ข่าวปนคน คนปนข่าว
**กสทช.ยุคไหน ใครดู "ทีวีดิจิทัล-คลื่นมือถือ" เซตอัพประมูลด้วยการขายฝัน เล็งผลเลอเลิศ แบบไม่คิดอะไรไกล จนแทบม้วยมรณา มูลค่าทั้ง 2 อุตสาหกรรม หายไปกว่า 5 แสนล้าน แถมไป 5G ก็ลำบาก จนต้องพึ่งพา ม.44 ของ "ลุงตู่" เซฟสองธุรกิจ
กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดก็ไม่ต้องไปสงสัยผลลัพท์จะออกมาอย่างไร เช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับ "ทีวีดิจิทัล" และ "คลื่นมือถือ" ที่สุดแล้ว"ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ต้องใช้ ม. 44 เข้าโอบอุ้ม ... ต้องเข้าใจว่า ต้นเหตุที่ต้องใช้ ม.44 มาแก้ปัญหาเยียวยาทีวีดิจิทัล ไม่ให้ล้มหายตายจาก และช่วยค่ายมือถือยืดเวลาจ่ายค่าคลื่น 900 จาก 4 งวดเป็น 10 งวด แลกกับการต้องเข้าร่วมการจัดสรรคลื่น 700 MHz เพื่อการันตีว่า ประเทศไทยจะไม่ล้าหลังเรื่อง 5G เหมือนสมัย 3G 4G ในอดีต ไม่ใช่การอุ้มใคร หรือเอื้อประโยชน์ใครทั้งสิ้น แต่เป็นการช่วยเหลือธุรกิจไทยไม่ให้ล้มหายตายจาก และเป็นการสร้างศักยภาพให้ประเทศกับโลกดิจิทัล ในอนาคต ... "ดิจิทัล ดิสรัปชั่น" มันเข้ามามีบทบาทที่รวดเร็ว และรุนแรงไกลเกินกว่าวิสัยทัศน์ของ กสทช. ที่ทำคลอดทีวีดิจิทัล จะก้าวทัน...
ก่อนหน้านี้ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการ 2 คณะ คือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มี "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" เป็นประธาน และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)มี "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" เป็นประธาน ... ตอนทำคลอดทีวีดิจิทัล การกำหนดจำนวนช่องที่จะนำออกประมูล ก็เคยมีคนเตือนนักเตือนหนาว่า อย่าให้มากนัก ให้มีจำนวนที่พอเหมาะ แต่ กสทช. ก็ไม่เคยฟัง เพราะเชื่อในวิสัยทัศน์ตัวเองที่ว่าตอนเป็นระบบอนาล็อก 6 ช่อง เม็ดเงินโฆษณามหาศาลหลายหมื่นล้านบาท ถ้าเปิด ดิจิทัลอีก 24 ช่อง ตลาดโฆษณาก็จะยิ่งเติบโตมากขึ้น จากการแข่งขัน รวมทั้งการโอ้อวดเรื่องเครือข่าย หรือ MUX จนมีคนหลงเชื่อ เข้าประมูลทำรายได้ให้รัฐกว่า 5 หมื่นล้านบาท...
วาดหวังขายฝันบนวิมานในอากาศ แต่กลับเป็นหายนะหลังตลาดโฆษณาไม่โตเป็น"แสนล้านบาท" ตามที่คาดไว้ ความไม่พร้อมของเครือข่าย MUX และการรุกคืบของบริการ OTT ที่ทำให้คนแทบไม่ดูทีวี ... พฤติกรรมคนดูสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ใช้เวลากับมือถือ และโซเซียลเน็ตเวิร์กมากกว่าการนั่งเฝ้าหน้าจอ รอดูละครหลังข่าว ...
ด้านโทรคมนาคม ก็สาหัสไม่แพ้กัน แต่เพราะความไม่รอบด้าน และไม่รอบคอบของ กสทช. ที่คล้ายแข่งประมูลนำรายได้เข้ารัฐ ใครทำเงินได้มากกว่ากันชนะ เล็งแต่ผลเลิศ ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ทิ้งใบอนุญาตประมูลคลื่น 900 MHz ของ "บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์" ที่ประมูลในราคาสูงลิบลิ่ว 75,654 ล้านบาท ... สิ่งที่ กสทช.ทำได้ก็แค่ริบเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท แต่ผลที่กระเทือนกับอุตสาหกรรมใหญ่หลวง คือ ต้นทุนค่าคลื่นที่สูงเกินจริง เป็นบ่วงที่รัดคอให้การประมูลถัดมา ที่ต้องยึดราคาสูงเกินจริง เป็นราคาตั้งต้นการประมูล ลำพังอำนาจที่มีอยู่ของ กสทช.ไม่สามารถปลดล็อกปัญหาได้ มีก็แต่ ม.44 แค่นั้น
วันนั้นหากได้คิดสักนิดก่อนจะเซ็ตประมูล ก็คงไม่มีวันนี้ เรื่อง ม. 44 ของ"ลุงตู่" นับว่าได้ช่วยธุรกิจสื่อ ทีวีดิจิทัล และธุรกิจสื่อสาร มือถือ เรื่องผ่อนคลื่น จำเป็นสำหรับ สองอุตสาหกรรม จริงๆ ... ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทีวี ลดมูลค่าไปแล้วกว่าแสนล้าน ส่วนมือถือ มูลค่าหายกว่า 4 แสนล้าน เเล้วยังต้องเตรียมลงทุน 5 G อีก ...
นี่เรียกว่าถ้าไม่มี ม.44 ความเสียหายจะไปแค่ไหน 5G ก็ไปลำบาก
** "เทพไท" มามุกใหม่ "รัฐบาลปรองดอง" ใช้ ม.272 เลือกนายกฯนอกบัญชี แต่ "พลังประชารัฐ" สวนทันที ขอให้รอหลัง 9 พ.ค.จะตั้งรัฐบาลให้ดู แค่ปัญหาเสียงปริ่มน้ำ "ลุงตู่"แก้ได้
หลังจาก "เทพไท เสนพงศ์" ว่าที่ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ออดมาจุดพลุเรื่อง"รัฐบาลแห่งชาติ" แก้ปัญหาเดดล็อก แต่ทั้งสองขั้วการเมืองก็ออกมาคัดค้านเต็มที่ โดยทางฝั่ง "ขั้วเพื่อไทย" นั้น น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ อ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ ขัดหลักการประชาธิปไตย ที่จะต้องมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล หากทุกพรรคเป็นรัฐบาลกันหมด ไม่มีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ ก็ไม่ต่างจากการเป็น "รัฐบาลเผด็จการ" ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรกับ "รัฐบาลคสช." และสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่ต่างกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขณะที่ "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรคเพื่อไทย โยงว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น และมีความพยายามชี้นำว่าจะเกิดทางตันนั้น เป็นเพราะ รัฐธรรมนูญ และกติกาการเลือกตั้งทั้งปวง ที่จงใจออกแบบมาให้เกิดความยุ่งยาก และมีปัญหาต่อเนื่องมาแบบไม่รู้จบ แล้วก็มี วาทกรรม"รัฐบาลแห่งชาติ" ขึ้นมา เพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป โดยอ้างว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางตัน ทั้งที่กระบวนการประชาธิปไตย มันมีทางออกของมันเองอยู่แล้ว
ส่วน"ขั้วพลังประชารัฐ" ที่ไม่เห็นด้วย เพราะมั่นใจว่าเมื่อกกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ขั้วนี้จะสามารถรวบรวมเสียงส.ส.ได้เกินกึ่งหนึ่ง คือ 251 เสียงขึ้นไปแน่นอน หลังจากนั้นกระบวนการโหวตเลือกนายกฯ ตั้งรัฐบาล ก็จะเดินต่อไปได้ แม้ใน"สภาล่าง" เสียงของฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล จะต่างกันไม่มาก แต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการบริหาร หรือการออกกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร ...แบบว่าขอให้ "บิ๊กตู่" ได้เป็นนายกฯ ตั้งรัฐบาลให้ได้ก่อน เรื่องเกมในสภา ไปหาทางแก้กันในภายหลัง
โดยเฉพาะในมุมมองของ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งมีจุดยืนสนับสนุน"บิ๊กตู่" เป็นนายกฯต่อ ตั้งแต่ไก่โห่ มองว่า เรื่องการผ่านกฎหมายต่างๆ ผ่านงบประมาณแผ่นดินนั้น ไม่มีปัญหา เพราะสามารถดำเนินการตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ได้อยู่แล้ว โดยใช้การพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แม้จะมีเสียง ส.ส.ปริ่มน้ำ แต่ก็ มี 250 ส.ว. เป็น "กองหนุน" อยู่ เกมในสภาจึงไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
แม้จะมีเสียงค้านกันขรม แต่ "เทพไท เสนพงศ์" ก็ยังไม่ละทิ้งแนวคิดแก้ปัญหา "เดดล็อก"ที่ได้เสนอออกมา เพียงแต่คราวนี้ เปลี่ยนชื่อใหม่ แทนที่จะเรียก"รัฐบาลแห่งชาติ" ก็เรียก "รัฐบาลปรองดอง" และตามแนวทางนี้ก็ไม่ขัดรัฐธรรมนูญด้วย โดยยกเอา มาตรา 272 ว่าด้วยการเลือกนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อ โดยใช้เสียง 2 ใน 3 ของสองสภา หรือ 500 เสียง เพื่อยกเว้นการใช้บัญชีรายชื่อนายกฯ เพื่อไปหานายกฯคนนอก ... แต่วิธีนี้จะเกิดขึ้นได้ พรรคการเมืองต่างๆ ต้องยอมถอยกันคนละก้าว ... เมื่อทุกพรรคการเมืองโหวตให้คนนอกเป็นนายกฯ แล้ว พรรคการเมืองหลักๆ ก็มาร่วมกันเป็น "รัฐบาลปรองดอง" ก่อนตบท้ายว่า ถ้าปล่อยให้การเมืองเกิด "เดดล็อก" คนที่ได้ประโยชน์คือ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาล คสช. ก็จะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
ชัดเจนว่า สิ่งที่ "เทพไท" เสนอมา ทั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลปรองดอง เป้าหมายก็เพื่อกัน "บิ๊กตู่" ให้ออกจากวงจรอำนาจ ...แล้ว อย่างนี้ มีหรือที่คนของพรรคพลังประชารัฐจะรับมุกด้วย..."ธนกร วังบุญคงชนะ" รองโฆษก พปชร. จึงออกมาสวน "เทพไท" ทันทีว่า ขอให้รอหลัง 9 พ.ค. ที่ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมาก่อน จะรวบรวมเสียงตั้งรัฐบาลให้ดู และก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเสียงปริ่มน้ำ บริหารไม่ได้ ถ้า"พปชร." เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ"บิ๊กตู่" เป็นนายกฯ จะจัดการได้แน่ ขอให้เชื่อมือ "ลุงตู่" เถอะ รับรองทุกอย่างเป็นไปตามกติกา และอย่าไปเอารัฐธรรมนูญมาเป็นจำเลย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามดูก็แล้วกัน ...
-------------------
รูป- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - พ.อ.นที ศุกลรัตน์ - พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
-เทพไท เสนพงศ์ - ภูมิธรรม เวชยชัย - ไพบูลย์ นิติตะวัน
**กสทช.ยุคไหน ใครดู "ทีวีดิจิทัล-คลื่นมือถือ" เซตอัพประมูลด้วยการขายฝัน เล็งผลเลอเลิศ แบบไม่คิดอะไรไกล จนแทบม้วยมรณา มูลค่าทั้ง 2 อุตสาหกรรม หายไปกว่า 5 แสนล้าน แถมไป 5G ก็ลำบาก จนต้องพึ่งพา ม.44 ของ "ลุงตู่" เซฟสองธุรกิจ
กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดก็ไม่ต้องไปสงสัยผลลัพท์จะออกมาอย่างไร เช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับ "ทีวีดิจิทัล" และ "คลื่นมือถือ" ที่สุดแล้ว"ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ต้องใช้ ม. 44 เข้าโอบอุ้ม ... ต้องเข้าใจว่า ต้นเหตุที่ต้องใช้ ม.44 มาแก้ปัญหาเยียวยาทีวีดิจิทัล ไม่ให้ล้มหายตายจาก และช่วยค่ายมือถือยืดเวลาจ่ายค่าคลื่น 900 จาก 4 งวดเป็น 10 งวด แลกกับการต้องเข้าร่วมการจัดสรรคลื่น 700 MHz เพื่อการันตีว่า ประเทศไทยจะไม่ล้าหลังเรื่อง 5G เหมือนสมัย 3G 4G ในอดีต ไม่ใช่การอุ้มใคร หรือเอื้อประโยชน์ใครทั้งสิ้น แต่เป็นการช่วยเหลือธุรกิจไทยไม่ให้ล้มหายตายจาก และเป็นการสร้างศักยภาพให้ประเทศกับโลกดิจิทัล ในอนาคต ... "ดิจิทัล ดิสรัปชั่น" มันเข้ามามีบทบาทที่รวดเร็ว และรุนแรงไกลเกินกว่าวิสัยทัศน์ของ กสทช. ที่ทำคลอดทีวีดิจิทัล จะก้าวทัน...
ก่อนหน้านี้ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการ 2 คณะ คือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มี "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" เป็นประธาน และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)มี "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" เป็นประธาน ... ตอนทำคลอดทีวีดิจิทัล การกำหนดจำนวนช่องที่จะนำออกประมูล ก็เคยมีคนเตือนนักเตือนหนาว่า อย่าให้มากนัก ให้มีจำนวนที่พอเหมาะ แต่ กสทช. ก็ไม่เคยฟัง เพราะเชื่อในวิสัยทัศน์ตัวเองที่ว่าตอนเป็นระบบอนาล็อก 6 ช่อง เม็ดเงินโฆษณามหาศาลหลายหมื่นล้านบาท ถ้าเปิด ดิจิทัลอีก 24 ช่อง ตลาดโฆษณาก็จะยิ่งเติบโตมากขึ้น จากการแข่งขัน รวมทั้งการโอ้อวดเรื่องเครือข่าย หรือ MUX จนมีคนหลงเชื่อ เข้าประมูลทำรายได้ให้รัฐกว่า 5 หมื่นล้านบาท...
วาดหวังขายฝันบนวิมานในอากาศ แต่กลับเป็นหายนะหลังตลาดโฆษณาไม่โตเป็น"แสนล้านบาท" ตามที่คาดไว้ ความไม่พร้อมของเครือข่าย MUX และการรุกคืบของบริการ OTT ที่ทำให้คนแทบไม่ดูทีวี ... พฤติกรรมคนดูสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ใช้เวลากับมือถือ และโซเซียลเน็ตเวิร์กมากกว่าการนั่งเฝ้าหน้าจอ รอดูละครหลังข่าว ...
ด้านโทรคมนาคม ก็สาหัสไม่แพ้กัน แต่เพราะความไม่รอบด้าน และไม่รอบคอบของ กสทช. ที่คล้ายแข่งประมูลนำรายได้เข้ารัฐ ใครทำเงินได้มากกว่ากันชนะ เล็งแต่ผลเลิศ ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ทิ้งใบอนุญาตประมูลคลื่น 900 MHz ของ "บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์" ที่ประมูลในราคาสูงลิบลิ่ว 75,654 ล้านบาท ... สิ่งที่ กสทช.ทำได้ก็แค่ริบเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท แต่ผลที่กระเทือนกับอุตสาหกรรมใหญ่หลวง คือ ต้นทุนค่าคลื่นที่สูงเกินจริง เป็นบ่วงที่รัดคอให้การประมูลถัดมา ที่ต้องยึดราคาสูงเกินจริง เป็นราคาตั้งต้นการประมูล ลำพังอำนาจที่มีอยู่ของ กสทช.ไม่สามารถปลดล็อกปัญหาได้ มีก็แต่ ม.44 แค่นั้น
วันนั้นหากได้คิดสักนิดก่อนจะเซ็ตประมูล ก็คงไม่มีวันนี้ เรื่อง ม. 44 ของ"ลุงตู่" นับว่าได้ช่วยธุรกิจสื่อ ทีวีดิจิทัล และธุรกิจสื่อสาร มือถือ เรื่องผ่อนคลื่น จำเป็นสำหรับ สองอุตสาหกรรม จริงๆ ... ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทีวี ลดมูลค่าไปแล้วกว่าแสนล้าน ส่วนมือถือ มูลค่าหายกว่า 4 แสนล้าน เเล้วยังต้องเตรียมลงทุน 5 G อีก ...
นี่เรียกว่าถ้าไม่มี ม.44 ความเสียหายจะไปแค่ไหน 5G ก็ไปลำบาก
** "เทพไท" มามุกใหม่ "รัฐบาลปรองดอง" ใช้ ม.272 เลือกนายกฯนอกบัญชี แต่ "พลังประชารัฐ" สวนทันที ขอให้รอหลัง 9 พ.ค.จะตั้งรัฐบาลให้ดู แค่ปัญหาเสียงปริ่มน้ำ "ลุงตู่"แก้ได้
หลังจาก "เทพไท เสนพงศ์" ว่าที่ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ออดมาจุดพลุเรื่อง"รัฐบาลแห่งชาติ" แก้ปัญหาเดดล็อก แต่ทั้งสองขั้วการเมืองก็ออกมาคัดค้านเต็มที่ โดยทางฝั่ง "ขั้วเพื่อไทย" นั้น น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ อ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ ขัดหลักการประชาธิปไตย ที่จะต้องมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล หากทุกพรรคเป็นรัฐบาลกันหมด ไม่มีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ ก็ไม่ต่างจากการเป็น "รัฐบาลเผด็จการ" ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรกับ "รัฐบาลคสช." และสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่ต่างกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขณะที่ "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรคเพื่อไทย โยงว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น และมีความพยายามชี้นำว่าจะเกิดทางตันนั้น เป็นเพราะ รัฐธรรมนูญ และกติกาการเลือกตั้งทั้งปวง ที่จงใจออกแบบมาให้เกิดความยุ่งยาก และมีปัญหาต่อเนื่องมาแบบไม่รู้จบ แล้วก็มี วาทกรรม"รัฐบาลแห่งชาติ" ขึ้นมา เพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป โดยอ้างว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางตัน ทั้งที่กระบวนการประชาธิปไตย มันมีทางออกของมันเองอยู่แล้ว
ส่วน"ขั้วพลังประชารัฐ" ที่ไม่เห็นด้วย เพราะมั่นใจว่าเมื่อกกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ขั้วนี้จะสามารถรวบรวมเสียงส.ส.ได้เกินกึ่งหนึ่ง คือ 251 เสียงขึ้นไปแน่นอน หลังจากนั้นกระบวนการโหวตเลือกนายกฯ ตั้งรัฐบาล ก็จะเดินต่อไปได้ แม้ใน"สภาล่าง" เสียงของฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล จะต่างกันไม่มาก แต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการบริหาร หรือการออกกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร ...แบบว่าขอให้ "บิ๊กตู่" ได้เป็นนายกฯ ตั้งรัฐบาลให้ได้ก่อน เรื่องเกมในสภา ไปหาทางแก้กันในภายหลัง
โดยเฉพาะในมุมมองของ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งมีจุดยืนสนับสนุน"บิ๊กตู่" เป็นนายกฯต่อ ตั้งแต่ไก่โห่ มองว่า เรื่องการผ่านกฎหมายต่างๆ ผ่านงบประมาณแผ่นดินนั้น ไม่มีปัญหา เพราะสามารถดำเนินการตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ได้อยู่แล้ว โดยใช้การพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แม้จะมีเสียง ส.ส.ปริ่มน้ำ แต่ก็ มี 250 ส.ว. เป็น "กองหนุน" อยู่ เกมในสภาจึงไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
แม้จะมีเสียงค้านกันขรม แต่ "เทพไท เสนพงศ์" ก็ยังไม่ละทิ้งแนวคิดแก้ปัญหา "เดดล็อก"ที่ได้เสนอออกมา เพียงแต่คราวนี้ เปลี่ยนชื่อใหม่ แทนที่จะเรียก"รัฐบาลแห่งชาติ" ก็เรียก "รัฐบาลปรองดอง" และตามแนวทางนี้ก็ไม่ขัดรัฐธรรมนูญด้วย โดยยกเอา มาตรา 272 ว่าด้วยการเลือกนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อ โดยใช้เสียง 2 ใน 3 ของสองสภา หรือ 500 เสียง เพื่อยกเว้นการใช้บัญชีรายชื่อนายกฯ เพื่อไปหานายกฯคนนอก ... แต่วิธีนี้จะเกิดขึ้นได้ พรรคการเมืองต่างๆ ต้องยอมถอยกันคนละก้าว ... เมื่อทุกพรรคการเมืองโหวตให้คนนอกเป็นนายกฯ แล้ว พรรคการเมืองหลักๆ ก็มาร่วมกันเป็น "รัฐบาลปรองดอง" ก่อนตบท้ายว่า ถ้าปล่อยให้การเมืองเกิด "เดดล็อก" คนที่ได้ประโยชน์คือ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาล คสช. ก็จะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
ชัดเจนว่า สิ่งที่ "เทพไท" เสนอมา ทั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลปรองดอง เป้าหมายก็เพื่อกัน "บิ๊กตู่" ให้ออกจากวงจรอำนาจ ...แล้ว อย่างนี้ มีหรือที่คนของพรรคพลังประชารัฐจะรับมุกด้วย..."ธนกร วังบุญคงชนะ" รองโฆษก พปชร. จึงออกมาสวน "เทพไท" ทันทีว่า ขอให้รอหลัง 9 พ.ค. ที่ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมาก่อน จะรวบรวมเสียงตั้งรัฐบาลให้ดู และก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเสียงปริ่มน้ำ บริหารไม่ได้ ถ้า"พปชร." เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ"บิ๊กตู่" เป็นนายกฯ จะจัดการได้แน่ ขอให้เชื่อมือ "ลุงตู่" เถอะ รับรองทุกอย่างเป็นไปตามกติกา และอย่าไปเอารัฐธรรมนูญมาเป็นจำเลย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามดูก็แล้วกัน ...
-------------------
รูป- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - พ.อ.นที ศุกลรัตน์ - พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
-เทพไท เสนพงศ์ - ภูมิธรรม เวชยชัย - ไพบูลย์ นิติตะวัน