ในการปกครององค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ จะต้องมีระเบียบข้อบังคับ และกฎหมายเป็นหลัก แต่การบังคับใช้กฎหมายจะได้ผลอย่างจริงจัง ก็จะต้องนำกติกาทางสังคมรูปแบบอื่น ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ก่อนที่กฎหมายจะออกมาบังคับใช้มาพิจารณาร่วมด้วย และกติกาทางสังคมที่ว่านี้ได้แก่ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี รวมไปถึงคำสอนของศาสนาซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือ จึงจะทำให้สังคมได้รับความเป็นธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้
แต่ถ้าใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว สังคมจะได้รับความเป็นธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในโลกของปุถุชนคนทุกคนมีกิเลส และกิเลสที่แต่ละคนมีอยู่แตกต่างกัน ทั้งมากน้อยไม่เท่ากันด้วย จึงจำเป็นต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสอดแทรกอยู่ในกติกาทางสังคมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนของศาสนา
ดังนั้น ถ้าทุกคนในสังคมเรียนรู้และปฏิบัติตาม ก็จะทำให้การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรม และเกิดผลในทางปฏิบัติมากกว่าใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว
2. ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย เริ่มตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นใด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการปราบปรามและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายมาลงโทษ โดยการสอบสวนเพื่อหาพยานหลักฐาน และทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาส่งฟ้องต่อศาล เพื่อพิจารณาตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด
ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ต้นจนจบ มีบุคลากรเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ถ้าในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่มีคุณธรรม และจริยธรรม การบังคับใช้กฎหมายก็ถูกบิดเบือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคดีที่จำเลยมีอิทธิพลทางด้านการเงิน ทางด้านการเมือง หรือในวงราชการ ความไม่เป็นธรรมแก่โจทย์ก็เกิดขึ้นได้
ประเทศไทยมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และคำสอนของศาสนาพุทธไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้นับถือศาสนาอื่น ทั้งไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ ประกอบกับขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ถือปฏิบัติอยู่ล้วนแล้วแต่มีคำสอนของศาสนาพุทธสอดแทรกอยู่ทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงสามารถนำกติกาทางสังคมที่ว่านี้มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศได้ และคำสอนของศาสนาพุทธที่ควรจะได้นำมาใช้ก็คือ อปริหานิยธรรม 7 ของกษัตริย์วัชชี หรือวัชชีอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งหมายถึงธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับชนหรือผู้บริหารบ้านเมืองคือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรม ตามที่วางไว้เดิม
4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
5. มรรคากุลสตรี กุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของชาววัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
7. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันมิชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้างหมายถึงบรรพชิต ผู้ดำรงธรรมเป็นหลักของประชาชนทั่วไป) โดยตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มาพึงมาสู่แคว้นที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก
ทั้ง 7 ประการข้างต้นคือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีผู้ปกครองแคว้นโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 โดยนัยแห่งธรรม 7 ประการข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเน้นให้ผู้ปกครองแคว้นมีความสามัคคีต่อกัน และยึดหลัก 3 ประการคือ ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งการปกครองแว่นแคว้น
แต่ถ้าใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว สังคมจะได้รับความเป็นธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในโลกของปุถุชนคนทุกคนมีกิเลส และกิเลสที่แต่ละคนมีอยู่แตกต่างกัน ทั้งมากน้อยไม่เท่ากันด้วย จึงจำเป็นต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสอดแทรกอยู่ในกติกาทางสังคมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนของศาสนา
ดังนั้น ถ้าทุกคนในสังคมเรียนรู้และปฏิบัติตาม ก็จะทำให้การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรม และเกิดผลในทางปฏิบัติมากกว่าใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว
2. ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย เริ่มตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นใด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการปราบปรามและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายมาลงโทษ โดยการสอบสวนเพื่อหาพยานหลักฐาน และทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาส่งฟ้องต่อศาล เพื่อพิจารณาตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด
ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ต้นจนจบ มีบุคลากรเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ถ้าในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่มีคุณธรรม และจริยธรรม การบังคับใช้กฎหมายก็ถูกบิดเบือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคดีที่จำเลยมีอิทธิพลทางด้านการเงิน ทางด้านการเมือง หรือในวงราชการ ความไม่เป็นธรรมแก่โจทย์ก็เกิดขึ้นได้
ประเทศไทยมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และคำสอนของศาสนาพุทธไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้นับถือศาสนาอื่น ทั้งไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ ประกอบกับขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ถือปฏิบัติอยู่ล้วนแล้วแต่มีคำสอนของศาสนาพุทธสอดแทรกอยู่ทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงสามารถนำกติกาทางสังคมที่ว่านี้มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศได้ และคำสอนของศาสนาพุทธที่ควรจะได้นำมาใช้ก็คือ อปริหานิยธรรม 7 ของกษัตริย์วัชชี หรือวัชชีอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งหมายถึงธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับชนหรือผู้บริหารบ้านเมืองคือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรม ตามที่วางไว้เดิม
4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
5. มรรคากุลสตรี กุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของชาววัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
7. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันมิชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้างหมายถึงบรรพชิต ผู้ดำรงธรรมเป็นหลักของประชาชนทั่วไป) โดยตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มาพึงมาสู่แคว้นที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก
ทั้ง 7 ประการข้างต้นคือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีผู้ปกครองแคว้นโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 โดยนัยแห่งธรรม 7 ประการข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเน้นให้ผู้ปกครองแคว้นมีความสามัคคีต่อกัน และยึดหลัก 3 ประการคือ ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งการปกครองแว่นแคว้น