1.คำนำ
เป็นที่ทราบกันพอสมควรแล้วว่า หลอดไฟฟ้าที่เรียกกันว่า “หลอดแอลอีดี” (LED, Light Emitting Diode) เป็นหลอดประหยัดพลังงาน เพราะเป็นผลิตผลขององค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “ควอนตัมฟิสิกส์” (ในต้นศตวรรษที่ 20) แต่เพิ่งถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ. 2006 (ต้นศตวรรษที่ 21) หรือเมื่อ 12 ปีมานี้เอง แต่จะประหยัดได้จริงสักแค่ไหน จะคุ้มหรือไม่ที่เราจะถอดหลอดที่กำลังใช้อยู่ทิ้งไปในทันที หรือจะต้องรอจนกว่าหลอดเก่าเสียแล้วค่อยทยอยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ผมได้ยกประเด็นไฟถนนขึ้นมาก็เพราะว่า (1) ไฟถนนต้องใช้พลังงานมาก เปิดใช้ทุกวันๆ ละ 12 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าสามารถประหยัดพลังงานได้จริง และมีอายุการใช้งานได้นานจริง เมื่อคิดออกมาเป็นตัวเงินที่ประหยัดได้ก็จะมากตามไปด้วย (2) ต้องมีต้นทุนคงที่ในการเปลี่ยนแต่ละครั้ง เช่น ค่าเช่ารถกระเช้า หรือจ้างผู้ชำนาญพิเศษปีนขึ้นเสาไฟดังนั้น ถ้าจะเปลี่ยนเมื่อถึงคราวที่หลอดเก่าเสีย ก็อาจจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินไป
บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและประสิทธิภาพของหลอดแอลอีดีโดยย่อ จากนั้นก็จะใช้ข้อมูลจริงของหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งซึ่งต้องจ่ายค่าไฟฟ้าปีละเกือบ 1 ล้านบาทมาวิเคราะห์ให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า ทำไมจึงควรรีบเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดี
2. ความเป็นมาและประสิทธิภาพของหลอดแอลอีดี
เมื่อเดือนตุลาคม 2014 หลังจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศให้นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ด้วยผลงานที่สามารถประดิษฐ์แสง LED สีน้ำเงิน (ผลงานเมื่อ 29 ปีก่อน) ซึ่งเมื่อไปผสมกับผลงานแสง LED สีแดง (ผลงานต้นทศวรรษ1960) แสง LED สีเขียว (ผลงานปลายทศวรรษ 1960) แล้วจะได้แสงสีขาวซึ่งเราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
หลังจากนั้นไม่กี่วัน Dr.Frances Saunders ประธานสถาบันฟิสิกส์ในขณะนั้น (ก่อตั้งปี ค.ศ. 1874 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ประมาณ 20% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั่วทั้งโลกนั้น ใช้ไปเพื่อให้ได้แสงสว่างโดยได้มีการคำนวณว่า ถ้ามีการใช้หลอด LED อย่างเหมาะสมพลังงานไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างจะสามารถลดลงมาเหลือเพียง 4% เท่านั้น” หรือสามารถลดพลังงานลงเหลือเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น (https://www.bbc.com/news/science-environment-29518521)
ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้า 3 ชนิด ผมนำมาลงเพื่อให้เข้าใจภาพรวมเพียงคร่าวๆ เท่านั้น รายละเอียดจริงๆ อาจจะแตกต่างไปจากนี้บ้าง ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และรุ่นของผลิตภัณฑ์ครับ

จากรายงานของธนาคารโลกเรื่อง “PROVEN DELIVERY MODELSFOR LED PUBLIC LIGHTING : Synthesis of Six Case Studies” พบว่า “ภายใต้โครงการแสงสว่างเพื่อสาธารณะ เทคโนโลยี LED กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การใช้ไฟฟ้าลดลงถึงร้อยละ 40 ถึง 60 นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาก็ลดลงเพราะว่ามีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลอดไฟแบบเดิมถึง 4 เท่าตัว”
“ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว หากการลดพลังงานไฟฟ้าลง 40% โดยการใช้หลอด LED จะสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ปีละ 53,000 ล้านดอลลาร์ ไฟฟ้าที่ลดได้เทียบเท่ากับที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าขนาดกลางจำนวน 198 โรง”
เมือง Ann Arbor (มีประชากรประมาณ 1.1 แสนคน) ในรัฐมิชิแกน เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ใช้หลอด LED กับไฟบนถนนเมื่อปี 2006 จากนั้นก็มีการใช้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เช่นในปี 2009 เมืองลอสแองเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้มีโครงการ 7 ปีเพื่อเปลี่ยนไฟถนน 172,000 หลอดเป็นหลอดแอลอีดีโดยใช้งบประมาณ 57 ล้านดอลลาร์ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 9 ล้านดอลลาร์(https://www.techrepublic.com/article/how-la-is-now-saving-9m-a-year-with-led-streetlights-and-converting-them-into-ev-charging-stations/)
หน่วยงานของเมืองลอสแองเจลิส ที่ชื่อว่า The Bureau of Street Lighting ได้เผยแพร่ในวิดีโอว่า “โครงการมีเป้าหมายที่จะประหยัดพลังงานไฟฟ้า 40% แต่เมื่อลงมือทำจริงสามารถลดพลังงานได้ถึง 63%” ( http://bsl.lacity.org/led.htm l)
จากรายงานเรื่อง “ปฏิวัติเดี๋ยวนี้ ห้าเทคโนโลยีสะอาดแห่งอนาคตมาถึงแล้ว” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของกรมพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา กรุณาดูข้อสรุปสำคัญในภาพประกอบครับ

3. ข้อมูลจริงจากหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง
หมู่บ้านที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟังมีขนาด 760 หลัง ในปี 2560 ได้จ่ายค่าไฟฟ้าส่วนกลางจำนวน 942,813 บาท (คิดเป็น 5.7% ของรายรับทั้งหมด) โดยถูกจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 2.1.2 คือ เป็นกิจการขนาดเล็ก (อัตราปกติก้าวหน้า) แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์
เมื่อนำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 78,567 บาท แล้วลองคิดค่าไฟฟ้าด้วยแอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวงก็พบว่ามีการใช้เดือนละประมาณ 17,270 หน่วย (รวมค่าบริการ ค่าเอฟทีและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.55 บาท
หมู่บ้านจัดสรรที่ผมกล่าวถึงมีอายุประมาณ 10 ปี มีเสาไฟฟ้าบนถนนสายหลักจำนวน 281 ต้น (หลอดนีออนขนาด 110 วัตต์) ถนนซอยอีกประมาณ 150 ต้น (ไม่แน่ใจว่าเป็นขนาดหลอดเท่าใด) นับตั้งแต่กลางปี 2560 เป็นต้นมาได้มีการทยอยเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดีขนาดต่างๆ กันรวม 195 หลอด ในจำนวนนี้ได้เปลี่ยนหลอดนีออนขนาด 110 วัตต์เป็นหลอดแอลอีดีขนาด 40 วัตต์ จำนวน 64 หลอด โดยใช้แรงงานคนปีนขึ้นเสา ค่าจ้างเสาละ 300 บาท ครั้งละประมาณ 10 เสา
บทความนี้จะคำนวณหาความคุ้มทุนของการเปลี่ยนหลอดนีออนขนาด 110 วัตต์ เป็นหลอดแอลอีดี โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ (1) ขนาด 40 วัตต์ ราคาหลอดละ 295 บาท และ (2) ขนาด 50 วัตต์ ราคาหลอดละ 340 บาท ซึ่งมีอายุการใช้งาน 20,000 ชั่วโมง สำหรับค่าแรงในการเปลี่ยนคิดเท่ากันคือ 300 บาทต่อเสา (หมายเหตุ ในความเป็นจริงน่าจะลดลงได้อีกทั้งค่าแรงและค่าหลอด เพราะเป็นงานใหญ่ อ้อ! หลอดดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมครับ)
ผลการคำนวณได้ดังตาราง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ครับ

(1) ใน 7 เดือนแรก นอกจากค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้จะสามารถคืนทุนได้ทั้งหมดแล้ว ยังมีเงินส่วนที่ประหยัดได้เหลืออีก 45,054 บาท และ 18,545 บาท สำหรับกรณี 40 วัตต์และ 50 วัตต์ ตามลำดับ
(2) นับจากเดือนที่ 8 เป็นต้นไป ทุกๆ รอบ 12 เดือนจะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 298,575 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.7 ของรายจ่ายค่าไฟฟ้าทั้งหมู่บ้าน สำหรับกรณี 40 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกรณี 50 วัตต์ จะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 255,921 บาท หรือ 27.1%
(3) การศึกษานี้ยังไม่ได้รวมถึงไฟถนนในซอยซึ่งมีประมาณ 150 เสา เนื่องจากข้อมูลไม่ชัดเจน ถ้าศึกษาทั้งหมด ร้อยละของค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้น่าจะเพิ่มเป็นมากกว่า 40% ใกล้เคียงกับเมืองลอสแองเจลิสและการศึกษาของธนาคารโลกที่ได้กล่าวมาแล้ว
4. สรุป
ผมได้ตั้งคำถามไว้ในชื่อบทความว่า “ทำไมจึงควรรีบเปลี่ยน” คำตอบได้ออกมาเรียบร้อยแล้วครับ คือเพราะว่านอกจากเรากำลังเผาเงินทิ้งไปเดือนละเกือบ 2.2 หมื่นบาท (สำหรับ 217 เสาหลัก ขนาด 40 วัตต์) เรายังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กำลังทำลายโลกโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ยิ่งช้าไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างปัญหาทั้งต่อตนเองและต่อโลกมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าท่านผู้อ่านเห็นด้วยก็โปรดช่วยกันเผยแพร่และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยครับ
ในโอกาสที่เพลงแร็ป“ประเทศกูมี” กำลังแพร่ระบาดดุจไวรัส ผมเห็นด้วยว่า “ประเทศกูมี” เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพสูง มีองค์ความรู้มากมาย และมีเสาไฟฟ้าหลายสิบล้านต้นทั่วประเทศ แต่เรามักมีงานวิจัยไว้ขึ้นหิ้งไม่ยอมนำมาปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมครับ ทั้งนี้เพราะมีผลประโยชน์ของพ่อค้าพลังงานฟอสซิลอยู่เบื้องหลัง โดยคิดจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้เยอะๆ ด้วยวาทกรรมเดิมๆ “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน” ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว
นี่แหละประเทศกูครับ!
เป็นที่ทราบกันพอสมควรแล้วว่า หลอดไฟฟ้าที่เรียกกันว่า “หลอดแอลอีดี” (LED, Light Emitting Diode) เป็นหลอดประหยัดพลังงาน เพราะเป็นผลิตผลขององค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “ควอนตัมฟิสิกส์” (ในต้นศตวรรษที่ 20) แต่เพิ่งถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ. 2006 (ต้นศตวรรษที่ 21) หรือเมื่อ 12 ปีมานี้เอง แต่จะประหยัดได้จริงสักแค่ไหน จะคุ้มหรือไม่ที่เราจะถอดหลอดที่กำลังใช้อยู่ทิ้งไปในทันที หรือจะต้องรอจนกว่าหลอดเก่าเสียแล้วค่อยทยอยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ผมได้ยกประเด็นไฟถนนขึ้นมาก็เพราะว่า (1) ไฟถนนต้องใช้พลังงานมาก เปิดใช้ทุกวันๆ ละ 12 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าสามารถประหยัดพลังงานได้จริง และมีอายุการใช้งานได้นานจริง เมื่อคิดออกมาเป็นตัวเงินที่ประหยัดได้ก็จะมากตามไปด้วย (2) ต้องมีต้นทุนคงที่ในการเปลี่ยนแต่ละครั้ง เช่น ค่าเช่ารถกระเช้า หรือจ้างผู้ชำนาญพิเศษปีนขึ้นเสาไฟดังนั้น ถ้าจะเปลี่ยนเมื่อถึงคราวที่หลอดเก่าเสีย ก็อาจจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินไป
บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและประสิทธิภาพของหลอดแอลอีดีโดยย่อ จากนั้นก็จะใช้ข้อมูลจริงของหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งซึ่งต้องจ่ายค่าไฟฟ้าปีละเกือบ 1 ล้านบาทมาวิเคราะห์ให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า ทำไมจึงควรรีบเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดี
2. ความเป็นมาและประสิทธิภาพของหลอดแอลอีดี
เมื่อเดือนตุลาคม 2014 หลังจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศให้นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ด้วยผลงานที่สามารถประดิษฐ์แสง LED สีน้ำเงิน (ผลงานเมื่อ 29 ปีก่อน) ซึ่งเมื่อไปผสมกับผลงานแสง LED สีแดง (ผลงานต้นทศวรรษ1960) แสง LED สีเขียว (ผลงานปลายทศวรรษ 1960) แล้วจะได้แสงสีขาวซึ่งเราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
หลังจากนั้นไม่กี่วัน Dr.Frances Saunders ประธานสถาบันฟิสิกส์ในขณะนั้น (ก่อตั้งปี ค.ศ. 1874 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ประมาณ 20% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั่วทั้งโลกนั้น ใช้ไปเพื่อให้ได้แสงสว่างโดยได้มีการคำนวณว่า ถ้ามีการใช้หลอด LED อย่างเหมาะสมพลังงานไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างจะสามารถลดลงมาเหลือเพียง 4% เท่านั้น” หรือสามารถลดพลังงานลงเหลือเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น (https://www.bbc.com/news/science-environment-29518521)
ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้า 3 ชนิด ผมนำมาลงเพื่อให้เข้าใจภาพรวมเพียงคร่าวๆ เท่านั้น รายละเอียดจริงๆ อาจจะแตกต่างไปจากนี้บ้าง ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และรุ่นของผลิตภัณฑ์ครับ
จากรายงานของธนาคารโลกเรื่อง “PROVEN DELIVERY MODELSFOR LED PUBLIC LIGHTING : Synthesis of Six Case Studies” พบว่า “ภายใต้โครงการแสงสว่างเพื่อสาธารณะ เทคโนโลยี LED กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การใช้ไฟฟ้าลดลงถึงร้อยละ 40 ถึง 60 นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาก็ลดลงเพราะว่ามีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลอดไฟแบบเดิมถึง 4 เท่าตัว”
“ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว หากการลดพลังงานไฟฟ้าลง 40% โดยการใช้หลอด LED จะสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ปีละ 53,000 ล้านดอลลาร์ ไฟฟ้าที่ลดได้เทียบเท่ากับที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าขนาดกลางจำนวน 198 โรง”
เมือง Ann Arbor (มีประชากรประมาณ 1.1 แสนคน) ในรัฐมิชิแกน เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ใช้หลอด LED กับไฟบนถนนเมื่อปี 2006 จากนั้นก็มีการใช้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เช่นในปี 2009 เมืองลอสแองเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้มีโครงการ 7 ปีเพื่อเปลี่ยนไฟถนน 172,000 หลอดเป็นหลอดแอลอีดีโดยใช้งบประมาณ 57 ล้านดอลลาร์ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 9 ล้านดอลลาร์(https://www.techrepublic.com/article/how-la-is-now-saving-9m-a-year-with-led-streetlights-and-converting-them-into-ev-charging-stations/)
หน่วยงานของเมืองลอสแองเจลิส ที่ชื่อว่า The Bureau of Street Lighting ได้เผยแพร่ในวิดีโอว่า “โครงการมีเป้าหมายที่จะประหยัดพลังงานไฟฟ้า 40% แต่เมื่อลงมือทำจริงสามารถลดพลังงานได้ถึง 63%” ( http://bsl.lacity.org/led.htm l)
จากรายงานเรื่อง “ปฏิวัติเดี๋ยวนี้ ห้าเทคโนโลยีสะอาดแห่งอนาคตมาถึงแล้ว” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของกรมพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา กรุณาดูข้อสรุปสำคัญในภาพประกอบครับ
3. ข้อมูลจริงจากหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง
หมู่บ้านที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟังมีขนาด 760 หลัง ในปี 2560 ได้จ่ายค่าไฟฟ้าส่วนกลางจำนวน 942,813 บาท (คิดเป็น 5.7% ของรายรับทั้งหมด) โดยถูกจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 2.1.2 คือ เป็นกิจการขนาดเล็ก (อัตราปกติก้าวหน้า) แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์
เมื่อนำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 78,567 บาท แล้วลองคิดค่าไฟฟ้าด้วยแอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวงก็พบว่ามีการใช้เดือนละประมาณ 17,270 หน่วย (รวมค่าบริการ ค่าเอฟทีและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) หรือเฉลี่ยหน่วยละ 4.55 บาท
หมู่บ้านจัดสรรที่ผมกล่าวถึงมีอายุประมาณ 10 ปี มีเสาไฟฟ้าบนถนนสายหลักจำนวน 281 ต้น (หลอดนีออนขนาด 110 วัตต์) ถนนซอยอีกประมาณ 150 ต้น (ไม่แน่ใจว่าเป็นขนาดหลอดเท่าใด) นับตั้งแต่กลางปี 2560 เป็นต้นมาได้มีการทยอยเปลี่ยนเป็นหลอดแอลอีดีขนาดต่างๆ กันรวม 195 หลอด ในจำนวนนี้ได้เปลี่ยนหลอดนีออนขนาด 110 วัตต์เป็นหลอดแอลอีดีขนาด 40 วัตต์ จำนวน 64 หลอด โดยใช้แรงงานคนปีนขึ้นเสา ค่าจ้างเสาละ 300 บาท ครั้งละประมาณ 10 เสา
บทความนี้จะคำนวณหาความคุ้มทุนของการเปลี่ยนหลอดนีออนขนาด 110 วัตต์ เป็นหลอดแอลอีดี โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ (1) ขนาด 40 วัตต์ ราคาหลอดละ 295 บาท และ (2) ขนาด 50 วัตต์ ราคาหลอดละ 340 บาท ซึ่งมีอายุการใช้งาน 20,000 ชั่วโมง สำหรับค่าแรงในการเปลี่ยนคิดเท่ากันคือ 300 บาทต่อเสา (หมายเหตุ ในความเป็นจริงน่าจะลดลงได้อีกทั้งค่าแรงและค่าหลอด เพราะเป็นงานใหญ่ อ้อ! หลอดดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมครับ)
ผลการคำนวณได้ดังตาราง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ครับ
(1) ใน 7 เดือนแรก นอกจากค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้จะสามารถคืนทุนได้ทั้งหมดแล้ว ยังมีเงินส่วนที่ประหยัดได้เหลืออีก 45,054 บาท และ 18,545 บาท สำหรับกรณี 40 วัตต์และ 50 วัตต์ ตามลำดับ
(2) นับจากเดือนที่ 8 เป็นต้นไป ทุกๆ รอบ 12 เดือนจะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 298,575 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.7 ของรายจ่ายค่าไฟฟ้าทั้งหมู่บ้าน สำหรับกรณี 40 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกรณี 50 วัตต์ จะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 255,921 บาท หรือ 27.1%
(3) การศึกษานี้ยังไม่ได้รวมถึงไฟถนนในซอยซึ่งมีประมาณ 150 เสา เนื่องจากข้อมูลไม่ชัดเจน ถ้าศึกษาทั้งหมด ร้อยละของค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้น่าจะเพิ่มเป็นมากกว่า 40% ใกล้เคียงกับเมืองลอสแองเจลิสและการศึกษาของธนาคารโลกที่ได้กล่าวมาแล้ว
4. สรุป
ผมได้ตั้งคำถามไว้ในชื่อบทความว่า “ทำไมจึงควรรีบเปลี่ยน” คำตอบได้ออกมาเรียบร้อยแล้วครับ คือเพราะว่านอกจากเรากำลังเผาเงินทิ้งไปเดือนละเกือบ 2.2 หมื่นบาท (สำหรับ 217 เสาหลัก ขนาด 40 วัตต์) เรายังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กำลังทำลายโลกโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ยิ่งช้าไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างปัญหาทั้งต่อตนเองและต่อโลกมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าท่านผู้อ่านเห็นด้วยก็โปรดช่วยกันเผยแพร่และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยครับ
ในโอกาสที่เพลงแร็ป“ประเทศกูมี” กำลังแพร่ระบาดดุจไวรัส ผมเห็นด้วยว่า “ประเทศกูมี” เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพสูง มีองค์ความรู้มากมาย และมีเสาไฟฟ้าหลายสิบล้านต้นทั่วประเทศ แต่เรามักมีงานวิจัยไว้ขึ้นหิ้งไม่ยอมนำมาปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมครับ ทั้งนี้เพราะมีผลประโยชน์ของพ่อค้าพลังงานฟอสซิลอยู่เบื้องหลัง โดยคิดจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้เยอะๆ ด้วยวาทกรรมเดิมๆ “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน” ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว
นี่แหละประเทศกูครับ!