ทั้งๆ ที่ประเทศเรากำลังจะมีการเลือกตั้งในอีก 2 เดือนข้างหน้า แต่คนไทยเรายังไม่ได้เห็นนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองเลย ในขณะที่ประเทศออสเตรเลียซึ่งจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า พรรคแรงงาน (ขณะนี้เป็นฝ่ายค้าน) ได้ชูนโยบายของพรรคในบางประเด็นเรียบร้อยแล้ว
ปัญหาความล่าช้าในเรื่องนโยบายดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากรัฐบาล คสช.ที่ปิดกั้นไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมใดๆ และพยายามทำทุกอย่างให้เบลอๆ มัวๆ เพื่อให้ประชาชนสับสน เช่น เบอร์ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคในแต่ละเขตไม่เหมือนกัน เป็นต้น แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือความไม่ชัดเจนและไม่เข้มแข็งของพรรคการเมืองในบ้านเราด้วย
ในบทความนี้ ผมจะนำเรื่องนโยบายพลังงานที่ผมสนใจของพรรคแรงงานออสเตรเลีย (Australian Labor Party) คือเรื่องพลังงานหมุนเวียนมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าใจร้อนก็ดูข้อสรุปในแผ่นภาพก่อนได้ครับ

ในปี 2019 ในออสเตรเลียจะมีการเลือกตั้งใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรก (กลางปี) จะเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจำนวนครึ่งหนึ่ง ครั้งที่สอง (พฤศจิกายน) จะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสภาจำนวน 150 คนในจำนวนนี้ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคแรงงานจำนวน 69 คน โดยมีนาย Bill Shorten เป็นผู้นำฝ่ายค้านหรือนายกรัฐมนตรีเงา
“โครงการแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือนของพรรคแรงงาน” ได้ประกาศว่า “จะสนับสนุนด้วยการจ่ายเงินคืนให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า $180,000 ต่อปี ครอบครัวละ $2,000 เพื่อซื้อและติดตั้งแบตเตอรี่จำนวนปีละ 1 แสนครอบครัว” (หมายเหตุ ไม่มีรายละเอียดว่าแบตเตอรี่ราคาเท่าใด ไม่แน่ใจว่าเป็นดอลลาร์ออสเตรเลียหรือไม่ $1ออสเตรเลีย = 23.57 บาท โดยที่รายได้เฉลี่ยของชาวออสเตรเลียเท่ากับ 51,360 USDต่อปี) โดยที่มีเป้าหมายดังกล่าวให้ได้จำนวน 1 ล้านครัวเรือนภายในปี 2025 (หมายเหตุ ประเทศออสเตรเลียมีประชากร 24.6 ล้านคน น่าจะประมาณ 9 ล้านครัวเรือน)
หน่วยงานที่ชื่อว่า Smart Energy Council ได้คาดการณ์ว่า โครงการนี้จะทำให้บิลค่าไฟฟ้าของครัวเรือนลดลงกว่า 60%
รัฐบาลออสเตรเลียชุดปัจจุบันได้เคยประกาศในข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 26-28% เมื่อเทียบกับของปี 2005 ภายในปี 2030 แต่หัวหน้าพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบันได้ประกาศแบบเกทับว่า ถ้าพรรคของตนได้เป็นรัฐบาลจะเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกลงถึง 45% ภายในปี 2030โดยจะมีการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 10,000 ล้านดอลลาร์
นอกจากนี้หัวหน้าพรรคแรงงานยังได้โต้เถียงในประเด็นเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าว่า “การติดตั้งแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นจะเป็นการปรับปรุงให้ระบบสายส่งมีความมั่นคงมากขึ้น” (https://www.abc.net.au/news/2018-11-21/labor-energy-policy-ahead-of-election/10519018)
ข่าวจากสำนักเดียวกัน (21 พ.ย.2561) รายงานเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีเงากระทรวงพลังงาน (Mark Butler) ได้กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับแต่ละครัวเรือนที่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ แต่ที่เหนือกว่านั้นคือความสามารถที่จะย้ายพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นในตอนกลางวันไปไว้ใช้ในตอนหัวค่ำซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์สำหรับระบบพลังงานโดยรวม มันเป็นการลดความกดดันในการบริหารจัดการระบบสายส่ง เพราะในปัจจุบันนี้เมื่อทุกคนกลับเข้าบ้านในตอนเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อนแต่ละคนจะเปิดเครื่องปรับอากาศ”
สำหรับครัวเรือนผู้มีรายได้ต่ำซึ่งยังไม่ได้ติดโซลาร์เซลล์ ทางพรรคแรงงานก็มีนโยบายที่จะอุดหนุนให้ติดโซลาร์เซลล์คิดเป็นเงินอีก 100 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาลที่ชื่อว่า “Clean Energy Regulator” พบว่า ในปี 2017 มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นรวมกันปีละ 1,057 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปีก่อน
หรือติดตั้งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 9,500 แผ่น
ปัจจุบัน ครัวเรือนในออสเตรเลียโดยเฉลี่ยทุกๆ 4 หลังได้มีการติดโซลาร์เซลล์แล้ว 1 หลัง ในขณะที่บางรัฐติดตั้งแล้วถึง 1 หลังในทุกๆ 3 หลังเรียกว่าชุกชุมมาก
ผมขอจบเรื่องนโยบายของพรรคแรงงานในออสเตรเลีย ซึ่งสรุปว่าเขาจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงโดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์และจะติดแบตเตอรี่เพื่อนำพลังงานแสงแดดในตอนกลางวันไปใช้ในช่วงหัวค่ำ จะส่งผลให้ระบบสายส่งมีความมั่นคงมากขึ้น
ขอกลับมาพูดถึงเรื่องในบ้านเรากันสักเล็กน้อย
เราคงจำกันได้นะครับว่าเมื่อต้นปี 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติได้เสนอรัฐบาลว่าให้มีโครงการ “โซลาร์รูฟเสรี” คือให้รัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน แต่จนถึงเกือบจะสิ้นปี 2561 (4 ปีผ่านไป) เรื่องราวก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในเชิงการปฏิบัติจริงมีแต่การบอกว่า “ขอเวลาศึกษา”
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีพลังงาน (รับตำแหน่ง พ.ย. 60) ประกาศว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านดังกล่าวในราคา 2.44 บาทต่อหน่วย ล่าสุด นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาในราคา 1.80 บาทต่อหน่วย แต่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง net metering ที่เป็นกลไกเชิงเทคนิคง่ายๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายจ่ายแต่อย่างใด
สิ่งที่น่าเจ็บใจมากๆ ก็คือ ท่านผู้มีอำนาจทั้งสองนี้ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนดราคาทั้ง 2 รายการดังกล่าว (คือ 2.44 บาท และ 1.80 บาท) ในเมื่อ การไฟฟ้าฝ่ายการผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ในราคาเฉลี่ยหน่วยละ 2.71 บาท (http://www3.egat.co.th/ft/Web/Total_Purchase%20jan62_apr62.htm)
นี่ยังไม่นับค่าใช้จ่ายที่ทาง กฟผ.ต้องนำไฟฟ้ามาขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจัดจำหน่ายทั้งสองแห่ง ทั้งระยะทางไกล ทั้งการสูญเสียในสายส่งและต้องเสียค่าแปลงคุณภาพไฟฟ้าในขณะที่ไฟฟ้าจากหลังคาบ้านอยู่แค่เอื้อม ทำไมไปกดราคาเขาเหลือ 1.80 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่มีแรงจูงใจให้ลงทุน
มันสะท้อนถึงความไม่จริงใจและใจแคบของรัฐบาลและกลุ่มทุนผูกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำของคนไทยสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก (https://mgronline.com/daily/detail/9610000122408?fbclid=IwAR1iCYnsr5Bek72qkN3uqYvwtv_RZSFoIFo5d_kIcIJm9WpyofGefe5dJ2A)
เมื่ออำนาจรัฐไทยที่ได้เสพติดความคิดผูกขาดจนเคยตัว และยากที่จะถอนตัวได้ เครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 15 องค์กรได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า “กองทุนแสงอาทิตย์” จึงได้จัดตั้ง “กองทุนแสงอาทิตย์ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เพื่อขอรับบริจาคเงินเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลจำนวน 7 โรง (ดูรายละเอียดจากภาพ) โดยได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561

การบริจาคสามารถผ่านระบบธนาคาร โดยโอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ข้ามสาขา ข้ามจังหวัดก็ได้ ซึ่งท่านจะเห็นว่าบางรายบริจาคมา 5 บาท 10 บาทก็มี
นี่เป็นมิติใหม่ที่รัฐบาลนี้พยายามทำให้เป็น “ไทยแลนด์ 4.0” แต่ความคิดเรื่องไฟฟ้ารัฐบาลไทยยังอยู่ใน “ยุคไดโนเสาร์” อยู่เลยน่าอับอายมาก
ผมได้เคยนำความคิดของผู้ที่สนใจเรื่องอนาคตมานำเสนอในที่นี้หลายครั้งแล้วว่า ภายในปี 2030 ระบบการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกในปัจจุบันนี้จะเป็นสิ่งที่ล้าสมัยทั้งหมด (โดยคุณ Tony Seba) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอนาคตที่ผมว่านี้เป็นผู้ที่ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์เชิญมาบรรยายในเมืองไทยเองก่อนที่ท่านจะเป็นรัฐมนตรี แต่เมื่อเป็นรัฐมนตรีแล้วกลับไม่ได้ยิน
แต่ผมกลับเชื่อว่า ประชาชนไทยทั่วประเทศจะต้องได้ยินอย่างกระจ่างชัดในเร็ววันนี้ ว่าการพึ่งตนเองด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ คือทางออกของประเทศและของประชาชนที่จะเป็นอิสระจากกลุ่มทุนผูกขาด ผู้ก่อปัญหามลพิษและสร้างความเหลื่อมล้ำไปทั่วโลก
ช่วยกันเถอะครับ พลังของคนเล็กคนน้อยที่เปรียบเสมือน “ผีเสื้อกระพือปีก” เริ่มปรากฏให้เห็นได้แล้วครับ
ปัญหาความล่าช้าในเรื่องนโยบายดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากรัฐบาล คสช.ที่ปิดกั้นไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมใดๆ และพยายามทำทุกอย่างให้เบลอๆ มัวๆ เพื่อให้ประชาชนสับสน เช่น เบอร์ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคในแต่ละเขตไม่เหมือนกัน เป็นต้น แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือความไม่ชัดเจนและไม่เข้มแข็งของพรรคการเมืองในบ้านเราด้วย
ในบทความนี้ ผมจะนำเรื่องนโยบายพลังงานที่ผมสนใจของพรรคแรงงานออสเตรเลีย (Australian Labor Party) คือเรื่องพลังงานหมุนเวียนมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าใจร้อนก็ดูข้อสรุปในแผ่นภาพก่อนได้ครับ
ในปี 2019 ในออสเตรเลียจะมีการเลือกตั้งใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรก (กลางปี) จะเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจำนวนครึ่งหนึ่ง ครั้งที่สอง (พฤศจิกายน) จะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสภาจำนวน 150 คนในจำนวนนี้ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคแรงงานจำนวน 69 คน โดยมีนาย Bill Shorten เป็นผู้นำฝ่ายค้านหรือนายกรัฐมนตรีเงา
“โครงการแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือนของพรรคแรงงาน” ได้ประกาศว่า “จะสนับสนุนด้วยการจ่ายเงินคืนให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า $180,000 ต่อปี ครอบครัวละ $2,000 เพื่อซื้อและติดตั้งแบตเตอรี่จำนวนปีละ 1 แสนครอบครัว” (หมายเหตุ ไม่มีรายละเอียดว่าแบตเตอรี่ราคาเท่าใด ไม่แน่ใจว่าเป็นดอลลาร์ออสเตรเลียหรือไม่ $1ออสเตรเลีย = 23.57 บาท โดยที่รายได้เฉลี่ยของชาวออสเตรเลียเท่ากับ 51,360 USDต่อปี) โดยที่มีเป้าหมายดังกล่าวให้ได้จำนวน 1 ล้านครัวเรือนภายในปี 2025 (หมายเหตุ ประเทศออสเตรเลียมีประชากร 24.6 ล้านคน น่าจะประมาณ 9 ล้านครัวเรือน)
หน่วยงานที่ชื่อว่า Smart Energy Council ได้คาดการณ์ว่า โครงการนี้จะทำให้บิลค่าไฟฟ้าของครัวเรือนลดลงกว่า 60%
รัฐบาลออสเตรเลียชุดปัจจุบันได้เคยประกาศในข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 26-28% เมื่อเทียบกับของปี 2005 ภายในปี 2030 แต่หัวหน้าพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบันได้ประกาศแบบเกทับว่า ถ้าพรรคของตนได้เป็นรัฐบาลจะเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกลงถึง 45% ภายในปี 2030โดยจะมีการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 10,000 ล้านดอลลาร์
นอกจากนี้หัวหน้าพรรคแรงงานยังได้โต้เถียงในประเด็นเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าว่า “การติดตั้งแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นจะเป็นการปรับปรุงให้ระบบสายส่งมีความมั่นคงมากขึ้น” (https://www.abc.net.au/news/2018-11-21/labor-energy-policy-ahead-of-election/10519018)
ข่าวจากสำนักเดียวกัน (21 พ.ย.2561) รายงานเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีเงากระทรวงพลังงาน (Mark Butler) ได้กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับแต่ละครัวเรือนที่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ แต่ที่เหนือกว่านั้นคือความสามารถที่จะย้ายพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นในตอนกลางวันไปไว้ใช้ในตอนหัวค่ำซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์สำหรับระบบพลังงานโดยรวม มันเป็นการลดความกดดันในการบริหารจัดการระบบสายส่ง เพราะในปัจจุบันนี้เมื่อทุกคนกลับเข้าบ้านในตอนเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อนแต่ละคนจะเปิดเครื่องปรับอากาศ”
สำหรับครัวเรือนผู้มีรายได้ต่ำซึ่งยังไม่ได้ติดโซลาร์เซลล์ ทางพรรคแรงงานก็มีนโยบายที่จะอุดหนุนให้ติดโซลาร์เซลล์คิดเป็นเงินอีก 100 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาลที่ชื่อว่า “Clean Energy Regulator” พบว่า ในปี 2017 มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นรวมกันปีละ 1,057 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปีก่อน
หรือติดตั้งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 9,500 แผ่น
ปัจจุบัน ครัวเรือนในออสเตรเลียโดยเฉลี่ยทุกๆ 4 หลังได้มีการติดโซลาร์เซลล์แล้ว 1 หลัง ในขณะที่บางรัฐติดตั้งแล้วถึง 1 หลังในทุกๆ 3 หลังเรียกว่าชุกชุมมาก
ผมขอจบเรื่องนโยบายของพรรคแรงงานในออสเตรเลีย ซึ่งสรุปว่าเขาจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงโดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์และจะติดแบตเตอรี่เพื่อนำพลังงานแสงแดดในตอนกลางวันไปใช้ในช่วงหัวค่ำ จะส่งผลให้ระบบสายส่งมีความมั่นคงมากขึ้น
ขอกลับมาพูดถึงเรื่องในบ้านเรากันสักเล็กน้อย
เราคงจำกันได้นะครับว่าเมื่อต้นปี 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติได้เสนอรัฐบาลว่าให้มีโครงการ “โซลาร์รูฟเสรี” คือให้รัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน แต่จนถึงเกือบจะสิ้นปี 2561 (4 ปีผ่านไป) เรื่องราวก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในเชิงการปฏิบัติจริงมีแต่การบอกว่า “ขอเวลาศึกษา”
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีพลังงาน (รับตำแหน่ง พ.ย. 60) ประกาศว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านดังกล่าวในราคา 2.44 บาทต่อหน่วย ล่าสุด นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาในราคา 1.80 บาทต่อหน่วย แต่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง net metering ที่เป็นกลไกเชิงเทคนิคง่ายๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายจ่ายแต่อย่างใด
สิ่งที่น่าเจ็บใจมากๆ ก็คือ ท่านผู้มีอำนาจทั้งสองนี้ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนดราคาทั้ง 2 รายการดังกล่าว (คือ 2.44 บาท และ 1.80 บาท) ในเมื่อ การไฟฟ้าฝ่ายการผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ในราคาเฉลี่ยหน่วยละ 2.71 บาท (http://www3.egat.co.th/ft/Web/Total_Purchase%20jan62_apr62.htm)
นี่ยังไม่นับค่าใช้จ่ายที่ทาง กฟผ.ต้องนำไฟฟ้ามาขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจัดจำหน่ายทั้งสองแห่ง ทั้งระยะทางไกล ทั้งการสูญเสียในสายส่งและต้องเสียค่าแปลงคุณภาพไฟฟ้าในขณะที่ไฟฟ้าจากหลังคาบ้านอยู่แค่เอื้อม ทำไมไปกดราคาเขาเหลือ 1.80 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่มีแรงจูงใจให้ลงทุน
มันสะท้อนถึงความไม่จริงใจและใจแคบของรัฐบาลและกลุ่มทุนผูกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำของคนไทยสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก (https://mgronline.com/daily/detail/9610000122408?fbclid=IwAR1iCYnsr5Bek72qkN3uqYvwtv_RZSFoIFo5d_kIcIJm9WpyofGefe5dJ2A)
เมื่ออำนาจรัฐไทยที่ได้เสพติดความคิดผูกขาดจนเคยตัว และยากที่จะถอนตัวได้ เครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 15 องค์กรได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า “กองทุนแสงอาทิตย์” จึงได้จัดตั้ง “กองทุนแสงอาทิตย์ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เพื่อขอรับบริจาคเงินเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลจำนวน 7 โรง (ดูรายละเอียดจากภาพ) โดยได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561
การบริจาคสามารถผ่านระบบธนาคาร โดยโอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ข้ามสาขา ข้ามจังหวัดก็ได้ ซึ่งท่านจะเห็นว่าบางรายบริจาคมา 5 บาท 10 บาทก็มี
นี่เป็นมิติใหม่ที่รัฐบาลนี้พยายามทำให้เป็น “ไทยแลนด์ 4.0” แต่ความคิดเรื่องไฟฟ้ารัฐบาลไทยยังอยู่ใน “ยุคไดโนเสาร์” อยู่เลยน่าอับอายมาก
ผมได้เคยนำความคิดของผู้ที่สนใจเรื่องอนาคตมานำเสนอในที่นี้หลายครั้งแล้วว่า ภายในปี 2030 ระบบการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกในปัจจุบันนี้จะเป็นสิ่งที่ล้าสมัยทั้งหมด (โดยคุณ Tony Seba) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอนาคตที่ผมว่านี้เป็นผู้ที่ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์เชิญมาบรรยายในเมืองไทยเองก่อนที่ท่านจะเป็นรัฐมนตรี แต่เมื่อเป็นรัฐมนตรีแล้วกลับไม่ได้ยิน
แต่ผมกลับเชื่อว่า ประชาชนไทยทั่วประเทศจะต้องได้ยินอย่างกระจ่างชัดในเร็ววันนี้ ว่าการพึ่งตนเองด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ คือทางออกของประเทศและของประชาชนที่จะเป็นอิสระจากกลุ่มทุนผูกขาด ผู้ก่อปัญหามลพิษและสร้างความเหลื่อมล้ำไปทั่วโลก
ช่วยกันเถอะครับ พลังของคนเล็กคนน้อยที่เปรียบเสมือน “ผีเสื้อกระพือปีก” เริ่มปรากฏให้เห็นได้แล้วครับ