xs
xsm
sm
md
lg

ข้อควรรู้ไว้สำหรับ “ผู้แอบใช้น้ำมันกัญชา” ทั้งหลาย/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ณ บ้านพระอาทิตย์ 
 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์  


 ในโลกของความเป็นจริงแล้ว น้ำมันกัญชา เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากเย็น และทุกวันนี้หลายคนในประเทศไทยก็ใช้น้ำมันกัญชาอยู่แล้ว นอกจากนั้นส่วนที่มีการค้าขายกันตามอินเตอร์เน็ตก็มีการโฆษณาค้าขายกันอย่างเอิกเกริก

เหตุที่เกิดขึ้นเช่นนี้เพราะภาครัฐไม่ยอมรับความเป็นจริงว่า ตัวเองไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนที่มีการปล่อยปละละเลยเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการรักษาโรค ยังไม่นับว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนมีผลประโยชน์อยู่ในธุรกิจกัญชาใต้ดินกันอยู่ด้วย

สารสำคัญในกัญชานั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน แต่ที่เป็นประเด็นมากที่สุดก็คือสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาท ทำให้มึนเมา ทำให้หลับ ซึ่งเป็นสารที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าทำให้เกิดอาการเสพติดได้นั่นก็คือสารที่มีชื่อว่า เดลต้าไนน์ เตตระไฮโดรแคนนาบินอยด์ หรือ THC ซึ่งตราบใดที่มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญนี้ต่อการใช้หนึ่งหน่วยบริโภค หรือการบริโภคต่อ 1 วันอย่างเหมาะสมแล้ว ข้อถกเถียงการใช้ประโยชน์และโทษของกัญชาก็น่าจะน้อยลงไปกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นแน่

ศูนย์ติดตามการใช้ยาและการเสพติดยาของยุโรป (The European Monitoring Cernte for Drugs and Drug Addition) เรียกชื่อย่อว่า EMCDDA ได้นำเสนอลักษณะการใช้กัญชาใช้ออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้

1. กัญชง หรือที่เรียกว่า เฮมพ์ (Hemp) ซึ่งเป็นพืชในกลุ่มตระกูลกัญชาที่แสดงออกในการให้ผลเป็นไฟเบอร์ ซึ่งมีสาร THC น้อยกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์

2. สมุนไพรกัญชา ซึ่งรวมทั้งแบบสด หรือ ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบตากแห้ง ทั้งใบและดอกกัญชา โดยไม่รวมลำต้น ราก และเมล็ด โดยปกติแล้วจะมีสาร THC ประมาณ 0.5 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติแล้วจะใช้ในการจุดเผาไหสูบในรูปแบบเหมือนการสูบบุหรี่ หรือบ่อยครั้งพบกับการผสมร่วมยาสูบ

3. ยางเรซินกัญชา หรือที่เรียกว่า แฮชิสช์ (Hashis) เป็นยางที่ได้จากการบีบอัด ปกติแล้วจะผสมกับสมุนไพรกัญชา หรือบุหรี่ กลุ่มนี้จะมี THC ประมาณ 2-20 เปอร์เซ็นต์

4. น้ำมันกัญชา การใช้สารละลายเพื่อดึงสารสำคัญจากสมุนไพรกัญชาหรือจากยางเรซินกัญชา ซึ่งปกติจะมีสาร THC ประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์ [1]

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าตำรับยาไทยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของใบหรือดอกกัญชานั้นจะมีประมาณสาร THC อยู่ในตำรับยาในสัดส่วนที่ไม่มากนัก ในขณะที่การสกัดออกมาเป็นน้ำมันกัญชานั้นจะมีสาร THC ออกมาในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่า ตำรับยาไทยจึงไม่เคยทำให้มึนเมาเท่ากับการใช้น้ำมันกัญชาในยุคปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชานั้นมีหลายรูปและมีผลต่อการดูดซึม โดยพบว่าหากมีการบริโภคทางช่องปากการดูดซึมของสาร THC จะอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และถ้ามีการสูดดมสาร THC ก็จะดูดซึมได้สูงขึ้นไปถึงประมาณ 10 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สาร THC ก็จะถูกทำลายฤทธิ์ลดดูดซึมลงไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยในชั้นกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเหลือประมาณ 3 ถึง 9 เปอร์เซ็นต์ จากสาร THC ปริมาณ 20 มิลลิกรัมที่ผสมบริโภคผ่านเค้ก [2]

การปรุงยาโดยการบริโภคกับการสูบยาจึงออกฤทธิ์ทางจิตประสาทต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยตำรับยาไทยที่มีการผสมกัญชานั้นส่วนใหญ่ใช้การบริโภคผ่านกระบวนการย่อยในชั้นกระเพาะอาหารและลำไส้ ไม่เคยมีการปรากฏว่าให้มีสูบกัญชาเลย ปรากฏอยู่พระยาพิศณุประสาทเวช ผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร ร.ศ. 127 ได้เคยเขียนในตำราเวชศึกษา แพทยศาสตร์สังเขป ในหัวข้อ “แพทยาลังการ คุณธรรมอันเป็นเครื่องประดับหมอ” ข้อ 12 ความว่า

“๑๒. ไม่เป็นคนมีสันดานอันประกอบด้วยความมัวเมา เป็นต้น ว่าเสพสุรา สูบกัญชา ยาฝิ่น หรือมัวเมาละเลิงหลงไปในการเล่นเบี้ย เล่นการพนันต่างๆ อันเป็นทางที่จะทำให้ตนให้ได้ความเดือดร้อนรำคาญ เพราะความประพฤติอันเป็นข้าศึกกับคุณวิชาของตน เพื่อหลีกเลี่ยงไปพ้นมิให้พัวพัน มีสันดานตั้งมั่นในทางสุจริตดังนี้ จัดเป็นคุณธรรมเครื่องประดับของหมอประการหนึ่ง”[3]

ทั้งนี้ เพราะภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยรู้มานานแล้วถึงสรรพคุณและโทษของกัญชา ดังปรากฏในหนังสือแพทย์ตำบล เล่ม 1 ของพระยาแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) เมื่อปี พ.ศ. 2469 ว่า :

“กัญชา ทำให้เมา ทำให้ใจขลาด รับประทานน้อยๆ เป็นยาชูกำลัง เจริญอาหาร ต้นกัญชาที่มีดอกเป็นช่อ ใช้ช่อที่มีดอกและผลทำยา ต้นสูงถึง 3 ถึง 10 ฟุต” [4]

นอกจากนี้ยังปรากฏในตำราประมวลหลักเภสัช โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ระบุว่า : “ดอกกัญชา ทำให้ง่วงนอนและอยากอาหาร, กัญชา รสเมาเบื่อเหม็นเขียว เจริญอาหาร ชูกำลัง แต่ทำให้ใจขลาด, เมล็ดกัญชา รสเมามึน เจริญอาหาร กินมากหวาดกลัว หมดสติ” [5]

จะเห็นได้ว่าในสรรพคุณยาของกัญชาในแพทย์แผนไทยนั้นให้ใช้กัญชาในปริมาณน้อยเพื่อชูกำลังและเจริญอาหาร แต่ก็ตระหนักถึงผลเสียหากใช้มากเกินไปคือทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท เมามึน และหมดสติ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นการใช้กัญชาในแพทย์แผนไทยจึงต้องใช้เป็นตำรับยาเท่านั้น และไม่ใช้กัญชาเป็นยาเดี่ยวเหมือนกับยาแผนปัจจุบัน

สอดคล้องกับรายงานผลข้างเคียงของวารสารทางด้านจิตเวชชื่อ Australas Psycharity เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งได้ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบจากรายงานจำนวน 3,695 ชิ้น ในความสัมพันธ์ความเป็นพิษกับ”สารเคมีสังเคราะห์”(ไม่ใช่สารธรรมชาติ)กัญชา อาการข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดก็คือ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์, ความกระวนกระวายประมาณ 13.5 เปอร์เซ็นต์ ง่วงนอนประมาณ 12.3 เปอร์เซ็นต์ คลื่นไส้/อาเจียนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์ และประสาทหลอน ประมาณ 7.6 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเสียชีวิตหรือผลข้างเคียงร้ายแรงนั้นถือว่า “พบน้อยมาก” กล่าวคือ เสียชีวิตประมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์, ภาวะเส้นโลหิตสมองตีบประมาณ 0.1 เปอร์เซ็นต์ และกล้ามเนื้อหัวใจตาย 0.09 เปอร์เซ็นต์ [6]

งานวิจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นก็สอดคล้องกับวารสารที่ศึกษาทางด้านพิษวิทยาทางคลินิก Clinical toxicology (Philadelphia, Pa.) เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่มีการศึกษาการวิเคราะห์รายงาน 256 ชิ้น จากจำนวนประมาณ 4,000 คน พบว่าส่วนใหญ่ชายหนุ่มที่ใช้สารสังเคราะห์กัญชาจะมีอาการ หัวใจเต้นเร็ว 37 ถึง 77 เปอร์เซ็นต์ กระวนกระวาย 16 ถึง 41 เปอร์เซ็นต์ และคลื่นไส้ 13 ถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆลดน้อยลงไปภายใน 8 ชั่วโมง [7]

จึงขอย้ำว่างานวิจัยผลข้างเคียงที่รายงานในวารสารทั้ง 2 ฉบับ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อยู่บนเงื่อนไข 1. การใช้สารสังเคราะห์กัญชา (ไม่ใช่สารจากธรรมชาติ ) และ 2. อยู่บนพื้นฐานการวิเคราะห์ในพื้นที่ซึ่งไม่มีการควบคุมในการเรื่องการใช้สารสังเคราะห์กัญชาเพื่อสันทนาการ ดังนั้นใครจะอ้างอิงงานวิจัยทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จะต้องทราบเงื่อนไขข้างต้นให้ครบด้วย

ทั้งนี้ สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ที่มีทั้งในกัญชาและกัญชงมีผลข้างเคียงอยู่หลายประการ ได้แก่ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก ตาแดง หลอดลมขยายตัว กล้ามเนื้อคลายตัว [8] [9] และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือผลข้างเคียงทำให้“ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร” [10]

อย่างไรก็ตามปัญหาอาการข้างเคียงในการใช้กัญชาข้างต้นก็เพียงแก้ไขด้วยวิธีการดังนี้

1. ให้ปริมาณให้น้อยเข้าไว้เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยและลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และถ้าใครใช้น้ำมันกัญชาโดยการหยอดใต้ลิ้นแล้วมีผลข้างเคียงดังกล่าว ลองทดลองลดปริมาณขนาดของยาให้เข้มข้นน้อยลง โดยหยอดใส่น้ำ 1 แก้ว แล้วดื่มผ่านกระบวนการย่อยปกติแทนการหยอดใต้ลิ้น อาจจะมีความรู้สึกดีขึ้น

2. อาศัยองค์ความรู้ทางด้านรสยาในการแพทย์แผนไทยและหรือบูรณาการเข้ากับเภสัชสมุนไพรยุคใหม่ ปรุงเป็นตำรับยาไทยเพื่อลดผลข้างเคียงของกัญชาได้

สำหรับโรคที่ถือว่าน้ำมันกัญชาจะมีบทบาทเข้ามาช่วยในการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบก็คือการปวด หรือ การเกร็งจากโรคปลอกประสาทอักเสบ [11]

อย่างไรก็ตาม กัญชายังไม่ประสบความสำเร็จในการลดอาการปวดอย่างชัดเจนนักทั้งการปวดในผู้ป่วยมะเร็งและไม่ใช่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง [12]-[18] ดังนั้นแม้จะมีรายงานในบางประเทศที่เห็นว่าเมื่อใช้กัญชาในทางการแพทย์แล้วอาจจะมีการลดการใช้มอร์ฟีนลงก็ตาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมอร์ฟีนยังมีความจำเป็นในการระงับอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ยังจำเป็นอยู่มาก อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้กัญชาเพื่อบรรเทาการปวดอาจได้ผลเมื่อมีสาร THC ประมาณ 27 มิลลิกรัม และ CBD 25 มิลลิกรัมต่อวัน [19]

สำหรับเรื่องการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนนั้น ได้ปรากฏว่ามีรายงานหลายชิ้นพบว่าสารสกัดกัญชานั้นมีส่วนช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากอันเป็นผลจาการคีโมบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง [12], [20]-[23] อย่างไรก็ตามเนื่องจากงานวิจัยที่ระบุว่าในบางกรณีนั้นพบว่าการใช้กัญชาอาจส่งผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงในการคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วย [6] [7] จึงพบบางงานวิจัยซึ่งพบว่าการใช้กัญชาบางชนิดอาจทำให้เกิดการกระตุ้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วยในช่วงการใช้คีโมบำบัด [24]-[25] เช่นเดียวกับงานวิจัยอย่างเป็นระบบพบว่าสารแคนนาบินอยด์ในกัญชานั้นไม่ให้ผลลดการคลื่นไส้อาเจียนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์เพื่อประคับประคองในระยะสุดท้าย [26]

อย่างไรก็ตาม อาการชักซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่อาจพบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กระจายไปยังสมอง [27] พบว่าสาร THC นั้นช่วยอาการชักได้[28][29] ในทางตรงกันข้ามสาร THC ก็อาจจะกระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้หากทำปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วผลประโยชน์ของกัญชาก็อาจจะมีประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียง [30]

ยารูปแบบสมัยใหม่เช่นนาบิซิมอลส์ และ สมุนไพรกัญชาเองสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน ช่วยทำให้ลดภาวะนอนไม่หลับ และลดอาการกรน [12] อย่างไรก็ตามผลของการนอนได้มีคุณภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้กัญชา โดยงานวิจัยพบว่าการใช้ปริมาณน้อยๆอาจให้ผลในการนอนหลับได้ดีกว่าการใช้ในปริมาณที่มาก [31] และมีรายงานวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับคีโมบำบัดพบว่าทำให้กินอาหารได้ดีขึ้นและบริโภคอาหารได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก [32]

แม้ในทุกวันนี้จะมีผลงานวิจัยจำนวนมากในหลอดทดลองว่าสารสกัดกัญชาหลายชนิดสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้ สารสกัดกัญชาบางชนิดช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง หรือใช้ร่วมรักษากับยาแผนปัจจุบัน [33] การได้ข้อมูลเบาะแสจากงานวิจัยข้างต้น เป็นผลทำให้บริษัทยาต่างชาติได้จดสิทธิบัตรว่ากัญชาสามารถ“รักษา” หรือ “ร่วมรักษา”โรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งสมอง ฯลฯ [34]

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการวิจัยในมนุษย์ในเรื่องของการทดลองใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเล็กๆ 9 คน ที่เป็น โรคมะเร็งสมองชนิด Glioblastoma ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้มีบทสรุปที่มีนัยยสำคัญใดๆ แต่ทว่ามีผลการวิจัยในผู้ป่วยบางรายที่ตอบสนองโดยการใช้สาร THC ในการบำบัดแล้วปรากฏว่ามีอัตราการเจริญเติบโตของมะเร็งช้าลง [35] อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยที่กำลังเดินหน้าต่อไปและกำลังรอผลอยู่เช่นกัน [36]

ถึงแม้จะยังไม่ปรากฏว่าจะมีงานวิจัยสรุปได้ว่ากัญชาเพียงอย่างเดียวจะสามารถไปไกลถึงขั้นรักษาโรคมะเร็งได้ และงานวิจัยในมนุษย์ในวันนี้จึงไปได้ไกลที่สุดคือลดผลข้างเคียงของการรักษาหลังการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น หรือมาใช้ร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองในช่วงของมะเร็งระยะสุดท้าย แต่เชื่อว่ามีผู้ป่วยหลายคนที่ใช้กัญชาระหว่างการลดผลข้างเคียงหรือเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็อาจจะหวังผลพลอยได้จากงานวิจัยในเรื่องกัญชาที่มีผลต่อการฆ่าเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง หรือยับยั้งหรือร่วมรักษาในการทดลองในสัตว์ทดลองอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็มีความคาดหวังได้มากกว่ายาแก้ปวด ยานอนหลับ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนทั่วไป ฯลฯ ใช่หรือไม่?

และจากข้อมูลในโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆ ก็เริ่มพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้กัญชามีอาการดีขึ้นนั้น ล้วนแล้วแต่มีการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การรักษาแผนปัจจุบัน การรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพร การรักษาด้วยการควบคุมอาหาร หรือการล้างพิษ เป็นต้น

แต่ด้วยข้อจำกัดของสาร THC ที่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาท (มึนเมา หวาดกลัว) ทำให้หลายคนต้องหันไปมองสารสำคัญตัวอื่นๆที่ไม่ออกฤทธิ์เหมือนสาร THC ที่มีผลงานวิจัยในการยับยั้งหรือช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ เช่น CBD CBG และ CBN ซึ่งสารประกอบแต่ละตัวนั้น แม้เราไม่ต้องสกัดมันออกมาเป็นสารเคมีเชิงเดี่ยวเหมือนกับยาแผนปัจจุบัน แต่ข้อมูลงานวิจัยในยุคหลังจะทำให้เราได้ทราบว่าควรใช้กัญชาส่วนใด ลักษณะใด หรือสกัดอย่างไร อุณหภูมิเท่าไหร่ เพื่อให้ได้สัดส่วนสารสำคัญที่สอดคล้องกับแต่ละโรคที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นหนทางในการพัฒนาตำรับยาไทยให้ได้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

อ้างอิง
[1] An Overview of Cannabis Potency in Europe; European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction. [(accessed on 10 December 2018)]; Available online: http://www.emcdda.europa.eu/publications/insights/cannabis-potency.

[2] Adams I.B., Martin B.R. Cannabis: Pharmacology and toxicology in animals and humans. Addiction. 1996;91:1585-1614. doi: 10.1111/j.1360-0443.1996.tb02264.x. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

[3] พระยาพิศณุประสาทเวช ผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร ร.ศ. ๑๒๗, เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม ๑, ๒, ๓, โรงเรียนแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย สำนักวัดพระเชตุพนฯ พระนคร

[4] พระยาแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช), แพทย์ตำบล เล่ม ๑-๓, พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพ :อักษรนิติ ๒๔๖๙

[5] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, ตำราประมวลเภสัช, กรุงเทพฯ ๒๕๒๘ (หน้า ๖๙, ๙๗, ๑๑๘)

[6] Courts J., Maskill V., Gray A., Glue P. Signs and symptoms associated with synthetic cannabinoid toxicity: Systematic review. Australas. Psychiatry. 2016;24:598-601. doi: 10.1177/1039856216663733. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

[7] Tait R.J., Caldicott D., Mountain D., Hill S.L., Lenton S. A systematic review of adverse events arising from the use of synthetic cannabinoids and their associated treatment. Clin. Toxicol. 2016;54:1-13. doi: 10.3109/15563650.2015.1110590. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

[8] Grotenhermen F, Russo E, eds.: Cannabis and Cannabinoids: Pharmacology, Toxicology, and Therapeutic Potential. Binghamton, NY: The Haworth Press, 2002.

[9] Guzmán M: Cannabinoids: potential anticancer agents. Nat Rev Cancer 3 (10): 745-55, 2003. [PUBMED Abstract] http://www.nature.com/articles/nrc1188

[10] Aviello G, Romano B, Izzo AA. Cannabinoids and gastrointestinal motility: animal and human. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2008 Aug;12 Suppl 1:81-93. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18924447

[11] Nielsen S., Germanos R., Weier M., Pollard J., Degenhardt L., Hall W., Buckley N., Farrell M. The Use of Cannabis and Cannabinoids in Treating Symptoms of Multiple Sclerosis: A Systematic Review of Reviews. Curr. Neurol. Neurosci. Rep. 2018;18:8. doi: 10.1007/s11910-018-0814-x. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

[12] Whiting P.F., Wolff R.F., Deshpande S., Di Nisio M., Duffy S., Hernandez A.V., Keurentjes J.C., Lang S., Misso K., Ryder S., et al. Cannabinoids for Medical Use: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA. 2015;313:2456-2473. doi: 10.1001/jama.2015.6358. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[13] Tateo S. State of the evidence: Cannabinoids and cancer pain-A systematic review. J. Am. Assoc. Nurse Pract. 2017;29:94-103. doi: 10.1002/2327-6924.12422. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[14] Cichewicz D.L. Synergistic interactions between cannabinoid and opioid analgesics. Life Sci. 2004;74:1317-1324. doi: 10.1016/j.lfs.2003.09.038. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[15] Johnson J.R., Burnell-Nugent M., Lossignol D., Ganae-Motan E.D., Potts R., Fallon M.T. Multicenter, double-blind, randomized, placebo-controlled, parallel-group study of the efficacy, safety, and tolerability of THC:CBD extract and THC extract in patients with intractable cancer-related pain. J. Pain Symptom Manag. 2010;39:167-179. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2009.06.008.[PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[16] Finnerup N.B., Attal N., Haroutounian S., McNicol E., Baron R., Dworkin R.H., Gilron I., Haanpää M., Hansson P., Jensen T.S., et al. Pharmacotherapy for neuropathic pain in adults: Systematic review; meta-analysis and updated NeuPSIG recommendations. Lancet Neurol. 2015;14:162-173. doi: 10.1016/S1474-4422(14)70251-0. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[17] Mücke M., Weier M., Carter C., Copeland J., Degenhardt L., Cuhls H., Radbruch L., Häuser W., Conrad R. Systematic review and meta-analysis of cannabinoids in palliative medicine. J. Cachexia Sarcopenia Muscle. 2018;9:220-234. doi: 10.1002/jcsm.12273. [PMC free article][PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[18] Stockings E., Campbell G., Hall W.D., Nielsen S., Zagic D., Rahman R., Murnion B., Farrell M., Weier M., Degenhardt L. Cannabis and cannabinoids for the treatment of people with chronic noncancer pain conditions: A systematic review and meta-analysis of controlled and observational studies. Pain. 2018;159:1932-1954. doi: 10.1097/j.pain.0000000000001293.[PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[19] Portenoy R.K., Ganae-Motan E.D., Allende S., Yanagihara R., Shaiova L., Weinstein S., McQuade R., Wright S., Fallon M.T. Nabiximols for opioid-treated cancer patients with poorly-controlled chronic pain: A randomized, placebo-controlled, graded-dose trial. J. Pain. 2012;13:438-449. doi: 10.1016/j.jpain.2012.01.003. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

[20] Rock E.M., Sticht M.A., Limebeer C.L., Parker L.A. Cannabinoid regulation of acute and anticipatory nausea. Cannabis Cannabinoid Rev. 2016;1:113-118. doi: 10.1089/can.2016.0006. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[21] Tramèr M.R., Carroll D., Campbell F.A., Reynolds D.J., Moore R.A., McQuay H.J. Cannabinoids for control of chemotherapy induced nausea and vomiting: Quantitative systematic review. BMJ. 2001;323:16-21. doi: 10.1136/bmj.323.7303.16. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[22] Keeley P.W. Nausea and vomiting in people with cancer and other chronic diseases. BMJ Clin. Evid. 2009;2009:2406. [PMC free article][PubMed] [Google Scholar]
[23] Nabilone for Non-Chemotherapy Associated Nausea and Weight Loss due to Medical Conditions, A Review of the Clinical Effectiveness and Guidelines. [(accessed on 10 December 2018)]; Available online: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK253668/
[24] Tafelski S., Häuser W., Schäfer M. Efficacy; tolerability; and safety of cannabinoids for chemotherapy-induced nausea and vomiting—A systematic review of systematic reviews. Schmerz. 2016;30:14-24. doi: 10.1007/s00482-015-0092-3. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[25] Schussel V., Kenzo L., Santos A., Bueno J., Yoshimura E., de Oliveira Cruz Latorraca C., Pachito D.V., Riera R. Cannabinoids for nausea and vomiting related to chemotherapy: Overview of systematic reviews. Phytother. Res. 2018;32:567-576. doi: 10.1002/ptr.5975. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[26] Mücke M., Weier M., Carter C., Copeland J., Degenhardt L., Cuhls H., Radbruch L., Häuser W., Conrad R. Systematic review and meta-analysis of cannabinoids in palliative medicine. J. Cachexia Sarcopenia Muscle. 2018;9:220-234. doi: 10.1002/jcsm.12273. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[27] Brodie M.J., Barry S.J., Bamagous G.A., Norrie J.D., Kwan P. Patterns of treatment response in newly diagnosed epilepsy. Neurology. 2012;78:1548-1554. doi: 10.1212/WNL.0b013e3182563b19. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[28] Perucca E. Cannabinoids in the Treatment of Epilepsy, Hard Evidence at Last? J. Epilepsy Res. 2017;7:61-76. doi: 10.14581/jer.17012. [PMC free article][PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[29] O’Connell B.K., Gloss D., Devinsky O. Cannabinoids in treatment-resistant epilepsy, A review. Epilepsy Behav. 2017;70:341-348. doi: 10.1016/j.yebeh.2016.11.012. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[30] Killestein J. Cannabinoids in the Treatment of Epilepsy. N. Engl. J. Med. 2016;374:94. doi: 10.1056/NEJMc1512758. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[31] Portenoy R.K., Ganae-Motan E.D., Allende S., Yanagihara R., Shaiova L., Weinstein S., McQuade R., Wright S., Fallon M.T. Nabiximols for opioid-treated cancer patients with poorly-controlled chronic pain: A randomized, placebo-controlled, graded-dose trial. J. Pain. 2012;13:438-449. doi: 10.1016/j.jpain.2012.01.003. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[32] Brisbois T.D., de Kock I.H., Watanabe S.M., Mirhosseini M., Lamoureux D.C., Chasen M., MacDonald N., Baracos V.E., Wismer W.V. Delta-9-tetrahydrocannabinol may palliate altered chemosensory perception in cancer patients: Results of a randomized, double-blind, placebo-controlled pilot trial. Ann. Oncol. 2011;22:2086-2093. doi: 10.1093/annonc/mdq727. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[33] Alexander A., Smith P.F., Rosengren R.J. Cannabinoids in the treatment of cancer. Cancer Lett. 2009;285:6-12. doi: 10.1016/j.canlet.2009.04.005. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[34] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, รู้ไว้ไม่โง่! เบื้องหลังบริษัทยาต่างชาติถือสิทธิบัตร “สารสกัดกัญชารักษาโรคมะเร็ง” หลายชนิด, ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 7 มิ.ย. 2562 17:34 ปรับปรุง: 7 มิ.ย. 2562 20:03 https://mgronline.com/daily/detail/9620000054069
[35] Guzmán M., Duarte M.J., Blázquez C., Ravina J., Rosa M.C., Galve-Roperh I., Sánchez C., Velasco G., González-Feria L. A pilot clinical study of Delta9-tetrahydrocannabinol in patients with recurrent glioblastoma multiforme. Br. J. Cancer. 2006;95:197-203. doi: 10.1038/sj.bjc.6603236. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
[36] . Velasco G., Sánchez C., Guzmán M. Anticancer mechanisms of cannabinoids. Curr. Oncol. 2016;23:S23-S32. doi: 10.3747/co.23.3080. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef]


กำลังโหลดความคิดเห็น