พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า มีการอนุมัติตามที่กองทัพเรือเสนอขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเริ่มใหม่ และเปลี่ยนแปลงการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของโครงการเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 3 ภายในปี 67 เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการให้บริการเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล
สำหรับการขอเปลี่ยนแปลงรายการงบบประมาณที่กองทัพเรือ ได้รับอนุมัติจาก ครม.ได้แก่ รายการผูกพันเริ่มใหม่ เพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ 62 จำนวน 2 รายการ ในการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 วงเงินรวม 347 ล้านบาท
ส่วนอีกรายการ คือ เปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจากโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น บริเวณเกาะจระเข้ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี วงเงิน 361.15 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 62- 63 โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 62 จำนวน 72.23 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 63 จำนวน 268.15 ล้านบาท
** พัฒนา"คลองเปรมประชากร"4.4 พันล.
ที่ประชุมครม.ยังได้ อนุมัติแผนแม่บทโครงการพื้นฐานระบบคลอง และการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร 4 โครงการ วงเงิน 4,448 ล้านบาท โดยแผนแม่บทดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ทั้งชุมชนและเมือง พัฒนาด้านการเพิ่ม และประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการออกแบบวางผังพื้นที่ ริมคลองให้องค์ประกอบต่างๆ สอดคล้องกัน กับการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการระบายน้ำ สำหรับพื้นที่โครงการเริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 50.8 กม. อยู่ในพื้นที่ กทม.ความยาว 22.8 กม. พื้นที่ จ.ปทุมธานี 20 กม. และพื้นที่ จ.อยุธยา 8 กม. ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ปี (2562-2570)
ทั้งนี้ โครงการที่ 1. กทม.ดำเนินการก่อสร้างเขื่อน จากถนนเทศบาลสงเคราะห์ ถึงสุดเขต กทม. วงเงิน 3,443 ล้านบาท 2. สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.ปทุมธานี ก่อสร้างเขื่อนจากคลองบ้านใหม่ ถึงคลองรังสิตประยูรศักดิ์ วงเงินงบประมาณ 980 ล้านบาท 3. กรมชลประทาน ขุดลอกคลองในพื้นที่ จ.ปทุมธานี จากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ถึง คลองเชียงรากน้อย ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 16 ล้านบาท และ 4. กรมชลประทาน ดำเนินการขุดลอกคลองในพื้นที่ จ.อยุธยา จากคลองเชียงรากน้อย ถึงสถานีสูบน้ำเปรมเหนือ บางปะอิน ระยะทาง 8.1 กม. วงเงิน 9 ล้านบาท
** รับมือป้องกัน "อหิวาหมู" 148 ล้าน
ครม. มีมติอนุมัติตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอแผนเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือโรคอหิวาแอฟริกาในสุกร (หมู) ของประเทศไทย ให้เป็นวาระแห่งชาติ วงเงินงบประมาณในการดำเนินการ 148 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายปี 62 จำนวน 53 ล้านบาทเศษ ส่วนงบฯ ที่เหลือให้ใช้ตามงบฯรายจ่ายนั้นๆ ในปี 2563 - 64 โดยมีแผนป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อของโรคระบาดร้ายแรงในภาคปศุสัตว์ เป็น 2 ส่วน คือ
1. โครงการขับเคลื่อนบริหารจัดการมาตรการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาฯสุกร มีรองนายกฯ เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นกรรมการ และเลขานุการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
2. แผนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ก่อนเผชิญเหตุระบาด เฝ้าระวัง เตือนภัย 2. ระยะเผชิญเหตุระบาด ตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ควบคุมโรคให้มาตรฐาน 3. หลังเผชิญเหตุระบาด ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบให้กลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม โรคอหิวาฯสุกร ยังไม่มีการแพร่ระบาดสู่คนแต่อย่างใด จึงไม่ต้องกังวล
** ชดเชยผลกระทบ"ฝายราษีไศล"
นอกจากนี้ ครม.อนุมัติเงินค่าชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ร้อยเอ็ด และ ศรีสะเกษ จำนวน 67 แปลง เนื้อที่ 302 ไร่ รวมเป็นเงิน 9.69 ล้านบาท ทั้งนี้ ครม.ยังอนุมัติกรอบวงเงินการจ่ายค่าชดเชย เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการดังกล่าว วงเงิน 599.97 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณกลาง ปี 2562 ซึ่ง ครม.เคยมีมติจ่ายเงินชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2540-2560 รวม 11 ครั้ง จำนวน 12,993 แปลง วงเงินงบประมาณ 1,927.32 ล้านบาท แต่การชดเชยในครั้งนี้ เนื่องจากยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการชดเชยอีก อย่างไรก็ตาม การ จ่ายเงิน จะจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิ
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 3 ภายในปี 67 เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการให้บริการเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล
สำหรับการขอเปลี่ยนแปลงรายการงบบประมาณที่กองทัพเรือ ได้รับอนุมัติจาก ครม.ได้แก่ รายการผูกพันเริ่มใหม่ เพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ 62 จำนวน 2 รายการ ในการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 วงเงินรวม 347 ล้านบาท
ส่วนอีกรายการ คือ เปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจากโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น บริเวณเกาะจระเข้ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี วงเงิน 361.15 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 62- 63 โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 62 จำนวน 72.23 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 63 จำนวน 268.15 ล้านบาท
** พัฒนา"คลองเปรมประชากร"4.4 พันล.
ที่ประชุมครม.ยังได้ อนุมัติแผนแม่บทโครงการพื้นฐานระบบคลอง และการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร 4 โครงการ วงเงิน 4,448 ล้านบาท โดยแผนแม่บทดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ทั้งชุมชนและเมือง พัฒนาด้านการเพิ่ม และประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการออกแบบวางผังพื้นที่ ริมคลองให้องค์ประกอบต่างๆ สอดคล้องกัน กับการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการระบายน้ำ สำหรับพื้นที่โครงการเริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 50.8 กม. อยู่ในพื้นที่ กทม.ความยาว 22.8 กม. พื้นที่ จ.ปทุมธานี 20 กม. และพื้นที่ จ.อยุธยา 8 กม. ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ปี (2562-2570)
ทั้งนี้ โครงการที่ 1. กทม.ดำเนินการก่อสร้างเขื่อน จากถนนเทศบาลสงเคราะห์ ถึงสุดเขต กทม. วงเงิน 3,443 ล้านบาท 2. สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.ปทุมธานี ก่อสร้างเขื่อนจากคลองบ้านใหม่ ถึงคลองรังสิตประยูรศักดิ์ วงเงินงบประมาณ 980 ล้านบาท 3. กรมชลประทาน ขุดลอกคลองในพื้นที่ จ.ปทุมธานี จากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ถึง คลองเชียงรากน้อย ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 16 ล้านบาท และ 4. กรมชลประทาน ดำเนินการขุดลอกคลองในพื้นที่ จ.อยุธยา จากคลองเชียงรากน้อย ถึงสถานีสูบน้ำเปรมเหนือ บางปะอิน ระยะทาง 8.1 กม. วงเงิน 9 ล้านบาท
** รับมือป้องกัน "อหิวาหมู" 148 ล้าน
ครม. มีมติอนุมัติตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอแผนเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือโรคอหิวาแอฟริกาในสุกร (หมู) ของประเทศไทย ให้เป็นวาระแห่งชาติ วงเงินงบประมาณในการดำเนินการ 148 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายปี 62 จำนวน 53 ล้านบาทเศษ ส่วนงบฯ ที่เหลือให้ใช้ตามงบฯรายจ่ายนั้นๆ ในปี 2563 - 64 โดยมีแผนป้องกันแก้ไขปัญหาการติดเชื้อของโรคระบาดร้ายแรงในภาคปศุสัตว์ เป็น 2 ส่วน คือ
1. โครงการขับเคลื่อนบริหารจัดการมาตรการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาฯสุกร มีรองนายกฯ เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นกรรมการ และเลขานุการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
2. แผนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ก่อนเผชิญเหตุระบาด เฝ้าระวัง เตือนภัย 2. ระยะเผชิญเหตุระบาด ตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ควบคุมโรคให้มาตรฐาน 3. หลังเผชิญเหตุระบาด ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบให้กลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม โรคอหิวาฯสุกร ยังไม่มีการแพร่ระบาดสู่คนแต่อย่างใด จึงไม่ต้องกังวล
** ชดเชยผลกระทบ"ฝายราษีไศล"
นอกจากนี้ ครม.อนุมัติเงินค่าชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ร้อยเอ็ด และ ศรีสะเกษ จำนวน 67 แปลง เนื้อที่ 302 ไร่ รวมเป็นเงิน 9.69 ล้านบาท ทั้งนี้ ครม.ยังอนุมัติกรอบวงเงินการจ่ายค่าชดเชย เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการดังกล่าว วงเงิน 599.97 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณกลาง ปี 2562 ซึ่ง ครม.เคยมีมติจ่ายเงินชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2540-2560 รวม 11 ครั้ง จำนวน 12,993 แปลง วงเงินงบประมาณ 1,927.32 ล้านบาท แต่การชดเชยในครั้งนี้ เนื่องจากยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการชดเชยอีก อย่างไรก็ตาม การ จ่ายเงิน จะจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิ