องค์คณะอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายืน จำคุก 10 เดือน "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" อดีตปลัดฯคมนาคม ฐานปกปิดทรัพย์สิน อ้างยืมเพื่อนฟังไม่ขึ้น
วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ รวม 9 คน ที่มี นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ รองประธานศาลฎีกา เป็นเจ้าของสำนวน นัดฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ คดีที่ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี 52-54 ผู้คัดค้าน ยื่นอุทธรณ์ผลคำพิพากษาองค์คณะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มี นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลาย เป็นเจ้าของสำนวน มีมติเสียงข้างมาก เมื่อวันที่ 26 ก.ย.60 ที่ให้จำคุก นายสุพจน์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 119 ฐานจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สิน หนี้สินและเอกสารประกอบอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง กรณีพ้นจากตำแหน่ง รวม 5 กระทงๆ ละ 2 เดือน จำคุกทั้งสิ้น 10 เดือน และมีคำสั่งห้าม ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม วันที่ 18 พ.ค.55 ด้วย
กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ร้อง ยื่นให้ศาลวินิจฉัยข้อกล่าวหา จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หลังจากเมื่อปี 55 ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดข้อกล่าวหา นายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินเท็จเกี่ยวกับเงินจำนวน 17,553,000 บาทเศษ และรถโฟล์คสวาเกน (Volk Swagen)ทะเบียน ฮต 8822 กทม. รวมมูลค่าทั้งสิ้น 20,473,000 บาท
โดยกรณีสืบเนื่องจากหลังเกิดเหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ ในซอยลาดพร้าว 64 เมื่อค่ำวันที่ 12 พ.ย.54 ซึ่งผู้ที่ร่วมทำผิดคดีอาญาได้ให้การเกี่ยวกับทรัพย์สินว่า พบเงินสดในบ้านนายสุพจน์ นับร้อยล้านบาท โดยนายสุพจน์ ไม่สามารถชี้แจงที่มาของเงิน 17 ล้านบาทเศษ และรถโฟล์คสวาเกน ทะเบียน ฮต 8822 กทม.ได้
ขณะที่ “นายสุพจน์” ได้ประกันตัวไปในชั้นอุทธรณ์ ด้วยหลักทรัพย์ที่ศาลตีราคาประกัน 2 ล้านบาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากศาล
โดย องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาแล้ว มีมติเสียงข้างมาก เห็นว่า ตามกฎหมายป.ป.ช. พ.ศ.2542 ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและเอกสารประกอบนั้น เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์มิชอบ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินทั้ง 2 รายการ ทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ควรต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แต่กระทำผิดเสียเอง จึงนับว่าพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง แม้ผู้คัดค้านไม่เคยกระทำผิดมาก่อน และเคยประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติหน้าที่ราชการจนได้รับตำแหน่งระดับสูง ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้รอการลงโทษ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนให้จำคุก 10 เดือน และห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 5 ปี โดยให้ออกหมายจับ ผู้คัดค้านตามคำพิพากษาถึงที่สุดและให้คืนหลักประกัน 2 ล้านบาท กับผู้คัดค้าน
ภายหลัง เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ควบคุมตัว นายสุพจน์ ขึ้นรถเรือนจำ ไปควบคุมต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อรับโทษตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว
วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ รวม 9 คน ที่มี นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ รองประธานศาลฎีกา เป็นเจ้าของสำนวน นัดฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ คดีที่ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี 52-54 ผู้คัดค้าน ยื่นอุทธรณ์ผลคำพิพากษาองค์คณะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มี นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลาย เป็นเจ้าของสำนวน มีมติเสียงข้างมาก เมื่อวันที่ 26 ก.ย.60 ที่ให้จำคุก นายสุพจน์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 119 ฐานจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สิน หนี้สินและเอกสารประกอบอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง กรณีพ้นจากตำแหน่ง รวม 5 กระทงๆ ละ 2 เดือน จำคุกทั้งสิ้น 10 เดือน และมีคำสั่งห้าม ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม วันที่ 18 พ.ค.55 ด้วย
กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ร้อง ยื่นให้ศาลวินิจฉัยข้อกล่าวหา จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หลังจากเมื่อปี 55 ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดข้อกล่าวหา นายสุพจน์ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินเท็จเกี่ยวกับเงินจำนวน 17,553,000 บาทเศษ และรถโฟล์คสวาเกน (Volk Swagen)ทะเบียน ฮต 8822 กทม. รวมมูลค่าทั้งสิ้น 20,473,000 บาท
โดยกรณีสืบเนื่องจากหลังเกิดเหตุคนร้ายบุกปล้นบ้านนายสุพจน์ ในซอยลาดพร้าว 64 เมื่อค่ำวันที่ 12 พ.ย.54 ซึ่งผู้ที่ร่วมทำผิดคดีอาญาได้ให้การเกี่ยวกับทรัพย์สินว่า พบเงินสดในบ้านนายสุพจน์ นับร้อยล้านบาท โดยนายสุพจน์ ไม่สามารถชี้แจงที่มาของเงิน 17 ล้านบาทเศษ และรถโฟล์คสวาเกน ทะเบียน ฮต 8822 กทม.ได้
ขณะที่ “นายสุพจน์” ได้ประกันตัวไปในชั้นอุทธรณ์ ด้วยหลักทรัพย์ที่ศาลตีราคาประกัน 2 ล้านบาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากศาล
โดย องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาแล้ว มีมติเสียงข้างมาก เห็นว่า ตามกฎหมายป.ป.ช. พ.ศ.2542 ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและเอกสารประกอบนั้น เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์มิชอบ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินทั้ง 2 รายการ ทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ควรต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แต่กระทำผิดเสียเอง จึงนับว่าพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง แม้ผู้คัดค้านไม่เคยกระทำผิดมาก่อน และเคยประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติหน้าที่ราชการจนได้รับตำแหน่งระดับสูง ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้รอการลงโทษ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนให้จำคุก 10 เดือน และห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 5 ปี โดยให้ออกหมายจับ ผู้คัดค้านตามคำพิพากษาถึงที่สุดและให้คืนหลักประกัน 2 ล้านบาท กับผู้คัดค้าน
ภายหลัง เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ควบคุมตัว นายสุพจน์ ขึ้นรถเรือนจำ ไปควบคุมต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อรับโทษตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว