xs
xsm
sm
md
lg

ท.ทหารต้องอดทน ในยุคการเมืองอับจนนโยบาย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

การหาเสียงเลือกตั้ง วันที่ 26 มีนาคมนี้ กองทัพ โดยเฉพาะกองทัพบก ตกเป็นเป้าโจมตี ของพรรคการเมืองฝ่ายทักษิณ และอีกบางพรรคที่คิดนโยบายอะไรอะไรไม่ออก ก็ขอด่าทหารไว้ก่อน

การด่าทหารของพรรคทักษิณ นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะทหาร ทำให้ทักษิณ สูญเสียอำนาจถึงสองครั้งสองครา ทั้งๆที่ ตอนเป็นรัฐบาล ทั้งพี่ทั้งน้องก็มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาทหารอยู่ มี “ ทหารแตงโม” รายล้อมอยู่ข้างกาย แต่เมื่อประชาชนไม่เอาด้ว ยกับพฤติกรรมคอรรัปชั่น ออกกฎหมายเพื่อตัวเอง ทหารก้ต้องยืนอยู่ข้างประชาชน

ภาพลักษร์ของทหาร โดยธรรมชิต ทั้งโลก คอื ศัตรูกับประชิปไตย โดยเฉพาะประเทศไทยที่ ทหาร ยึดอำนาจรับบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และปกครองประเทศมานานกว่า 5 ปี จึงต้องมีภาพเป็นผู้ร้าย ที่ง่ายตอการปั่นกระแสโจมตี และพรคการเมืองที่อับจนนโยบายบางพรรคเอาไปหาเสียงว่า จะลดงบทหาร จะเลิกการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป้นข้อมูลที่เป้นเท็จ

กองทัพต้องอดทน กับเสียงกล่าวหา ว่าร้าย เพราะยิ่งไปตอบโต ก็จะยิ่งมีการปั่นกระแสให้เกลียดชังทหารมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุด คือ สู้กันด้วยข้อเท็จจริง อย่างรวดเร็วฉับไว ดังเช่น การชี้แจงให้สังคมเข้าใจว่า งบประมาณของกองทัพนั้น ไม่ได้สูงมากมกาย ไม่ได้สุงกว่าทุกกกระทรสวงอย่างที่พรรคทักิณกล่าวหา

โฆษก กห.ชี้แจงงบประมาณกระทรวงกลาโหมชี้งบฯ 5 ปี 1 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับงบประมาณและรายได้ประเทศที่เติบโตขึ้น ยันกระบวนการพิจารณาโปร่งใส จัดสรรตามภารกิจและขนาดกระทรวง

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ชี้แจงงบประมาณกระทรวงกลาโหมว่า กองทัพ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศทั้งในและนอก รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชาชน รวมถึงการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลเช่นแก้ปัญหาาเสพติด ตัดไม้ทำลายป่า ตรวจจับสิ่งของผิดกฎหมาย

ขนาดของกองทัพ เติบโตจากภัยคุกคามของประเทศ ในอดีตประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ จึงเพิ่มอัตรากำลังและกำลังพลมากขึ้น จึงมีการเกณฑ์ทหารเพิ่ม และผลิตบุคลากรทางด้านทหารทั้งโรงเรียนนายร้อย โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนด กองทัพจึงใหญ่ขึ้น และมีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้อง และกองทัพไม่มีอะไรแตกต่างจากกระทรวงอื่นๆ

งบประมาณของกระทรวงกลาโหมดำเนินการเหมือนกับกระทรวงอื่นๆ โดยการเสนองบประมาณ เข้าสู่การพิจารณาของสภา และมีคณะกรรมาธิการ กลั่นกรอง พิจารณา และถูกบรรจุว่า ด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นไปตามกระบวนการตามปกติ

งบประมาณด้านความมั่นคงจำแนกเป็นแต่ละกลุ่มโดยงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่มีการระบุว่า งบประมาณปีละกว่า 200,000 ล้านบาท รวม 5 ปีเป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งงบประมาณเหล่านี้เติบโตจากงบประมาณของประเทศทั้งหมด ซึ่งขณะนี้งบประมาณของประเทศอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านบาทเติบโตเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ 1 ล้านล้านบาท

หากเปรียบเทียบงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจากงบประมาณของประเทศตั้งแต่ปี 36 -41 อยู่ที่ราวร้อยละ 12.7 หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถูกตัดลดลงเหลือร้อยละ 7.6 และต่อมาที่งบประมาณของประเทศเติบโตอยู่ที่ราว 1 ล้านล้านบาท งบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็อยู่ที่ร้อยละ 7-8 มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน และในปี 2562 งบประมาณประเทศอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาทแล้ว

งบประมาณของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเหมือนกันทุกกระทรวงโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 มาโดยตลอดซึ่งเป็นสัดส่วนปกติ แต่ในปี 2540 ช่วงวิกฤต กองทัพขาดแคลนงบประมาณถึงขั้นไม่มีงบประมาณเติมน้ำมันอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งทำให้เครื่องบินเสียหายพอสมควรนักบินบางส่วนสมองไหลไปอยู่การบินไทย

หากเทียบกับการเติบโตของจีดีพีซึ่งตามแผนพัฒนาขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหม การจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 2 ของจีดีพี แต่ที่ผ่านมาได้รับการจัดสรรอยู่ที่เฉลี่ย 1.48 ซึ่งก็เพียงพอต่อการพัฒนาขีดความสามารถแต่ก็ดำเนินการได้จำกัด พร้อมเปรียบเทียบกับอีก 20 ประเทศที่ได้รับงบประมาณสูงสุด เช่น สิงคโปร์ อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของจีดีพี ขณะที่ไทยอยู่ที่อันดับ 6 ได้รับงบประมาณร้อยละ 1.4

ขณะที่การจัดหายุทโธปกรณ์ แผนพัฒนาและเสริมขีดความสามารถกองทัพ จัดสรรตามสถานการณ์ มีการประเมินในทุก 5-10 ปี ว่าจะรับมือภัยคุกคามและการรบต้องไม่แพ้และไม่เสียอำนาจอธิปไตย ซึ่งการจัดหายุทโธปกรณ์จัดหาบนความเป็นไปได้บนเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เน้นการดำรงสภาพให้อยู่ได้ ทำหน้าที่ป้องกันประเทศได้และรักษาความพร้อมในการรบด้วยในการปฏิบัติภารกิจทันทีเช่น เครื่องบินต้องพร้อมตลอดเวลา และต้องจัดหาให้ครบอัตราซึ่งทุกวันนี้ยังขาดอีกเยอะมาก และต้องทยอยจัดซื้อเพื่อให้ครบตามจำนวนมาแทนที่ยุทโธปกรณ์ที่ปลดประจำการไปแล้ว

หากเทียบกับงบประมาณกระทรวงอื่น ๆ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมอยู่ที่อันดับที่ 4 โดย อันดับ 1.กระทรวงศึกษาธิการ อันดับ 2.กระทรวงมหาดไทย อันดับ 3.กระทรวงการคลัง โดยงบประมาณจัดสรรความขนาดและภารกิจของแต่ละกระทรวง

งบประมาณที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นงบประจำเงินเดือน สิทธิตามกฎหมาย และสวัสดิการกว่าร้อยละ 49 ภารกิจพื้นฐานการฝึกและจัดหารยุทโธปกรณ์ และการสร้างอาคารสถานที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20

นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณกรรมนโยบายพรรคฯ โพสต์เฟซ บุ๊กแฟนเพจ Korn Chatikavanij เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเรื่องงบกระทรวงกลาโหม โดยระบุว่า ไม่มีเจตนาจะปกป้องหรือกล่าวหาใคร แต่หากดูจากตารางจะเห็นว่า

1. งบทหารเพิ่มขึ้น(เกือบ) ทุกปีจริง แต่ตามจริงงบทุกกระทรวงก็เพิ่มขึ้นตาม GDP ที่สูงขึ้นเหมือนกัน

2. ปีเดียวที่กล้าปรับลดงบทหารลงไปคือ ในสมัยคุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร เป็นรมว.กลาโหม)

3. หากวัดจากสัดส่วนต่อ GDP เราจะเห็นว่างบทหาร ไม่ได้ผิดปกติ และลดลงต่อเนื่องในยุค คสช.

4. แต่ละประเทศจะมีการจัดสรรงบทหารตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ของตน ปกติจะใช้วิธีเปรียบเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งจะเห็นว่ามีทั้งตํ่ากว่าและสูงกว่าเรา

การชี้แจงเรื่องงบประมารกองทัพ ของโฆษกกระทรวงกลาโหม น่าจะทำให้พรรคเพื่อทักษิณ และพรรคอื่นที่อับจนนโยบายเช่น พรรคเสรีรวมไทย พรรคอนาคตใหม่ ต้องหามุขใหม่ๆมากล่าวหาทหารต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น