xs
xsm
sm
md
lg

อยู่กับฝุ่น PM. 2.5 อย่างรู้เท่าทัน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

จนถึงวันนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังถูกปกคลุมด้วย ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน หรือ PM.2.5 ที่ดุจะหนักหนาขึ้นทุกวัน และไม่รู้ว่า เมื่อไร ฝุ่นจะจางหายไป เพราะขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ที่จะต้องมีลมพัด อากาศหมุนเวียน พาฝุ่นลอยสูงขึ้น และกระะจายออกไป

ระหว่างนี้ รัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ทำได้แค่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เท่าที่จะคิดออก ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุของฝุ่นละออง PM 2.5 นั้น ต้องใช้เวลาแก้ไข ที่สำคัญคือ ผู้รับผิดชอบต้องเอาจริง ประชาชนต้องร่วมมือ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นได้ แค่สาเหตุว่า ฝุ่นมาจากไหน ยังเถียงกันไม่รุ้จบ มีหลายทฤษฎี หลายตำรา สุดแท้แต่ว่า ใครเป้นคนให้ข้อมูล

ดังนั้น ปีหน้า และปีต่อๆไป เราก็ยังคงต้องเผชิญกับกรุงเทพ เมืองในฝุ่นกันต่อไป ประชาชนทำได้ดีที่สุด คือ ให้รู้ และป้องกันตัวเอง และคนในครอบครัว จากอันตรายของฝุ่น PM 2.5

ผศ.ดร.ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไปบรรยายเรื่อง “สถานการณ์ฝุ่น PM2.5" ให้ครู และผู้ปกครองโรงเรียนรุ่งอรุณ จึงขอเก็บความมาถ่ายทอดต่อ

แหล่งกำเนิด PM2.5 ในกรุงเทพฯที่ใหญ่มากมีสองแหล่ง คือ จากรถยนต์ (31%) และ การเผาชีวมวล ในที่โล่ง (31%)

รถยนต์เครื่องดีเซลปล่อย PM 2.5 มากกว่ รถเบนซิน โดยทั่วไปอาจจะมากกว่ากัน 100 เท่า

รูปแบบการเดินทางประจำวันของคนกรุงเทพ ใช้รถเมล์ 35 % รถส่วนตัว 56 % ในแต่ละวัน มีปริมารการสัญจรบนท้องถนน วันละ 17 ล้านเที่ยว การจาจรที่ติดขัด ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ฝุ่นจึงออกมามาก


PM2.5 มาจากทั้งควันขาว ที่เกิดจากเครื่องยนต์หลวม น้ำมันเครื่องเลยเข้าไปเผาไหม้ด้วย และควันดำคือ การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

ผลกระทบหลักของ PM2.5 มีสองประการ

1 . สะสมแล้วทำให้ปอดเล็กลง เพราะฝุ่นที่เล็กมากนี้เข้าไปลึกมากและออกมาไม่ได้ เด็กเล็กที่ปอดยังเล็กอยู่จึงเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนปอดผู้ใหญ่ถึงจะเล็กลง ก็น่าจะมีเหลือใช้หายใจต่อไปได้จนสิ้นอายุขัย

2. ที่น่ากลัวกว่า คือ สิ่งที่เกาะมาด้วยกับฝุ่นที่เป็นสารพิษ เช่น สารก่อมะเร็งในไอเสียรถยนต์ สารก่อมะเร็งในควันบุหรี่ ส่วนการเผาฟางข้าวจะไม่ค่อยมีสารพิษติดมา

AQI - Air Quality Index ดัชนีคุณภาพอากาศ
0-50 = Good ดีกับทุกคน
51-100 = Moderate คนปกติพอรับได้ แต่อาจมีปัญหากับคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ ต้องระวัง
101-150 =Unhealthy for Sensitive Groups คนทั่วไปไม่ค่อยมีผลกระทบ จะมีผลต่อผู้มีปัญหาทา
เดินหายใจ ดังนั้น ไม่ควรนมีกิจกรรมออกแรงนอกบ้านานาๆ
150-200 = Unhealthy เริ่มมีปัญหากับทุกคน ควรงดกิจกรรมออกแรงนานๆนอกบ้าน โดยเฉพาะผู้มีปัญหาทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงเสียดีกว่า
201-300 = Very Unhealthy มีสัญยาณเตือนภัยให้กับทุกคนแล้ว
> 300 = Hazardous อันตราย หลีกหนีโดยด่วน

เครื่องวัดค่า PM2.5 ควรวัดค่าเปรียบเทียบว่าต่างจากของที่ได้มาตรฐานมากน้อยแค่ไหน เพราะเครื่องที่ใช้มาก จะเริ่มสกปรกจากฝุ่นที่สะสมข้างใน ความแม่นยำจะลดลง

ให้ดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าที่อ่านได้ มากกว่าผลของการอ่านค่าแต่ละครั้ง เช่น ถ้าอ่านได้ 70 บ้าง 50 บ้างก็ไม่ต่างกันเท่าไร (ห่างกัน 10 micron กว่าๆไม่ค่อยแตกต่างกันมาก) แต่ถ้าจาก 70 กระโดดไป 100 ก็เริ่มระวังว่าแนวโน้มไม่ดีแล้ว

ถ้าข้างนอกอาคารมลพิษสูง ข้างในอาคารที่มิดชิดจะดีกว่า แต่ถ้าเปิดหน้าต่างหมด ข้างในข้างนอกก็มีมลพิษเท่ากัน แต่ข้อเสียของการปิดมิดชิดคือ คาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้น

ถ้าค่า PM2.5 สูงก็เข้ามาอยู่ในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศ หลัง 9 โมงเช้า ส่วนใหญ่ลดแล้ว ค่า 20-50 ยอมรับได้ ถ้า 70-80 ก็เริ่มใส่หน้ากาก

รถที่จอดแล้วติดเครื่องทิ้งไว้นานก่อให้เกิดฝุ่นมาก

ต้นไม้กัน PM2.5 ไม่ได้มากเพราะฝุ่นเล็กมากจนผ่านช่องว่างระหว่างใบได้สบาย ต้นไม้ในเมืองมีประโยชน์อย่างอื่น เช่น กันฝุ่นใหญ่และดูดคาร์บอนไดออกไซด์เปลี่ยนเป็นออกซิเจน

วิธีกำจัดฝุ่นหลักๆมี 3 ประการ
1 พ่นน้ำแต่ต้องมากพอและพื้นที่ต้องจำกัด
2 ใช้แผ่นกรองอากาศ เหมาะกับบ้าน เรือน เพราะเปลี่ยนแผ่นกรองง่าย สกปรกก็ทิ้งได้เลย อันตรายน้อยเพราะมลพิษในฝุ่นที่จับอยู่ในแผ่นกรอง มีขนาดเล็ก รวมกันแล้วจึงมีจำนวนน้อย
(3) ไฟฟ้า ต้องใช้ voltage สูงมากถึงจะได้ผลดี มักใช้ตามโรงงาน
โปรย -
แหล่งกำเนิด PM2.5 ในกรุงเทพฯที่ใหญ่มากมีสองแหล่ง คือ จากรถยนต์ (31%) และ การเผาชีวมวล ในที่โล่ง (31%)
รถยนต์เครื่องดีเซลปล่อย PM 2.5 มากกว่ รถเบนซิน โดยทั่วไปอาจจะมากกว่ากัน 100 เท่า
รูปแบบการเดินทางประจำวันของคนกรุงเทพ ใช้รถเมล์ 35 % รถส่วนตัว 56 % ในแต่ละวัน มีปริมารการสัญจรบนท้องถนน วันละ 17 ล้านเที่ยว การจาจรที่ติดขัด ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ฝุ่นจึงออกมามาก
PM2.5 มาจากทั้งควันขาว ที่เกิดจากเครื่องยนต์หลวม น้ำมันเครื่องเลยเข้าไปเผาไหม้ด้วย และควันดำคือ การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์


กำลังโหลดความคิดเห็น