“จุฬาฯ เสวนา” เตือนอย่าใช้ "กัญชา" สุดโต่ง ย้ำไม่ใช่ยารักษาทุกโรค เดินหน้างานวิจัยครบวงจร “ นักกฎหมาย” ชี้ "พืชกัญชา" อาจเข้าข่าย "สมุนไพร" หลังออก กม.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร แต่ติดล็อกวัตถุออกฤทธิ์ฯ ต้องออกประกาศต่างหาก “อาจารย์เดชา” แฉนักการเมืองไทยลอบปลูกกัญชาในลาว มีน้ำมันในมือ 30 ล้านตัน มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท เตรียมปล่อยตลาดมืด เชื่อเป็นเป็นเหตุให้ “มูลนิธิขวัญข้าว” โดนจับ
วานนี้ (2 พ.ค.) ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ "กัญชา เพื่อเยียวยาสุขภาพ" โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมเกิดคำถามเกี่ยวกับ กัญชา ว่า รักษาทุกโรคจริงหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ ทำให้เสพติด มีสารปนเปื้อน ที่จะทำให้แย่ลงหรือไม่ และคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ จะได้ใช้เมื่อไร ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูล พบว่า สารสกัดจากกัญชา ซีบีดี ที่ได้รับรองทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์ มี 35 ประเทศ กฎหมายเปิดบางส่วน 18 ประเทศ ส่วนอีกหลายร้อยประเทศยังผิดกฎหมายอยู่ ก็ต้องมาคิดให้รอบคอบ ทั้งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สังคม กฎหมาย การจะรณรงค์เปิดกัญชาเสรีก็ต้องมาคิดร่วมกัน
“การนำกัญชามาใช้มี 4 ประเด็น ที่ต้องถกกันชัดเจน คือ 1. โรคอะไรได้ผลชัดเจน 2. ความปลอดภัย เพราะแม้แต่พาราเซตามอล ก็ทำให้คนตายได้ 3. คุณภาพ สกัดถูกวิธี มีสารปนเปื้อนหรือไม่ และ 4. เข้าถึงได้อย่างไรให้เป็นระบบ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ซึ่งตรงนี้จะช่วยกันขจัดความหลงเชื่อ งมงายในสังคม โดยเฉพาะการคิดว่ากัญชาสามารถรักษาได้ทุกโรค และต้องไม่สุดโต่ง ใช้อย่างมีสติ เพราะเมื่อคนอยากจะใช้ จะมีเรื่องการหลอกลวงการค้าเข้ามา" ศ.นพ.รุ่งเกียรติ กล่าว
จุฬาฯลุยวิจัยกัญชารอบด้าน
ด้าน ผศ.ภญ.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาฯ มีงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาหลายชิ้น ทั้งในเรื่องของการปลูก พัฒนาสายพันธุ์กัญชา การสกัดให้ได้สารที่ต้องการและปริมาณเหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาตำรับจากกัญชาที่เหมาะสมกับการใช้ในช่องทางต่างๆ เช่น ทางปาก การเหน็บ การพ่น รวมถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ในคนและมิติต่างๆ ไม่เกิดการติด หรือเอาไปใช้ในทางที่ผิด หรือผลข้างเคียง และยังมีงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น โดยได้รับทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อวิจัยภาพรวมเรื่องเกี่ยวกับกัญชาที่ยังไม่รู้ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ของประเทศ จะได้ไม่ต้องเริ่มนับศูนย์ใหม่ และต้องประเมินกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมาเกี่ยวกับกัญชาด้วย
“เรายังมีงานวิจัยร่วมกับ นายเดชา ศิริภัทร หมอพื้นบ้าน และประธานมูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี เพื่อดูการใช้กัญชาของหมอพื้นบ้าน หรือแพทย์แผนไทย ใช้ในโรค และอาการอะไรบ้าง มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์อะไรบ้าง” ผศ.ภญ.รุ่งเพ็ชร กล่าว
แนะประกาศเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ขณะที่ ผศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ได้ประกาศออกมาแล้วในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 62 โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วันนับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งพืชกัญชาย่อมเป็นสมุนไพรตามความหมายของ พ.ร.บ.นี้ แต่ติดที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ อยู่ตามกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายยาเสพติดให้โทษ จึงควรมีการพิจารณาต่อไปว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพรประกาศกำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาบางประการ เช่น ตำรับยาเสพติดให้โทษที่มีกัญชาผสมอยู่ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือการปลดล็อกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด
แย้มแยกกัญชา-กระท่อมพ้นยาเสพติด
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ กพย.อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.พืช ยา กัญชา กระท่อม พ.ศ. ... ฉบับประชาชน โดยจะแยกกัญชาและกระท่อมจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด และ พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จะเป็นการบริหารพืชยา 2 ชนิดนี้ ตั้งแต่ปลูก เมล็ดพันธุ์ แปรรูป ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ โดยจะมีการเปิดประชาพิจารณ์และขอความร่วมมือประชาชนในการลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อเสนอตามขั้นตอนการออกกฎหมายต่อไป
แฉนักการเมืองไทยลอบปลูกฝั่งลาว
วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จ.เพชรบุรี มีการเสวนาเรื่อง “กัญชารักษาหรือเสพติด” โดยมี นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ , ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์เมืองเพชร และ นายปริญญา ศรีสุคนธ์ ร่วมเสวนา มีประชาชนกว่า 200 คน เข้ารับฟัง
ช่วงหนึ่ง นายเดชา เล่าถึงเหตุการณ์ที่ถูกตรวจค้น และจับกุมที่มูลนิธิข้าวขวัญด้วยว่า ช่วงนั้นตนเดินทางไปประเทศลาว จริงๆ แล้วอยากรีบกลับมาเคลียร์ตั้งแต่แรก แต่มีคนบอกว่าไม่ต้องกลับดีกว่า เดี๋ยวจะยุ่งกันใหญ่ พอวันท้ายๆ ก่อนกลับ มีคนที่เป็นหมอใหญ่ของลาว และทำเรื่องกัญชาใหญ่ที่สุดในลาวมาหาตน เขาบอกว่าเข้าใจเรา และเขายังบอกว่า เมื่อปีที่แล้วมีนักการเมืองไทยคนหนึ่งได้ว่าจ้างให้คนลาวปลูกกัญชาหลายพันไร่ สามารถกลั่นเป็นน้ำมันกัญชาได้ถึง 30 ตัน ราคากลาง ลิตรละ 5 แสนบาท หรือ ตันละ 500 ล้านบาท
“เขามี 30 ตัน คือ 1.5 หมื่นล้านบาท เขาได้เงินก้อนนี้แน่ๆ ปีนี้เขาจะไปทำอีก แต่ทางการลาวห้าม แต่ 30 ตัน ที่เขามีอยู่กำลังหาทางปล่อยอยู่ ขณะที่ของเราแจกฟรี จึงมีการจัดการผม เพราะเงินของเขาตั้ง 1.5 หมื่นล้านบาท และกำลังเพิ่มขึ้นสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท เพราะตอนนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาก" นายเดชากล่าว
ด้านศาสตราภิชาน ล้อม แสดงความเป็นห่วงว่า กัญชาจะกลายเป็นของบริษัทยา หรือทุนผูกขาด ฟังจากนายเดชา แสดงว่าปัจจุบันมีน้ำมันกัญชาของนักการเมือง 30 ตัน ขายอยู่ในตลาดมืด ซึ่งเป็นเรื่องน่าสงสัยมาก กลัวว่า สิ่งที่พวกเรากำลังต่อสู้ ท้ายที่สุดจะกลายเป็นสมบัติของนักการเมือง กลายเป็นการเตะหมูเข้าปากหมา.
วานนี้ (2 พ.ค.) ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ "กัญชา เพื่อเยียวยาสุขภาพ" โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมเกิดคำถามเกี่ยวกับ กัญชา ว่า รักษาทุกโรคจริงหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ ทำให้เสพติด มีสารปนเปื้อน ที่จะทำให้แย่ลงหรือไม่ และคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ จะได้ใช้เมื่อไร ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูล พบว่า สารสกัดจากกัญชา ซีบีดี ที่ได้รับรองทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์ มี 35 ประเทศ กฎหมายเปิดบางส่วน 18 ประเทศ ส่วนอีกหลายร้อยประเทศยังผิดกฎหมายอยู่ ก็ต้องมาคิดให้รอบคอบ ทั้งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สังคม กฎหมาย การจะรณรงค์เปิดกัญชาเสรีก็ต้องมาคิดร่วมกัน
“การนำกัญชามาใช้มี 4 ประเด็น ที่ต้องถกกันชัดเจน คือ 1. โรคอะไรได้ผลชัดเจน 2. ความปลอดภัย เพราะแม้แต่พาราเซตามอล ก็ทำให้คนตายได้ 3. คุณภาพ สกัดถูกวิธี มีสารปนเปื้อนหรือไม่ และ 4. เข้าถึงได้อย่างไรให้เป็นระบบ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ซึ่งตรงนี้จะช่วยกันขจัดความหลงเชื่อ งมงายในสังคม โดยเฉพาะการคิดว่ากัญชาสามารถรักษาได้ทุกโรค และต้องไม่สุดโต่ง ใช้อย่างมีสติ เพราะเมื่อคนอยากจะใช้ จะมีเรื่องการหลอกลวงการค้าเข้ามา" ศ.นพ.รุ่งเกียรติ กล่าว
จุฬาฯลุยวิจัยกัญชารอบด้าน
ด้าน ผศ.ภญ.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาฯ มีงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาหลายชิ้น ทั้งในเรื่องของการปลูก พัฒนาสายพันธุ์กัญชา การสกัดให้ได้สารที่ต้องการและปริมาณเหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาตำรับจากกัญชาที่เหมาะสมกับการใช้ในช่องทางต่างๆ เช่น ทางปาก การเหน็บ การพ่น รวมถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ในคนและมิติต่างๆ ไม่เกิดการติด หรือเอาไปใช้ในทางที่ผิด หรือผลข้างเคียง และยังมีงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น โดยได้รับทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อวิจัยภาพรวมเรื่องเกี่ยวกับกัญชาที่ยังไม่รู้ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ของประเทศ จะได้ไม่ต้องเริ่มนับศูนย์ใหม่ และต้องประเมินกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมาเกี่ยวกับกัญชาด้วย
“เรายังมีงานวิจัยร่วมกับ นายเดชา ศิริภัทร หมอพื้นบ้าน และประธานมูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี เพื่อดูการใช้กัญชาของหมอพื้นบ้าน หรือแพทย์แผนไทย ใช้ในโรค และอาการอะไรบ้าง มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์อะไรบ้าง” ผศ.ภญ.รุ่งเพ็ชร กล่าว
แนะประกาศเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ขณะที่ ผศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ได้ประกาศออกมาแล้วในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 62 โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วันนับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งพืชกัญชาย่อมเป็นสมุนไพรตามความหมายของ พ.ร.บ.นี้ แต่ติดที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ อยู่ตามกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายยาเสพติดให้โทษ จึงควรมีการพิจารณาต่อไปว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพรประกาศกำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาบางประการ เช่น ตำรับยาเสพติดให้โทษที่มีกัญชาผสมอยู่ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือการปลดล็อกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด
แย้มแยกกัญชา-กระท่อมพ้นยาเสพติด
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ กพย.อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.พืช ยา กัญชา กระท่อม พ.ศ. ... ฉบับประชาชน โดยจะแยกกัญชาและกระท่อมจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด และ พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จะเป็นการบริหารพืชยา 2 ชนิดนี้ ตั้งแต่ปลูก เมล็ดพันธุ์ แปรรูป ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ โดยจะมีการเปิดประชาพิจารณ์และขอความร่วมมือประชาชนในการลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อเสนอตามขั้นตอนการออกกฎหมายต่อไป
แฉนักการเมืองไทยลอบปลูกฝั่งลาว
วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จ.เพชรบุรี มีการเสวนาเรื่อง “กัญชารักษาหรือเสพติด” โดยมี นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ , ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์เมืองเพชร และ นายปริญญา ศรีสุคนธ์ ร่วมเสวนา มีประชาชนกว่า 200 คน เข้ารับฟัง
ช่วงหนึ่ง นายเดชา เล่าถึงเหตุการณ์ที่ถูกตรวจค้น และจับกุมที่มูลนิธิข้าวขวัญด้วยว่า ช่วงนั้นตนเดินทางไปประเทศลาว จริงๆ แล้วอยากรีบกลับมาเคลียร์ตั้งแต่แรก แต่มีคนบอกว่าไม่ต้องกลับดีกว่า เดี๋ยวจะยุ่งกันใหญ่ พอวันท้ายๆ ก่อนกลับ มีคนที่เป็นหมอใหญ่ของลาว และทำเรื่องกัญชาใหญ่ที่สุดในลาวมาหาตน เขาบอกว่าเข้าใจเรา และเขายังบอกว่า เมื่อปีที่แล้วมีนักการเมืองไทยคนหนึ่งได้ว่าจ้างให้คนลาวปลูกกัญชาหลายพันไร่ สามารถกลั่นเป็นน้ำมันกัญชาได้ถึง 30 ตัน ราคากลาง ลิตรละ 5 แสนบาท หรือ ตันละ 500 ล้านบาท
“เขามี 30 ตัน คือ 1.5 หมื่นล้านบาท เขาได้เงินก้อนนี้แน่ๆ ปีนี้เขาจะไปทำอีก แต่ทางการลาวห้าม แต่ 30 ตัน ที่เขามีอยู่กำลังหาทางปล่อยอยู่ ขณะที่ของเราแจกฟรี จึงมีการจัดการผม เพราะเงินของเขาตั้ง 1.5 หมื่นล้านบาท และกำลังเพิ่มขึ้นสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท เพราะตอนนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาก" นายเดชากล่าว
ด้านศาสตราภิชาน ล้อม แสดงความเป็นห่วงว่า กัญชาจะกลายเป็นของบริษัทยา หรือทุนผูกขาด ฟังจากนายเดชา แสดงว่าปัจจุบันมีน้ำมันกัญชาของนักการเมือง 30 ตัน ขายอยู่ในตลาดมืด ซึ่งเป็นเรื่องน่าสงสัยมาก กลัวว่า สิ่งที่พวกเรากำลังต่อสู้ ท้ายที่สุดจะกลายเป็นสมบัติของนักการเมือง กลายเป็นการเตะหมูเข้าปากหมา.