วานนี้ ( 2 ก.ค.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 26 มิ.ย. 62 แจ้งผลการพิจารณา ยกคำร้องใน 5 ประเด็น ที่เกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปยังนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเป็นผู้ร้องได้รับทราบ มีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีที่ขอให้กกต. ส่งศาลรธน. วินิจฉัยยุบพรรคพปชร. เนื่องจากเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ของพรรค ไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรค ข้อ 90 และ ข้อ 91 โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า การลงมติเพื่อเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ของพรรคพปชร. ดำเนินการโดยชอบแล้ว มีการเสนอชื่อ 3 คน ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ นายอุตตม สาวนายน โดยในวันที่ 8 ก.พ. 62 ซึ่งเป็นวันที่พรรคพปชร. แจ้งรายชื่อบุคคล ที่พรรคมีมติเสนอสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ ต่อกกต.นั้น มีหนังสือยินยอมของ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เสนอชื่อได้ ดังนั้นการเสนอชื่อดังกล่าว จึงเป็นไปตามข้อบังคับพรรค ข้อ 90 และ ข้อ 91 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 13 และ 14 รวมถึงระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ข้อ 114 และ 115 แล้ว
2. กรณี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งต้องห้ามมิให้เสนอชื่อเป็นนายกฯนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า กกต.มีมติไปแล้วว่า การประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ชอบด้วยกฎหมายและรธน. มาตรา 88 และ มาตรา 89 รวมถึง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 13 และ 14 แล้ว
3. กรณี พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ เข้าข่ายเป็นเจ้าของกิจการสื่อฯ มีผลให้ต้องห้ามเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ นั้น กกต.มีมติแล้วว่า ยังไม่ถือว่าเข้าข่ายเป็นเจ้าของกิจการสื่อฯ จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรธน. กำหนด
4 . กรณีพรรคพปชร. จัดระดมทุนด้วยการขายโต๊ะจีน ราคา 3 ล้านบาท ก็ไม่เข้าข่ายการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แม้จะกำหนดราคาโต๊ะจีนสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรมระดมทุน โดยกม.ได้จำกัดวงเงินผู้สนับสนุนเอาไว้แล้ว กรณีดังล่าว จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าในลักษณะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน ยังไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรค
5. กรณีร้องว่า นายอุตตม สาวนายน ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพปชร. โดยยังไมได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพปชร. เห็นว่า มีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กม.กำหนด ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งพรรค จัดประชุมตั้งพรรค ในส่วนของผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรค จากนั้น เมื่อสภาพนิติบุคคลเกิดขึ้น เมื่อนายทะเบียน ตามรับการจดจัดตั้ง ก็มีการเปิดรับสมัครสมาชิก ในวันที่ 8 พ.ย. 61 โดยนายอุตตม ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการรับสมัครสมาชิกให้ กกต.รับทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 5 วัน เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 61 และในวันดังกล่าว นายอุตตม ก็สมัครเป็นสมาชิกพรรค ชำระค่าบำรุงตามกม.กำหนด ซึ่งสำนักงานกกต. เคยตอบข้อสอบถามพรรคอนาคตใหม่ ว่าผู้ที่เข้าชื่อร่วมกันขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรค และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรค จะเป็นสมาชิกต่อเมื่อได้ชำระค่าบำรุงพรรคแล้ว ดังนั้น การเป็นหัวหน้าพรรคของ นายอุตตม จึงชอบด้วยกม.แล้ว และไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง
ทั้งนี้ นายทะเบียนพรรคการเมือง ยังแจ้งว่า หากนายเรืองไกร มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่การพิจารณา ซึ่งน่าจะทำให้ผลการพิจารณาของนายทะเบียนพรรคการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถแจ้งให้พิจารณาได้
** จ่ายค่าเลือกส.ว.ไปแค่ 463ล้าน
ส่วนกรณีมีการตั้งกระทู้ถามในที่ประชุมสภาฯ ว่า ผ่านมาครบ 3 เดือนแล้ว กกต. ยังไม่เปิดเผยคะแนนเลือกตั้งรายหน่วยให้ประชาชนทราบเป็นนั้น กกต. ชี้แจงว่า เมื่อเสร็จสิ้นการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว กกต.ได้เปิดเผยผลคะแนนเลือกตั้ง คือ
1. ในวันเลือกตั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการนับคะแนน โดยแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้จัดทำรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ปิดไว้ ณ ที่เลือกตั้งทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวน 92,320 หน่วย ไว้แล้ว
2. ภายหลังวันเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง สามารถขอสำเนารายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ได้ทุกหน่วยเลือกตั้ง ณ สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดทุกแห่ง ทั้งนี้ได้มีผู้สมัครหรือพรรคการเมืองมาขอสำเนารายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ทุกเขตเลือกตั้งแล้ว
นอกจากนี้ ที่มีข่าวว่า กกต. ใช้งบประมาณทั้งสิ้น1,300 ล้านบาท ในการจัดการเลือก ส.ว. นั้น สำนักงาน กกต.ชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายจริงในส่วนของสำนักงานกกต. ทั้งส่วนกลาง และ สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด จำนวน 77 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุน เป็นเงินทั้งสิ้น 463,216,080.05 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการดำเนินการตามกระบวนการ และวิธีเลือกส.ว. ที่ได้กำหนดไว้ในรธน. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตามลำดับ
1. กรณีที่ขอให้กกต. ส่งศาลรธน. วินิจฉัยยุบพรรคพปชร. เนื่องจากเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ของพรรค ไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรค ข้อ 90 และ ข้อ 91 โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า การลงมติเพื่อเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ของพรรคพปชร. ดำเนินการโดยชอบแล้ว มีการเสนอชื่อ 3 คน ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ นายอุตตม สาวนายน โดยในวันที่ 8 ก.พ. 62 ซึ่งเป็นวันที่พรรคพปชร. แจ้งรายชื่อบุคคล ที่พรรคมีมติเสนอสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ ต่อกกต.นั้น มีหนังสือยินยอมของ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เสนอชื่อได้ ดังนั้นการเสนอชื่อดังกล่าว จึงเป็นไปตามข้อบังคับพรรค ข้อ 90 และ ข้อ 91 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 13 และ 14 รวมถึงระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ข้อ 114 และ 115 แล้ว
2. กรณี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งต้องห้ามมิให้เสนอชื่อเป็นนายกฯนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า กกต.มีมติไปแล้วว่า การประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ชอบด้วยกฎหมายและรธน. มาตรา 88 และ มาตรา 89 รวมถึง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 13 และ 14 แล้ว
3. กรณี พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ เข้าข่ายเป็นเจ้าของกิจการสื่อฯ มีผลให้ต้องห้ามเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ นั้น กกต.มีมติแล้วว่า ยังไม่ถือว่าเข้าข่ายเป็นเจ้าของกิจการสื่อฯ จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรธน. กำหนด
4 . กรณีพรรคพปชร. จัดระดมทุนด้วยการขายโต๊ะจีน ราคา 3 ล้านบาท ก็ไม่เข้าข่ายการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แม้จะกำหนดราคาโต๊ะจีนสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรมระดมทุน โดยกม.ได้จำกัดวงเงินผู้สนับสนุนเอาไว้แล้ว กรณีดังล่าว จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าในลักษณะแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน ยังไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรค
5. กรณีร้องว่า นายอุตตม สาวนายน ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพปชร. โดยยังไมได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพปชร. เห็นว่า มีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กม.กำหนด ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งพรรค จัดประชุมตั้งพรรค ในส่วนของผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรค จากนั้น เมื่อสภาพนิติบุคคลเกิดขึ้น เมื่อนายทะเบียน ตามรับการจดจัดตั้ง ก็มีการเปิดรับสมัครสมาชิก ในวันที่ 8 พ.ย. 61 โดยนายอุตตม ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการรับสมัครสมาชิกให้ กกต.รับทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 5 วัน เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 61 และในวันดังกล่าว นายอุตตม ก็สมัครเป็นสมาชิกพรรค ชำระค่าบำรุงตามกม.กำหนด ซึ่งสำนักงานกกต. เคยตอบข้อสอบถามพรรคอนาคตใหม่ ว่าผู้ที่เข้าชื่อร่วมกันขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรค และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรค จะเป็นสมาชิกต่อเมื่อได้ชำระค่าบำรุงพรรคแล้ว ดังนั้น การเป็นหัวหน้าพรรคของ นายอุตตม จึงชอบด้วยกม.แล้ว และไม่เป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง
ทั้งนี้ นายทะเบียนพรรคการเมือง ยังแจ้งว่า หากนายเรืองไกร มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่การพิจารณา ซึ่งน่าจะทำให้ผลการพิจารณาของนายทะเบียนพรรคการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถแจ้งให้พิจารณาได้
** จ่ายค่าเลือกส.ว.ไปแค่ 463ล้าน
ส่วนกรณีมีการตั้งกระทู้ถามในที่ประชุมสภาฯ ว่า ผ่านมาครบ 3 เดือนแล้ว กกต. ยังไม่เปิดเผยคะแนนเลือกตั้งรายหน่วยให้ประชาชนทราบเป็นนั้น กกต. ชี้แจงว่า เมื่อเสร็จสิ้นการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว กกต.ได้เปิดเผยผลคะแนนเลือกตั้ง คือ
1. ในวันเลือกตั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการนับคะแนน โดยแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้จัดทำรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ปิดไว้ ณ ที่เลือกตั้งทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวน 92,320 หน่วย ไว้แล้ว
2. ภายหลังวันเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง สามารถขอสำเนารายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ได้ทุกหน่วยเลือกตั้ง ณ สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดทุกแห่ง ทั้งนี้ได้มีผู้สมัครหรือพรรคการเมืองมาขอสำเนารายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (แบบ ส.ส. 5/18) รายหน่วย ทุกเขตเลือกตั้งแล้ว
นอกจากนี้ ที่มีข่าวว่า กกต. ใช้งบประมาณทั้งสิ้น1,300 ล้านบาท ในการจัดการเลือก ส.ว. นั้น สำนักงาน กกต.ชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายจริงในส่วนของสำนักงานกกต. ทั้งส่วนกลาง และ สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด จำนวน 77 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุน เป็นเงินทั้งสิ้น 463,216,080.05 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการดำเนินการตามกระบวนการ และวิธีเลือกส.ว. ที่ได้กำหนดไว้ในรธน. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตามลำดับ