ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยเป็นนวัตกรรมของโลกในยุคกลางราว 400-500 ปีก่อน หรือราว ๆ กลางกรุงศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของโลกได้แก่มหาวิทยาลัยโบโลญญา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นอาทิ ดังแสดงในรูปด้านล่างนี้ เป็นแผนที่มหาวิทยาลัยของโลกในยุคกลางซึ่งกระจายอยู่ในทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่
โลกในยุคกลางนั้นก่อเกิดมหาวิทยาลัย แต่เดิมการเรียนการสอนเป็นไปในลักษณะของ on-the-job training หรือการฝึกงานจากการทำงานโดยตรง เช่น จะเป็น Baker ก็ต้องไปทำงานในร้าน Bakery แล้วฝึกฝนฝีมือจนกระทั่งทำงานเองได้แทบทั้งหมดจนกระทั่งไปเปิดกิจการเองได้ด้วยซ้ำ หรือการเป็นช่างเย็บรองเท้าก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
ในยุโรปเริ่มมีการฝึกงานโดยตรงและเริ่มก่อกำเนิดสมาคมวิชาชีพ (Guild) การก่อตั้ง Guild เหล่านี้ต่อมาก็เริ่มวิวัฒนาการเป็นคณะวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เริ่มมีความเป็นเอกเทศ ก่อร่างสร้างตัวของตัวเองเป็นชนชั้นปัญญาชนที่เริ่มแยกออกจากวิชาชีพต่าง ๆ สร้างหอคอยงาช้าง (Ivory tower) ทางวิชาการ
ในโลกตะวันออกก็มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่สุดคือตักศิลา
สำหรับไทยเราก็มีการฝึกงานและไปเรียนรู้จากครูแบบเดียวกัน ไปกินไปอยู่บ้านครูบาอาจารย์เลยก็มี ยกตัวอย่างเช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ก็มีลูกศิษย์มากินอยู่เรียนดนตรีที่บ้านของท่านครูเป็นจำนวนมากมาย ท่านครูไม่ได้สอนแค่วิชาความรู้ แต่สอนศีลธรรมจรรยา เป็นแบบอย่าง จับมือลงมือให้เล่นดนตรี ให้คำแนะนำ พาไปออกงานประชันดนตรี เป็นต้น
มหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น เก่าแก่แค่ร้อยปี เก่าแก่ที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถัดมาคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (แพทยศาสตร์-เดิม) มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนมหาวิทยาลัยภูธรแห่งแรกคือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถัดไปคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น
แต่ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษากำลังจะล้มหายตายจากไปอีกมากมายอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสังคมสูงอายุ (Aging society) ประเทศไทยมีแนวโน้มจะมีประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยกว่าคนแก่ที่เสียชีวิต
ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีที่พลิกผัน (Disruptive technology) ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาบันการศึกษาก็ต้องปรับตัวอย่างมาก หากไม่ปรับตัวก็จะอยู่ไม่รอด
เรามาลองพิจารณาว่า Disruptive technology อะไรที่ส่งผลกระทบกับการศึกษาอย่างรุนแรง หัวข้อนี้ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC ได้เชิญผมไปบรรยายในงาน IT Trends เลยขอมาเล่าให้ทุกท่านได้ฟังกันบ้าง
ประการแรก Motivational Speaking บน e-platform เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น TED Talk นั้นได้รับความนิยมมาก และตรงใจเด็กสมัยใหม่ในการเรียนรู้ หนึ่งคือ สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้คนรู้เป้าหมายของสิ่งที่ต้องเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่การศึกษาในระบบทำได้ไม่ดี สอง ไม่มีค่าใช้จ่ายและเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว สาม ใช้เวลาในการบรรยายไม่ยาวนานนักทำให้คนติดตามได้ง่าย
โลกในยุคกลางนั้นก่อเกิดมหาวิทยาลัย แต่เดิมการเรียนการสอนเป็นไปในลักษณะของ on-the-job training หรือการฝึกงานจากการทำงานโดยตรง เช่น จะเป็น Baker ก็ต้องไปทำงานในร้าน Bakery แล้วฝึกฝนฝีมือจนกระทั่งทำงานเองได้แทบทั้งหมดจนกระทั่งไปเปิดกิจการเองได้ด้วยซ้ำ หรือการเป็นช่างเย็บรองเท้าก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
ในยุโรปเริ่มมีการฝึกงานโดยตรงและเริ่มก่อกำเนิดสมาคมวิชาชีพ (Guild) การก่อตั้ง Guild เหล่านี้ต่อมาก็เริ่มวิวัฒนาการเป็นคณะวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็เริ่มมีความเป็นเอกเทศ ก่อร่างสร้างตัวของตัวเองเป็นชนชั้นปัญญาชนที่เริ่มแยกออกจากวิชาชีพต่าง ๆ สร้างหอคอยงาช้าง (Ivory tower) ทางวิชาการ
ในโลกตะวันออกก็มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่สุดคือตักศิลา
สำหรับไทยเราก็มีการฝึกงานและไปเรียนรู้จากครูแบบเดียวกัน ไปกินไปอยู่บ้านครูบาอาจารย์เลยก็มี ยกตัวอย่างเช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ก็มีลูกศิษย์มากินอยู่เรียนดนตรีที่บ้านของท่านครูเป็นจำนวนมากมาย ท่านครูไม่ได้สอนแค่วิชาความรู้ แต่สอนศีลธรรมจรรยา เป็นแบบอย่าง จับมือลงมือให้เล่นดนตรี ให้คำแนะนำ พาไปออกงานประชันดนตรี เป็นต้น
มหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น เก่าแก่แค่ร้อยปี เก่าแก่ที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถัดมาคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (แพทยศาสตร์-เดิม) มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนมหาวิทยาลัยภูธรแห่งแรกคือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถัดไปคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น
แต่ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษากำลังจะล้มหายตายจากไปอีกมากมายอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสังคมสูงอายุ (Aging society) ประเทศไทยมีแนวโน้มจะมีประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยกว่าคนแก่ที่เสียชีวิต
ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีที่พลิกผัน (Disruptive technology) ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาบันการศึกษาก็ต้องปรับตัวอย่างมาก หากไม่ปรับตัวก็จะอยู่ไม่รอด
เรามาลองพิจารณาว่า Disruptive technology อะไรที่ส่งผลกระทบกับการศึกษาอย่างรุนแรง หัวข้อนี้ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC ได้เชิญผมไปบรรยายในงาน IT Trends เลยขอมาเล่าให้ทุกท่านได้ฟังกันบ้าง
ประการแรก Motivational Speaking บน e-platform เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น TED Talk นั้นได้รับความนิยมมาก และตรงใจเด็กสมัยใหม่ในการเรียนรู้ หนึ่งคือ สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้คนรู้เป้าหมายของสิ่งที่ต้องเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่การศึกษาในระบบทำได้ไม่ดี สอง ไม่มีค่าใช้จ่ายและเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว สาม ใช้เวลาในการบรรยายไม่ยาวนานนักทำให้คนติดตามได้ง่าย
ประการที่สอง เกิดห้องเรียนกลับหัว (Flipped classroom) ที่ตรงกับจริตของคนรุ่นใหม่ค่อนข้างมาก คือเรียนหนังสือที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน โดยที่นักเรียนแต่ละคนสามารถเรียนได้ตาม speed ของตัวเอง ช้าบ้างเร็วบ้างกับวีดิโอสั้น ๆ จะกรอวีดิโอซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ดูเมื่อไหร่ก็ได้ และเนื้อหาที่เป็นการบรรยายก็ไปเรียนกับวีดิโอที่บ้าน ส่วนในห้องเรียน ครูทำหน้าที่เป็นโค้ช สอนโดยการแนะนำและอำนวยความสะดวกในการเรียน โดยให้มาทำกิจกรรม สนทนา แบบฝึกหัดร่วมกัน หรือทำโครงงานร่วมกันในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน สอนในสิ่งที่เป็นความรู้โดยนัยยะ (Implicit knowledge) ซึ่งถ่ายทอดโดยการบรรยายได้ยาก เน้นการเรียนรู้แบบประสบการณ์ (Experiential learning) มากกว่าการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้อันเห็นได้เด่นชัด (Explicit knowledge) วิธีการนี้จะได้ผลเมื่อนักเรียนมีวินัยรับผิดชอบตนเองในการเรียน อย่างไรก็ตามห้องเรียนกลับหัวนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ Khan Academy
Khan Academy เกิดจากการที่ ข่าน investment banker ใน Wall Street จะสอนการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของหลานตัวเองในอินเดียจึงอัดวีดิโอสอนผ่านช่องทางสื่อสังคม และปรากฎว่าลูกสาวของ Bill Gates จาก Microsoft ไปใช้บริการฟรีด้วยและบิลล์ เกตส์ เองก็นั่งดูลูกสาวเรียนด้วยและติดอกติดใจมาก จึงตัดสินใจให้ทุนสนับสนุนให้เปิดสอน flipped classroom กับ Khan เต็มที่ Khan เองก็พัฒนาให้ Khan Academy เป็นทั้ง flipped classroom และเป็น programmed-instruction ในลักษณะของ computer -aided instruction มีการทดสอบเป็นระยะๆ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Learning pace) และหากสอบผ่านก็จะไปเรียนในบทเรียนขั้นต่อไปได้ ทำให้แทนการมีครูสอนในโรงเรียนได้มาก วิธีการนี้หากนำไปใช้ร่วมกับตัวแบบการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน (Misconception diagnosis) หรือการวินิจฉัยพุทธิปัญญา (Cognitive diagnostic model) จะช่วยให้เข้าใจว่าเหตุใดผู้เรียนเข้าใจผิดพลาดและเข้าใจเนื้อหาส่วนใดมากแค่ใด และทำให้คอมพิวเตอร์สามารถปรับบทเรียนการสอนออนไลน์ที่เป็นการสอนแบบจัดให้เฉพาะรายแตกต่างกันได้ เพื่อให้ได้รับผลการเรียนที่สูงที่สุดเหมาะสมที่สุด
ประการที่สาม การเรียนออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วมาก มีทั้งที่เสียเงิน และไม่เสียเงิน มีทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องหรือสถาบันการศึกษาเช่นมหาวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวข้อง ในบางแห่งมีการ coaching หรือ ให้ feedback ทางออนไลน์ ตรวจงานและตรวจการบ้านผ่านออนไลน์ มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน ซึ่งการเรียนออนไลน์แบบนี้จะต้องรอเวลาเริ่มต้นเรียนหรือเปิดคลาสเป็นครั้ง ๆ ไป หรือบางคอร์สจะเรียนเมื่อใดก็ได้
Courserra หรือ MOOC (Massive on-line open course), EdX, Udacity, Kaggle, Codeacademy หรือแม้แต่ในประเทศไทยก็มี Chula MOOC ให้เรียนได้ตามสะดวกมาก
ประการที่สี่ เกิดการเรียนการสอนผ่าน Social media และทำให้การเรียนเกิดการเล่น+เรียน (Play+learn=Plearn) เช่น ใน Facebook สามารถเปิด close group สอน เปิดโหวต แจกเอกสารการสอน ให้การบ้าน ส่งการบ้าน เปิดสอนสดๆ โดยใช้ Facebook Live Screen Sharing ก็ทำได้โดยง่าย ดังนี้
ประการที่สี่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จะก้าวเข้ามามีบทบาทพลิกผันการศึกษาไปอย่างมาก ปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และคิดได้แทนมนุษย์ได้มากมาย เมื่อเรียนรู้ได้ ก็คิดได้และสอนได้เช่นเดียวกันกับคนเป็นครู
ตัวอย่างแรกคือ Robot Chef หรือ เชฟ หุ่นยนต์ที่ถ่ายการเคลื่อนไหวของเชฟดัง ๆ จำส่วนผสม ปริมาณ และเวลา ตลอดจนทิศทางของแรงมือที่ใช้จากเชฟดัง ๆ ลอกเลียนแบบมาประกอบอาหารได้ ต่อไปก็สอนเคล็ดลับการทำอาหารได้ ดังนี้เป็นต้น
ตัวอย่างที่สอง เป็นการสอนกีฬา เช่น AlphaGo หรือ Deepmind AlphaGo ที่เล่นหมากล้อมโกะได้เก่งชนะเซียนหรือแชมป์หมากล้อมระดับโลกมาแล้วได้ง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้แบบเสริมแรง (Reinforcement learning) ของปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากผลเฉลย เช่นเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตหรือมนุษย์เรียนรู้จากการเสริมแรงทางจิตวิทยาการเรียนรู้
เมื่อ AI เช่น Deep mind AlphaGo นี้สามารถเรียนรู้จากแชมป์โลกได้ ก็เล่นเป็นคู่ซ้อมกับคนที่อยากเล่นโกะได้ สอนให้เราเล่นหมากล้อมให้เก่งกาจขึ้นได้เรื่อยๆ
ตัวอย่างที่สี่ AI สามารถอ่านข่าวได้ สอนพูดได้ ไม่นานมานี้สำนักข่าวซิงหัวสร้างหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อ่านข่าวโดยใช้ภาษาอังกฤษ ได้ทั้งสีหน้า แววตา น้ำเสียงที่เลียนแบบผู้ประกาศข่าวชายคนดังของจีน
และผู้ประกาศข่าวหญิงหุ่นยนต์ก็อ่านข่าวได้ดีเช่นกัน http://www.xinhuanet.com//english/2017-04/26/c_136235602.htm
เทคนิคเดียวกันนี้ของปัญญาประดิษฐ์ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสามารถสร้างหุ่นยนต์เลียนแบบบารัค โอบามาอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้สามารถสังเคราะห์เสียง (Voice synthetic) ให้อ่านหรือพูดอะไรด้วยสำเนียงและลีลาของโอบามาได้อย่างกะโขกออกมา โดยการเลียนแบบการขยับปาก ใบหน้า และลำคอของโอบามา
เมื่อพูดถึงการสังเคราะห์เสียงได้ ก็ต้องพูดถึงการจำแนกและการจดจำเสียงได้ เช่น Voice recognition ซึ่งสมัยนี้ใครเปิด google docx หากขี้เกียจพิมพ์งานให้พูดใส่ไมโครโฟนแล้ว voice typing ของ google docx สามารถพิมพ์งานยาวๆ แทนเราได้ เพียงแค่เราพูดไปเรื่อยๆ เท่านั้น ซึ่งทำได้แทบทุกภาษาบนโลกนี้ และเมื่อสองเดือนก่อนผมทดลองเองพบว่า google docx voice typing ยังทำงานด้านพิมพ์จากเสียงโดยสลับไทยกับภาษาอังกฤษไม่ได้ดีนักต้องคอยเลือกภาษาว่าจะให้ voice typing พิมพ์ภาษาไทยหรืออังกฤษ แต่เมื่อคืนผมลองอีกครั้งพบว่าไม่ต้อง switch ระหว่างไทยกับอังกฤษ voice typing ใน google docx ก็พิมพ์ได้ดีมาก โดยผิดพลาดน้อยมาก และทำได้ดีโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนภาษาไปมาอีกแล้ว ดังนั้นจึงพูดไทยคำอังกฤษคำ ให้มันพิมพ์ได้แม่นยำโดยผิดพลาดน้อยมาก ดังตัวอย่างนี้
https://www.youtube.com/watch?v=a4U_InlodtU&ab_channel=CharaspimTutorial และ https://www.youtube.com/watch?v=S0UZ_smHc4o&ab_channel=MikeDownes
ดังนั้นตัวอย่างที่สี่นี้ AI และหุ่นยนต์ก็ช่วยสอนภาษาอังกฤษได้โดยไม่ยาก โดยเฉพาะการสอนพูด เพราะฟังก็เก่งแล้ว พูดก็ทำได้ด้วยการสังเคราะห์เสียง ดังที่โรงเรียนในญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์ในการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียน การหัดพูดภาษาต่างประเทศกับหุ่นยนต์ยังช่วยลดความประหม่าเขินอายในการพูดกับคนต่างชาติหรือกับครู น่าจะมีส่วนช่วยให้สนุกในการเรียนรู้และทำให้ไม่ต้องกลัวหรือเขินอีกต่อไป
แม้แต่ภาษาจีน AI ของ Microsoft ก็เคลมว่าสามารถแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษได้ดีเท่าๆ กับมนุษย์ แต่จะสู้ Baidu ซึ่งเป็น Search engine ที่ดังที่สุดของจีนหรือไม่ ผมเองก็ไม่แน่ใจเช่นกัน
ตัวอย่างที่ห้า AI อาจจะช่วยให้สอนคนพิการได้ดีมากขึ้น เช่นขณะนี้ Google AI สามารถอ่านริมฝีปากคนได้ดีกว่ามนุษย์ ดังตัวอย่างนี้
ดังนั้นต่อไป หุ่นยนต์น่าจะอ่านปากคนที่พูดได้ตามปกติ และแปลงออกเป็น subtitle ให้คนหูหนวกอ่านได้โดยที่ไม่ต้องใช้ล่ามแปลภาษามืออีกต่อไป อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนการสอนสำหรับคนพิการหูหนวกเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่างที่หก AI สามารถเขียนเรียงความได้ดี และต่อไปจะสอนเขียนได้ดีด้วย ยกตัวอย่างเช่น EssaySoft ซึ่งเป็น AI เขียนเรียงความภาษาอังกฤษ เมื่อเราใส่ keywords ในหัวข้อที่เราต้องการเขียนลงไป เช่น Love is pain. AI ของ EssaySoft จะ
1. ค้นหาพารากราฟต่าง ๆ ที่มีคำหลักดังกล่าวจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกมาเรียนรู้
2. หลังจากนั้น AI ก็จะเปลี่ยนการใช้คำด้วยคำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียง (Synonyms) หรือ
3. แม้แต่การสุ่มคำที่ใกล้เคียงมาเพื่อให้ห่างไกลจากการลอกเลียนอย่างไร้เกียรติ (Plagiarism) ผู้ใช้หรือ AI อาจจะสลับลำดับประโยค shuffle หรือเรียงใหม่ ให้ห่างจากต้นฉบับเดิมมากขึ้นไปอีกเป็นการหลีกการลอกเลียน เป็นการ paraphrase
4. เราอาจจะ edit หรือแก้ไขเรียงความนี้ก็ได้
5. เพื่อความปลอดภัยยังสามารถใส่รายการอ้างอิงออนไลน์แทรกลงไปในเรียงความที่เราเขียนได้อีก
เมื่อเขียนได้ขนาดนี้ ต่อไป AI ก็สามารถสอนเขียนแทนมนุษย์ได้อย่างแน่นอนในระยะเวลาอันใกล้ และอาจจะเขียนรายงานข่าวแทนนักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์และทำให้นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์ตกงานกันถ้วนหน้า เพราะไม่เรียกร้องอะไร ไม่มีสหภาพ ทำงานหนักได้ดีกว่านักข่าว
การใช้งานต้องเลือกโทนอารมณ์ของเพลง เลือกเลียนแบบคีตกรชื่อดังของโลก หลังจากระบุค่าพารามิเตอร์ต่างๆ แล้ว AI จะแต่งเพลงตาม parameter ที่เรากำหนด
ยกตัวอย่างเพลงนี้ชื่อ Letz make it happen
แต่งให้ใช้ในการฉลองวันชาติ Luxembourg โดย AIVA ในวันที่ 23 June 2017 อันเป็นวันเกิดของดยุคแห่งลักเซมเบิร์กด้วย
ประการที่ห้า เทคโนโลยีเกี่ยวกับ 3D และ Virtual reality หรือ Augmented reality ซึ่งเป็นโลกเสมือนจริงและโลกเสมือนจริงเติมแต่ง จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการศึกษา
เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้นับวันยิ่งจะก้าวหน้ามากขึ้นเช่น HoloLens ดังวีดิโอด้านล่างนี้ สามารถนำมาทำอะไรได้มากเหลือเกิน https://www.youtube.com/watch?v=EIJM9xNg9xs&ab_channel=MicrosoftHoloLens
โดยเฉพาะการสร้างภาพนิทัศน์จากข้อมูลแบบเข้าถึง (immersive data visualization)
https://www.youtube.com/watch?v=HGnw_jHAiCg&ab_channel=SparkSummit
ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น augmented reality อย่างหนึ่ง น่าจะมีประโยชน์มากสำหรับข้อมูลเชิงพื้นที่-เวลา เช่น การเกษตร การทหาร ความมั่นคง การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาในศาสตร์เหล่านี้เห็นเป็นภาพจริง เข้าใจได้ง่าย และสนุกสนานเพิ่มขึ้นไปอีกมาก
ประการที่หก เกมส์และการจำลอง จะมีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น เกมส์ธุรกิจ ที่จะช่วยให้เข้าใจการจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเงิน และการจัดการการตลาด ได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสนุกสนาน และเป็นการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในเชิงการจัดการอีกด้วย เช่น
นอกจากนี้ในแพทยศาสตร์ศึกษาก็สามารถใช้หุ่นยนต์ การจำลองและเกมส์ได้เช่นกัน ดังเช่น
อย่างหุ่นยนต์ตัวนี้ชื่อ Hal ไว้ใช้สอนกุมารเวชศาสตร์หรือหมอเด็ก ซึ่งตอบสนอง ตอบโต้ได้เหมือนคนไข้จริง
ซึ่งในอนาคตจะยิ่งมีการใช้หุ่นยนต์และการจำลองทางการแพทย์ในการเรียนการสอนแพทย์และสาธารณสุขหรือทีมสุขภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่เจ็ด Humanoid น่าจะมาแทนครูในระบบการศึกษาได้ และครูก็อาจจะตกงานในท้ายที่สุด อย่าง Humanoid Sophia ก็สามารถโต้วาทีได้เสียแล้ว และเก่งมากด้วยเช่นกัน แทบจะเหมือนมนุษย์และคงทำหน้าที่แทนครูที่ไม่ได้เรื่องได้ในไม่ช้า (ขยันกว่าครูที่เป็นคนจำนวนมาก มีความรู้แน่นและถูกต้องกว่าครูที่เป็นมนุษย์ในประเทศไทย จำนวนมาก)