xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตเนติพีชคณิต เมื่อทำข้อสอบปาร์ตี้ลิสต์ไม่เป็น

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“หนึ่งความคิด”
“สุรวิชช์ วีรวรรณ”

ตอนนี้มีการถกเถียงกันเรื่องการคำนวณ “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” ที่อยู่ๆ มีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคเผยแพร่ออกมา แล้วทำให้พรรคที่มีค่าต่ำกว่าค่าพึงมีที่ 71,065ซึ่งเป็นค่าที่มาจากการเอาคะแนนรวมของทุกพรรค หารด้วย จำนวนส.ส.500คน โดยพรรคที่คะแนนต่ำกว่าได้รับเลือกตั้งส.ส. พรรคละ 1 ที่นั่งถึง 11 พรรค

ผมตลกมากเติมศักดิ์ จารุปราณ พิธีกรของนิวส์วัน ได้สัมภาษณ์ ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ทำไมพรรคที่ต่ำกว่าค่าพึงมีที่ 3-4 หมื่นถึงได้ที่นั่งส.ส. ท่านอธิบายว่ายังไงรู้ไหมครับ ท่านบอกว่า ทำไมส.ส.เขตที่ชนะ 2-3หมื่นคะแนนยังได้รับเลือกตั้งได้ ทำไมพรรคที่ได้เท่านี้จะมีที่นั่งไม่ได้

โอ้ เข้าใจไหมครับว่า เมื่อเขาหาค่าพึงมีตามมาตรา 128 (1)แล้ว ไม่ว่าจะชนะมาในเขตเท่าไหร่ ทุกที่นั่งใน 500 ที่นั่งจะมีค่าเท่ากับพึงมีคือ 71,065 คะแนน

ทีนี้เขาอ้างอีกว่า ที่พรรคเล็กนั้นได้ เกิดจากการที่พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขตเกินค่าพึงมี แต่จริงแล้วการที่พรรคเพื่อไทยได้เกินไม่ได้ส่งผลอะไรครับ ไม่ใช่ over hang อย่างที่พูดกัน over ครับ แต่ไม่ hang เพราะไม่ว่าคุณจะได้คะแนนมาในเขตเท่าไหร่ สุดท้าย เมื่อเอาคะแนนมารวมแล้วเอา 500 หาร ทุกคนในส.ส.เขตทั้ง 350 คนก็จะมีค่าเท่ากับพึงมีคือ 71,065 เหมือนกันหมดเพื่อไทยอยู่ในส่วนนี้

จากนั้นมาค่าพึงมีของพรรคที่ควรได้อีก 150 คนเท่านั้นเอง ไม่ต้องคำนึงถึงเพื่อไทย

ส่วน(5)(6)(7)นั้น ถ้าจาก(5)แล้วยังไม่ครบ 150 มาที่(6) แต่ถ้าจาก(5)แล้วเกินไปใช้(7)พอใช้สูตรตาม(7)แล้วขาดไป(4)

ตอนแรกที่มีการเอาการคำนวณ ส.ส.บัญชีและจำนวนที่พรรคมาเผยแพร่ ผมตกใจมาก เพราะมีการคำนวณให้พรรคที่ต่ำกว่าค่าพึงมีได้ ส.ส.พรรคละ 1 ที่นั่งถึง 11 พรรค แสดงว่า ต้องผิดแน่เพราะขัดแย้งกับโจทย์ มีคนอ้างว่าสูตรนี้มาจากกต. สื่อเองก็เชื่อเอาสูตรนี้ไปเผยแพร่กันใหญ่ และมีคนมีชื่อเสียงหลายคนยืนยันว่า เป็นการคิดที่ถูกต้องแล้ว แต่กกต.แถลงต่อมาว่าไม่เคยคิด

เมื่อไปดูมาตรานี้ พบว่าเกิดความสับสนใน(5)(6)(7) ที่เขาเอาเก้าอี้เฉลี่ยให้พรรคเล็กต่ำกว่าพึงมี 11 พรรคนั้น หลงประเด็นในสามวงเล็บนี้ คือไปคิดตาม(5) แล้วจำนวนไม่ครบ 150 ก็หลงวรรคที่เขียนว่า “ให้ "พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุด"ได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน” ก็เลยตัดสินใจเอาไปให้พรรคเล็กทั้ง 11 พรรค ทั้งที่จริงแล้วเขาหมายถึงพรรคพึงมีซึ่งต่อเนื่องมาจากวงเล็บข้างหน้า และใน(6)ก็ยังเขียนว่าให้ตามค่าเฉลี่ยของพรรคที่พึงมี

แต่ถ้าเราเฉลียวใจอ่านมาตรา 128 ให้ถ่องแท้เขาเขียนไว้เกือบทุกวงเล็บว่า เป็นค่าส.ส.พึงมี มาตรา 128ไม่มีตรงไหนที่เขียนว่าเมื่อ ส.ส.พึงมีทุกพรรคเกิน 150 แล้วเอาไปจัดสรรให้พรรคขนาดเล็กที่ต่ำกว่าพึงมีที่ยังไม่มีบัญชีรายชื่อ แล้วตัดสัดส่วน ส.ส.พึงมีของพรรคอื่นที่ควรจะได้ไป เหมือนเอาคะแนนของพรรคใหญ่ไปให้พรรคเล็ก

แล้วถ้าเป็นไปตามที่เผยแพร่ออกมาคะแนนพรรคใหญ่จะตกน้ำจำนวนมาก เพราะเมื่อเอาจำนวนส.ส.ที่ได้มาคูณกลับกับค่าพึงมี พรรคอนาคตใหม่จะตกน้ำไปถึง 5 แสนกว่าคะแนน พรรคประชาธิปัตย์จะตกน้ำไปกว่า2 แสนคะแนน และพรรคพลังประชารัฐเองจะตกน้ำไปเกือบ 2 แสนคะแนน ซึ่งทำให้พรรคเหล่านั้นได้จำนวนส.ส.ลดลงต่ำกว่าค่าพึงมี ซึ่งของเป็นการขัดต่อกฎหมายและขัดแย้งกับโจทย์เขียนไว้นั่นเอง

ดังนั้น การคำนวณที่เผยแพร่ออกมาว่า พรรคเล็กต่ำกว่าพึงมีได้จึงขัดแย้งกับโจทย์ ซึ่งในทางคณิตศาสตร์ถือว่า ผิดแน่นอน ผมเลยลองเอามาตรา 128 มาทำดู โดยเอาตัวเลขแต่ละพรรคที่เผยแพร่มาคำนวณ(ตัวเลขที่ได้มาอาจไม่ถูกต้อง มีพรรคเล็ก3พรรคที่ไม่ส่งบัญชีรายชื่อจะต้องตัดคะแนนไป แต่แสดงให้เห็นว่า วิธีคำนวณน่าจะเป็นอย่างไร)

มาตรา 128 ในกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งแล้ว การคํานวณหาจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจะพึงได้รับ ให้คํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้ โดยในกรณีที่มีเศษให้ใช้ทศนิยมสี่ตําแหน่ง

(1) นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้รับ
จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ ข้อนี้คำนวณออกมาแล้วว่า ค่าส.ส.พึงมีอยู่ที่ 71,065.29 คะแนน

(2) นําผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค
ที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้เบื้องต้น และเมื่อได้คํานวณตาม (5) (6) หรือ (7) ถ้ามีแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
ตอบ
พลังประชารัฐ 8,433,137 / 71065.29 = 118.6674
เพื่อไทย 7,920,630 / 71065.29 = 111.4556
อนาคตใหม่ 6,265,950 /71065.29 = 88.1717
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 / 71065.29 = 55.5506
ภูมิใจไทย 3,732,883 / 71065.29=52.5275
เสรีรวมไทย 826,530 / 71065.29 = 116305
ชาติไทยพัฒนา 782,031 / 71065.29 = 11.0044
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 / 71065.29 = 6.8340
ประชาชาติ 485,436 / 71065.29 = 6.8340
เพื่อชาติ 419,393 / 71065.29 =5.9015
รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 / 71065.29 = 5.8583
ชาติพัฒนา 252,044 / 71065.29 = 3.5466
พลังท้องถิ่นไทย 213,129 / 71065.29 = 2.9990
รักษ์ผืนป่าฯ 136,597 / 71065.29 = 1.9221
พลังปวงชนไทย 81,733 / 71065.29 =1.1501
พลังชาติไทย 73,871 / 71065.29 = 1.0394
 
พรรคที่เหลือต่ำกว่า ส.ส.พึงมี ทุกพรรคถูกตัดออกไปแล้วตั้งแต่ วงเล็บนี้ มีบางท่านแย้งว่า กฎหมายไม่ได้เขียนให้ตัด และถ้าไม่ตัดก็มีค่าเท่ากัน แต่ผมมองว่า กฎหมายเขียนให้หาค่าที่พรรคการเมืองนั้นพึงมี เรารู้จาก(1)แล้วว่า ค่าพึงมีคือ 71,065.29

(3) นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (2) ลบด้วยจํานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง
ผลลัพธ์คือจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น
ตอบ
พลังประชารัฐ ส.ส.พึงมี 118.6674 - 97 =21.6674
เพื่อไทย 7,920,630 ส.ส.พึงมี 111.4556 - 137 = -25.5444
อนาคตใหม่ 6,265,950 ส.ส.พึงมี 88.1717-30 = 58.1717
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 ส.ส.พึงมี 55.5506-33 = 22.5506
ภูมิใจไทย 3,732,883 ส.ส.พึงมี 52.5275-39=13.5275
เสรีรวมไทย 826,530 ส.ส.พึงมี 11.6305-0=11.6305
ชาติไทยพัฒนา 782,031 ส.ส.พึงมี 11.0044-6=5.0044
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 ส.ส.พึงมี 6.8340-0=6.8340
ประชาชาติ 485,436 ส.ส.พึงมี 6.8340-6=0.8340
เพื่อชาติ 419,393 ส.ส.พึงมี 5.9015-0=5.9015
รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 ส.ส.พึงมี 5.8583-1=4.8583
ชาติพัฒนา 252,044 ส.ส.พึงมี 3.5466-1=2.5466
พลังท้องถิ่นไทย 213,129 ส.ส.พึงมี 2.9990-0=2.9990
รักษ์ผืนป่าฯ 136,597 ส.ส.พึงมี 1.9221-0=1.9921
พลังปวงชนไทย 81,733 ส.ส.พึงมี 1.1501-0=1.1501
พลังชาติไทย 73,871 ส.ส.พึงมี 1.0394-0= 1.0394
ผลบวก = 159.8866(เกินจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน = 9.8866

(4) ภายใต้บังคับ (5) ให้จัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจะได้รับให้ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคน โดยจัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม (3) เป็นจํานวนเต็มก่อน หากยังไม่ครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน
ในกรณีมีเศษเท่ากัน ให้ดําเนินการตาม (6)
ตอบ
หลัก (4) หากไม่ครบ 150 ตาม(3)ให้พรรคที่มีเศษมากที่สุด ไม่เข้าเงื่อนไขวงเล็บนี้

(5) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ให้พรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (2)
ตอบ
ต้องการอธิบายว่า พรรคที่ได้ส.ส.แบ่งเขตเกินแล้วจะไม่ได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ แล้วให้นำบัญชีรายชื่อทั้งหมด 150 คนไปจัดสรรในพรรคที่มีจำนวนส.ส.เขตต่ำกว่าส.ส.พึงได้ โดยหลักคือ ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม

(6) ในการจัดสรรตาม (5) แล้วปรากฏว่ายังจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้ "พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุด"ได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน กรณีที่เศษที่เหลือของแต่ละพรรคการเมืองเท่ากันจนทําให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้นําค่าเฉลี่ยคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองต่อจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีหนึ่งคนมาพิจารณา โดยหากพรรคการเมืองใดมีค่าเฉลี่ยคะแนนของพรรคการเมืองต่อจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีหนึ่งคนมากกว่าพรรคการเมืองอื่น ให้พรรคการเมืองนั้นมีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคน และหากยังมีจํานวนค่าเฉลี่ยดังกล่าวเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับสลาก
ตอบ
ในการจัดสรรตาม(5)ถ้าจัดสรรแล้วขาดให้มาที่(6)แล้วจัดสรรตามค่าเฉลี่ยตามพรรคที่พึงมี แต่ถ้า(5)เกินก็ข้ามไป(7)

(7) ในกรณีที่เมื่อคํานวณตาม (5) แล้วปรากฏว่าพรรคการเมืองทุกพรรคได้รับจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อรวมกันแล้วเกินหนึ่งร้อยห้าสิบคน ให้ดําเนินการคํานวณปรับจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ โดยคํานวณตามอัตราส่วนที่"ทุกพรรค"จะได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อซึ่งเมื่อรวมแล้วไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบคน โดยให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับคูณด้วยหนึ่งร้อยห้าสิบ หารด้วยผลบวกของหนึ่งร้อยห้าสิบกับจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่เกินจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบ และให้นํา (4) มาใช้ในการคํานวณด้วยโดยอนุโลม
ตอบ
พลังประชารัฐ ส.ส.พึงมี 118.6674 - 97 =21.6674
21.6674x150/150(+9.8866) = 20.3275
เพื่อไทย 7,920,630 ส.ส.พึงมี 111.4556 - 137 = -25.5444
อนาคตใหม่ 6,265,950 ส.ส.พึงมี 88.1717-30 = 58.1717
58.1717 x150/150(+9.8866) = 54.5746
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 ส.ส.พึงมี 55.5506-33 = 22.5506
22.5506 x150/150(+9.8866) =21.1561
ภูมิใจไทย 3,732,883 ส.ส.พึงมี 52.5275-39=13.5275
13.5275 x150/150(+9.8866) =12.6910
เสรีรวมไทย 826,530 ส.ส.พึงมี 11.6305-0=11.6305
11.6305 x150/150(+9.8866) =10.9113
ชาติไทยพัฒนา 782,031 ส.ส.พึงมี 11.0044-6=5.0044
5.0044 x150/150(+9.8866) = 4.6949
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 ส.ส.พึงมี 6.8340-0=6.8340
6.8340 x150/150(+9.8866) =6.4114
ประชาชาติ 485,436 ส.ส.พึงมี 6.8340-6=0.8340
0.8340 x150/150(+9.8866) =0.7824
เพื่อชาติ 419,393 ส.ส.พึงมี 5.9015-0=5.9015
5.9015 x150/150(+9.8866) = 5.53365
รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 ส.ส.พึงมี 5.8583-1=4.8583
4.8583 x150/150(+9.8866) = 4.5578
ชาติพัฒนา 252,044 ส.ส.พึงมี 3.5466-1=2.5466
2.5466 x150/150(+9.8866) = 2.3891
พลังท้องถิ่นไทย 213,129 ส.ส.พึงมี 2.9990-0=2.9990
2.9990 x150/150(+9.8866) = 2.8135
รักษ์ผืนป่าฯ 136,597 ส.ส.พึงมี 1.9221-0=1.9921
1.9921 x150/150(+9.8866) = 1.8689
พลังปวงชนไทย 81,733 ส.ส.พึงมี 1.1501-0=1.1501
1.1501 x150/150(+9.8866) = 1.0789
พลังชาติไทย 73,871 ส.ส.พึงมี 1.0394-0= 1.0394
1.0394 x150/150(+9.8866) = 0.9757
เท่ากับ 143(เศษทศนิยมไม่นับ)

จากนั้นใช้(4)ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการคํานวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามลําดับจนครบจํานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน

แล้วลองเอาส.ส.ที่พรรคแต่ละพรรคได้มาร่วมกับบัญชีรายชื่อดูนะครับว่า แต่ละพรรคจะได้กี่ที่นั่ง

ลองดูมาตรา 128(5)เขียนว่า ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (๒)

รัฐธรรมนูญ2560 เขียนไว้ชัดใน มาตรา 91 (4) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ให้พรรคการเมืองนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับ การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ตามอัตราส่วน แต่ต้อง ไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (2)

ผมไม่บอกว่าวิธีที่ผมคิดถูกหรือไม่ แน่นอนด้านหนึ่งตัวเลขที่ได้มาอาจจะยังคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องเสียทีเดียว แต่เมื่อผมทำโจทย์ออกมาผลลัพธ์มันสัมพันธ์กับโจทย์ แต่สูตรที่คิดมาให้พรรคเล็กได้1ที่นั่งนั้นผิดแน่นอน เพราะผลลัพธ์มันขัดแย้งกับโจทย์

ลองคิดดูว่า เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดว่าพรรคที่ต่ำกว่าพึงมีไม่มีสิทธิ์ได้ ถ้ากกต.ประกาศให้ 11 พรรคได้พรรคละ 1 ที่นั่งจะเกิดอะไรขึ้น

*หมายเหตุ-ตัวเลขอาจจะไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะมีผลต่อจำนวนที่แต่ละพรรคได้จริง เพียงแต่ต้องการคิดให้ดูตามสูตร

ติดตามผู้เขียนได้ที่ https://www.facebook.com/surawich.verawan


กำลังโหลดความคิดเห็น