เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความวิตกกังวลใจของพี่น้องภาคใต้ต่อกรณีพายุ “ปาบึก” ผมได้นำบทวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกมาเล่าให้ฟังว่า ถ้าอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว ความถี่ในการเกิดพายุโซนร้อนระดับรุนแรงมาก (ในบางบริเวณ) จะเพิ่มขึ้นถึง 45-87% มันเป็นผลสรุปที่น่ากลัวมากนะครับ
ย้อนหลังไปอีกหนึ่งเดือน (ต้นธันวาคม 2561) ก่อนการประชุมสหประชาชาติที่เรียกว่า COP24 ไม่กี่วัน ผู้แทนจาก 190 ประเทศทั่วโลกได้แสดงความกังวลต่อผลการพยากรณ์ใหม่ว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมในปี 2561 กลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งๆ ที่ได้มีข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2558 ว่าจะช่วยกันลดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยต้องไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และหากเป็นไปได้จะไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสด้วยซ้ำ
ถ้าพูดกันตามภาษาบ้านๆ ก็น่าจะสะท้อนได้ว่า ผู้แทนประเทศเหล่านั้นน่าจะทั้งรู้สึกกังวลใจและรู้สึกเสียหน้าปนๆ กันอยู่
เรามาดูข้อมูลกันก่อนครับดังภาพซึ่งเราจะเห็นว่า ในช่วง 2014-2016 การปล่อยก๊าซฯ ทั้งโลกค่อนข้างจะคงที่แล้ว ทำให้หลายคนรู้สึกดีใจมากเพราะความพยายามก่อนหน้านี้หลายสิบปีได้ล้มเหลวมาตลอด แต่แล้วในปี 2017 กลับเพิ่มขึ้น 1.7% และในปี 2018 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 2.7% ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดในคำอธิบาย แต่ท่านที่สนใจสามารถดูได้จากภาพนะครับ

ถ้าจำแนกเป็นประเภทเชื้อเพลิงที่เป็นต้นเหตุ จะพบว่าในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีการปล่อยก๊าซฯ ต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลกและมากเป็นประมาณ 3 เท่าของคนไทย) มีการปล่อยในภาคถ่านหินลดลงค่อนข้างชัดเจนในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา แต่มีการเพิ่มในการใช้น้ำมัน (ดูภาพถัดไป ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยเราปล่อยมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก)

ผมมีข้อมูลสำคัญ 3 ประเด็นสั้นๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่มากๆ ที่จะนำเสนอในที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านและภาคประชาสังคมได้นำไปร่วมกันขบคิดหรือเผยแพร่ต่อไปครับ
หนึ่ง นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผลการพยากรณ์จาก 37 แบบจำลอง (หรือ 37 สำนักวิชาการ) ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันว่า อุณหภูมิของโลกได้ร้อนขึ้นเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยพยากรณ์ไว้ถึง 10 ปี กล่าวคือ ที่เคยพยากรณ์ไว้ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2040 นั้น พบว่าจะเกิดขึ้นในปี 2030 หรือในอีก 11 ปีข้างหน้าเท่านั้นเอง

นี่ขนาดอุณหภูมิสูงขึ้นแค่ 0.86 องศาเซลเซียสเท่านั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติยังรุนแรงขนาดนี้ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง ไฟป่า น้ำทะเลเป็นกรด ฯลฯ แล้วถ้ามันถึง 1.5 องศาเซลเซียสแล้วมันจะรุนแรงขนาดไหน
สอง นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนมานานแล้วว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสแล้ว ร้อยละ 99 ของปะการังทั้งโลกจะตาย ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้มีให้เราเห็นบ้างแล้วในแถบอันดามันในบ้านเราเอง ซึ่งได้เสียหายรุนแรงจากภาวะฟอกขาวไปแล้ว(แต่ไม่ได้บอกว่าตาย) ถึง 90% แต่โชคดีที่มีการฟื้นตัว (https://news.thaipbs.or.th/content/269306)

ปะการังไม่ใช่เป็นเพียงแค่แหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น แต่มันคือแหล่งเพาะพันธุ์และบ้านที่อาศัยของสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนหลักของมนุษย์ด้วย
นอกจากนี้เมื่อโลกร้อนขึ้น การแพร่พันธุ์ของยุงนานาชนิดจะเข้าไปอาศัยในเขตที่เคยหนาวซึ่งไม่ค่อยมียุงรวมถึงการแพร่ของเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอีกด้วย
สาม ถ้ามนุษย์ต้องการจะให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 1.7 องศาเซลเซียสในปี 2100 ให้ได้จริงๆ ก็จะต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ ลงโดยเร็ว ตามรายละเอียดในรูปครับ

คือต้องลดลงให้เหลือเพียงประมาณ 30 ล้านล้านตัน หรือเหลือ 80% ของปี 2018 จากนั้นก็ต้องลดลงอีกจนกระทั่งต้องหยุดการปล่อยทั้งหมดในปี 2080 หลังจากนั้นก็ต้องมีการดูดซับด้วยกระบวนการของธรรมชาติล้วนๆ อีก 20 ปี อุณหภูมิจึงจะลดลงมาเหลือระดับ 1.7 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 2 เท่าของปีที่แล้ว
คำถามก็คือ มนุษย์จะทำได้ไหม ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณภาพชีวิตและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ด้อยไปกว่าในสภาพปัจจุบันนี้
ผมขอตอบด้วยความมั่นใจเป็นอย่างมากว่า ถ้าในเชิงเทคโนโลยีและต้นทุนแล้ว มนุษย์สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ต้องรอถึงอนาคต วันนี้เวลานี้ก็สามารถทำได้แล้วเกือบทุกพื้นที่ของโลก ทั้งหมดนี้จึงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเท่านั้นเอง
ในความเห็นของผมในกรณีนี้ มนุษย์เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วครับ นอกจาก 2 ทางเท่านั้น คือ Do or Die หรือจะยอมแก้ไขหรือจะยอมตายเท่านั้นเอง
เขียนมาถึงตอนนี้ ขออนุญาตเล่าเรื่องการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (COP24) ที่ประเทศโปแลนด์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มันช่างอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับที่ผมได้สรุปมาครับ
เรื่องที่ว่านี้คือข้อเสนอของอดีตประธานาธิบดีประเทศมัลดีฟส์(คุณ Mohamed Nasheed) ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ และเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ประเทศนี้มีสภาพพื้นดินต่ำ เหนือกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย (มีประชากร 4.2 แสนคน มีพื้นที่ไม่ถึง 1 ใน 3 ของทะเลสาบสงขลา) ผู้แทนประเทศที่เชื่อกันว่าจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นอันดับแรกๆ ของโลก ได้ขึ้นกล่าวในเวทีด้วยประโยคที่ทำให้ที่ประชุมต้องสะเทือนใจมากๆ
“เราไม่พร้อมที่จะตาย (We are not prepared to die.) และชาวมัลดีฟส์ไม่ประสงค์ที่จะตาย เราจะไม่ยอมเป็นเหยื่อรายแรกของภาวะวิกฤตทางภูมิอากาศ ในทางตรงกันข้าม เรากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในอำนาจของเราเพื่อให้เราอยู่รอด...แต่เราไม่อาจชนะในการต่อสู้ เพราะครึ่งหนึ่งของปัญหาคือเรายังคงต้องร้องขอให้ผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่หยุดการปล่อยบนพื้นฐานของจริยธรรม แต่พวกเขาไม่ได้ยินเสียงร้องของพวกเรา พวกเขาไม่เคยฟัง ฉะนั้น แทนที่จะขอให้พวกเขาลด เราอาจจะเรียกร้องให้มีการเพิ่ม คือเพิ่มการลงทุนในพลังงานที่สะอาด”
เป็นไงครับ?
ย้อนหลังไปอีกหนึ่งเดือน (ต้นธันวาคม 2561) ก่อนการประชุมสหประชาชาติที่เรียกว่า COP24 ไม่กี่วัน ผู้แทนจาก 190 ประเทศทั่วโลกได้แสดงความกังวลต่อผลการพยากรณ์ใหม่ว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมในปี 2561 กลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งๆ ที่ได้มีข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2558 ว่าจะช่วยกันลดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยต้องไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และหากเป็นไปได้จะไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสด้วยซ้ำ
ถ้าพูดกันตามภาษาบ้านๆ ก็น่าจะสะท้อนได้ว่า ผู้แทนประเทศเหล่านั้นน่าจะทั้งรู้สึกกังวลใจและรู้สึกเสียหน้าปนๆ กันอยู่
เรามาดูข้อมูลกันก่อนครับดังภาพซึ่งเราจะเห็นว่า ในช่วง 2014-2016 การปล่อยก๊าซฯ ทั้งโลกค่อนข้างจะคงที่แล้ว ทำให้หลายคนรู้สึกดีใจมากเพราะความพยายามก่อนหน้านี้หลายสิบปีได้ล้มเหลวมาตลอด แต่แล้วในปี 2017 กลับเพิ่มขึ้น 1.7% และในปี 2018 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 2.7% ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดในคำอธิบาย แต่ท่านที่สนใจสามารถดูได้จากภาพนะครับ
ถ้าจำแนกเป็นประเภทเชื้อเพลิงที่เป็นต้นเหตุ จะพบว่าในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีการปล่อยก๊าซฯ ต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลกและมากเป็นประมาณ 3 เท่าของคนไทย) มีการปล่อยในภาคถ่านหินลดลงค่อนข้างชัดเจนในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา แต่มีการเพิ่มในการใช้น้ำมัน (ดูภาพถัดไป ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยเราปล่อยมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก)
ผมมีข้อมูลสำคัญ 3 ประเด็นสั้นๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่มากๆ ที่จะนำเสนอในที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านและภาคประชาสังคมได้นำไปร่วมกันขบคิดหรือเผยแพร่ต่อไปครับ
หนึ่ง นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผลการพยากรณ์จาก 37 แบบจำลอง (หรือ 37 สำนักวิชาการ) ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันว่า อุณหภูมิของโลกได้ร้อนขึ้นเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยพยากรณ์ไว้ถึง 10 ปี กล่าวคือ ที่เคยพยากรณ์ไว้ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2040 นั้น พบว่าจะเกิดขึ้นในปี 2030 หรือในอีก 11 ปีข้างหน้าเท่านั้นเอง
นี่ขนาดอุณหภูมิสูงขึ้นแค่ 0.86 องศาเซลเซียสเท่านั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติยังรุนแรงขนาดนี้ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง ไฟป่า น้ำทะเลเป็นกรด ฯลฯ แล้วถ้ามันถึง 1.5 องศาเซลเซียสแล้วมันจะรุนแรงขนาดไหน
สอง นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนมานานแล้วว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสแล้ว ร้อยละ 99 ของปะการังทั้งโลกจะตาย ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้มีให้เราเห็นบ้างแล้วในแถบอันดามันในบ้านเราเอง ซึ่งได้เสียหายรุนแรงจากภาวะฟอกขาวไปแล้ว(แต่ไม่ได้บอกว่าตาย) ถึง 90% แต่โชคดีที่มีการฟื้นตัว (https://news.thaipbs.or.th/content/269306)
ปะการังไม่ใช่เป็นเพียงแค่แหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น แต่มันคือแหล่งเพาะพันธุ์และบ้านที่อาศัยของสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนหลักของมนุษย์ด้วย
นอกจากนี้เมื่อโลกร้อนขึ้น การแพร่พันธุ์ของยุงนานาชนิดจะเข้าไปอาศัยในเขตที่เคยหนาวซึ่งไม่ค่อยมียุงรวมถึงการแพร่ของเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอีกด้วย
สาม ถ้ามนุษย์ต้องการจะให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 1.7 องศาเซลเซียสในปี 2100 ให้ได้จริงๆ ก็จะต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ ลงโดยเร็ว ตามรายละเอียดในรูปครับ
คือต้องลดลงให้เหลือเพียงประมาณ 30 ล้านล้านตัน หรือเหลือ 80% ของปี 2018 จากนั้นก็ต้องลดลงอีกจนกระทั่งต้องหยุดการปล่อยทั้งหมดในปี 2080 หลังจากนั้นก็ต้องมีการดูดซับด้วยกระบวนการของธรรมชาติล้วนๆ อีก 20 ปี อุณหภูมิจึงจะลดลงมาเหลือระดับ 1.7 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 2 เท่าของปีที่แล้ว
คำถามก็คือ มนุษย์จะทำได้ไหม ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณภาพชีวิตและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ด้อยไปกว่าในสภาพปัจจุบันนี้
ผมขอตอบด้วยความมั่นใจเป็นอย่างมากว่า ถ้าในเชิงเทคโนโลยีและต้นทุนแล้ว มนุษย์สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ต้องรอถึงอนาคต วันนี้เวลานี้ก็สามารถทำได้แล้วเกือบทุกพื้นที่ของโลก ทั้งหมดนี้จึงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเท่านั้นเอง
ในความเห็นของผมในกรณีนี้ มนุษย์เราไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วครับ นอกจาก 2 ทางเท่านั้น คือ Do or Die หรือจะยอมแก้ไขหรือจะยอมตายเท่านั้นเอง
เขียนมาถึงตอนนี้ ขออนุญาตเล่าเรื่องการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (COP24) ที่ประเทศโปแลนด์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มันช่างอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับที่ผมได้สรุปมาครับ
เรื่องที่ว่านี้คือข้อเสนอของอดีตประธานาธิบดีประเทศมัลดีฟส์(คุณ Mohamed Nasheed) ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ และเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ประเทศนี้มีสภาพพื้นดินต่ำ เหนือกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย (มีประชากร 4.2 แสนคน มีพื้นที่ไม่ถึง 1 ใน 3 ของทะเลสาบสงขลา) ผู้แทนประเทศที่เชื่อกันว่าจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นอันดับแรกๆ ของโลก ได้ขึ้นกล่าวในเวทีด้วยประโยคที่ทำให้ที่ประชุมต้องสะเทือนใจมากๆ
“เราไม่พร้อมที่จะตาย (We are not prepared to die.) และชาวมัลดีฟส์ไม่ประสงค์ที่จะตาย เราจะไม่ยอมเป็นเหยื่อรายแรกของภาวะวิกฤตทางภูมิอากาศ ในทางตรงกันข้าม เรากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในอำนาจของเราเพื่อให้เราอยู่รอด...แต่เราไม่อาจชนะในการต่อสู้ เพราะครึ่งหนึ่งของปัญหาคือเรายังคงต้องร้องขอให้ผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่หยุดการปล่อยบนพื้นฐานของจริยธรรม แต่พวกเขาไม่ได้ยินเสียงร้องของพวกเรา พวกเขาไม่เคยฟัง ฉะนั้น แทนที่จะขอให้พวกเขาลด เราอาจจะเรียกร้องให้มีการเพิ่ม คือเพิ่มการลงทุนในพลังงานที่สะอาด”
เป็นไงครับ?