ผู้จัดการรายวัน 360 - “ศุลกากร" แจงคดีพิพาทบุหรี่นำเข้าที่ฟิลิปปินส์ฟ้องไทยภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาท WTO ยังไม่จบ พร้อมต่อสู้อุทธรณ์คำตัดสิน ชี้คำตัดสินเป็นเพียงการประเมินผิดขั้นตอนเท่านั้น แต่มิได้ตัดสินว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาต่ำหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า กรมศุลกากรได้ชี้แจง กรณีพิพาทบุหรี่นำเข้าที่ฟิลิปปินส์ฟ้องไทย ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกตามที่เว็บไซต์ขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO) เผยแพร่คำตัดสินของคณะผู้พิจารณา (Compliance panel) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 กรมศุลกากรขอชี้แจงกรณีดังกล่าว ดังนี้
1.มูลเหตุของเรื่องนี้เป็นกรณีที่หน่วยงานของไทยได้แก่ กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่า ราคาบุหรี่ที่นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเชียในช่วงปี 2544-2550ที่สำแดงโดยผู้นำเข้ารายหนึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริง ซึ่งในส่วนของกรมศุลกากร ผู้นำเข้าได้ยื่นอุทธรณ์การชำระภาษีต่อกรมศุลกากร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนคดีอาญาขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลไทย
2.จากกรณีดังกล่าว ฟิลิปปินส์จึงได้ยื่นฟ้องไทยต่อ WTO ว่า ประเทศไทยประเมินราคาศุลกากรสำหรับสินค้าบุหรี่ที่นำเข้าโดยบริษัทรายนี้ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยมีการยื่นฟ้อง 3 ครั้งคือ
2.1.ครั้งแรกในปี 2551 โดยมีสาระสำคัญว่า หน่วยงานไทยได้แก่ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ WTO ซึ่งเรื่องดังกล่าว WTO เห็นด้วยกับฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ไทยได้ดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความตกลงของ WTO แล้ว
2.2.ครั้งที่ 2 ในปี 2559 และครั้งที่ 3 ในปี 2561 โดยสาระสำคัญมาจากประเด็นที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาเห็นว่าราคาบุหรี่ที่ผู้นำเข้าสำแดง ทั้งที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเชีย ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่แท้จริงตามที่กล่าวในข้อ 1. จึงได้ดำเนินคดีส่งฟ้องต่อศาลอาญา ซึ่งศาลได้รับไว้พิจารณาแล้ว ฟิลิปปินส์จึงยื่นฟ้องต่อ WTO โดยเห็นว่าการดำเนินการของหน่วยงานของไทยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ WTO
3.คำตัดสินของ WTO เป็นการพิจารณาว่า ประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ WTO กำหนดไว้ในการประเมินราคาศุลกากร แต่มิได้ตัดสินว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาต่ำหรือไม่ ซึ่งการตัดสินดังกล่าว ประเทศไทยยังสามารถที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของคณะผู้พิจารณา(Compliance panel)ของ WTO ต่อองค์กรอุทธรณ์(Appellate Body)ได้ ดังนั้นกระบวนการพิจารณาในเรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด
4.ขณะนี้คณะทำงานดำเนินการในกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างไทยและฟิลิปปินส์ ซึ่งมีกรมศุลกากรเป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้ยื่นอุทธรณ์ในกรณีฟิลิปปินส์ฟ้องในปี 2559 ไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณายื่นอุทธรณ์สำหรับกรณีฟิลิปปินส์ฟ้องในปี 2561
5.กระบวนการที่ไทยและฟิลิปปินส์ ดำเนินการในขณะนี้ เป็นกระบวนการของ WTO ในการยุติข้อพิพาท ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและฟิลิปปินส์เห็นพ้องกันอยู่แล้ว ทั้งนี้ขั้นตอนการอุทธรณ์อยู่ในกระบวนการของ WTO เช่นกัน สำหรับประเด็นค่าเสียหายนั้นเป็นประเด็นแยกต่างหากจากคำตัดสินและขึ้นอยู่กับว่าฟิลิปปินส์มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการดำเนินการของไทยหรือไม่ ขณะนี้ ฟิลิปปินส์ยังมิได้เรียกร้องค่าเสียหาย ทั้งนี้หากมีค่าเสียหายเป็นเรื่องที่ฟิลิปปินส์ต้องพิสูจน์ว่ามีค่าเสียหายว่าเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นกระบวนการภายหลังจากการพิจารณาอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้ว.
รายงานข่าวแจ้งว่า กรมศุลกากรได้ชี้แจง กรณีพิพาทบุหรี่นำเข้าที่ฟิลิปปินส์ฟ้องไทย ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกตามที่เว็บไซต์ขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO) เผยแพร่คำตัดสินของคณะผู้พิจารณา (Compliance panel) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 กรมศุลกากรขอชี้แจงกรณีดังกล่าว ดังนี้
1.มูลเหตุของเรื่องนี้เป็นกรณีที่หน่วยงานของไทยได้แก่ กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่า ราคาบุหรี่ที่นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเชียในช่วงปี 2544-2550ที่สำแดงโดยผู้นำเข้ารายหนึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริง ซึ่งในส่วนของกรมศุลกากร ผู้นำเข้าได้ยื่นอุทธรณ์การชำระภาษีต่อกรมศุลกากร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนคดีอาญาขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลไทย
2.จากกรณีดังกล่าว ฟิลิปปินส์จึงได้ยื่นฟ้องไทยต่อ WTO ว่า ประเทศไทยประเมินราคาศุลกากรสำหรับสินค้าบุหรี่ที่นำเข้าโดยบริษัทรายนี้ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยมีการยื่นฟ้อง 3 ครั้งคือ
2.1.ครั้งแรกในปี 2551 โดยมีสาระสำคัญว่า หน่วยงานไทยได้แก่ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ WTO ซึ่งเรื่องดังกล่าว WTO เห็นด้วยกับฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ไทยได้ดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความตกลงของ WTO แล้ว
2.2.ครั้งที่ 2 ในปี 2559 และครั้งที่ 3 ในปี 2561 โดยสาระสำคัญมาจากประเด็นที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาเห็นว่าราคาบุหรี่ที่ผู้นำเข้าสำแดง ทั้งที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเชีย ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่แท้จริงตามที่กล่าวในข้อ 1. จึงได้ดำเนินคดีส่งฟ้องต่อศาลอาญา ซึ่งศาลได้รับไว้พิจารณาแล้ว ฟิลิปปินส์จึงยื่นฟ้องต่อ WTO โดยเห็นว่าการดำเนินการของหน่วยงานของไทยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ WTO
3.คำตัดสินของ WTO เป็นการพิจารณาว่า ประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ WTO กำหนดไว้ในการประเมินราคาศุลกากร แต่มิได้ตัดสินว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาต่ำหรือไม่ ซึ่งการตัดสินดังกล่าว ประเทศไทยยังสามารถที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของคณะผู้พิจารณา(Compliance panel)ของ WTO ต่อองค์กรอุทธรณ์(Appellate Body)ได้ ดังนั้นกระบวนการพิจารณาในเรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด
4.ขณะนี้คณะทำงานดำเนินการในกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างไทยและฟิลิปปินส์ ซึ่งมีกรมศุลกากรเป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้ยื่นอุทธรณ์ในกรณีฟิลิปปินส์ฟ้องในปี 2559 ไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณายื่นอุทธรณ์สำหรับกรณีฟิลิปปินส์ฟ้องในปี 2561
5.กระบวนการที่ไทยและฟิลิปปินส์ ดำเนินการในขณะนี้ เป็นกระบวนการของ WTO ในการยุติข้อพิพาท ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและฟิลิปปินส์เห็นพ้องกันอยู่แล้ว ทั้งนี้ขั้นตอนการอุทธรณ์อยู่ในกระบวนการของ WTO เช่นกัน สำหรับประเด็นค่าเสียหายนั้นเป็นประเด็นแยกต่างหากจากคำตัดสินและขึ้นอยู่กับว่าฟิลิปปินส์มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการดำเนินการของไทยหรือไม่ ขณะนี้ ฟิลิปปินส์ยังมิได้เรียกร้องค่าเสียหาย ทั้งนี้หากมีค่าเสียหายเป็นเรื่องที่ฟิลิปปินส์ต้องพิสูจน์ว่ามีค่าเสียหายว่าเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นกระบวนการภายหลังจากการพิจารณาอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้ว.