xs
xsm
sm
md
lg

มองประเทศไทยผ่าน SDGs ไม่ได้แย่อย่างที่หล่ายคนเชื่อ "ฝั่งขวาเจ้าพระยา"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

ผลการจัดอันดับการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ (UN SDGs) ปี 2019 ประเทศไทยเลื่อนขึ้น 19 อันดับจากอันดับที่ 59 เมื่อปีที่แล้วมาอยู่ที่อันดับ 40 ในปีนี้ และถือเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน จากรายงานของเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Solutions Network - SDSN) และมูลนิธิ Bertelsmann Stiftung

สมาชิกอาเซียนได้รับการจัดอันดับ ดังนี้ เวียดนาม อันดับ 54 สิงคโปร์ อันดับ 66 มาเลเซีย อันดับ 68 ฟิลิปปินส์ อันดับ 97 อินโดนีเซีย อันดับ 102 เมียนมา อันดับ 110 สปป.ลาว อันดับ 111 กัมพูชา อันดับ 112ส่วนบรูไน ไม่ได้รับการจัดอันดับ

ปีนี้ประเทศไทยมีคะแนนตาม SDG Index ที่ 73.0 คะแนนเฉลี่ยภูมิภาค 65.7 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่องการขจัดความยากจน การจัดการน้ำและสุขาภิบาล โดยเฉพาะการจัดบริการน้ำดื่มและบริการสุขาภิบาล รวมทั้งการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อวัดจากประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีบัญชีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น หรือกับผู้ให้บริการการเงินผ่านมือถือ และมีอัตราการว่างงานที่ต่ำ

ในด้านอื่นๆ ไทยมีแนวโน้มดีขึ้นถึง 6 ข้อ คือ 1) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 2) ความเท่าเทียมทางเพศ 3) พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 4) อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 5) เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 6) สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก

ในรายงานระบุว่า การขจัดความยากจนยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญของโลก แต่ประเทศไทยมีคะแนนดีขึ้นจึงสะท้อนว่า เรามีความพยายามและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยรัฐบาลมุ่งเน้นส่งเสริมความเท่าเทียมด้านรายได้และการลดความเหลื่อมล้ำ และสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสและเข้าถึงบริการสาธารณะ

องค์การสหประชาชาติ จัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals -SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ ดังนี้

1.No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่ 2.Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน 3.Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ 4.Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

5.Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง 6.Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน 7.Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย 8.Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า

9.Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม 10.Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ 11.Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
12.Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน 13.Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ 14.Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน 16.Peace and Justice Strong Instiutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 17.Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 เป้าหมายทั้ง 17 ข้อนี้ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า โลกจะดีขึ้น เมื่อถึงปี 2030


กำลังโหลดความคิดเห็น