ผู้จัดการรายวัน360-"สนธิรัตน์"แก้เกมโรงพยาบาลเอกชนโขกค่ายา ค่ารักษาแพง ดัน "ยาและเวชภัณฑ์และค่าบริการ" เป็นสินค้าและบริการควบคุม เตรียมชง กกร. อนุมัติ 9 ม.ค.62 เผยหลังควบคุมแล้ว จะทำให้มีมาตรการดูแลได้ดีขึ้น พร้อมเข้าไปดูเรื่องค่ารักษากรณีฉุกเฉิน หลังพ้น 72 ชั่วโมง หลังได้รับร้องเรียนไม่แพ้กัน
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบริษัทประกันภัย เพื่อหาแนวทางกำกับดูแลค่ารักษาพยาบาลว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะนำยาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการของโรงพยาบาล เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม เพื่อให้สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายในการดูแลประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับค่ายา ค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพง และยังได้ให้ดูไปถึงการดูแลค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะต้องคิดในราคาที่เป็นธรรมด้วย
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จะมีการนำเสนอยาและเวชภัณฑ์ และค่าบริการของโรงพยาบาล เช่น ค่าห้องพักฟื้น ค่าอาหาร ค่าเอ็กซ์เรย์ ค่าดูแลผู้ป่วย เป็นต้น เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม โดยจะนำเสนอที่ประชุม กกร. ที่มี รมว.พาณิชย์ เป็นประธานในวันที่ 9 ม.ค.2562 ส่วนมาตรการที่จะนำมาใช้ เช่น การให้แจ้งต้นทุน การกำหนดส่วนต่างค่ายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงค่าบริการ ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีกครั้งภายใต้คณะอนุกรรมการ ที่จะมีการเสนอให้จัดตั้งขึ้นในการประชุม กกร. ด้วย
"การเสนอให้เป็นสินค้าและบริการควบคุม จะทำให้มีมาตรการดูแลได้ดีขึ้น เพราะเดิมยาก็เป็นสินค้าควบคุมอยู่แล้ว แต่ไม่รวมเวชภัณฑ์ และค่าบริการ จึงเสนอควบคุมให้ครอบคลุม และเมื่อเป็นสินค้าและบริการควบคุมแล้ว ก็จะใช้มาตรการดูแลได้ อย่างยา ควรจะมีเพดานกำไรได้กี่เปอร์เซ็นต์ ค่าบริการก็เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะเข้ามาร่วมกันกำหนดอีกครั้ง"
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปที่จะเข้าไปดูแลค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ปัจจุบันแม้ผู้ป่วยจะได้รับสิทธิพิเศษภายใน 72 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากผ่าน 72 ชั่วโมง หรือหลังจาก 3 วันไปแล้ว โรงพยาบาลจะมีการคิดค่าบริการ จึงต้องมีการกำหนดอัตราการคิดค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมว่าจะดูแลอย่างไรไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนเพิ่มขึ้น
ส่วนค่าบริการทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่าค่าหมอ ต้องไปดูว่ากฎหมายสภาวิชาชีพกำหนดเอาไว้ว่ายังไง ถ้ามีการกำหนดระเบียบเอาไว้ ก็ให้เป็นหน้าที่ของสภาวิชาชีพที่จะเข้ามาดูแล แต่ถ้าไม่มีกำหนดไว้ ก็ต้องนำมาพิจารณาให้เหมาะสม
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มาตรการกำหนดราคาเพดานกำไรที่จะใช้บวกจากต้นทุนราคายาและเวชภัณฑ์ ทางมูลนิธิฯ เห็นด้วย เพราะทำให้ดูแลค่ายาและเวชภัณฑ์ได้ดีขึ้น แต่ควรจะขยายไปยังเวชภัณฑ์รายการอื่นๆ ที่คนใช้มากด้วย เช่น ข้อเข่าเทียม สายสวนหัวใจ เป็นต้น และในเรื่องค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลังผ่านพ้น 72 ชั่งโมงไปแล้ว ต้องการให้ทางโรงพยาบาลเอกชนกำหนดเป็นราคาเดียว ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเคสสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง จนกว่าจะออกจากโรงพยาบาล เพื่อไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับผู้ป่วย
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบริษัทประกันภัย เพื่อหาแนวทางกำกับดูแลค่ารักษาพยาบาลว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะนำยาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการของโรงพยาบาล เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม เพื่อให้สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายในการดูแลประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับค่ายา ค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพง และยังได้ให้ดูไปถึงการดูแลค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะต้องคิดในราคาที่เป็นธรรมด้วย
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จะมีการนำเสนอยาและเวชภัณฑ์ และค่าบริการของโรงพยาบาล เช่น ค่าห้องพักฟื้น ค่าอาหาร ค่าเอ็กซ์เรย์ ค่าดูแลผู้ป่วย เป็นต้น เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม โดยจะนำเสนอที่ประชุม กกร. ที่มี รมว.พาณิชย์ เป็นประธานในวันที่ 9 ม.ค.2562 ส่วนมาตรการที่จะนำมาใช้ เช่น การให้แจ้งต้นทุน การกำหนดส่วนต่างค่ายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงค่าบริการ ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีกครั้งภายใต้คณะอนุกรรมการ ที่จะมีการเสนอให้จัดตั้งขึ้นในการประชุม กกร. ด้วย
"การเสนอให้เป็นสินค้าและบริการควบคุม จะทำให้มีมาตรการดูแลได้ดีขึ้น เพราะเดิมยาก็เป็นสินค้าควบคุมอยู่แล้ว แต่ไม่รวมเวชภัณฑ์ และค่าบริการ จึงเสนอควบคุมให้ครอบคลุม และเมื่อเป็นสินค้าและบริการควบคุมแล้ว ก็จะใช้มาตรการดูแลได้ อย่างยา ควรจะมีเพดานกำไรได้กี่เปอร์เซ็นต์ ค่าบริการก็เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะเข้ามาร่วมกันกำหนดอีกครั้ง"
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปที่จะเข้าไปดูแลค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ปัจจุบันแม้ผู้ป่วยจะได้รับสิทธิพิเศษภายใน 72 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากผ่าน 72 ชั่วโมง หรือหลังจาก 3 วันไปแล้ว โรงพยาบาลจะมีการคิดค่าบริการ จึงต้องมีการกำหนดอัตราการคิดค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมว่าจะดูแลอย่างไรไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนเพิ่มขึ้น
ส่วนค่าบริการทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่าค่าหมอ ต้องไปดูว่ากฎหมายสภาวิชาชีพกำหนดเอาไว้ว่ายังไง ถ้ามีการกำหนดระเบียบเอาไว้ ก็ให้เป็นหน้าที่ของสภาวิชาชีพที่จะเข้ามาดูแล แต่ถ้าไม่มีกำหนดไว้ ก็ต้องนำมาพิจารณาให้เหมาะสม
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มาตรการกำหนดราคาเพดานกำไรที่จะใช้บวกจากต้นทุนราคายาและเวชภัณฑ์ ทางมูลนิธิฯ เห็นด้วย เพราะทำให้ดูแลค่ายาและเวชภัณฑ์ได้ดีขึ้น แต่ควรจะขยายไปยังเวชภัณฑ์รายการอื่นๆ ที่คนใช้มากด้วย เช่น ข้อเข่าเทียม สายสวนหัวใจ เป็นต้น และในเรื่องค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลังผ่านพ้น 72 ชั่งโมงไปแล้ว ต้องการให้ทางโรงพยาบาลเอกชนกำหนดเป็นราคาเดียว ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเคสสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง จนกว่าจะออกจากโรงพยาบาล เพื่อไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับผู้ป่วย