เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า รวมพลังค้าน กรมการค้าต่างประเทศ ตั้ง ศจย. วิจัยข้อดี ข้อเสีย การยกเลิกห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า หวั่นผลการศึกษาไม่เป็นกลาง ยันต่างประเทศเป็นทางเลือกเพราะอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า“กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)และเฟซบุ๊กเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร”เผยในงาน “ปอดใส ไร้ทาร์”ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมงาน เพื่อเรียกร้องให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าควบคุมตามกฎหมาย ว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่า นิโคติน คือตัวการร้าย ที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ทั้งที่จริงๆ แล้วควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยา และกระดาษมวนบุหรี่ต่างหาก ที่มีสารเคมีมากกว่า 6,000 ชนิด และมีสารก่อมะเร็งในนี้กว่า 100 ชนิด ถ้าไม่มีการเผาไหม้ สารพิษที่ปล่อยออกมา ก็ย่อมลดลง นี่เป็นข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ และองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่างกับข้อมูลของไทยมาก ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้าจึงได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย และเป็นทางเลือกให้กับคนที่ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการเผาไหม้ ไม่ก่อให้เกิดควันมือสอง และสารพิษที่ปล่อยออกมาก็น้อยกว่าควันบุหรี่
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวเสริมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีจุดยืนในการต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้ามาตลอด ได้รับมอบหมายจากกรมการค้าต่างประเทศ ให้ทำการวิจัยข้อดี-ข้อเสีย ของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งพวกเราไม่อาจยอมรับผลการศึกษาจากหน่วยงานที่ไม่เป็นกลางได้
"เราจะไม่ยอมฝากชีวิตไว้กับกฎหมายที่ล้าหลัง เราจำเป็นต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของพวกเราเพราะเราเห็นว่าชีวิตของเราและคนรอบข้างสำคัญกว่า เราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกคน ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง และครอบครัว เพื่อจะได้เข้าถึงทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนได้ เราจึงต้องหาทางช่วยคนเหล่านี้ให้ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่น้อยลง รวมถึงควันบุหรี่มือสองที่ไปทำร้ายคนรอบข้างด้วย" นายมาริต กล่าว และว่า เครือข่ายฯ จะนำรายชื่อ ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจดหมายจากตัวแทนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทั่วเอเชีย ที่เห็นด้วยกับเรา ไปยื่นให้กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้าด้วย
นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า“กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)และเฟซบุ๊กเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร”เผยในงาน “ปอดใส ไร้ทาร์”ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมงาน เพื่อเรียกร้องให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าควบคุมตามกฎหมาย ว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่า นิโคติน คือตัวการร้าย ที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ทั้งที่จริงๆ แล้วควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยา และกระดาษมวนบุหรี่ต่างหาก ที่มีสารเคมีมากกว่า 6,000 ชนิด และมีสารก่อมะเร็งในนี้กว่า 100 ชนิด ถ้าไม่มีการเผาไหม้ สารพิษที่ปล่อยออกมา ก็ย่อมลดลง นี่เป็นข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ และองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่างกับข้อมูลของไทยมาก ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้าจึงได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย และเป็นทางเลือกให้กับคนที่ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการเผาไหม้ ไม่ก่อให้เกิดควันมือสอง และสารพิษที่ปล่อยออกมาก็น้อยกว่าควันบุหรี่
นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวเสริมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีจุดยืนในการต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้ามาตลอด ได้รับมอบหมายจากกรมการค้าต่างประเทศ ให้ทำการวิจัยข้อดี-ข้อเสีย ของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งพวกเราไม่อาจยอมรับผลการศึกษาจากหน่วยงานที่ไม่เป็นกลางได้
"เราจะไม่ยอมฝากชีวิตไว้กับกฎหมายที่ล้าหลัง เราจำเป็นต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของพวกเราเพราะเราเห็นว่าชีวิตของเราและคนรอบข้างสำคัญกว่า เราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกคน ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง และครอบครัว เพื่อจะได้เข้าถึงทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนได้ เราจึงต้องหาทางช่วยคนเหล่านี้ให้ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่น้อยลง รวมถึงควันบุหรี่มือสองที่ไปทำร้ายคนรอบข้างด้วย" นายมาริต กล่าว และว่า เครือข่ายฯ จะนำรายชื่อ ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจดหมายจากตัวแทนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทั่วเอเชีย ที่เห็นด้วยกับเรา ไปยื่นให้กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้าด้วย