"จรุงวิทย์" เลขาฯกกต. เตือนพรรคการเมืองอย่า ลักไก่หาเสียงผิดกม. หลังพ.ร.ป.เลือกตั้งใช้บังคับ แต่ยังไม่มีพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ชี้มีสิทธิถูกร้องเรียนได้ ยัน"พปชร."จัดโต๊ะจีนระดมทุนได้หาก คสช. ปลดล็อกแล้ว เผยเตรียมนำทุกความเห็นปมบัตรเลือกตั้ง เสนอกกต.หาข้อสรุป หลังพรรคการเมืองรุมถล่ม ปมบัตรเลือกตั้งไม่ระบุชื่อและโลโก้ พรรคการเมือง ส่อขัดรธน. อดีตกกต. เตือนถ้าเลือกตั้งโฆษะเพราะเรื่องบัตร กกต.ต้องรับผิดชอบ
วานนี้ (9 ธ.ค.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า แม้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จะกำหนดเรื่องการคิดค่าใช้จ่าย เรื่องการหาเสียงหลังมี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งส.ส.แล้ว และคาดว่าจะมี พ.ร.ฎ. เลือกตั้งในวันที่ 2 ม.ค.62 แต่ตาม มาตรา 22 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ก็กำหนดให้ กกต.ต้องสอดส่อง สืบสวน ไต่สวน หากพบการกระทำที่อาจก่อให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลา ในระหว่างที่มี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง หรือไม่ก็ตาม ดังนั้น หลังวันที่ 11 ธ.ค.นี้ ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้ ผู้ที่จะสมัครฯ หรือพรรคการเมือง ก็ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม เพราะอาจเป็นเหตุให้มีการร้องเรียนให้ไต่สวนได้
ขณะเดียวกัน กฎหมาย ได้ให้ กกต. กำหนดและสนับสนุนเกี่ยวกับการหาเสียงซึ่งขณะนี้สำนักงานกกต.ได้ยกร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งทางสำนักงานฯ เชิญพรรคการเมืองประชุม ในวันที่19 ธ.ค เพื่อขอรับฟังความคิดเห็น ก่อนจะปรับปรุงร่างระเบียบ และเสนอต่อที่ประชุม กกต.พิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้
ส่วนกรณีที่ พรรคพลังประชารัฐ จะจัดโต๊ะจีน ระดมทุนในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ ก็ต้องรอดูว่า หลังวันที่ 11ธ.ค. ที่ คสช.ประกาศว่าจะยกเลิกคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองนั้น จะปลดล็อกให้พรรคทำกิจกรรมทางการเมืองตามที่ พ.ร.ป.พรรคการเมืองกำหนดได้แค่ไหน หากทำได้ทั้งหมด ทุกพรรคก็สามารถดำเนินการได้ แต่การบริจาค ก็ต้องไม่เกินรายละ10 ล้านต่อคน ต่อปี ตามที่กม.กำหนดด้วย
ส่วนเรื่องของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กกต. ซึ่งพร้อมที่จะรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย รวมถึงพรรคการเมืองด้วย การที่ กกต. จะกำหนดว่าบัตรเลือกตั้ง ควรมีลักษณะใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมกัน ของพรรคใหญ่ พรรคเล็ก พรรคใหม่ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก การรักษาสิทธิ ของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือต่างประเทศ การป้องกัน การปลอมแปลงบัตร ระยะเวลาการจัดพิมพ์ การขนส่ง ซึ่งตามปฏิทินการทำงานที่ คสช. เสนอต่อที่ประชุมร่วมพรรคการเมือง เมื่อ 7ธ.ค. ถ้าปิดรับสมัคร ในวันที่ 18 ม.ค.62 วันที่ 25 ม.ค.62 กกต.ประกาศรายชื่อผู้สมัครแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ และ วันที่ 4-16 ก.พ.เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เท่ากับระยะเวลาในการจัดพิมพ์บัตร และส่งบัตรก่อนที่จะถึงห้วงแรกที่คนไทยในต่างประเทศใช้สิทธิเลือกตั้งค่อนข้างกระชั้น จึงไม่อยากให้ทุกฝ่ายมองเรื่องบัตรเลือกตั้งเชิงการเมืองเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามทางสำนักงาน จะนำปัจจัยต่างๆ รวมทั้งความเห็นทั้งหมด นำเสนอ กกต. เพื่อพิจารณาต่อไป
อัด"บิ๊กตู่"แบไต๋สารพัดเพื่อสืบทอดอำนาจ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เสนอในวงหารือเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า ไม่ต้องใส่โลโก้ และชื่อพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งนั้น ถือเป็นการวางแนวทางไม่ให้คนให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง เพราะรู้ว่าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อโยงเข้ากับรัฐบาล และพล.อ.ประยุทธ์ คนจะรู้สึกว่า เป็นพรรคที่สืบทอดอำนาจ ถ้าคนเบื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ทนไม่ไหวแล้วกับสภาพ ศก. ก็จะไม่เลือกพรรค พปชร. ฉะนั้นเขาก็ต้องให้คนลดความสนใจกับพรรคการเมือง แล้วใช้วิธีให้คนเน้นความสำคัญผู้สมัครแทน
"สุดท้ายมาแบไต๋แล้ว ไม่ให้คนคิดถึงพรรคการเมืองเลยด้วยซ้ำ ถึงให้มีการทำบัตรเลือกตั้งที่ไม่มีโลโก้ และชื่อพรรค และคนก็จะสับสน คนเบอร์อะไร สำหรับคนที่เลือกพรรคที่เขาสนใจ เขาอาจให้ความสำคัญผู้สมัครน้อย เขาอยากเลือกตั้งเขาก็อยากดูชื่อพรรคอะไร ก็อาจไม่มีให้ดู ทำให้เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. เพราะรธน. กำหนดว่า ให้ผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนั้นรธน. และกฎหมาย ยังกำหนดให้พรรคการเมือง ต้องเสนอนโยบายในหลายๆ เรื่องให้ กกต.พิจารณาเสียก่อน ซึ่งหมายความว่า รธน.ปัจจุบันให้ความสำคัญพรรคการเมือง และตามกฎหมาย กกต.ต้องให้ข้อมูลผู้สมัคร และพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้น สังกัดต่อผู้ออกเสียงลงคะแนน ต้องให้อย่างเพียงพอก่อนถึงวันเลือกตั้ง และในวันเลือกตั้ง"
การที่ไม่มีชื่อพรรคและโลโก้พรรคในบัตรลงคะแนน จึงส่อว่า ขัดต่อเจตนารมณ์รธน. ตนมองว่า ถ้าปล่อยกันไปอย่างนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้ง น่าจะเป็นปัญหาร้ายแรงกว่าการทำคูหาแบบที่คนลงคะแนนหันหลังออกมาด้านนอกของปริมณฑลเลือกตั้ง ซึ่งเคยถูกมองว่า จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นแบบลับ จนเป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะมาแล้ว
แนะรันนัมเบอร์ ป้องกันบัตรปลอม
นายนิกร จำนง ผอ.พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ถือเป็นปัญหาในข้อกฎหมาย เรื่องวัน เวลา ไม่มี เบอร์บัตร ไม่มีเบอร์พรรค เบอร์ตามคนสมัคร ทำให้ 350 เขตมี 350 แบบ จะรู้เบอร์ได้ก็ต่อเมื่อผู้สมัครในแต่ละเขตสมัครกันเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำให้แต่ละเขตเบอร์ของผู้สมัครและพรรคการเมือง จะไม่เหมือนกัน แสดงว่า จะมีทั้งหมด 350 แบบ ใน 350 เขต ดังนั้นการพิมพ์บัตรแต่ละเขต จึงไม่เหมือนกันเลยทั้งประเทศ ซึ่งปัญหาจะมีต่อเนื่องไปถึงการลงคะแนนในต่างประเทศ ก็จะเกิดความสับสน ยุ่งยาก มั่วไปหมด เพราะผู้มาใช้สิทธิ์แต่ละคน อยู่คนละเขต การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องยาก เพราะต้องแก้กม. และเป็นกม.และรธน.เสียด้วย จึงจะแก้ไม่ได้
ทั้งนี้ ปัญหาที่จะตามมา คือ ผู้ใช้สิทธิ์ทุกคนต้องจำเบอร์ผู้สมัครของตัวเองให้ได้ แล้วไปดูที่ป้ายหน้าคูหาอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่น่าเป็นห่วงมากคือ ถ้าจะมีการโกงกัน คือการนำบัตรอีกเขตหนึ่ง คร่อมไปไว้อีกเขตหนึ่ง ก็เหมือนกันไปหมด เพราะถ้ามีการพิมพ์ซ้ำบัตรเลือกตั้งไม่มีทางรู้ได้เลย แล้วยิ่งถ้ากาบัตรมาเป็นเขต อีกชุดหนึ่งเหมือนสมัยก่อนที่มีการโกงกันนั้น ก็จะเป็นบัตรผีเอาไปสลับกับบัตรจริง ก็จะไม่มีโอกาสรู้ได้เลย ในประเด็นนี้ ขอเสนอทางออกให้มีการพิมพ์รันนิ่งนัมเบอร์ เหมือนแบงก์ทั่วประเทศ และอาจจะมีลายน้ำ หรือมีสัญลักษณ์อะไรที่ปลอมไม่ได้ด้วย แล้วในแต่ละเขตเลือกตั้ง ก็รับบัตรลงคะแนนไปโดยมีโค้ดนัมเบอร์ แต่ห้ามเช็คว่าคนคนไหนเอาบัตรนัมเบอร์อะไรไปเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะรู้ว่า คนนี้เบอร์นี้ กาอะไร ซึ่งผิดรธน. อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวคงพอจะช่วยป้องกันบัตรปลอม หรือบัตรข้ามเขตได้ ทั้งนี้เราต้องมองเรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงข้อกฎหมาย แล้วช่วยกันคิดช่วยกันหาทางออก ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง และกกต. ไม่เช่นนั้นจะเข้าทางตัน
เตือนเลือกตั้งโมฆะกกต.ต้องรับผิดชอบ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. และ สมาชิกพรรคปชป.โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีการจะไม่ใส่เครื่อง หมายพรรคการเมือง หรือโลโก้ ในบัตรเลือกตั้ง ว่า "มุกตื้น เจอ มุกมักง่าย กลายเป็นมุกแป้ก"
มุกตื้นๆ ของการมีบัตรเลือกตั้งที่ใส่แค่เบอร์ และชื่อของผู้สมัคร คือ ให้นักการเมืองที่มีชื่อคุ้นเคยของประชาชนได้เปรียบ เพราะชื่อเหล่านี้วันนี้ย้ายพรรคไปแล้ว เผื่อชาวบ้านจะยังนึกว่าอยู่พรรคเดิม กาลงคะแนนให้ คนได้ประโยชน์ คือพรรคที่ดูดเอานักการเมืองเก่าๆไปสังกัดเยอะๆ พรรคไหน ไปตามข่าวกันเอง
มุกมักง่าย ของการจะพิมพ์บัตรเลือกตั้งโหล คือมีแค่เบอร์ ไม่ต้องมีรายละเอียดอื่น ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรค หรือโลโก้พรรค คือ พิมพ์ง่าย พิมพ์แค่โรงพิมพ์เดียว ส่งทั่วประเทศ ไม่ต้องไปออกแบบบัตรต่างกัน 350 แบบ ซึ่งต้องใช้เวลา และมีรายละเอียดของงานมาก การพิมพ์บัตรโหล จึงเป็นเรื่องทำได้ง่ายๆ สะดวกสบายแก่เจ้าหน้าที่
มุกแป้ก ที่เกิดขึ้นจากการเสนอมุมตื้นๆ และมุกมักง่าย คือคนด่าทั้งประเทศ และหากจะดันทุรังเดินหน้าพิมพ์บัตรโหลกันต่อ คือจะนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เนื่องจากบัตรเลือกตั้งไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของรธน. ให้ประชาชนเลือกทั้งส.ส.เขต และนำทุกคะแนนไปรวมเป็นคะแนนของพรรค เพื่อคำนวณส.ส.ที่พึงจะมีของพรรคการเมืองนั้น
ถึงวันนั้น หากศาลตัดสินว่า การเลือกตั้งขัดเจตนารมณ์ เป็นโมฆะ ใครต้องชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านบาท ใครจะโดนข้อหากระทำการโดยประมาท ทำให้ราชการเกิดความเสียหาย น่าจะเดาได้ไม่ยากว่า มี 7 คน
วานนี้ (9 ธ.ค.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า แม้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จะกำหนดเรื่องการคิดค่าใช้จ่าย เรื่องการหาเสียงหลังมี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งส.ส.แล้ว และคาดว่าจะมี พ.ร.ฎ. เลือกตั้งในวันที่ 2 ม.ค.62 แต่ตาม มาตรา 22 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ก็กำหนดให้ กกต.ต้องสอดส่อง สืบสวน ไต่สวน หากพบการกระทำที่อาจก่อให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลา ในระหว่างที่มี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง หรือไม่ก็ตาม ดังนั้น หลังวันที่ 11 ธ.ค.นี้ ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้ ผู้ที่จะสมัครฯ หรือพรรคการเมือง ก็ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม เพราะอาจเป็นเหตุให้มีการร้องเรียนให้ไต่สวนได้
ขณะเดียวกัน กฎหมาย ได้ให้ กกต. กำหนดและสนับสนุนเกี่ยวกับการหาเสียงซึ่งขณะนี้สำนักงานกกต.ได้ยกร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งทางสำนักงานฯ เชิญพรรคการเมืองประชุม ในวันที่19 ธ.ค เพื่อขอรับฟังความคิดเห็น ก่อนจะปรับปรุงร่างระเบียบ และเสนอต่อที่ประชุม กกต.พิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้
ส่วนกรณีที่ พรรคพลังประชารัฐ จะจัดโต๊ะจีน ระดมทุนในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ ก็ต้องรอดูว่า หลังวันที่ 11ธ.ค. ที่ คสช.ประกาศว่าจะยกเลิกคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองนั้น จะปลดล็อกให้พรรคทำกิจกรรมทางการเมืองตามที่ พ.ร.ป.พรรคการเมืองกำหนดได้แค่ไหน หากทำได้ทั้งหมด ทุกพรรคก็สามารถดำเนินการได้ แต่การบริจาค ก็ต้องไม่เกินรายละ10 ล้านต่อคน ต่อปี ตามที่กม.กำหนดด้วย
ส่วนเรื่องของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กกต. ซึ่งพร้อมที่จะรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย รวมถึงพรรคการเมืองด้วย การที่ กกต. จะกำหนดว่าบัตรเลือกตั้ง ควรมีลักษณะใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมกัน ของพรรคใหญ่ พรรคเล็ก พรรคใหม่ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก การรักษาสิทธิ ของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือต่างประเทศ การป้องกัน การปลอมแปลงบัตร ระยะเวลาการจัดพิมพ์ การขนส่ง ซึ่งตามปฏิทินการทำงานที่ คสช. เสนอต่อที่ประชุมร่วมพรรคการเมือง เมื่อ 7ธ.ค. ถ้าปิดรับสมัคร ในวันที่ 18 ม.ค.62 วันที่ 25 ม.ค.62 กกต.ประกาศรายชื่อผู้สมัครแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ และ วันที่ 4-16 ก.พ.เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เท่ากับระยะเวลาในการจัดพิมพ์บัตร และส่งบัตรก่อนที่จะถึงห้วงแรกที่คนไทยในต่างประเทศใช้สิทธิเลือกตั้งค่อนข้างกระชั้น จึงไม่อยากให้ทุกฝ่ายมองเรื่องบัตรเลือกตั้งเชิงการเมืองเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามทางสำนักงาน จะนำปัจจัยต่างๆ รวมทั้งความเห็นทั้งหมด นำเสนอ กกต. เพื่อพิจารณาต่อไป
อัด"บิ๊กตู่"แบไต๋สารพัดเพื่อสืบทอดอำนาจ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เสนอในวงหารือเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า ไม่ต้องใส่โลโก้ และชื่อพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งนั้น ถือเป็นการวางแนวทางไม่ให้คนให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง เพราะรู้ว่าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อโยงเข้ากับรัฐบาล และพล.อ.ประยุทธ์ คนจะรู้สึกว่า เป็นพรรคที่สืบทอดอำนาจ ถ้าคนเบื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ทนไม่ไหวแล้วกับสภาพ ศก. ก็จะไม่เลือกพรรค พปชร. ฉะนั้นเขาก็ต้องให้คนลดความสนใจกับพรรคการเมือง แล้วใช้วิธีให้คนเน้นความสำคัญผู้สมัครแทน
"สุดท้ายมาแบไต๋แล้ว ไม่ให้คนคิดถึงพรรคการเมืองเลยด้วยซ้ำ ถึงให้มีการทำบัตรเลือกตั้งที่ไม่มีโลโก้ และชื่อพรรค และคนก็จะสับสน คนเบอร์อะไร สำหรับคนที่เลือกพรรคที่เขาสนใจ เขาอาจให้ความสำคัญผู้สมัครน้อย เขาอยากเลือกตั้งเขาก็อยากดูชื่อพรรคอะไร ก็อาจไม่มีให้ดู ทำให้เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. เพราะรธน. กำหนดว่า ให้ผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนั้นรธน. และกฎหมาย ยังกำหนดให้พรรคการเมือง ต้องเสนอนโยบายในหลายๆ เรื่องให้ กกต.พิจารณาเสียก่อน ซึ่งหมายความว่า รธน.ปัจจุบันให้ความสำคัญพรรคการเมือง และตามกฎหมาย กกต.ต้องให้ข้อมูลผู้สมัคร และพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้น สังกัดต่อผู้ออกเสียงลงคะแนน ต้องให้อย่างเพียงพอก่อนถึงวันเลือกตั้ง และในวันเลือกตั้ง"
การที่ไม่มีชื่อพรรคและโลโก้พรรคในบัตรลงคะแนน จึงส่อว่า ขัดต่อเจตนารมณ์รธน. ตนมองว่า ถ้าปล่อยกันไปอย่างนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้ง น่าจะเป็นปัญหาร้ายแรงกว่าการทำคูหาแบบที่คนลงคะแนนหันหลังออกมาด้านนอกของปริมณฑลเลือกตั้ง ซึ่งเคยถูกมองว่า จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นแบบลับ จนเป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะมาแล้ว
แนะรันนัมเบอร์ ป้องกันบัตรปลอม
นายนิกร จำนง ผอ.พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ถือเป็นปัญหาในข้อกฎหมาย เรื่องวัน เวลา ไม่มี เบอร์บัตร ไม่มีเบอร์พรรค เบอร์ตามคนสมัคร ทำให้ 350 เขตมี 350 แบบ จะรู้เบอร์ได้ก็ต่อเมื่อผู้สมัครในแต่ละเขตสมัครกันเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำให้แต่ละเขตเบอร์ของผู้สมัครและพรรคการเมือง จะไม่เหมือนกัน แสดงว่า จะมีทั้งหมด 350 แบบ ใน 350 เขต ดังนั้นการพิมพ์บัตรแต่ละเขต จึงไม่เหมือนกันเลยทั้งประเทศ ซึ่งปัญหาจะมีต่อเนื่องไปถึงการลงคะแนนในต่างประเทศ ก็จะเกิดความสับสน ยุ่งยาก มั่วไปหมด เพราะผู้มาใช้สิทธิ์แต่ละคน อยู่คนละเขต การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องยาก เพราะต้องแก้กม. และเป็นกม.และรธน.เสียด้วย จึงจะแก้ไม่ได้
ทั้งนี้ ปัญหาที่จะตามมา คือ ผู้ใช้สิทธิ์ทุกคนต้องจำเบอร์ผู้สมัครของตัวเองให้ได้ แล้วไปดูที่ป้ายหน้าคูหาอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่น่าเป็นห่วงมากคือ ถ้าจะมีการโกงกัน คือการนำบัตรอีกเขตหนึ่ง คร่อมไปไว้อีกเขตหนึ่ง ก็เหมือนกันไปหมด เพราะถ้ามีการพิมพ์ซ้ำบัตรเลือกตั้งไม่มีทางรู้ได้เลย แล้วยิ่งถ้ากาบัตรมาเป็นเขต อีกชุดหนึ่งเหมือนสมัยก่อนที่มีการโกงกันนั้น ก็จะเป็นบัตรผีเอาไปสลับกับบัตรจริง ก็จะไม่มีโอกาสรู้ได้เลย ในประเด็นนี้ ขอเสนอทางออกให้มีการพิมพ์รันนิ่งนัมเบอร์ เหมือนแบงก์ทั่วประเทศ และอาจจะมีลายน้ำ หรือมีสัญลักษณ์อะไรที่ปลอมไม่ได้ด้วย แล้วในแต่ละเขตเลือกตั้ง ก็รับบัตรลงคะแนนไปโดยมีโค้ดนัมเบอร์ แต่ห้ามเช็คว่าคนคนไหนเอาบัตรนัมเบอร์อะไรไปเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะรู้ว่า คนนี้เบอร์นี้ กาอะไร ซึ่งผิดรธน. อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวคงพอจะช่วยป้องกันบัตรปลอม หรือบัตรข้ามเขตได้ ทั้งนี้เราต้องมองเรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงข้อกฎหมาย แล้วช่วยกันคิดช่วยกันหาทางออก ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง และกกต. ไม่เช่นนั้นจะเข้าทางตัน
เตือนเลือกตั้งโมฆะกกต.ต้องรับผิดชอบ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. และ สมาชิกพรรคปชป.โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีการจะไม่ใส่เครื่อง หมายพรรคการเมือง หรือโลโก้ ในบัตรเลือกตั้ง ว่า "มุกตื้น เจอ มุกมักง่าย กลายเป็นมุกแป้ก"
มุกตื้นๆ ของการมีบัตรเลือกตั้งที่ใส่แค่เบอร์ และชื่อของผู้สมัคร คือ ให้นักการเมืองที่มีชื่อคุ้นเคยของประชาชนได้เปรียบ เพราะชื่อเหล่านี้วันนี้ย้ายพรรคไปแล้ว เผื่อชาวบ้านจะยังนึกว่าอยู่พรรคเดิม กาลงคะแนนให้ คนได้ประโยชน์ คือพรรคที่ดูดเอานักการเมืองเก่าๆไปสังกัดเยอะๆ พรรคไหน ไปตามข่าวกันเอง
มุกมักง่าย ของการจะพิมพ์บัตรเลือกตั้งโหล คือมีแค่เบอร์ ไม่ต้องมีรายละเอียดอื่น ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรค หรือโลโก้พรรค คือ พิมพ์ง่าย พิมพ์แค่โรงพิมพ์เดียว ส่งทั่วประเทศ ไม่ต้องไปออกแบบบัตรต่างกัน 350 แบบ ซึ่งต้องใช้เวลา และมีรายละเอียดของงานมาก การพิมพ์บัตรโหล จึงเป็นเรื่องทำได้ง่ายๆ สะดวกสบายแก่เจ้าหน้าที่
มุกแป้ก ที่เกิดขึ้นจากการเสนอมุมตื้นๆ และมุกมักง่าย คือคนด่าทั้งประเทศ และหากจะดันทุรังเดินหน้าพิมพ์บัตรโหลกันต่อ คือจะนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เนื่องจากบัตรเลือกตั้งไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของรธน. ให้ประชาชนเลือกทั้งส.ส.เขต และนำทุกคะแนนไปรวมเป็นคะแนนของพรรค เพื่อคำนวณส.ส.ที่พึงจะมีของพรรคการเมืองนั้น
ถึงวันนั้น หากศาลตัดสินว่า การเลือกตั้งขัดเจตนารมณ์ เป็นโมฆะ ใครต้องชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านบาท ใครจะโดนข้อหากระทำการโดยประมาท ทำให้ราชการเกิดความเสียหาย น่าจะเดาได้ไม่ยากว่า มี 7 คน