ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงโค้งสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งส.ส. ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยความพยายามชูประเด็นการสุจริต และต่อต้านปัญหาคอร์รัปชันเป็นจุดขาย โดย นายอภิสิทธิ์ ได้เขียนบทความเรื่องระบอบประชาธิปไตยและการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเชิงระบบ ในคอลัมน์วันอาทิตย์ชวนคิดกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โพสต์ในเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva โดยระบุไว้ในตอนหนึ่งว่า หลักการสำคัญที่จะแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันคือ ผู้นำการเมืองมีความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความมั่นใจได้ว่าจะเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาการทุจริต ที่สำคัญคือ ต้องตรวจสอบได้ ซึ่งเรื่องนี้พิสูจน์แล้วว่า คนที่เข้ามามีอำนาจจากการปฏิวัติรัฐประหาร แม้ว่าจะเป็นคนดี หรือเริ่มต้นดูเหมือนจะเป็นคนดีสุดท้ายไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ร้ายสุดคนเหล่านั้นอาจเสื่อมเสียเอง ทำให้ปัญหาการทุจริตอาจจะไม่ได้ลดลงเลย
การมองปัญหาคอร์รัปชันต้องมองในเชิงระบบ เหมือนกับเพลโต ในจดหมาย ฉบับที่ 7 ที่ยอมรับว่า ความพยายามของเพลโตที่จะไปให้คำปรึกษากับทรราช ซึ่งอยู่ในระบบที่ไม่มีการตรวจสอบ โดยหวังจะให้ทำในสิ่งดีๆ ใช้อำนาจได้ตามใจชอบ สุดท้ายยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จ จึงต้องสร้างหลักนิติธรรม หรือระบบกฎหมายขึ้นมาเป็นตัวควบคุม ซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดตั้งแต่ต้นว่า ระบบการปกครองที่ดีควรเป็นอย่างไร นอกจากนี้แม้ว่าระบบประชาธิปไตย จะมีหลักประกันที่ดีกว่าระบบเผด็จการในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน แต่ระบบประชาธิปไตย ต้องไม่ใช่แค่เรื่องการเลือกตั้งกับเสียงข้างมาก อย่างที่กลุ่มพรรคการเมือง ในระบบเสรีประชาธิปไตยพยายามพูด เพราะเมื่อเข้าบริหารประเทศ มีลักษณะอำนาจนิยม จนกระทั่งระบบถ่วงดุล และระบบกฎหมายถูกทำลาย ทำให้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันย้อนกลับมาอีก
นอกจากการสร้างระบบปกครองที่ดี เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันแล้ว ผู้มีอำนาจต้องสร้างมาตรฐานความรับผิดชอบทางการเมือง ให้สูงกว่ามาตรฐานทางกฎหมาย เมื่อเกิดการถูกกล่าวหาขึ้นแล้ว ต้องมีการแสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของนักการเมืองจะต้องสูงกว่า เมื่อเทียบกับกรณีของคนธรรมดาสามัญทั่วไป แต่ในประเทศไทยเกือบทุกรัฐบาลพูดอย่างเดียวว่า ให้ว่าไปตามกฎหมาย สิ่งที่ตามมาคือใช้เวลานาน และยืดเยื้อ ซึ่งบางทีสังคมก็ตัดสินไปเรียบร้อยแล้วว่า เรื่องนี้โกงแน่นอน เพราะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า คนก็เสื่อมศรัทธาในตัวระบบ และโยงไปถึงรัฐบาลทั้งหมด เพราะมองว่าใครมีอำนาจ ทำอะไรก็ไม่ผิด สอบเท่าไร ก็ไม่ผิด แต่เมื่อถูกตัดสินว่าผิด ในภายหลังก็มากล่าวหาว่า กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน
ดังนั้น การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่ดีที่สุด คือ ต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อให้ตรวจสอบได้ และผู้นำต้องซื่อสัตย์สุจริตเอาจริงเอาจัง กับการแก้ไขปัญหานี้
" การสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล จะช่วยป้องกันรัฐประหารได้ แต่ในขณะนี้มีวาทกรรมที่ผิดทั้งสองด้าน คือ ประชาธิปไตยโกงกินกันเยอะ เอาคนดีเข้ามาไม่ต้องไปสนใจประชาธิปไตยแล้วจะแก้โกงได้ ซึ่งไม่จริง เพราะเป็นระบบที่ไม่มีการถ่วงดุล คนคนดีก็จะเสียคนได้ ถ้าไม่ดีอยู่แล้วยิ่งไปกันใหญ่ การมีการถ่วงดุลจึงเป็นระบบที่ดีกว่า และวาทกรรมที่สอง ที่อันตรายพอกันคือ การปฏิเสธว่าที่ผ่านมาคอร์รัปชัน เป็นเพียงวาทกรรมเพื่อกวาดล้างทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะมีการทุจริตคอร์รัปชันจริง และประเทศชาติก็เสียหายเยอะเพียงเพราะ คนเหล่านี้ไม่ชอบการรัฐประหาร จึงพยายามหลับหูหลับตา ว่าการทุจริตไม่มีจริง"
ดังนั้นตนจึงขอยืนยันว่า จะรักษาประชาธิปไตยต้องทำให้เกิดธรรมาภิบาล ยอมรับการตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูล รับผิดชอบการกระทำของตัวเอง และขอย้ำว่าประชาธิปัตย์ไม่ได้มอง และไม่ได้สนับสนุนว่า การรัฐประหารเป็นวิธีการในการแก้ปัญหา แต่ประชาธิปัตย์พยายามเตือนพรรคการเมืองด้วยการว่านักการเมืองที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ต้องรู้จักวิธีในการที่จะรักษาประชาธิปไตย ด้วยการไม่เอาอำนาจนั้นไปใช้ในทางที่ผิดด้วย
นายอภิสิทธิ์ ยังให้สัมภาษณ์ ถึงโปรแกรมการหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ และการลงพื้นที่ตรวจราชการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคพลังประชารัฐ บังเอิญไปตรงกันว่า ตนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ไม่ขอวิจารณ์ ถ้าหากอยู่ในกรอบของกฎหมาย พรรคก็ไม่มีปัญหา
ส่วนกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า กระบวนการยุติธรรม ถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกำจัด นายทักษิณ ชินวัตร และควรคืนความยุติธรรมให้กับนายทักษิณ ให้ต่อสู้ภายใต้กระบวนการ และศาลอย่างเป็นธรรมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รู้สึกหนักใจที่มีบางคนไม่เชื่อว่าการทุจริตเป็นปัญหา และพยายามรื้อฟื้นบางเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราเคยเห็นผลมาแล้วในปี 56 และ 57 ซึ่งเป็นที่มาของการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งที่ในขณะนี้ กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าไปแล้ว หากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำงานตามที่ควรจะเป็น ก็สามารถใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการฟ้องร้องได้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเอาเรื่องการเมืองมาปะปน เพราะการทำแบบนี้ไม่ใช่ทางออกประเทศ โดยเห็นแล้วว่าครั้งที่ผ่านมา ที่มีความพยายามจะนิรโทษกรรม แล้วเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ในการหาเสียงตนขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในกรอบของกฎหมาย แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ และไม่กังวลกับกรณีที่แกนนำพรรคไทยรักษาชาติ ประกาศจะเดินสายหาเสียงต่อ แม้จะถูกยุบพรรคไปแล้ว เพราะหากปลุกระดม ก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่คนยังมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆได้ จะแสดงออกอย่างไร ก็เป็นสิทธิ์ของเขา
การมองปัญหาคอร์รัปชันต้องมองในเชิงระบบ เหมือนกับเพลโต ในจดหมาย ฉบับที่ 7 ที่ยอมรับว่า ความพยายามของเพลโตที่จะไปให้คำปรึกษากับทรราช ซึ่งอยู่ในระบบที่ไม่มีการตรวจสอบ โดยหวังจะให้ทำในสิ่งดีๆ ใช้อำนาจได้ตามใจชอบ สุดท้ายยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จ จึงต้องสร้างหลักนิติธรรม หรือระบบกฎหมายขึ้นมาเป็นตัวควบคุม ซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดตั้งแต่ต้นว่า ระบบการปกครองที่ดีควรเป็นอย่างไร นอกจากนี้แม้ว่าระบบประชาธิปไตย จะมีหลักประกันที่ดีกว่าระบบเผด็จการในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน แต่ระบบประชาธิปไตย ต้องไม่ใช่แค่เรื่องการเลือกตั้งกับเสียงข้างมาก อย่างที่กลุ่มพรรคการเมือง ในระบบเสรีประชาธิปไตยพยายามพูด เพราะเมื่อเข้าบริหารประเทศ มีลักษณะอำนาจนิยม จนกระทั่งระบบถ่วงดุล และระบบกฎหมายถูกทำลาย ทำให้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันย้อนกลับมาอีก
นอกจากการสร้างระบบปกครองที่ดี เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันแล้ว ผู้มีอำนาจต้องสร้างมาตรฐานความรับผิดชอบทางการเมือง ให้สูงกว่ามาตรฐานทางกฎหมาย เมื่อเกิดการถูกกล่าวหาขึ้นแล้ว ต้องมีการแสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของนักการเมืองจะต้องสูงกว่า เมื่อเทียบกับกรณีของคนธรรมดาสามัญทั่วไป แต่ในประเทศไทยเกือบทุกรัฐบาลพูดอย่างเดียวว่า ให้ว่าไปตามกฎหมาย สิ่งที่ตามมาคือใช้เวลานาน และยืดเยื้อ ซึ่งบางทีสังคมก็ตัดสินไปเรียบร้อยแล้วว่า เรื่องนี้โกงแน่นอน เพราะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า คนก็เสื่อมศรัทธาในตัวระบบ และโยงไปถึงรัฐบาลทั้งหมด เพราะมองว่าใครมีอำนาจ ทำอะไรก็ไม่ผิด สอบเท่าไร ก็ไม่ผิด แต่เมื่อถูกตัดสินว่าผิด ในภายหลังก็มากล่าวหาว่า กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน
ดังนั้น การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่ดีที่สุด คือ ต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อให้ตรวจสอบได้ และผู้นำต้องซื่อสัตย์สุจริตเอาจริงเอาจัง กับการแก้ไขปัญหานี้
" การสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล จะช่วยป้องกันรัฐประหารได้ แต่ในขณะนี้มีวาทกรรมที่ผิดทั้งสองด้าน คือ ประชาธิปไตยโกงกินกันเยอะ เอาคนดีเข้ามาไม่ต้องไปสนใจประชาธิปไตยแล้วจะแก้โกงได้ ซึ่งไม่จริง เพราะเป็นระบบที่ไม่มีการถ่วงดุล คนคนดีก็จะเสียคนได้ ถ้าไม่ดีอยู่แล้วยิ่งไปกันใหญ่ การมีการถ่วงดุลจึงเป็นระบบที่ดีกว่า และวาทกรรมที่สอง ที่อันตรายพอกันคือ การปฏิเสธว่าที่ผ่านมาคอร์รัปชัน เป็นเพียงวาทกรรมเพื่อกวาดล้างทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะมีการทุจริตคอร์รัปชันจริง และประเทศชาติก็เสียหายเยอะเพียงเพราะ คนเหล่านี้ไม่ชอบการรัฐประหาร จึงพยายามหลับหูหลับตา ว่าการทุจริตไม่มีจริง"
ดังนั้นตนจึงขอยืนยันว่า จะรักษาประชาธิปไตยต้องทำให้เกิดธรรมาภิบาล ยอมรับการตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูล รับผิดชอบการกระทำของตัวเอง และขอย้ำว่าประชาธิปัตย์ไม่ได้มอง และไม่ได้สนับสนุนว่า การรัฐประหารเป็นวิธีการในการแก้ปัญหา แต่ประชาธิปัตย์พยายามเตือนพรรคการเมืองด้วยการว่านักการเมืองที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ต้องรู้จักวิธีในการที่จะรักษาประชาธิปไตย ด้วยการไม่เอาอำนาจนั้นไปใช้ในทางที่ผิดด้วย
นายอภิสิทธิ์ ยังให้สัมภาษณ์ ถึงโปรแกรมการหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ และการลงพื้นที่ตรวจราชการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคพลังประชารัฐ บังเอิญไปตรงกันว่า ตนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ไม่ขอวิจารณ์ ถ้าหากอยู่ในกรอบของกฎหมาย พรรคก็ไม่มีปัญหา
ส่วนกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า กระบวนการยุติธรรม ถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกำจัด นายทักษิณ ชินวัตร และควรคืนความยุติธรรมให้กับนายทักษิณ ให้ต่อสู้ภายใต้กระบวนการ และศาลอย่างเป็นธรรมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รู้สึกหนักใจที่มีบางคนไม่เชื่อว่าการทุจริตเป็นปัญหา และพยายามรื้อฟื้นบางเรื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราเคยเห็นผลมาแล้วในปี 56 และ 57 ซึ่งเป็นที่มาของการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งที่ในขณะนี้ กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าไปแล้ว หากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำงานตามที่ควรจะเป็น ก็สามารถใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการฟ้องร้องได้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเอาเรื่องการเมืองมาปะปน เพราะการทำแบบนี้ไม่ใช่ทางออกประเทศ โดยเห็นแล้วว่าครั้งที่ผ่านมา ที่มีความพยายามจะนิรโทษกรรม แล้วเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ในการหาเสียงตนขอให้ทุกฝ่ายอยู่ในกรอบของกฎหมาย แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ และไม่กังวลกับกรณีที่แกนนำพรรคไทยรักษาชาติ ประกาศจะเดินสายหาเสียงต่อ แม้จะถูกยุบพรรคไปแล้ว เพราะหากปลุกระดม ก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่คนยังมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆได้ จะแสดงออกอย่างไร ก็เป็นสิทธิ์ของเขา