"คณิศ" มั่นใจ 5 บิ๊กโปรเจกต์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC จะเดินหน้าต่อ แม้เปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ ปิดดีลไฮสปีดเทรนด์เชื่อม 3 สนามบินกับกลุ่มซีพีแล้ว ชงบอร์ดเคาะสัญญา 13 พ.ค.นี้ ส่วนท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 เจรจาใกล้จบ คาดชงบอร์ดปลาย พ.ค.
วานนี้ (9 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ การเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพีและพันธมิตร) เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขั้นตอนสุดท้ายจะแล้วเสร็จ และจะสรุปการเจรจาและร่างสัญญาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ ในวันที่ 13 พ.ค. และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอีกครั้ง ก่อนเซ็นสัญญาระหว่างรัฐและกลุ่มซีพี ต่อไป
"ยอมรับยังไม่มั่นใจว่าจะมีการประชุมครม.อีกหรือไม่หรืออาจต้องรอครม.ชุดใหม่เข้ามาอนุมัติ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมั่นใจว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการไฮสปีด และ4โครงการโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ได้แก่ ท่าเรือมาบตาพุด ระยะ3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ3 สนามบินอู่ตะเภาฯ และศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยานจะยังคงเดินหน้า และเข้าครม.เพื่ออนุมัติสัญญาทั้ง5โครงการได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้" นายคณิศกล่าว
มาบตาพุดเฟส 3 เจรจาใกล้จบ
ส่วนความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์(บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยประเด็นที่ต้องสรุปในขั้นสุดท้าย เช่น อัตราผลตอบแทนที่เดิมเอกชนต้องจ่าย100%แต่จากการเจรจา เอกชนขอลดลงเหลือ80% หลังจากนี้จะเสนอต่อบอร์ดอีอีซีอนุมัติสัญญาปลายเดือนพ.ค.นี้ และเสนอครม.อนุมัติสัญญา คาดว่าครม.จะอนุมัติได้ในเดือนมิ.ย.เช่นกัน
ขณะที่โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯที่ล่าสุดกลุ่มกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง เครือซีพี ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับพิจารณาเอกสารการยื่นประมูลเพราะส่งเอกสารบางส่วนไม่ทันนั้น ในภาพรวมจะมีการพิจารณากลุ่มที่ยื่นตามเกณฑ์เป็นหลัก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แต่หากศาลมีมติให้รับพิจารณาก็ต้องดำเนินการ ไม่มีปัญหาอะไร
ด้านโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ3 อยู่ระหว่างข้อเสนอกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ ที่ยื่นเข้ามา และรอการตัดสินจากศาลปกครอง กรณีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด บริษัท พรีมารีน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด และ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยื่นฟ้องให้มีสิทธิร่วมประมูลหลังโดนตัดสิทธิเพราะเอกสารไม่ครบถ้วน ขณะที่ ศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยาน ก็อยู่ระหว่างเจรจาระหว่างกลุ่มแอร์บัสที่ร่วมลงทุนกับการบินไทย คาดว่าจะมีความชัดเจนและเข้า ครม.ในเดือนมิ.ย.
วานนี้ (9 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้ การเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพีและพันธมิตร) เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขั้นตอนสุดท้ายจะแล้วเสร็จ และจะสรุปการเจรจาและร่างสัญญาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ ในวันที่ 13 พ.ค. และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอีกครั้ง ก่อนเซ็นสัญญาระหว่างรัฐและกลุ่มซีพี ต่อไป
"ยอมรับยังไม่มั่นใจว่าจะมีการประชุมครม.อีกหรือไม่หรืออาจต้องรอครม.ชุดใหม่เข้ามาอนุมัติ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมั่นใจว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการไฮสปีด และ4โครงการโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ได้แก่ ท่าเรือมาบตาพุด ระยะ3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ3 สนามบินอู่ตะเภาฯ และศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยานจะยังคงเดินหน้า และเข้าครม.เพื่ออนุมัติสัญญาทั้ง5โครงการได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้" นายคณิศกล่าว
มาบตาพุดเฟส 3 เจรจาใกล้จบ
ส่วนความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์(บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยประเด็นที่ต้องสรุปในขั้นสุดท้าย เช่น อัตราผลตอบแทนที่เดิมเอกชนต้องจ่าย100%แต่จากการเจรจา เอกชนขอลดลงเหลือ80% หลังจากนี้จะเสนอต่อบอร์ดอีอีซีอนุมัติสัญญาปลายเดือนพ.ค.นี้ และเสนอครม.อนุมัติสัญญา คาดว่าครม.จะอนุมัติได้ในเดือนมิ.ย.เช่นกัน
ขณะที่โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯที่ล่าสุดกลุ่มกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง เครือซีพี ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับพิจารณาเอกสารการยื่นประมูลเพราะส่งเอกสารบางส่วนไม่ทันนั้น ในภาพรวมจะมีการพิจารณากลุ่มที่ยื่นตามเกณฑ์เป็นหลัก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แต่หากศาลมีมติให้รับพิจารณาก็ต้องดำเนินการ ไม่มีปัญหาอะไร
ด้านโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ3 อยู่ระหว่างข้อเสนอกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ ที่ยื่นเข้ามา และรอการตัดสินจากศาลปกครอง กรณีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด บริษัท พรีมารีน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด และ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยื่นฟ้องให้มีสิทธิร่วมประมูลหลังโดนตัดสิทธิเพราะเอกสารไม่ครบถ้วน ขณะที่ ศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยาน ก็อยู่ระหว่างเจรจาระหว่างกลุ่มแอร์บัสที่ร่วมลงทุนกับการบินไทย คาดว่าจะมีความชัดเจนและเข้า ครม.ในเดือนมิ.ย.