วานนี้ ( 28 ม.ค.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมาเลขาธิการ กกต. นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการ กกต. พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารสถานีวิทยุ โทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนการจัดสรรเวลาออกอากาศให้แก่พรรคการเมืองโดยนายแสวง กล่าวว่า ขณะนี้มีพรรคการเมืองทั้งสิ้น 105 พรรค แต่มีพรรคที่มีคุณสมบัติ สามารถส่งผู้สมัครได้แล้วในขณะนี้ 36 พรรค ซึ่งกม.กำหนดให้รัฐ จัดสรรเวลาออกอากาศให้กับพรรคการเมืองอย่างเท่าเทียม ทางกกต.จึงอยากขอความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ของรัฐ และสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ในการจัดสรรเวลาออกอากาศ โดย 1 วัน ขอเวลา 60 นาที ระหว่าง วันที่ 8 –21 มี.ค.รวม 10 วัน โดย 5 วันแรก เป็นการออกอากาศสปอตโฆษณาของพรรคการเมือง พรรคละ 10 นาที ส่วน 5 วันถัดมา เป็นการออกอากาศเทปการประชันนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งทั้ง 2 กรณี พรรคจะรับผิดชอบจัดทำสปอต ส่วนกกต.จะจัดทำในเรื่องของเวทีดีเบต โดยจะตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และนำส่งให้ทางสถานีไปเผยแพร่ ซึ่งทางสถานี สามารถเลือกเผยแพร่ได้ ในช่วงเวลา 06.00 –24.00น. โดยไม่จำเป็นต้องเผยแพร่ในช่วงเวลาเดียวกัน
ส่วนทางสถานีจะสามารถจัดเวทีดีเบตได้เอง หรือจัดรายการวิเคราะห์การเมืองได้หรือไม่นั้น นายแสวง ยืนยันว่า การทำหน้าที่ขอสื่อ ยังคงทำได้ตามปกติ แต่การจะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาดีเบต หรือ เสนอข่าว ขอให้คำนึงถึงความเท่าเทียม และจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย หากให้น้ำหนักกับพรรคใดพรรคหนึ่ง อาจถูกร้องเรียนได้
ส่วนในเรื่องของสถานะพรรคการเมือง ที่มีความพร้อมในการส่งลงสมัคร ขณะนี้จากข้อมูล ณ วันที่ 25 ม.ค. มีพรรคที่พร้อมส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว 36 พรรค แยกเป็นพรรคการเมือง ที่จดทะเบียนตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2550 ที่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ใน 4 เรื่อง คือ การมีทุนประเดิม 1 ล้านบาท จัดให้มีสมาชิก 500 คน ประชุมใหญ่แก้ไขข้อบังคับพรรค และประชุมเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ครบถ้วน รวมทั้งจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแล้ว จำนวน 14 พรรค ประกอบด้วย พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย ชาติไทยพัฒนา เสรีรวมไทย ไทยรักษาชาติ เพื่อชาติ พลังท้องถิ่นไท ประชาธิปัตย์ ประชาธิปไตยใหม่ ภูมิใจไทย เพื่อธรรม เพื่อไทย พลังไทยรักชาติ ชาติพัฒนา และพรรคเพื่อสหกรณ์ไทย
ขณะที่พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ซึ่งดำเนินการเพียงเรื่องการจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแล้ว ก็สามารถส่งผู้สมัครได้ มีทั้งสิ้น 22 พรรค ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ ประชาชนปฏิรูป อนาคตใหม่ ทางเลือกใหม่ พลังไทสร้างชาติ ประชาภิวัฒน์ ประชาชาติ พลังธรรมใหม่ เพื่อนไทย รวมใจไทย ไทยธรรม เพื่อคนไทย รวมพลังประชาชาติไทย แผ่นดินธรรม พลังแผ่นดินทอง ไทยรุ่งเรือง พลังชาติไทย พลังแรงงานไทย ประชานิยม เศรษฐกิจใหม่ พลังปวงชนไทยและ ประชาธรรมไทย
ทั้งนี้มีรายงานว่าในจำนวน 36 พรรค ที่แจ้งการจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดมายัง กกต.นั้นมีเพียง 3 พรรคการเมืองคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคทวงคืนผืนป่า และ พรรคเสรีรวมไทย เท่านั้น ที่ขณะนี้มียอดรวมการจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัดครบใน 77 จว. อย่างไรก็ตามตามพ.ร.ป.พรรคการเมือง 60 มาตรา 145 กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองใดได้จัดตั้งสาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดให้พรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครได้ทุกเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้น ดังนั้นถ้าพรรคการเมืองใดไม่ประสงค์จะส่งผู้สมัครครบ 350 เขตใน 77 จังหวัด ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งสาขาพรรคหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดครบทั้ง 77 จังหวัด
ส่วนทางสถานีจะสามารถจัดเวทีดีเบตได้เอง หรือจัดรายการวิเคราะห์การเมืองได้หรือไม่นั้น นายแสวง ยืนยันว่า การทำหน้าที่ขอสื่อ ยังคงทำได้ตามปกติ แต่การจะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาดีเบต หรือ เสนอข่าว ขอให้คำนึงถึงความเท่าเทียม และจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย หากให้น้ำหนักกับพรรคใดพรรคหนึ่ง อาจถูกร้องเรียนได้
ส่วนในเรื่องของสถานะพรรคการเมือง ที่มีความพร้อมในการส่งลงสมัคร ขณะนี้จากข้อมูล ณ วันที่ 25 ม.ค. มีพรรคที่พร้อมส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว 36 พรรค แยกเป็นพรรคการเมือง ที่จดทะเบียนตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2550 ที่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ใน 4 เรื่อง คือ การมีทุนประเดิม 1 ล้านบาท จัดให้มีสมาชิก 500 คน ประชุมใหญ่แก้ไขข้อบังคับพรรค และประชุมเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ครบถ้วน รวมทั้งจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแล้ว จำนวน 14 พรรค ประกอบด้วย พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย ชาติไทยพัฒนา เสรีรวมไทย ไทยรักษาชาติ เพื่อชาติ พลังท้องถิ่นไท ประชาธิปัตย์ ประชาธิปไตยใหม่ ภูมิใจไทย เพื่อธรรม เพื่อไทย พลังไทยรักชาติ ชาติพัฒนา และพรรคเพื่อสหกรณ์ไทย
ขณะที่พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ซึ่งดำเนินการเพียงเรื่องการจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแล้ว ก็สามารถส่งผู้สมัครได้ มีทั้งสิ้น 22 พรรค ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ ประชาชนปฏิรูป อนาคตใหม่ ทางเลือกใหม่ พลังไทสร้างชาติ ประชาภิวัฒน์ ประชาชาติ พลังธรรมใหม่ เพื่อนไทย รวมใจไทย ไทยธรรม เพื่อคนไทย รวมพลังประชาชาติไทย แผ่นดินธรรม พลังแผ่นดินทอง ไทยรุ่งเรือง พลังชาติไทย พลังแรงงานไทย ประชานิยม เศรษฐกิจใหม่ พลังปวงชนไทยและ ประชาธรรมไทย
ทั้งนี้มีรายงานว่าในจำนวน 36 พรรค ที่แจ้งการจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดมายัง กกต.นั้นมีเพียง 3 พรรคการเมืองคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคทวงคืนผืนป่า และ พรรคเสรีรวมไทย เท่านั้น ที่ขณะนี้มียอดรวมการจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัดครบใน 77 จว. อย่างไรก็ตามตามพ.ร.ป.พรรคการเมือง 60 มาตรา 145 กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองใดได้จัดตั้งสาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดให้พรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครได้ทุกเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้น ดังนั้นถ้าพรรคการเมืองใดไม่ประสงค์จะส่งผู้สมัครครบ 350 เขตใน 77 จังหวัด ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งสาขาพรรคหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดครบทั้ง 77 จังหวัด