เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SEA) กรณียุทธศาสตร์พลังงานภาคใต้” ผมได้รับการบอกเล่าจากผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งว่า อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่กำลังจะติดโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองขนาด 28 กิโลวัตต์
ผมรู้สึกตื่นเต้นและดีใจกับข่าวเล็กๆ ชิ้นนี้เป็นอย่างมากครับ เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมเคยขอทุนจากสหกรณ์แห่งนี้เพื่อวิจัย “กังหันลมแนวตั้ง” (ขนาดประมาณเท่าถังน้ำมัน 200 ลิตร) บนอาคารหลังนี้แหละ แต่ผมทำไม่สำเร็จเพราะความเร็วลมบนดาดฟ้าแรงมาก ทั้งๆ ที่เราไม่เห็นยอดไม้ไหวลมได้พัดเอาอุปกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วพังทั้งๆ ที่ผลิตโดยช่างมืออาชีพด้านการเชื่อมโลหะแต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับอันตราย ผมจึงตัดสินใจเลิกโครงการ และไม่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนใดๆ จากโครงการวิจัย
ในวันนั้น (ประมาณปี 2548) ผมสนใจเรื่องพลังงานลมเป็นชีวิตจิตใจ ไปเที่ยวที่ไหนแทนที่จะชมวิวทิวทัศน์ ผมกลับมองและสังเกตแต่ความแรงลมจากยอดไม้ไหวรวมทั้งการสะบัดของผืนธงผมสอนทั้งทฤษฎีและให้นักศึกษาทำโครงงานจนสำเร็จการศึกษาไป 3-4 คน ในวันนั้นผมไม่ได้สนใจโซลาร์เซลล์เลยเพราะมีราคาแพงมากและผมก็ไม่มีวิสัยทัศน์เลยว่าราคาโซลาร์เซลล์จะลดลงมาถูกมากเหมือนทุกวันนี้
ข่าวดีชิ้นเล็กๆ อีกชิ้นหนึ่ง มาจากผู้ร่วมประชุมในเวทีเดิมที่ผมกำลังเล่าอยู่ เธอเป็นนิสิตระดับปริญญาเอกของสถาบันแห่งหนึ่ง เธอเล่าว่า เธอเห็นสถาบันดังกล่าวกำลังเปลี่ยนไฟถนนเป็นหลอดแอลอีดีซึ่งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เขียนถึงเรื่องหลอดแอลอีดีสำหรับไฟถนน นี่ก็ทำให้ผมรู้สึกดีใจอีกแล้ว
ขอข่าวดีอีกสักข่าวครับ ก่อนที่จะกลับมาพูดเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้าจากไฟถนน
ข่าวที่ว่านี้เกิดการรวมตัวภาคประชาสังคมของผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องพลังงานหมุนเวียน โดยจัดตั้งเป็น “กองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund)” เพื่อระดมทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาล และโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล โดยประธานกองทุนก็คือท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ แห่งโรงเรียนศรีแสงธรรม ซึ่งท่านได้ริเริ่มไปบ้างแล้วกับโรงพยาบาลสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี กองทุนนี้จะเปิดตัวโครงการและระดมทุนในวันที่ 29 เดือนนี้ครับโปรดคอยติดตามและช่วยเหลือกันนะครับ อย่างน้อยก็เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการฟื้นฟูโลก มาสู่การปฏิบัติ
อ้อ ท่านที่บริจาคเข้ากองทุนนี้สามารถลดภาษีได้ด้วยนะ โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นผู้ดูแลเรื่องทางการเงินการทองครับ ผมขอถือโอกาสประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า เริ่มได้เลยและลดหย่อนภาษีได้ทันในปีนี้เลยครับ
หลักคิดที่สำคัญของกองทุนดังกล่าวก็คือ แทนที่โรงพยาบาลจะใช้เงินไปกับค่าไฟฟ้าประมาณ 3-4 แสนบาทต่อเดือน ก็น่าจะนำเงินที่สามารถลดได้จากค่าไฟฟ้าไปช่วยรักษาผู้ป่วยดีกว่า เพราะสามารถได้ทุนคืนภายในเวลา 4-5 ปีเท่านั้น
โดยสรุป วันนี้ผมได้นำข่าวดีๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ทยอยกันบานสะพรั่ง ผมเชื่อว่าข่าวดีในลักษณะนี้จะผุดบานสะพรั่งมากขึ้นๆ ทุกหนทุกแห่ง และอย่างรวดเร็วด้วย
คราวนี้มาดูข่าวดีชิ้นใหญ่ๆ ของต่างประเทศเขาบ้างครับ
เรื่องนี้เกิดขึ้นในเมืองลอสแอนเจลีสซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา มีประชากรร่วม 4 ล้านคน อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก
เรื่องนี้ได้เริ่มมา 9 ปีแล้ว คือเมื่อปี 2009 หลังจากหลอดไฟฟ้าชนิดแอลอีดี (LED) ได้ออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์เมื่อประมาณปี 2006 ก็ต้องถือว่าเขาทันสถานการณ์ทีเดียวไม่ชักช้าอืดอาดเหมือนบางประเทศ
เมืองนี้มีเสาไฟฟ้าจำนวนกว่า 2 แสนต้น เขามีแผน 7 ปีในการเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดี ผมได้สรุปรวมทั้งเสนอภาพถ่ายของความสว่างที่เพิ่มขึ้นมาให้ดูด้วยครับ
เขาสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 62.8 คิดเป็นตัวเงินก็หลายตังค์อยู่ครับ นอกจากนี้ยังประหยัดค่าบำรุงรักษาได้อีกจำนวนมาก อายุการใช้งานก็นานกว่า

กลับมาที่บ้านเราครับ
ในการประชุม SEA ที่ผมเล่าตั้งแต่ต้น ผมได้ตั้งคำถามว่า ทำไมในบ้านเราจึงไม่มีการคิดและนำไปปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวกันอย่างจริงๆ จังๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ค่ายทหาร และมหาวิทยาลัย
ผู้เข้าประชุมท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้แทนจากการไฟฟ้าแห่งหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า โดยปกติเทศบาลจะได้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตามถนนฟรีครับ เรื่องนี้เป็นข้อตกลงทั่วไประหว่างการไฟฟ้ากับเทศบาล ถ้าผมจำไม่ผิดก็ได้ใช้ฟรีประมาณ 10% ของจำนวนไฟฟ้าที่คนในเทศบาลนั้นๆ ใช้
มิน่าละ!
ผมตั้งใจว่าวันนี้จะนำแต่ข่าวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ แต่ทำไมจึงมาจบที่ข่าวนี้ก็ไม่ทราบครับ
ถ้าอย่างนั้นขอเป็นเรื่องดีๆ ปิดท้ายตามที่ตั้งใจครับ คือ หมู่บ้านจัดสรรที่ผมอาศัยอยู่ซึ่งปกติต้องจ่ายค่าไฟฟ้าปีละเกือบหนึ่งล้านบาท ซึ่งประมาณ 90% เป็นค่าไฟฟ้าจากไฟถนน กรรมการหมู่บ้านกำลังปรึกษาหารือในเรื่องการประหยัดพลังงานกันอยู่ครับ ผลในทางปฏิบัติจริงเป็นอย่างไรจะนำมาเล่าให้ฟังครับ
ผมมั่นใจว่าข่าวดีๆ จากกลุ่มคนเล็กๆ จะบานสะพรั่งทั่วประเทศ โลกของเรา ประเทศของเราและหมู่บ้านของเราจะต้องน่าอยู่ขึ้นด้วยน้ำมือของคนรุ่นเรานี่แหละ
ผมรู้สึกตื่นเต้นและดีใจกับข่าวเล็กๆ ชิ้นนี้เป็นอย่างมากครับ เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมเคยขอทุนจากสหกรณ์แห่งนี้เพื่อวิจัย “กังหันลมแนวตั้ง” (ขนาดประมาณเท่าถังน้ำมัน 200 ลิตร) บนอาคารหลังนี้แหละ แต่ผมทำไม่สำเร็จเพราะความเร็วลมบนดาดฟ้าแรงมาก ทั้งๆ ที่เราไม่เห็นยอดไม้ไหวลมได้พัดเอาอุปกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วพังทั้งๆ ที่ผลิตโดยช่างมืออาชีพด้านการเชื่อมโลหะแต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับอันตราย ผมจึงตัดสินใจเลิกโครงการ และไม่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนใดๆ จากโครงการวิจัย
ในวันนั้น (ประมาณปี 2548) ผมสนใจเรื่องพลังงานลมเป็นชีวิตจิตใจ ไปเที่ยวที่ไหนแทนที่จะชมวิวทิวทัศน์ ผมกลับมองและสังเกตแต่ความแรงลมจากยอดไม้ไหวรวมทั้งการสะบัดของผืนธงผมสอนทั้งทฤษฎีและให้นักศึกษาทำโครงงานจนสำเร็จการศึกษาไป 3-4 คน ในวันนั้นผมไม่ได้สนใจโซลาร์เซลล์เลยเพราะมีราคาแพงมากและผมก็ไม่มีวิสัยทัศน์เลยว่าราคาโซลาร์เซลล์จะลดลงมาถูกมากเหมือนทุกวันนี้
ข่าวดีชิ้นเล็กๆ อีกชิ้นหนึ่ง มาจากผู้ร่วมประชุมในเวทีเดิมที่ผมกำลังเล่าอยู่ เธอเป็นนิสิตระดับปริญญาเอกของสถาบันแห่งหนึ่ง เธอเล่าว่า เธอเห็นสถาบันดังกล่าวกำลังเปลี่ยนไฟถนนเป็นหลอดแอลอีดีซึ่งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เขียนถึงเรื่องหลอดแอลอีดีสำหรับไฟถนน นี่ก็ทำให้ผมรู้สึกดีใจอีกแล้ว
ขอข่าวดีอีกสักข่าวครับ ก่อนที่จะกลับมาพูดเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้าจากไฟถนน
ข่าวที่ว่านี้เกิดการรวมตัวภาคประชาสังคมของผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องพลังงานหมุนเวียน โดยจัดตั้งเป็น “กองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund)” เพื่อระดมทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาล และโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล โดยประธานกองทุนก็คือท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ แห่งโรงเรียนศรีแสงธรรม ซึ่งท่านได้ริเริ่มไปบ้างแล้วกับโรงพยาบาลสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี กองทุนนี้จะเปิดตัวโครงการและระดมทุนในวันที่ 29 เดือนนี้ครับโปรดคอยติดตามและช่วยเหลือกันนะครับ อย่างน้อยก็เป็นการเปลี่ยนความคิดเรื่องการฟื้นฟูโลก มาสู่การปฏิบัติ
อ้อ ท่านที่บริจาคเข้ากองทุนนี้สามารถลดภาษีได้ด้วยนะ โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นผู้ดูแลเรื่องทางการเงินการทองครับ ผมขอถือโอกาสประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า เริ่มได้เลยและลดหย่อนภาษีได้ทันในปีนี้เลยครับ
หลักคิดที่สำคัญของกองทุนดังกล่าวก็คือ แทนที่โรงพยาบาลจะใช้เงินไปกับค่าไฟฟ้าประมาณ 3-4 แสนบาทต่อเดือน ก็น่าจะนำเงินที่สามารถลดได้จากค่าไฟฟ้าไปช่วยรักษาผู้ป่วยดีกว่า เพราะสามารถได้ทุนคืนภายในเวลา 4-5 ปีเท่านั้น
โดยสรุป วันนี้ผมได้นำข่าวดีๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ทยอยกันบานสะพรั่ง ผมเชื่อว่าข่าวดีในลักษณะนี้จะผุดบานสะพรั่งมากขึ้นๆ ทุกหนทุกแห่ง และอย่างรวดเร็วด้วย
คราวนี้มาดูข่าวดีชิ้นใหญ่ๆ ของต่างประเทศเขาบ้างครับ
เรื่องนี้เกิดขึ้นในเมืองลอสแอนเจลีสซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา มีประชากรร่วม 4 ล้านคน อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก
เรื่องนี้ได้เริ่มมา 9 ปีแล้ว คือเมื่อปี 2009 หลังจากหลอดไฟฟ้าชนิดแอลอีดี (LED) ได้ออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์เมื่อประมาณปี 2006 ก็ต้องถือว่าเขาทันสถานการณ์ทีเดียวไม่ชักช้าอืดอาดเหมือนบางประเทศ
เมืองนี้มีเสาไฟฟ้าจำนวนกว่า 2 แสนต้น เขามีแผน 7 ปีในการเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดี ผมได้สรุปรวมทั้งเสนอภาพถ่ายของความสว่างที่เพิ่มขึ้นมาให้ดูด้วยครับ
เขาสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 62.8 คิดเป็นตัวเงินก็หลายตังค์อยู่ครับ นอกจากนี้ยังประหยัดค่าบำรุงรักษาได้อีกจำนวนมาก อายุการใช้งานก็นานกว่า
กลับมาที่บ้านเราครับ
ในการประชุม SEA ที่ผมเล่าตั้งแต่ต้น ผมได้ตั้งคำถามว่า ทำไมในบ้านเราจึงไม่มีการคิดและนำไปปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวกันอย่างจริงๆ จังๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ค่ายทหาร และมหาวิทยาลัย
ผู้เข้าประชุมท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้แทนจากการไฟฟ้าแห่งหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า โดยปกติเทศบาลจะได้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตามถนนฟรีครับ เรื่องนี้เป็นข้อตกลงทั่วไประหว่างการไฟฟ้ากับเทศบาล ถ้าผมจำไม่ผิดก็ได้ใช้ฟรีประมาณ 10% ของจำนวนไฟฟ้าที่คนในเทศบาลนั้นๆ ใช้
มิน่าละ!
ผมตั้งใจว่าวันนี้จะนำแต่ข่าวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ แต่ทำไมจึงมาจบที่ข่าวนี้ก็ไม่ทราบครับ
ถ้าอย่างนั้นขอเป็นเรื่องดีๆ ปิดท้ายตามที่ตั้งใจครับ คือ หมู่บ้านจัดสรรที่ผมอาศัยอยู่ซึ่งปกติต้องจ่ายค่าไฟฟ้าปีละเกือบหนึ่งล้านบาท ซึ่งประมาณ 90% เป็นค่าไฟฟ้าจากไฟถนน กรรมการหมู่บ้านกำลังปรึกษาหารือในเรื่องการประหยัดพลังงานกันอยู่ครับ ผลในทางปฏิบัติจริงเป็นอย่างไรจะนำมาเล่าให้ฟังครับ
ผมมั่นใจว่าข่าวดีๆ จากกลุ่มคนเล็กๆ จะบานสะพรั่งทั่วประเทศ โลกของเรา ประเทศของเราและหมู่บ้านของเราจะต้องน่าอยู่ขึ้นด้วยน้ำมือของคนรุ่นเรานี่แหละ