เราได้ทราบกันดีแล้วว่า ขณะนี้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเราด้วยกำลังมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้พืชกัญชาเป็นพืชที่ถูกกฎหมาย เป็นยารักษาโรค ไม่ใช่ยาเสพติดหลายประเทศได้ทำสำเร็จเรียบร้อยไปแล้ว เช่น ประเทศแคนาดาซึ่งเคยทำให้ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 แต่ได้แก้ไขให้ถูกกฎหมายอย่างสมบูรณ์แบบทั้งทางการแพทย์และเพื่อการผ่อนคลายในปี 2561 ที่ผ่านมา
สำหรับประเทศไทยเราเองก็ไม่ได้น้อยหน้าชาวโลก ได้มีพระราชบัญญัติ “กันชา”ในปี 2478 (รัชกาลที่ ๘) โดยอ้างว่า “เพื่อควบคุมกันชาซึ่งให้โทษอย่างร้ายแรงแก่ผู้สูบ” ผมได้นำบางส่วนมาแสดงในภาพด้วยครับ
แต่เมื่อถึงคราวที่ชาวโลกเขาเปลี่ยนเพื่อกลับไปสู่สิ่งที่ธรรมชาติได้จัดสรรอย่างสมดุลและยั่งยืน รัฐบาลไทยกลับอืดอาดและพยายามจะบิดเบือนกฎของธรรมชาติด้วยเล่ห์เพทุบายต่างๆ นานาเพียงเพื่อให้กลุ่มทุนได้รับสิทธิผูกขาดยาที่สกัดจากกัญชาพร้อมกับไม่ยอมให้คนไทยเข้าถึงได้โดยง่าย
บทความในวันนี้ ผมตั้งใจพยายามจะตอบคำถามว่า ทำไมกัญชา (และกัญชงซึ่งคล้ายกันมากกับกัญชาแต่มีสารและสรรพคุณที่ต่างกัน ทั้งในการรักษาโรคและการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ) จึงได้กลายเป็นพืชที่ผิดกฎหมายไปทั่วโลกและด้วยวิธีการใด
ผมเองได้เคยอ้างถึง “กฎของคนหยิบมือเดียว” (Law of the few โดยMalcolm Gladwell ปี 2543) ซึ่งสรุปว่าในการเปลี่ยนแปลงสังคมไม่จำเป็นต้องใช้คนจำนวนมากเสมอไป แต่หากมีการประสานกันอย่างดีของคนจำนวนน้อย (ที่มีความเป็นวิชาการ มีผู้สื่อสารที่กินใจผู้รับสาร และมีผู้ประสานงานที่ดี) ก็อาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตได้ ทั้งที่เป็นเรื่องดีและเรื่องเลวๆ ด้วย
เรื่องที่ทำให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายไปทั่วทั้งโลกเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ก็อยู่ภายใต้กฎของคนหยิบมือเดียวครับ
แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ผมขอเรียนให้เห็นความสำคัญของกัญชงอย่างสั้นๆ ครับ เพราะผมเชื่อว่าหลายท่านยังไม่ทราบกัน
อดีตประธานาธิบดี ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (2286-2368) ของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า “กัญชง (hemp) คือความจำเป็นอันดับแรกเพื่อความมั่งคั่งและการปกป้องประเทศสหรัฐอเมริกา” ทั้งนี้เพราะว่าพืชกัญชงมีประโยชน์ที่หลากหลายมาก ทั้งระดับครัวเรือนจนถึงระดับกองทัพเพื่อป้องกันประเทศ เม็ดใช้ทำอาหารทั้งคนและสัตว์ น้ำมันปรุงอาหาร เส้นใยใช้ทำเชือกเพื่อใช้ในสงคราม ทำเสื้อเกราะ (ดูภาพประกอบ)
สำหรับเรื่องประโยชน์ของกัญชา ผมเชื่อว่าสังคมไทยได้รับรู้ความจริงอย่างรวดเร็วมาก หลังจากที่ได้ถูกหลอกมานานร่วมร้อยปี แต่กฎหมายที่เพิ่งผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ก็ยังหมกเม็ดและบิดประเด็นสำคัญ ส่งผลให้ภาคประชาสังคม 11 องค์กรต้องออกมาเดินรณรงค์ในเวลานี้
ขอเรียนอีกครั้งว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มีอยู่ทั้งในกัญชาและกัญชง แต่คนไทยเรามักจะเข้าใจว่ามีเฉพาะในกัญชาเท่านั้น
คราวนี้มาถึงประเด็นว่า คนหยิบมือเดียวสามารถทำให้กัญชาและกัญชงเป็นสิ่งผิดกฎหมายไปทั่วทั้งโลกได้อย่างไร
ขอเริ่มต้นที่วัตถุประสงค์และแนวความคิดในการกระทำดังกล่าวครับ
วัตถุประสงค์ก็คือการกีดกันทางการค้าของผู้ที่ค้นพบยาแอสไพรินในปี 2442 โดยบริษัท Bayer (บริษัทเยอรมนี) และการสังเคราะห์ไนลอน (Nylon) ของบริษัท DuPont (บริษัทอเมริกัน) ในปี 2481
ยาแอสไพรินเป็นยาแก้ปวด ปัจจุบันใช้ป้องกันโรคเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ก็มีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมามีการประมาณว่าในแต่ละปีชาวโลกใช้ยาแอสไพรินประมาณ 50,000 ถึง 120,000 ล้านเม็ด มีมูลค่ามหาศาล (https://en.wikipedia.org/wiki/Aspirin)
รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาได้เคยประกาศให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชผิดกฎหมาย (ปี 2480) แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลต้องการใช้เชือกจำนวนมากในกองทัพเรือ จึงได้ประกาศยกเลิกการห้ามปลูกชั่วคราว เพราะต้นกัญชงสามารถใช้เส้นใยเพื่อทำเชือกได้นอกจากการใช้ทำเชือกแล้ว ยังสามารถทำกระดาษคุณภาพดี รวมทั้งเสื้อผ้าด้วย
บริษัท DuPont เริ่มทำวิจัยเกี่ยวกับไนลอน (ซึ่งเป็นสารที่เรียกว่าโพลีเมอร์ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) ในปี 2470 จนสำเร็จและออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ทั้งกัญชาและกัญชงจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญของทั้งอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท DuPont กับกระบวนการทำให้กัญชาและกัญชงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก เป็นการเริ่มต้นด้วยคนเพียง 4 คน คือ (1) ผู้บริหารระดับสูงสุดของทบวงยาเสพติด (2) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและเจ้าของธนาคาร (3) สื่อมวลชน และ (4) นักธุรกิจเจ้าของบริษัทอุตสาหกรรมสารเคมีและเส้นใยสังเคราะห์ในภาพข้างล่างครับ
นี่คือการประสานงานของคนหยิบมือเดียว (Law of the few) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้
สำหรับเรื่องแนวความคิด โดยวัฒนธรรมของชาวอเมริกันผิวขาว (บางกลุ่ม) เชื่อว่า การสูบกัญชาเป็นเรื่องของคนชั้นต่ำและชาวต่างชาติที่อพยพเข้ามา การห้ามใช้กัญชาคงจะได้รับการยอมรับโดยสัญชาตญาณและจะไม่มีใครคัดค้าน
นอกจากสื่อในเครือดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีภาพยนตร์ที่ล้างสมองชื่อ “Reefer Madness” (ปี 2479)
บางท่านอาจจะคิดว่า คนสำคัญเพียง 4 คนดังกล่าวข้างต้น จะมีพลังมากถึงขนาดนั้นเชียวหรือ
เรื่องนี้ก็เหมือนกับโรคระบาดนั่นแหละครับ คือเริ่มต้นจากเชื้อโรคจำนวนเพียงนิดเดียว แต่สามารถแพร่กระจายและส่งผลกระเทือนได้อย่างรวดเร็วและมหาศาล
เพราะในปี 2504 ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติในการประชุม The United Nations Single Convention on Narcotic Drugs ก็ออกมารับลูกต่อ
วันนี้ (9 มิถุนายน) เป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์เดินเพื่อผู้ป่วย “Cannabis walk Thailand” ของภาคประชาชน 11 องค์กร ผมเองไม่มีโอกาสได้ไปร่วมด้วย แต่ได้เขียนบทความเพื่อเอาใจช่วย 4 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว
ผมเชื่อมั่นว่านี่คือการเคลื่อนไหวของคนหยิบมือเดียวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในทางที่ดี ในทางที่ให้คนสามารถกำหนดอนาคตและรักษาตนเองได้ การกระทำดังกล่าวจะแพร่กระจายและส่งผลกระเทือนไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็วราวกับโรคระบาดอย่างแน่นอน
คิดดี ทำดี วิชาการดี ประสานงานดี และมุ่งมั่นถึงขนาดนี้แล้ว ไม่สำเร็จก็ให้มันรู้กันไปครับ
#โลกที่ซับซ้อน
สำหรับประเทศไทยเราเองก็ไม่ได้น้อยหน้าชาวโลก ได้มีพระราชบัญญัติ “กันชา”ในปี 2478 (รัชกาลที่ ๘) โดยอ้างว่า “เพื่อควบคุมกันชาซึ่งให้โทษอย่างร้ายแรงแก่ผู้สูบ” ผมได้นำบางส่วนมาแสดงในภาพด้วยครับ
แต่เมื่อถึงคราวที่ชาวโลกเขาเปลี่ยนเพื่อกลับไปสู่สิ่งที่ธรรมชาติได้จัดสรรอย่างสมดุลและยั่งยืน รัฐบาลไทยกลับอืดอาดและพยายามจะบิดเบือนกฎของธรรมชาติด้วยเล่ห์เพทุบายต่างๆ นานาเพียงเพื่อให้กลุ่มทุนได้รับสิทธิผูกขาดยาที่สกัดจากกัญชาพร้อมกับไม่ยอมให้คนไทยเข้าถึงได้โดยง่าย
บทความในวันนี้ ผมตั้งใจพยายามจะตอบคำถามว่า ทำไมกัญชา (และกัญชงซึ่งคล้ายกันมากกับกัญชาแต่มีสารและสรรพคุณที่ต่างกัน ทั้งในการรักษาโรคและการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ) จึงได้กลายเป็นพืชที่ผิดกฎหมายไปทั่วโลกและด้วยวิธีการใด
ผมเองได้เคยอ้างถึง “กฎของคนหยิบมือเดียว” (Law of the few โดยMalcolm Gladwell ปี 2543) ซึ่งสรุปว่าในการเปลี่ยนแปลงสังคมไม่จำเป็นต้องใช้คนจำนวนมากเสมอไป แต่หากมีการประสานกันอย่างดีของคนจำนวนน้อย (ที่มีความเป็นวิชาการ มีผู้สื่อสารที่กินใจผู้รับสาร และมีผู้ประสานงานที่ดี) ก็อาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตได้ ทั้งที่เป็นเรื่องดีและเรื่องเลวๆ ด้วย
เรื่องที่ทำให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายไปทั่วทั้งโลกเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ก็อยู่ภายใต้กฎของคนหยิบมือเดียวครับ
แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ผมขอเรียนให้เห็นความสำคัญของกัญชงอย่างสั้นๆ ครับ เพราะผมเชื่อว่าหลายท่านยังไม่ทราบกัน
อดีตประธานาธิบดี ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (2286-2368) ของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า “กัญชง (hemp) คือความจำเป็นอันดับแรกเพื่อความมั่งคั่งและการปกป้องประเทศสหรัฐอเมริกา” ทั้งนี้เพราะว่าพืชกัญชงมีประโยชน์ที่หลากหลายมาก ทั้งระดับครัวเรือนจนถึงระดับกองทัพเพื่อป้องกันประเทศ เม็ดใช้ทำอาหารทั้งคนและสัตว์ น้ำมันปรุงอาหาร เส้นใยใช้ทำเชือกเพื่อใช้ในสงคราม ทำเสื้อเกราะ (ดูภาพประกอบ)
สำหรับเรื่องประโยชน์ของกัญชา ผมเชื่อว่าสังคมไทยได้รับรู้ความจริงอย่างรวดเร็วมาก หลังจากที่ได้ถูกหลอกมานานร่วมร้อยปี แต่กฎหมายที่เพิ่งผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ก็ยังหมกเม็ดและบิดประเด็นสำคัญ ส่งผลให้ภาคประชาสังคม 11 องค์กรต้องออกมาเดินรณรงค์ในเวลานี้
ขอเรียนอีกครั้งว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มีอยู่ทั้งในกัญชาและกัญชง แต่คนไทยเรามักจะเข้าใจว่ามีเฉพาะในกัญชาเท่านั้น
คราวนี้มาถึงประเด็นว่า คนหยิบมือเดียวสามารถทำให้กัญชาและกัญชงเป็นสิ่งผิดกฎหมายไปทั่วทั้งโลกได้อย่างไร
ขอเริ่มต้นที่วัตถุประสงค์และแนวความคิดในการกระทำดังกล่าวครับ
วัตถุประสงค์ก็คือการกีดกันทางการค้าของผู้ที่ค้นพบยาแอสไพรินในปี 2442 โดยบริษัท Bayer (บริษัทเยอรมนี) และการสังเคราะห์ไนลอน (Nylon) ของบริษัท DuPont (บริษัทอเมริกัน) ในปี 2481
ยาแอสไพรินเป็นยาแก้ปวด ปัจจุบันใช้ป้องกันโรคเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ก็มีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมามีการประมาณว่าในแต่ละปีชาวโลกใช้ยาแอสไพรินประมาณ 50,000 ถึง 120,000 ล้านเม็ด มีมูลค่ามหาศาล (https://en.wikipedia.org/wiki/Aspirin)
รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาได้เคยประกาศให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชผิดกฎหมาย (ปี 2480) แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลต้องการใช้เชือกจำนวนมากในกองทัพเรือ จึงได้ประกาศยกเลิกการห้ามปลูกชั่วคราว เพราะต้นกัญชงสามารถใช้เส้นใยเพื่อทำเชือกได้นอกจากการใช้ทำเชือกแล้ว ยังสามารถทำกระดาษคุณภาพดี รวมทั้งเสื้อผ้าด้วย
บริษัท DuPont เริ่มทำวิจัยเกี่ยวกับไนลอน (ซึ่งเป็นสารที่เรียกว่าโพลีเมอร์ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) ในปี 2470 จนสำเร็จและออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ทั้งกัญชาและกัญชงจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญของทั้งอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท DuPont กับกระบวนการทำให้กัญชาและกัญชงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก เป็นการเริ่มต้นด้วยคนเพียง 4 คน คือ (1) ผู้บริหารระดับสูงสุดของทบวงยาเสพติด (2) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและเจ้าของธนาคาร (3) สื่อมวลชน และ (4) นักธุรกิจเจ้าของบริษัทอุตสาหกรรมสารเคมีและเส้นใยสังเคราะห์ในภาพข้างล่างครับ
นี่คือการประสานงานของคนหยิบมือเดียว (Law of the few) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้
สำหรับเรื่องแนวความคิด โดยวัฒนธรรมของชาวอเมริกันผิวขาว (บางกลุ่ม) เชื่อว่า การสูบกัญชาเป็นเรื่องของคนชั้นต่ำและชาวต่างชาติที่อพยพเข้ามา การห้ามใช้กัญชาคงจะได้รับการยอมรับโดยสัญชาตญาณและจะไม่มีใครคัดค้าน
นอกจากสื่อในเครือดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีภาพยนตร์ที่ล้างสมองชื่อ “Reefer Madness” (ปี 2479)
บางท่านอาจจะคิดว่า คนสำคัญเพียง 4 คนดังกล่าวข้างต้น จะมีพลังมากถึงขนาดนั้นเชียวหรือ
เรื่องนี้ก็เหมือนกับโรคระบาดนั่นแหละครับ คือเริ่มต้นจากเชื้อโรคจำนวนเพียงนิดเดียว แต่สามารถแพร่กระจายและส่งผลกระเทือนได้อย่างรวดเร็วและมหาศาล
เพราะในปี 2504 ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติในการประชุม The United Nations Single Convention on Narcotic Drugs ก็ออกมารับลูกต่อ
วันนี้ (9 มิถุนายน) เป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์เดินเพื่อผู้ป่วย “Cannabis walk Thailand” ของภาคประชาชน 11 องค์กร ผมเองไม่มีโอกาสได้ไปร่วมด้วย แต่ได้เขียนบทความเพื่อเอาใจช่วย 4 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว
ผมเชื่อมั่นว่านี่คือการเคลื่อนไหวของคนหยิบมือเดียวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในทางที่ดี ในทางที่ให้คนสามารถกำหนดอนาคตและรักษาตนเองได้ การกระทำดังกล่าวจะแพร่กระจายและส่งผลกระเทือนไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็วราวกับโรคระบาดอย่างแน่นอน
คิดดี ทำดี วิชาการดี ประสานงานดี และมุ่งมั่นถึงขนาดนี้แล้ว ไม่สำเร็จก็ให้มันรู้กันไปครับ
#โลกที่ซับซ้อน