ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จ และได้รับความสนใจสอบถามจากท่านผู้อ่านมากที่สุด 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 3” และ “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน รุ่นที่ 2”
“ลดการใช้ยา ด้วยบูรณาการแห่งปัญญา รักษาเหตุแห่งโรค” ยังคงเป็นแนวคิด ของสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ต้องการจะให้ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะอายุเท่าใด วุฒิการศึกษาใด อาชีพอะไร สามารถที่จะเรียนรู้ในเรื่องการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริงโดยผู้ที่จบหลักสูตรจะได้ประกาศนียบัตรจากสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ เพื่อทำให้ประชาชนที่เข้ามาเรียนทั้ง 2 หลักสูตร ได้พึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ลดการใช้ยาให้น้อยลง ไปหาหมอน้อยลง และไปโรงพยาบาลเมื่อยามจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
“โรงพยาบาลภาครัฐแออัด” ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล เตียงผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ เป็นเรื่องที่เห็นกันจนชินตา แพทย์และพยาบาล ตลอดจนบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐต้องเสียสละทำงานกันอย่างหนักน่าเห็นใจอย่างยิ่ง แต่ประชาชนก็น่าเห็นใจไม่แพ้กันเพราะต้องรอคิวนานยาวเหยียด และผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยก็ขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพการรักษาและการบริการในโรงพยาบาลภาครัฐ แรงกดดันทั้งฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ ทำให้เกิดความขัดแย้งอยู่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเป็นประจำ ทั้งๆความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าไปในโรงพยาบาลนั้นล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันเองได้ รักษาด้วยตัวเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคนเหล่านั้นมีความรู้อย่างถูกต้องและนำไปปฏิบัติในเรื่องของการดำเนินวิถีชีวิตได้จริง เช่น การกิน การนอน การออกกำลังกาย การขับถ่าย การบริหารจัดการด้านจิตใจ ฯลฯ
“โรงพยาบาลภาคเอกชนแสนแพง” สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งก็เพราะโรงพยาบาลภาครัฐแออัดอย่างมาก ทำให้โรงพยาบาลเอกชนได้พัฒนาในเรื่องสถานที่ คุณภาพการรักษา และการบริการ ไปอย่างมาก จึงส่งผลทำให้ราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนแพงตามไปด้วยตามกลไกตลาด แต่ถ้าเป็นโรคที่มีความร้ายแรงที่ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแล้ว หลายครอบครัวถึงขั้นต้องกู้หนี้ยืมสิ้น สิ้นเนื้อประดาตัวได้เลย
ความน่าเป็นห่วงไปยิ่งกว่า “ความแออัดของโรงพยาบาลภาครัฐ” และ “ความแพงของราคาในโรงพยาบาลเอกชน” คือ การใช้ยาเคมีต่อเนื่องมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอีกหลายโรคตามกันมามากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งกินยามากเท่าใดกลับต้องยิ่งกินยาเพิ่มโรคต่างๆมากขึ้น บางคนต้องกินยาวันละหลายสิบเม็ดต่อวัน เพราะยาเคมีส่วนใหญ่ไม่ได้รักษาโรค แต่ระงับปลายอาการของโรคเท่านั้น จึงไม่ได้รักษาที่เหตุแห่งโรค
ความจริงแล้ว เหตุแห่งโรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ก็คือ “วิถีการดำเนินชีวิต” หรือ “ไลฟ์สไตล์” ของคนในยุคนนี้นี่เอง ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเก๊าท์, โรคภูมิแพ้, โรคไมเกรน, โรคออฟิตซินโดรม, โรคซึมเศร้า, ไม่เว้นแม้แต่โรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็ง ฯลฯ
ในเมื่อวิถีการดำเนินชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ ของคนในยุคปัจจุบัน เป็นสาเหตุแห่งโรค ก็ต้องแก้ด้วยการปรับวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์” และ หลักสูตร “การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน” ก็จะให้ความรู้เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ...
เปลี่ยนจาก “ยา” ให้เป็น “ปัญญา” !
เปลี่ยนจากการ “พึ่งพาหมอ” ให้เป็น “พึ่งพาตัวเอง” !!
เปลี่ยนจาก “กินยาเป็นอาหาร” ให้กลายเป็น “กินอาหารให้เป็นยา” !!!
ด้วยความคิดที่ว่าไม่มีใครเป็นหมอดีที่สุดเท่ากับตัวเราเอง เพราะหมอที่มาจากตัวเราเองจะอยู่กับเราตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไปจนตลอดชีวิต
และถ้ามีคนที่พึ่งพาตัวเองอันเป็นผลทำให้ลดการใช้ยาได้ ไปหาหมอน้อยลงได้ ก็เท่ากับคนๆนั้นก็จะกลายเป็นหมอและเป็นกำลังในการพัฒนาคุณภาพสุขภาพของคนในครอบครัวให้แข็งแรงตามขึ้นไปได้ด้วย
หลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์” (Lifestyle Medicine) ได้เปิดมาแล้ว 2 รุ่น และประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพราะหลายคนที่จบหลักสูตรนี้แล้วได้นำไปปฏิบัติจริง ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ให้กับคนในครอบครัวและคนอื่นๆ ด้วย รวมถึงบางคนได้นำความรู้ไปเพิ่มทักษะในการบริการลูกค้า บางคนนำไปไปต่อยอดและพัฒนาสถานพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพที่ตัวเองทำงานอยู่หรือเป็นเจ้าของกิจการได้อีกด้วย แม้แต่แพทย์ปัจจุบันบางคนที่มาเรียนก็ได้นำความรู้และทักษะในสาขาอื่นๆมาบูรณาการช่วยเหลือผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของหลักสูตรนี้อีกประการหนึ่ง ก็คือได้มีการระดมแพทย์หลากสาขาผู้รู้ที่ประสบการณ์และความสำเร็จจริงในการรักษาตัวเองและคนไข้ในคลีนิกโดย “ไม่เน้นการใช้ยาเคมี” มารวมตัวกันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยประยุกต์ อายุรเวท แพทย์แผนจีน นักธรรมชาติบำบัด นักโภชนาการบำบัด ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย และนับวันก็จะมีหมอที่มีแนวคิดเดียวกันมร่วมอุดมการณ์กันมากขึ้น
โดยวิชาที่จะสอนจะเน้นการให้ความรู้เพื่อดูแลตนเองเป็นหลัก ตัวอย่างวิชาที่สอนได้แก่ การเรียงลำดับโภชนาการเพื่อเอาชนะโรคไม่ติดต่อ, โภชนาการการแพทย์แผนไทย, โภชนาการบำบัดจากงานวิจัย, การใช้สมุนไพรและการผลิตสมุนไพรในบ้าน, การกดจุดแก้อาการในบ้าน, การจับชีพจรและการฝังเข็มเบื้องต้น, การแพทย์ฉุกเฉินในบ้าน, ธรรมานามัย, การสืบค้นงานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพ, การบริหารระบบภูมิคุ้มกัน, การบูรณาการล้างพิษ, การบูรณาการสุขภาพสายตา, การแพทย์ทางเลือก ฯลฯ โดยวิชาเหล่านี้เน้นการนำไปใช้ได้จริง ใช้ได้ทันที และใช้ได้ผล เป็นหลัก
ส่วนอีกหลักสูตรหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ “หลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน” (Culinary Course for Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) เป็นหลักสูตรที่ต่อยอดจากหลักสูตร “วิถีชีวาเวชศาสตร์” โดยหลักสูตรการสอนการประกอบอาหารนี้ เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือระหว่างสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย กับ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะมีการเรียนการสอนลงลึกไปในรายละเอียดในเรื่องอาหารที่มีผลต่อยีน และการเรียนรู้การประกอบอาหารที่อาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
การสอนนั้นครอบคลุมถึง การสอนองค์ความรู้อาหารที่มีผลต่อยีน การสอนเรื่องการค้นหาและการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโภชนาการที่มีผลต่อสุขภาพ การสอนเรื่องรสยาในการแพทย์แผนไทยและอายุรเวทอินเดียเพื่อมาประยุกต์ใช้ในรสอาหาร การสอนเรื่องวิธีการค้นคว้างานวิจัยในเรื่องส่วนประกอบอาหารทุกชนิด ทั้งหมดนี้เป็นการสอนหลักคิดและรากฐานเพื่อให้สามารถพัฒนาสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ได้ตลอดชีวิต
ส่วนประกอบอาหารที่จะเรียนนั้นนอกจากจะเรียนรู้อาหารของผู้ป่วยแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกันแล้ว ยังจะได้เรียนการประกอบอาหารที่จะมีผลต่อยีนด้วย จะรวมถึงอาหารที่ทำให้อินซูลินหลั่งช้าที่สุด และเกิดการอักเสบหรือเกิดอนุมูลอิสระให้น้อยที่สุด และมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด และทำให้หางโครโมโซมหรือที่เรียกว่าเทโลเมียร์สั้นช้าที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ในการประกอบอาหารที่ยากที่สุดในวงการอาหารเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเจียระไนเพิ่มจุดแข็งและลดจุดอ่อนของค่ายสำนักคิดในด้านอาหารต่างๆ จึงได้สอนทำอาหารที่ครอบคลุมถึงอาหาร Vegan Ketogenic Diet (อาหารมังสงวิรัติที่มีไขมันชนิดดีสูง), High Fiber Vegan (อาหารมังสวิรัติที่มีไฟเบอร์สูง), Low Glycemic Load Vegan Diet (อาหารมังสวิรัติดัชนีน้ำตาลต่ำ) , อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สุดระดับโลก, รวมถึงการทำเบเกอรี่ที่คนส่วนใหญ่ทั่วโลกเชื่อว่ามีแต่จะทำลายสุขภาพ ให้กลายเป็นเบเกอรี่เพื่อสุขภาพในระดับยีนและลดไขมันแทรกตับได้ ซึ่งเป็นการเปิดการเรียนการสอนที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
ความอิ่มเอิบของความรู้ด้านอาหารนี้ ได้ทำให้ผู้เรียนบางคนหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน ซึ่งเคยเรียนหลักสูตรวิถีชีวาเวชาศาสตร์ ถึงกลับเอ่ยปากว่าความรู้ที่เรียนในวิถีชีวาเวชศาสตร์นั้นก็ถือว่ามากแล้ว แต่การลงลึกในรายละเอียดเรื่องอาหารทำให้เกิดการตกผลึกทางความคิดและความสว่างทางปัญญาในการประยุกต์ใช้กับตัวเอง คนในครอบครัว และการต่อยอดในทางธุรกิจอาหารสุขภาพได้อีกมากด้วย
หลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีนจะต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การประกอบอาหารด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูงและดีต่อสุขภาพ แต่ก็เป็นไปเพื่อเปิดโลกทัศน์ส่วนประกอบอาหารหลากชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สุดในระดับโลก อีกทั้งยังให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงทุกคน ต่างจากบางหลักสูตรที่ผู้เรียนได้แต่ยืนมองเฉยๆ การเรียนลักษณะเช่นนี้จึงย่อมส่งผลต่อค่าเรียนที่มีราคาสูง แต่เมื่อผู้เรียนได้เรียนจบแล้วทุกคนกลับให้ความเห็นว่าคุ้มค่ากับการเรียนจริงๆ หลายคนที่มาเรียนไม่เคยทำอาหารมาก่อนก็ยังสามารถได้รับคำชมจากกรรมการสอบที่เป็นเชฟมืออาชีพ จนนักเรียนหลายคนซึ่งเรียนจบแล้วก็ยังอยากจะเรียนเพิ่มเติมอีก เพราะในแต่ละรุ่นจะเรียนเมนูส่วนใหญ่ไม่ซ้ำกัน
สำหรับหลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ (Lifestyle Medicine) รุ่นที่ 3 ของสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะเรียนเฉพาะวันเสาร์เต็มวันทั้งเช้าและบ่าย (ยกเว้นช่วงวันหยุด) ทั้งนี้จะเริ่มเรียนวันแรกในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 27 เมษายนรับสมัครจำนวนไม่เกิน 50 คน โดยจะปิดรับสมัครวันที่ 11 มกราคม 2562 แต่หากสมัครก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 จะได้รับส่วนลดพิเศษ 10% ยกเว้นผู้ที่มีหนังสือแนะนำจากนักเรียนวิถีชีวาเวชศาสตร์รุ่นที่ 1 และ 2 รวมถึงที่ผู้ที่ได้ผ่านการเรียนหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีนรุ่นที่ 1 จะได้ส่วนลด 10% ขยายไปถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สำหรับหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน (Culinary Course for Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) รุ่นที่ 2 จะเรียนทุกวันอาทิตย์(เช้าและบ่าย) โดยจะเริ่มวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 และเนื่องจากรับจำนวนจำกัดเพื่อคุณภาพการเรียนการสอนได้ไม่เกิน 20 คนเท่านั้น (ในขณะที่มีผู้สนใจเรียนจำนวนมาก) จึงจะให้สิทธิ์ผู้ที่เป็นนักเรียนเก่าในหลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่น 1 รุ่น 2, และผู้ที่จบหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยระดับยีน รุ่นที่ 1, รวมถึงผู้ที่ตัดสินใจสมัครหลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 3 ก่อนเท่านั้น (เพื่อความต่อเนื่องของหลักสูตร) โดยบุคคลเหล่านี้จะได้รับส่วนลดพิเศษการชำระเงินทั้งหลักสูตรก่อนวันที่ 28 ธันวาคม 2561
ส่วนบุคคลภายนอกที่ประสงค์จะเรียน หลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน (Culinary Course for Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) รุ่นที่ 2 แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เคยสมัครเรียนหลักสูตรใดมาก่อน และไม่ได้ลงสมัครเรียนหลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 3 สามารถลงจองชื่อสำรองที่เรียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดย “หากมีที่เรียนเหลือ”จึงจะมีสิทธิสมัครได้ตามคิว และจะเริ่มเปิดรับสมัครจริงสำหรับบุคคลภายนอกต้นเดือนมกราคม 2562 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 และจะได้รับส่วนลดเมื่อชำระเงินทั้งหลักสูตรก่อนวันที่ 18 มกราคม 2562 และจะเริ่มเรียนปรับฐานร่วมกับนักเรียนใน หลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ รุ่นที่ 3 ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 (ทั้งเช้าและบ่าย) และวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 (เฉพาะช่วงเช้า) หลังจากนั้นจึงจะเริ่มเรียนภาคการประกอบอาหารทุกวันอาทิตย์ (เช้าและบ่าย)ยกเว้นวันหยุดช่วงสงกรานต์ โดยจะเริ่มเรียนการประกอบอาหารวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562
สนใจติดต่อสมัครทั้ง หลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ (Lifestyle Medicine) รุ่นที่ 3 และหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและชะลอวัยในระดับยีน (Culinary Course for Healthy and Anti-Aging Genomic Diet) รุ่นที่ 2 ได้ที่สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 061-950-6666
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต