xs
xsm
sm
md
lg

เครือซีพีเปิดตัวพันธมิตรฯ ยื่นประมูลรถไฟ3สนามบิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผนึกพันธมิตรนานาชาติ พร้อมยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วันนี้ ขณะที่รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ให้สามารถรองรับตู้สินค้า 18 ล้านตู้ต่อปี พร้อมพัฒนาท่าเรือบกควบคู่ไปด้วย รองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ด้านกนอ. มั่นใจการขายซองประกวดราคาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 (ช่วงที่ 1 ) เริ่ม 9-21 พ.ย.นี้ จะได้รับความสนใจจากภาคเอกชนทุกส่วน ทั้งไทยและเทศ เพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในพื้นที่ อีอีซี หลังเปิดวันแรกเอกชนก็เริ่มคึกคักแล้ว

วานนี้ (11พ.ย.) นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตร ที่ได้รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้า หรือ Consortium พร้อมที่จะเข้ายื่นซอง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในวันนี้ (12 พ.ย.) โดยมีพันธมิตรทั้งจากประเทศไทย และนานาประเทศ ร่วมผนึกกำลังโดยจะนำความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นระดับโลกมาร่วมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง เนื่องด้วยรถไฟความเร็วสูง มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเป็นหัวใจการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 ของประเทศไทย และหลังจากยื่นซองประมูลแล้ว ขอประกาศว่า จะเข้าสู่ช่วง Silence Period ตามมารยาทการแข่งขันและธรรมาภิบาล ที่ดี

สำหรับบริษัทที่เป็นกิจการร่วมค้า(Consortium)และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner)กับเครือเจริญ โภคภัณฑ์ ล้วนเป็นบริษัทชั้นนำ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านต่างๆ ที่จะรวมพลังพัฒนาโครงการฯ นี้ให้สำเร็จ ได้แก่ เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน) China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) Siemen (ประเทศเยอรมัน) Hyundai (ประเทศเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นต้น

รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าจากเดิม 7.67 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี พร้อมกับพัฒนาท่าเรือบก(Dry Port)เพื่อลดปัญหาการจราจรโดยรอบ และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางเข้าสู่ท่าเรือ จากปัจจุบันร้อยละ 5.5 เพิ่มเป็นร้อยละ 30

สำหรับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง มีเป้าหมายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค หรือกลุ่มประเทศ CLMVภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ที่เหมาะสมเป็นท่าเรือบก โดยใช้ระบบขนส่งทางรางเป็นโครงข่ายหลักในการขนส่ง

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลของกระทรวงคมนาคม และการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ พบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นท่าเรือบก คือ จ.ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และ นครสวรรค์ รวมทั้งพื้นที่ชายแดนที่ควรพัฒนาเป็นจุดรวบรวมและกระจายสินค้า คือ จ. หนองคาย มุกดาหาร เชียงราย ตาก สระแก้ว และสงขลา โดยเชื่อมโยงกันด้วยระบบโครงข่ายคมนาคม ที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัย ทั้งการขนส่งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เกิดความสะดวกและรวดเร็ว ช่วยดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้นต่อไป

ซื้อซองท่าเรือฯมาบตาพุดเฟส 3 คึกคัก

น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.ได้กำหนดเปิดขายซองประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 อย่างเป็นทางการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.-21 พ.ย.นี้ ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศในการซื้อซองเพื่อเข้าร่วมพัฒนาโครงการดังกล่าว ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 54,000 ล้านบาท และยังเป็นกลไกสำคัญในการ พัฒนาเศรษฐกิจให้กับประเทศ และขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

"กนอ. จะเปิดขายจนถึง วันที่ 21 พ.ย.61 ซึ่งบรรยากาศวันแรกของการเปิดขาย ภาคเอกชนได้ให้ความสนใจและเริ่มทยอยเข้ามาซื้อซองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อ 2 พ.ย. เองขั้นตอนการเชิญชวนเอกชนก็มีการติดต่อรายละเอียดทั้งบริษัทจากจีน ญี่ปุ่นและไทย สะท้อนให้เห็นการตอบรับที่ดี เพราะโครงการดังกล่าวนี้ ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 54,000 ล้านบาท และยังเป็นกลไกสำคัญในการ พัฒนาเศรษฐกิจให้กับประเทศและขับเคลื่อนการลงทุนมายังพื้นที่ อีอีซี" ผู้ว่า กนอ.กล่าว

ทั้งนี้แผนการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2568 โดยใน 3 ปีแรก จะเริ่มงานถมทะเล และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และที่เหลืออีก 2 ปี เป็นการพัฒนาส่วนท่าเรือสาธารณะ การขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ (LNG) รองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอนาคต โดยนัก ลงทุนที่สนใจร่วมพัฒนาโครงการฯ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.02-253-0561 ต่อ 6410,1422, 6403 หรือ
กำลังโหลดความคิดเห็น