยเหลือแล้วจะตอบแทนด้วยเงินก้อนโต หลอกว่าคุณเป็นทายาทของมหาเศรษฐีที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยคนร้ายจะส่งอีเมลจำนวนมาก ไปหาเหยื่อจำนวนมากๆ ในอีเมลจะมีเนื้อหาเชิญชวน โน้มน้าว ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ เช่น ลงทุนเพียงนิดเดียวแต่ได้กำไรกลับคืนมหาศาล บางครั้งยอมโอนเงินค่าดำเนินการไปให้เพื่อหวังได้รางวัลก้อนโตกลับมาในเวลาอันสั้น เมื่อเหยื่อตอบกลับมา พวกคนร้ายก็จะติดต่อกลับเพื่อดำเนินการหลอกลวงอย่างอื่นต่อไปทันที
2.การส่งอีเมล์ปลอม หรือ แฮกอีเมล์เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ของบริษัทคู่ค้าระหว่างประเทศว่า สินค้างวดต่อไปให้ชำระที่บัญชีใหม่ (เป็นบัญชีที่คนร้ายหลอกลวง) หากเหยื่อไม่ได้ตรวจสอบ อาจหลงกลโอนชำระค่าสินค้าไปยังบัญชีปลอม ซึ่งมูลค่ามักจะสูงเพราะเป็นการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ ควรตรวจสอบไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่น โทรศัพท์ หรือวิดีโอคอล (vdo. Call) ว่าจริงหรือไม่เพื่อจะไม่ตกเป็นเหยื่อ