ในที่สุดกระทรวงพลังงานโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็ได้ออกเกณฑ์ที่จะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่อยู่อาศัยหรือที่เรียกว่า “โซลาร์ภาคประชาชน” ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ได้ริเริ่มโดยมติอันท่วมท้นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อต้นปี 2558 ภายใต้ชื่อ “โซลาร์รูฟเสรี” รวมเวลาที่กระทรวงพลังงานยุค “ประเทศไทย 4.0” และ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ใช้เวลาศึกษาก็ไม่มากไม่มายหรอกครับแค่ 4 ปีกว่าเท่านั้นเอง!
ผลการศึกษาที่ทาง กกพ.ได้แถลงข่าวไปแล้วคือ (1) มีขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (2) รับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการใช้เองในราคาไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี (3) ยอดรวมที่ติดตั้งทั่วประเทศไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี (4) ต้องเดินไฟฟ้าภายในปี 2562 และ (5) ใครยื่นก่อนได้ก่อน
กกพ.ได้เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 62 ผมจึงขอแสดงความเห็นดังต่อไปนี้
หนึ่ง ในภาพรวม
ในอดีต กิจการไฟฟ้าเป็นกิจการที่ผู้ผลิตจำนวนน้อยรายผลิตไฟฟ้าขายให้ผู้บริโภคจำนวนหลายล้านราย จึงเป็นกิจการที่เสมือนผูกขาด หรือผูกขาดโดยธรรมชาติ ส่งผลให้เงินไหลออกจากกระเป๋าของผู้บริโภคไหลไปตุงอยู่ในกระเป๋าของคนจำนวนไม่กี่รายที่ผลิตเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผู้บริโภคสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองและขายส่วนที่เหลือหรือในช่วงผลิตที่ตนไม่อยู่บ้านออกไปสู่สายส่งของรัฐได้ ผู้บริโภคที่เคยถูกบังคับให้ต้องจ่ายเงินเพียงอย่างเดียวจึงมีศักยภาพที่จะผลิตและขายพร้อมกันได้ด้วย หรือที่เรียกว่า Prosumer แทนที่จะเป็น Consumer ซึ่งเงินไหลออกเพียงอย่างเดียวนานปีเข้าผู้บริโภคก็จนลงๆ จนประเทศไทยเรากลายเป็นมีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากอันดับ 4 ของโลก
โซลาร์เซลล์จึงเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่จะทำให้ “ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระดับรุนแรง นอกจากนี้กิจการผลิตไฟฟ้าคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โลกร้อน รวมทั้งแหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ด้วย
สอง ราคารับซื้อไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยเวลารับซื้อ 10 ปี
เอาเรื่องง่ายๆ ก่อนครับ เขาทราบกันทั่วโลกแล้วว่า อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ประมาณ 25 ปี แล้วกระทรวงพลังงานใช้หลักการอะไรมาคิดว่าระยะเวลารับซื้อ 10 ปี แล้วที่เหลืออีก 15 ปีจะให้ทำอย่างไร ผมเองได้ติดตามการทำงานของกระทรวงพลังงานมาอย่างใกล้ชิดมานานร่วม 20 ปี ก็พบวิธีคิดแบบนี้ในกรณีกังหันลม (รับซื้อในระยะเวลา 7 ปี) และยังอยู่มาถึงปัจจุบันนี้ พูดตามภาษาโบราณต้องยอมรับว่า นายแน่มากครับ!
มาถึงเรื่องจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านชาวบ้านในราคาหน่วยละ 1.68 บาท โดยไม่ต้องใช้วิชาการอะไรมากมาย ผมขอตั้งคำถามว่า ทำไมในปี 2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณ 70% ของประเทศ) ในราคาหน่วยละ 2.62 บาท และขายให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในราคาหน่วยละ 2.63 บาท (ดูตารางข้างล่าง)

จะเป็นเพราะได้มีการคาดการณ์ว่า ราคาค่าไฟฟ้าจะลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 1.68 บาทต่อหน่วยก็ไม่น่าจะใช่เพราะไม่เคยมีประวัติ และตัวเลขในภาพ (ข้างวงรีสีแดงทางขวามือ) ก็ระบุชัดเจนว่าอัตราค่าไฟฟ้าในปี 2562 ประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย
กระทรวงพลังงานต้องอธิบายว่าทำไมรับซื้อจากบ้านหลังหนึ่งในราคาหน่วยละ 1.68 บาท แล้วจึงนำไปขายต่อให้กับบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กันในราคาหน่วยละ 3.80 บาท หรือกำไร 126%
มันมีภาระต้นทุนอะไรหนักหนา
แนวคิดของกระทรวงพลังงานไทยยุค 4.0 เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับ รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกาอย่างสิ้นเชิง เพราะในรัฐนี้เขารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาในอัตราที่สูงกว่าที่ขายให้กับผู้บริโภค โดยให้เหตุผลว่าไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ (1) ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม (2) ไฟฟ้าไม่สูญเสียในสายส่ง (3) ลดความจำเป็นการต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และอื่นๆ (https://ilsr.org/minnesotas-value-of-solar/)
เขาเรียกให้คุณค่ากับพลังงานแสงอาทิตย์ (Value of Solar) มากกว่าพลังงานชนิดอื่นๆ จึงรับซื้อในราคาแพง
นอกจากนี้ ผมได้สอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พอได้ข้อสรุปว่า ต้นทุนค่าติดตั้งกิโลวัตต์ละ 3 หมื่นบาทนั้น ทำได้ยากมาก เพราะแต่ละหลังติดขนาดเล็ก เฉพาะค่าอุปกรณ์นั้นพอจะได้ แต่ยังไม่รวมค่าแรง ค่าเอกสารจดแจ้งและขออนุญาต รวมทั้งค่าวิศวกรลงนามด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า หน่วยงานของรัฐที่ติดตั้งในจังหวัดตากได้กำหนดราคากลางประมาณ 4.2 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ แต่กับประชาชนกำหนดราคาที่ 3 หมื่นบาทเท่านั้น
สาม ทำไมต้องเสียค่ามิเตอร์เพิ่มอีก 7,500 บาท
เพราะกระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายให้ชาวบ้าน จึงต้องมี 2 มิเตอร์ หรือต้องซื้อเพิ่มอีก 1 มิเตอร์ แต่ถ้าคิดว่าเป็นการแลกไฟฟ้ากัน คิดบัญชีตามตัวเลขที่ปรากฏเมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน ที่เรียกว่าระบบ Net Metering ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อมิเตอร์เพิ่มโดยไม่จำเป็น
ปัจจุบัน หลายประเทศได้ใช้ระบบ Net Metering แล้ว บางประเทศเป็นประเทศยากจน เช่น เคนยา ก็ใช้ระบบ Net Metering ในปี 2015 สหรัฐอเมริกา มีครัวเรือนที่ใช้ Net metering แล้วประมาณ 1 ล้านครัว ในปี 2020 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านครัวเรือนในบางรัฐของออสเตรเลียใช้ระบบ Net Metering แล้วประมาณ 1 ใน 3 ของครัวเรือนทั้งหมด
สี่ “ใครยื่นก่อนได้ก่อน” คือสาระที่ทำให้หลงประเด็นสำคัญ
สาระสำคัญที่ทำให้ประเทศเยอรมนีประสบผลสำเร็จด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นประเทศแรกๆ ของโลก โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งในปี 2561 สามารถผลิตได้ถึง 46,300 ล้านหน่วย (http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 คือ การไม่จำกัดจำนวนของพลังงานหมุนเวียน โดยกำหนดนโยบายว่า ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถขายได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน
เราไปจำกัดโควตาเขาเพื่ออะไร มันมีอะไรเสียหายหรือครับ
ในเรื่องความสมดุลของระบบไฟฟ้าของประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เยอะๆ สามารถดูได้แบบ real time ที่รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์เกือบ 11,000 เมกะวัตต์ (สูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานในอีก 10 ปีข้างหน้าเสียอีก) เชิญดูได้จากที่นี่ครับ http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีของโลกได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนด้วย เราสามารถต่ออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งแบตเตอรี่เข้ากับสิ่งที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) โดยสามารถพยากรณ์อากาศ ความเร็วลม ความเข้มของแสงอาทิตย์ได้ล่วงหน้าเป็นรายวัน รายชั่วโมง และราย 5 นาที ให้เราได้เตรียมตัวก่อน แล้วจะมีอะไรน่าเป็นห่วงอีกครับ
กระทรวงพลังงานของไทยเราตามโลกไม่ทันจริงๆ หรือทำเป็นแกล้งไม่ทันกันแน่ เพียงเพื่อตอบสนองกลุ่มทุนผูกขาดที่ล้าหลังและกำลังจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
อ้อ! หรือว่า “จะไม่ทิ้งกลุ่มทุนผูกขาดและล้าหลังไว้ข้างหลัง”
ผลการศึกษาที่ทาง กกพ.ได้แถลงข่าวไปแล้วคือ (1) มีขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (2) รับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการใช้เองในราคาไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี (3) ยอดรวมที่ติดตั้งทั่วประเทศไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี (4) ต้องเดินไฟฟ้าภายในปี 2562 และ (5) ใครยื่นก่อนได้ก่อน
กกพ.ได้เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 62 ผมจึงขอแสดงความเห็นดังต่อไปนี้
หนึ่ง ในภาพรวม
ในอดีต กิจการไฟฟ้าเป็นกิจการที่ผู้ผลิตจำนวนน้อยรายผลิตไฟฟ้าขายให้ผู้บริโภคจำนวนหลายล้านราย จึงเป็นกิจการที่เสมือนผูกขาด หรือผูกขาดโดยธรรมชาติ ส่งผลให้เงินไหลออกจากกระเป๋าของผู้บริโภคไหลไปตุงอยู่ในกระเป๋าของคนจำนวนไม่กี่รายที่ผลิตเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผู้บริโภคสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองและขายส่วนที่เหลือหรือในช่วงผลิตที่ตนไม่อยู่บ้านออกไปสู่สายส่งของรัฐได้ ผู้บริโภคที่เคยถูกบังคับให้ต้องจ่ายเงินเพียงอย่างเดียวจึงมีศักยภาพที่จะผลิตและขายพร้อมกันได้ด้วย หรือที่เรียกว่า Prosumer แทนที่จะเป็น Consumer ซึ่งเงินไหลออกเพียงอย่างเดียวนานปีเข้าผู้บริโภคก็จนลงๆ จนประเทศไทยเรากลายเป็นมีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากอันดับ 4 ของโลก
โซลาร์เซลล์จึงเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่จะทำให้ “ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระดับรุนแรง นอกจากนี้กิจการผลิตไฟฟ้าคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โลกร้อน รวมทั้งแหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ด้วย
สอง ราคารับซื้อไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยเวลารับซื้อ 10 ปี
เอาเรื่องง่ายๆ ก่อนครับ เขาทราบกันทั่วโลกแล้วว่า อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ประมาณ 25 ปี แล้วกระทรวงพลังงานใช้หลักการอะไรมาคิดว่าระยะเวลารับซื้อ 10 ปี แล้วที่เหลืออีก 15 ปีจะให้ทำอย่างไร ผมเองได้ติดตามการทำงานของกระทรวงพลังงานมาอย่างใกล้ชิดมานานร่วม 20 ปี ก็พบวิธีคิดแบบนี้ในกรณีกังหันลม (รับซื้อในระยะเวลา 7 ปี) และยังอยู่มาถึงปัจจุบันนี้ พูดตามภาษาโบราณต้องยอมรับว่า นายแน่มากครับ!
มาถึงเรื่องจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านชาวบ้านในราคาหน่วยละ 1.68 บาท โดยไม่ต้องใช้วิชาการอะไรมากมาย ผมขอตั้งคำถามว่า ทำไมในปี 2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณ 70% ของประเทศ) ในราคาหน่วยละ 2.62 บาท และขายให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในราคาหน่วยละ 2.63 บาท (ดูตารางข้างล่าง)
จะเป็นเพราะได้มีการคาดการณ์ว่า ราคาค่าไฟฟ้าจะลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 1.68 บาทต่อหน่วยก็ไม่น่าจะใช่เพราะไม่เคยมีประวัติ และตัวเลขในภาพ (ข้างวงรีสีแดงทางขวามือ) ก็ระบุชัดเจนว่าอัตราค่าไฟฟ้าในปี 2562 ประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย
กระทรวงพลังงานต้องอธิบายว่าทำไมรับซื้อจากบ้านหลังหนึ่งในราคาหน่วยละ 1.68 บาท แล้วจึงนำไปขายต่อให้กับบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กันในราคาหน่วยละ 3.80 บาท หรือกำไร 126%
มันมีภาระต้นทุนอะไรหนักหนา
แนวคิดของกระทรวงพลังงานไทยยุค 4.0 เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับ รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกาอย่างสิ้นเชิง เพราะในรัฐนี้เขารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาในอัตราที่สูงกว่าที่ขายให้กับผู้บริโภค โดยให้เหตุผลว่าไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ (1) ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม (2) ไฟฟ้าไม่สูญเสียในสายส่ง (3) ลดความจำเป็นการต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และอื่นๆ (https://ilsr.org/minnesotas-value-of-solar/)
เขาเรียกให้คุณค่ากับพลังงานแสงอาทิตย์ (Value of Solar) มากกว่าพลังงานชนิดอื่นๆ จึงรับซื้อในราคาแพง
นอกจากนี้ ผมได้สอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พอได้ข้อสรุปว่า ต้นทุนค่าติดตั้งกิโลวัตต์ละ 3 หมื่นบาทนั้น ทำได้ยากมาก เพราะแต่ละหลังติดขนาดเล็ก เฉพาะค่าอุปกรณ์นั้นพอจะได้ แต่ยังไม่รวมค่าแรง ค่าเอกสารจดแจ้งและขออนุญาต รวมทั้งค่าวิศวกรลงนามด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า หน่วยงานของรัฐที่ติดตั้งในจังหวัดตากได้กำหนดราคากลางประมาณ 4.2 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ แต่กับประชาชนกำหนดราคาที่ 3 หมื่นบาทเท่านั้น
สาม ทำไมต้องเสียค่ามิเตอร์เพิ่มอีก 7,500 บาท
เพราะกระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายให้ชาวบ้าน จึงต้องมี 2 มิเตอร์ หรือต้องซื้อเพิ่มอีก 1 มิเตอร์ แต่ถ้าคิดว่าเป็นการแลกไฟฟ้ากัน คิดบัญชีตามตัวเลขที่ปรากฏเมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน ที่เรียกว่าระบบ Net Metering ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อมิเตอร์เพิ่มโดยไม่จำเป็น
ปัจจุบัน หลายประเทศได้ใช้ระบบ Net Metering แล้ว บางประเทศเป็นประเทศยากจน เช่น เคนยา ก็ใช้ระบบ Net Metering ในปี 2015 สหรัฐอเมริกา มีครัวเรือนที่ใช้ Net metering แล้วประมาณ 1 ล้านครัว ในปี 2020 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านครัวเรือนในบางรัฐของออสเตรเลียใช้ระบบ Net Metering แล้วประมาณ 1 ใน 3 ของครัวเรือนทั้งหมด
สี่ “ใครยื่นก่อนได้ก่อน” คือสาระที่ทำให้หลงประเด็นสำคัญ
สาระสำคัญที่ทำให้ประเทศเยอรมนีประสบผลสำเร็จด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นประเทศแรกๆ ของโลก โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งในปี 2561 สามารถผลิตได้ถึง 46,300 ล้านหน่วย (http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 คือ การไม่จำกัดจำนวนของพลังงานหมุนเวียน โดยกำหนดนโยบายว่า ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถขายได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน
เราไปจำกัดโควตาเขาเพื่ออะไร มันมีอะไรเสียหายหรือครับ
ในเรื่องความสมดุลของระบบไฟฟ้าของประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เยอะๆ สามารถดูได้แบบ real time ที่รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์เกือบ 11,000 เมกะวัตต์ (สูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานในอีก 10 ปีข้างหน้าเสียอีก) เชิญดูได้จากที่นี่ครับ http://www.caiso.com/TodaysOutlook/Pages/supply.aspx
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีของโลกได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนด้วย เราสามารถต่ออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งแบตเตอรี่เข้ากับสิ่งที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) โดยสามารถพยากรณ์อากาศ ความเร็วลม ความเข้มของแสงอาทิตย์ได้ล่วงหน้าเป็นรายวัน รายชั่วโมง และราย 5 นาที ให้เราได้เตรียมตัวก่อน แล้วจะมีอะไรน่าเป็นห่วงอีกครับ
กระทรวงพลังงานของไทยเราตามโลกไม่ทันจริงๆ หรือทำเป็นแกล้งไม่ทันกันแน่ เพียงเพื่อตอบสนองกลุ่มทุนผูกขาดที่ล้าหลังและกำลังจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
อ้อ! หรือว่า “จะไม่ทิ้งกลุ่มทุนผูกขาดและล้าหลังไว้ข้างหลัง”