"สามมิตร" ยอมสงบ หลังถูก"ผู้ใหญ่" ในพรรคพปชร. งัด"ไม้แข็ง" กำราบ ถ้าจะออก ก็ให้คืนเงินหาเสียงให้พรรคด้วย เพราะช่วงเลือกตั้งพรรคจ่ายให้ตลอด ทำให้"สุริยะ"ยอมไปนั่ง รมว.อตสาหกรรม แล้วให้ "สนธิรัตน์" นั่งรมว.พลังงานแทน "ประชาธิปัตย์" มั่นใจรัฐบาลเดินหน้าได้ ขณะที่ซูเปอร์โพลชี้ ประชาชน "โคตรเบื่อ" การเมือง ให้เวลา "รัฐบาลบิ๊กตู่" 1-2 ปี แก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชน แนะ สแกนทัพ ส.ส.ให้ดี
จากปัญหาที่มีการปรับเปลี่ยน โผรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ( พปชร.) ในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำกลุ่มสามมิตร ที่เคยอยู่ในตำแหน่งว่าที่ รมว.พลังงาน จะถูกโยกไปเป็น ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค พปชร. ที่แต่เดิมเป็น ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม สลับไปนั่ง รมว.พลังงาน แทน รวมไปถึงกรณีที่มีการจัดสรรเก้าอี้ รมช. ให้กับพรรคชาติพัฒนา ทั้งที่มี ส.ส.เพียง 3 เสียง ทำให้ต้องไปเบียดเอาโควตาของ นายอนุชา นาคาศัย ว่าที่ รมช.คลัง จนหลุดโผไปนั้น สร้างความปั่นป่วน จน นายสุริยะ ขู่จะพากลุ่มสามมิตรถอนตัว แต่ก็ได้ออกมาปฏิเสธ ถึงเรื่องการถอนตัวในวันต่อมา ซึ่งเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เคยให้สัมภาษณ์ ระหว่างที่ไปประชุม จี 20 ที่ นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ว่า ทุกอย่างมันจบแล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะนายกฯ ตัดสินใจแล้ว
"ผมเป็นผู้รับผิดชอบ ทำความเข้าใจกับทุกคนแล้วว่า เรื่องการตัดสินใจตั้ง ครม.เป็นอำนาจของผม ทุกคนเข้าใจดี ไม่มีปัญหา เพราะต่างคนต่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ว่าใครก็ตาม ต้องเข้าใจ เพราะผมเป็นนายกฯ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวแบบทุบโต๊ะ ข้ามประเทศ
"กลุ่มสามมิตร"ยอมสงบ เลิกทวงเก้าอี้
ล่าสุดมีมีรายงานว่า ทาง"ผู้ใหญ่ที่ดูแลพรรคพลังประชารัฐ" ได้เรียกเรียกแกนนำ กลุ่มสามมิตร ที่ออกมาเคลื่อนไหว เข้าพบ พร้อมชี้แจงเหตุผล ที่มีการสลับให้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สลับเก้าอี้กับ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รวมไปถึง กรณีที่มีการจัดสรรเก้าอี้รมช. ให้กับพรรคชาติพัฒนา
"มีการอธิบายว่า แม้พรรคชาติพัฒนา จะได้เพียง 3 เสียง แต่ก็เป็น 3 เสียง ที่ได้มาด้วยตัวเอง ต่างกับกลุ่มสามมิตรที่อาศัยเงินทุน และทรัพยากรจากพรรคพลังประชารัฐ ในการสนับสนุนหาเสียงเลือกตั้ง จนได้เป็นส.ส. ฉะนั้นจึงควรยอมรับ และปฏิบัติตามการตัดสินใจของพรรค หากกลุ่มสามมิตร ยังยืนกรานว่า พวกตนได้เป็น ส.ส. เพราะตัวเอง ก็ให้นำเงินที่ใช้ในการหาเสียง มาคืนให้กับพรรค จากนั้นกลุ่มสามมิตร จะอยู่หรือออกจากพรรคพลังประชารัฐ ก็ตามใจ เมื่อเจอเงื่อนไขเช่นนี้ ทำให้ทางกลุ่มสามมิตร มีท่าทีที่อ่อนลงไป " แหล่งข่าว ระบุ
"ดอน"บอกไม่ทราบ ได้อยู่ต่อหรือไม่
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวจะได้กลับมาเป็น รมว.ต่างประเทศอีกครั้ง ในรัฐบาลใหม่ ได้รับการทาบทามแล้วหรือไม่ ว่า ขอพูดเรื่องการประชุม จี 20 ดีกว่า ส่วนเรื่องอื่นตอบไม่ได้ เพราะต้องไปรออะไรต่ออะไร เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าจะได้อยู่ต่อในรัฐบาลใหม่ และสานงานต่อไปใช่หรือไม่ นายดอน กล่าวว่า "ณ วันนี้ คุยแต่เรื่อง จี 20 และอาเซียนเท่านั้น อะไรที่เราทำมา ด้านอาเซียน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และในการประชุม จี 20 คงได้เห็นกันว่าผู้นำโลกมากันทั้งหมด ดังนั้น ถ้าถามเรื่องนี้ ตอบได้ แต่ถ้าไม่มี ก็ขอบคุณ"
เมื่อถามว่า ในการประชุมอาเซียนช่วงปลายปีนี้ จะยังอยู่ในตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบงานหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูกันต่อไป แต่เราทำมาแล้ว 2 รอบที่ผ่านมา โดยรวมถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการจัดการ แต่เป็นเรื่องเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ เรียกรวมๆ ว่า ถักทอ ร้อยรัด ต่อยอด เมื่อถามว่า ถ้าเช่นนั้นก็ต้องอยู่ทอ ต่อ นายดอน กล่าวว่า ต้องรอดูต่อไป อันนี้ตนไม่ทราบ เมื่อถามอีกว่า ต้องเข้าไปกรอกประวัติรัฐมนตรี เมื่อไร นายดอน กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ไม่ทราบ
ปชป.มั่นใจรัฐบาลเดินหน้าได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความขัดแย้งในพรรคพลังประชารัฐ จะส่งผลต่อเสถียรรัฐบาล จนทำให้ไม่สามารถบริหารงานได้ราบรื่นหรือไม่ ว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละพรรค ที่ต้องไปบริหารจัดการ แต่เชื่อว่าเสถียรภาพของรัฐบาล ยังเดินหน้าได้ เพราะปัจจัยเรื่องเสถียรภาพมี 2 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยเชิงปริมาณ ซึ่งรัฐบาลจะมีเสถียรภาพได้ ต้องมีเสียงส.ส.เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งภาพรวมตอนนี้ ตัวเลขเกินกึ่งหนึ่งอยู่แล้ว ส่วนปัจจัยเชิงคุณภาพ สำคัญไม่น้อยกว่าตัวเลข ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล หากประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ก็จะช่วยเสริมเสถียรภาพของรัฐบาลให้มีความมั่นคงได้ ซึ่งทุกอย่างต้องรอพิสูจน์การทำงานหลังเข้าทำหน้าที่
อย่างไรก็ตาม ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการสัมมนา ส.ส.ของพรรค เพื่อให้ทุกคนรับรู้ยุทธศาสตร์ ที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย 3 กลไกหลัก คือ กลไกของรัฐมนตรีสังกัดพรรค กลไกของส.ส.พรรค และ กลไกของกรรมการบริหารพรรค รวมถึงสมาชิกพรรคด้วย ทั้งนี้ยืนยันว่า พรรคมีความเป็นเอกภาพ ไม่มีการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย ซึ่งการจัดสัมมนา 3 วัน 2 คืนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า พรรครวมกันเป็นหนึ่ง สามารถทำงานด้วยกันเป็นทีมอเวนเจอร์ ประชาธิปัตย์
ขณะที่ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคปชป.ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กล่าวถึง ปัญหาการจัดเก้าอี้ รมต.ในพรรคพลังประชารัฐว่า ถ้าถามว่าจะกระทบกับประชาธิปัตย์ ที่ไปร่วมรัฐบาล หรือไม่ ตนว่าดูจากรายชื่อ อาทิ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ที่จะไปนั่งกระทรวงด้านเศรษฐกิจนั้น ไม่น่ามีปัญหา เพราะมีอาวุโส อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ขัดแย้งกับใคร หากกระทรวงที่ประชาธิปัตย์ ดูแลผลงานออกมาดี ภาพรวมของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็จะดีไปด้วย ราคาสินค้าเกษตร ปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชนในด้านเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เป็นหัวหอกหลักในการขับเคลื่อน และพัฒนาร่วมกับกระทรวงการคลัง เชื่อว่า คาแรกเตอร์ในรัฐบาลเป็นกันเอง ไม่มีความขัดแย้งกัน ไปในทิศทางเดียวกันได้
นายปริญญ์ กล่าวว่า ตนอยู่ในแวดวงตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าส่วนใหญ่นักลงทุน นักธุรกิจ เขาทราบดีว่าปัญหาบางส่วนอาจจะไม่ลงตัวในฝั่งพรรคพลังประชารัฐ ในแต่ละกลุ่มกันเอง แต่ตอนนี้ทุกคนอยากให้ตั้งรัฐบาลโดยเร็ว เร่งเดินหน้าทำงานได้ ตนเชื่อว่า ในสัปดาห์นี้ ก็เห็นภาพ
โพลชี้ปชช."โคตรเบื่อ"ปัญหาการเมือง
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน จากทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ1,673 คน เรื่อง "อารมณ์สาธารณชนต่อการเมือง" พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 87.2 เห็นด้วย ต่อการตรวจสอบคุณสมบัติ ทั้ง ส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน และส.ว. ขณะที่ ร้อยละ 12.8 ไม่เห็นด้วย ที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 67.5 กังวลมาก ถึงมากที่สุด ต่อความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ร้อยละ 23.2 กังวลปานกลาง และ ร้อยละ 9.3 กังวลน้อย ถึงไม่กังวลเลย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 92.4 รู้สึกเบื่อ เบื่อสุดๆ ถึง โคตรเบื่อ ต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่เบื่อ ถึงสนุกต่อปัญหาการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.5 ไม่เห็นด้วยที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ขณะที่ร้อยละ 40.5 เห็นด้วย ที่น่าสนใจ คือประชาชน ร้อยละ 46.9 ให้โอกาสรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 30.7 ให้โอกาส 1-2 ปี ร้อยละ 8.1 ให้โอกาส 2-3 ปี ร้อยละ 11.2 ให้โอกาส 3-4 ปี และเพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่ให้โอกาส 4 ปีขึ้นไป
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน อาจพัฒนาไปสู่ความรุนแรงบานปลายที่ยากจะควบคุมได้ จากข้อมูลที่มีอยู่ พบว่าปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันปัญหานี้ คือ ความยุติธรรม ความเป็นธรรมทางการเมือง และการไม่เลือกปฏิบัติ จะช่วยลดความร้อนแรงของอารมณ์สาธารณชนลงได้ ถ้าผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องเพิกเฉย ก็อาจนำไปสู่สถานการณ์ต่อสู้กันที่รุนแรงจนยากจะควบคุม ผลที่ตามมาคือ บ้านเมืองจะเสียหาย ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะกลายเป็นผู้แพ้ ส่วนผู้ชนะคือกลุ่มคนหยิบมือเดียวที่ชนะบนซากปรักหักพังของบ้านเมือง เพราะคนกลุ่มนี้จะได้อำนาจ ได้ผลประโยชน์จากความเสียหายของประเทศชาติ และความสูญเสียของประชาชนนอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 90 เห็นด้วย กับการตรวจสอบคุณสมบัติของส.ส. และส.ว. จึงเห็นได้ว่า อะไรที่ดี ย่อมมีประชาชนสนับ
สนุนเป็นส่วนใหญ่ คนไทยทั้งประเทศอยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้อย่างดี บนความถูกต้อง เป็นธรรม จึงเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารจัดการ สแกนกองกำลัง 500 ส.ส. เสมือนกองทัพส.ส. ใครดี มีวินัย มีความสามารถ ก็สนับสนุนให้เติบโต ก้าวหน้า ดูแลผลประโยชน์ชาติ ตามลำดับชั้นที่น่าวางใจ โดยไม่ต้องดูว่า สังกัดพรรคการเมืองใด ใครมีปัญหาก็จัดการด้วยกลไกกระบวนการยุติธรรม เพียงเท่านี้ก็น่าจะควบคุมปัญหาการเมืองได้ ขอเพียงว่าหัวแถว หัวตอน และคนแวดล้อมของนายกรัฐมนตรี เป็นคนดีจริง ประชาชนส่วนใหญ่ย่อมสนับสนุน
จากปัญหาที่มีการปรับเปลี่ยน โผรัฐมนตรี ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ( พปชร.) ในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำกลุ่มสามมิตร ที่เคยอยู่ในตำแหน่งว่าที่ รมว.พลังงาน จะถูกโยกไปเป็น ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค พปชร. ที่แต่เดิมเป็น ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม สลับไปนั่ง รมว.พลังงาน แทน รวมไปถึงกรณีที่มีการจัดสรรเก้าอี้ รมช. ให้กับพรรคชาติพัฒนา ทั้งที่มี ส.ส.เพียง 3 เสียง ทำให้ต้องไปเบียดเอาโควตาของ นายอนุชา นาคาศัย ว่าที่ รมช.คลัง จนหลุดโผไปนั้น สร้างความปั่นป่วน จน นายสุริยะ ขู่จะพากลุ่มสามมิตรถอนตัว แต่ก็ได้ออกมาปฏิเสธ ถึงเรื่องการถอนตัวในวันต่อมา ซึ่งเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เคยให้สัมภาษณ์ ระหว่างที่ไปประชุม จี 20 ที่ นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ว่า ทุกอย่างมันจบแล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะนายกฯ ตัดสินใจแล้ว
"ผมเป็นผู้รับผิดชอบ ทำความเข้าใจกับทุกคนแล้วว่า เรื่องการตัดสินใจตั้ง ครม.เป็นอำนาจของผม ทุกคนเข้าใจดี ไม่มีปัญหา เพราะต่างคนต่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ว่าใครก็ตาม ต้องเข้าใจ เพราะผมเป็นนายกฯ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวแบบทุบโต๊ะ ข้ามประเทศ
"กลุ่มสามมิตร"ยอมสงบ เลิกทวงเก้าอี้
ล่าสุดมีมีรายงานว่า ทาง"ผู้ใหญ่ที่ดูแลพรรคพลังประชารัฐ" ได้เรียกเรียกแกนนำ กลุ่มสามมิตร ที่ออกมาเคลื่อนไหว เข้าพบ พร้อมชี้แจงเหตุผล ที่มีการสลับให้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สลับเก้าอี้กับ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รวมไปถึง กรณีที่มีการจัดสรรเก้าอี้รมช. ให้กับพรรคชาติพัฒนา
"มีการอธิบายว่า แม้พรรคชาติพัฒนา จะได้เพียง 3 เสียง แต่ก็เป็น 3 เสียง ที่ได้มาด้วยตัวเอง ต่างกับกลุ่มสามมิตรที่อาศัยเงินทุน และทรัพยากรจากพรรคพลังประชารัฐ ในการสนับสนุนหาเสียงเลือกตั้ง จนได้เป็นส.ส. ฉะนั้นจึงควรยอมรับ และปฏิบัติตามการตัดสินใจของพรรค หากกลุ่มสามมิตร ยังยืนกรานว่า พวกตนได้เป็น ส.ส. เพราะตัวเอง ก็ให้นำเงินที่ใช้ในการหาเสียง มาคืนให้กับพรรค จากนั้นกลุ่มสามมิตร จะอยู่หรือออกจากพรรคพลังประชารัฐ ก็ตามใจ เมื่อเจอเงื่อนไขเช่นนี้ ทำให้ทางกลุ่มสามมิตร มีท่าทีที่อ่อนลงไป " แหล่งข่าว ระบุ
"ดอน"บอกไม่ทราบ ได้อยู่ต่อหรือไม่
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวจะได้กลับมาเป็น รมว.ต่างประเทศอีกครั้ง ในรัฐบาลใหม่ ได้รับการทาบทามแล้วหรือไม่ ว่า ขอพูดเรื่องการประชุม จี 20 ดีกว่า ส่วนเรื่องอื่นตอบไม่ได้ เพราะต้องไปรออะไรต่ออะไร เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าจะได้อยู่ต่อในรัฐบาลใหม่ และสานงานต่อไปใช่หรือไม่ นายดอน กล่าวว่า "ณ วันนี้ คุยแต่เรื่อง จี 20 และอาเซียนเท่านั้น อะไรที่เราทำมา ด้านอาเซียน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และในการประชุม จี 20 คงได้เห็นกันว่าผู้นำโลกมากันทั้งหมด ดังนั้น ถ้าถามเรื่องนี้ ตอบได้ แต่ถ้าไม่มี ก็ขอบคุณ"
เมื่อถามว่า ในการประชุมอาเซียนช่วงปลายปีนี้ จะยังอยู่ในตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบงานหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูกันต่อไป แต่เราทำมาแล้ว 2 รอบที่ผ่านมา โดยรวมถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการจัดการ แต่เป็นเรื่องเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ เรียกรวมๆ ว่า ถักทอ ร้อยรัด ต่อยอด เมื่อถามว่า ถ้าเช่นนั้นก็ต้องอยู่ทอ ต่อ นายดอน กล่าวว่า ต้องรอดูต่อไป อันนี้ตนไม่ทราบ เมื่อถามอีกว่า ต้องเข้าไปกรอกประวัติรัฐมนตรี เมื่อไร นายดอน กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ไม่ทราบ
ปชป.มั่นใจรัฐบาลเดินหน้าได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความขัดแย้งในพรรคพลังประชารัฐ จะส่งผลต่อเสถียรรัฐบาล จนทำให้ไม่สามารถบริหารงานได้ราบรื่นหรือไม่ ว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละพรรค ที่ต้องไปบริหารจัดการ แต่เชื่อว่าเสถียรภาพของรัฐบาล ยังเดินหน้าได้ เพราะปัจจัยเรื่องเสถียรภาพมี 2 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยเชิงปริมาณ ซึ่งรัฐบาลจะมีเสถียรภาพได้ ต้องมีเสียงส.ส.เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งภาพรวมตอนนี้ ตัวเลขเกินกึ่งหนึ่งอยู่แล้ว ส่วนปัจจัยเชิงคุณภาพ สำคัญไม่น้อยกว่าตัวเลข ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล หากประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ก็จะช่วยเสริมเสถียรภาพของรัฐบาลให้มีความมั่นคงได้ ซึ่งทุกอย่างต้องรอพิสูจน์การทำงานหลังเข้าทำหน้าที่
อย่างไรก็ตาม ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการสัมมนา ส.ส.ของพรรค เพื่อให้ทุกคนรับรู้ยุทธศาสตร์ ที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย 3 กลไกหลัก คือ กลไกของรัฐมนตรีสังกัดพรรค กลไกของส.ส.พรรค และ กลไกของกรรมการบริหารพรรค รวมถึงสมาชิกพรรคด้วย ทั้งนี้ยืนยันว่า พรรคมีความเป็นเอกภาพ ไม่มีการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย ซึ่งการจัดสัมมนา 3 วัน 2 คืนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า พรรครวมกันเป็นหนึ่ง สามารถทำงานด้วยกันเป็นทีมอเวนเจอร์ ประชาธิปัตย์
ขณะที่ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคปชป.ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กล่าวถึง ปัญหาการจัดเก้าอี้ รมต.ในพรรคพลังประชารัฐว่า ถ้าถามว่าจะกระทบกับประชาธิปัตย์ ที่ไปร่วมรัฐบาล หรือไม่ ตนว่าดูจากรายชื่อ อาทิ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ที่จะไปนั่งกระทรวงด้านเศรษฐกิจนั้น ไม่น่ามีปัญหา เพราะมีอาวุโส อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ขัดแย้งกับใคร หากกระทรวงที่ประชาธิปัตย์ ดูแลผลงานออกมาดี ภาพรวมของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็จะดีไปด้วย ราคาสินค้าเกษตร ปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชนในด้านเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เป็นหัวหอกหลักในการขับเคลื่อน และพัฒนาร่วมกับกระทรวงการคลัง เชื่อว่า คาแรกเตอร์ในรัฐบาลเป็นกันเอง ไม่มีความขัดแย้งกัน ไปในทิศทางเดียวกันได้
นายปริญญ์ กล่าวว่า ตนอยู่ในแวดวงตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าส่วนใหญ่นักลงทุน นักธุรกิจ เขาทราบดีว่าปัญหาบางส่วนอาจจะไม่ลงตัวในฝั่งพรรคพลังประชารัฐ ในแต่ละกลุ่มกันเอง แต่ตอนนี้ทุกคนอยากให้ตั้งรัฐบาลโดยเร็ว เร่งเดินหน้าทำงานได้ ตนเชื่อว่า ในสัปดาห์นี้ ก็เห็นภาพ
โพลชี้ปชช."โคตรเบื่อ"ปัญหาการเมือง
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน จากทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ1,673 คน เรื่อง "อารมณ์สาธารณชนต่อการเมือง" พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 87.2 เห็นด้วย ต่อการตรวจสอบคุณสมบัติ ทั้ง ส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน และส.ว. ขณะที่ ร้อยละ 12.8 ไม่เห็นด้วย ที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 67.5 กังวลมาก ถึงมากที่สุด ต่อความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ร้อยละ 23.2 กังวลปานกลาง และ ร้อยละ 9.3 กังวลน้อย ถึงไม่กังวลเลย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเบื่อหน่ายต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 92.4 รู้สึกเบื่อ เบื่อสุดๆ ถึง โคตรเบื่อ ต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่เบื่อ ถึงสนุกต่อปัญหาการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.5 ไม่เห็นด้วยที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ขณะที่ร้อยละ 40.5 เห็นด้วย ที่น่าสนใจ คือประชาชน ร้อยละ 46.9 ให้โอกาสรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 30.7 ให้โอกาส 1-2 ปี ร้อยละ 8.1 ให้โอกาส 2-3 ปี ร้อยละ 11.2 ให้โอกาส 3-4 ปี และเพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่ให้โอกาส 4 ปีขึ้นไป
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน อาจพัฒนาไปสู่ความรุนแรงบานปลายที่ยากจะควบคุมได้ จากข้อมูลที่มีอยู่ พบว่าปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันปัญหานี้ คือ ความยุติธรรม ความเป็นธรรมทางการเมือง และการไม่เลือกปฏิบัติ จะช่วยลดความร้อนแรงของอารมณ์สาธารณชนลงได้ ถ้าผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องเพิกเฉย ก็อาจนำไปสู่สถานการณ์ต่อสู้กันที่รุนแรงจนยากจะควบคุม ผลที่ตามมาคือ บ้านเมืองจะเสียหาย ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะกลายเป็นผู้แพ้ ส่วนผู้ชนะคือกลุ่มคนหยิบมือเดียวที่ชนะบนซากปรักหักพังของบ้านเมือง เพราะคนกลุ่มนี้จะได้อำนาจ ได้ผลประโยชน์จากความเสียหายของประเทศชาติ และความสูญเสียของประชาชนนอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 90 เห็นด้วย กับการตรวจสอบคุณสมบัติของส.ส. และส.ว. จึงเห็นได้ว่า อะไรที่ดี ย่อมมีประชาชนสนับ
สนุนเป็นส่วนใหญ่ คนไทยทั้งประเทศอยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้อย่างดี บนความถูกต้อง เป็นธรรม จึงเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารจัดการ สแกนกองกำลัง 500 ส.ส. เสมือนกองทัพส.ส. ใครดี มีวินัย มีความสามารถ ก็สนับสนุนให้เติบโต ก้าวหน้า ดูแลผลประโยชน์ชาติ ตามลำดับชั้นที่น่าวางใจ โดยไม่ต้องดูว่า สังกัดพรรคการเมืองใด ใครมีปัญหาก็จัดการด้วยกลไกกระบวนการยุติธรรม เพียงเท่านี้ก็น่าจะควบคุมปัญหาการเมืองได้ ขอเพียงว่าหัวแถว หัวตอน และคนแวดล้อมของนายกรัฐมนตรี เป็นคนดีจริง ประชาชนส่วนใหญ่ย่อมสนับสนุน