อคส. เตรียมชง นบข. พิจารณาวิธีคำนวณเรียกค่าเสียหายข้าวสต๊อกรัฐ 17.76 ล้านตัน หลังขายไปหมดแล้ว แต่การคำนวณแบบเดิม ไม่มีค่าเช่าคลัง ค่ารมยา ทำให้รัฐได้เงินคืนแค่ 9 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ควรได้มากกว่านี้ ส่วนการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ยื่นโนติส ครบ 244 สัญญา ส่วนใหญ่ไม่ยอมจ่าย ยึดหนังสือค้ำประกันแล้ว 50 ราย เป็นเงิน 465 ล้าน แต่เจอกรุงไทยท้วง เล็งชง "วิษณุ" ชี้ขาด ยึดไม่ยึด เหตุทำให้คู่สัญญาขาดสภาพคล่อง จนไม่มีเงินซื้อข้าวเปลือก
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) วันที่ 22 ต.ค.ฯ องค์การคลังสินค้า (อคส.) จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาการคำนวณมูลค่าความเสียหายของข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ปริมาณ 17.76 ล้านตัน ภายหลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้ระบายออกจนหมด และได้เงินส่งคืนกระทรวงการคลังแล้ว มูลค่า 146,000 ล้านบาท โดยเห็นว่าวิธีการคำนวณความเสียหาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์การคำนวณตามมติของ นบข. ในเบื้องต้น จะทำให้รัฐได้รับเงินชดเชยจากคู่สัญญา ทั้งเจ้าของคลังสินค้าที่รัฐเช่าเพื่อฝากเก็บข้าวสาร และ บริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวเยอร์) เป็นวงเงินที่น้อยเกินไป หรือเรียกค่าเสียหายได้ประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยไปจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ทั้งนี้ ความเสียหายที่คำนวณได้นั้น คำนวณมาจาก ราคากลางของข้าวสารในสต๊อก หักราคาขาย โดยได้ค่าส่วนต่างที่คู่สัญญาต้องจ่ายให้ อคส. เช่น ราคากลางของข้าวสาร เฉลี่ยตันละ 10,000 บาท ขายได้จริง ตันละ 8,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,000 บาท คู่สัญญาต้องจ่ายให้กับ อคส. ตันละ 2,000 บาท แต่ อคส. จะเสนอให้ที่ประชุม นบข. พิจารณาการนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ เช่น ค่าเช่าคลังเก็บข้าวสาร ค่าดูแลรักษาสภาพข้าว เช่น ค่ารมยา มาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้มูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก และคู่สัญญาต้องชดใช้ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ นบข. ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
สำหรับความคืบหน้าการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่สัญญาของ อคส. ภายในสิ้นปี 2561 ทั้งเจ้าของคลังสินค้า และเซอร์เวเยอร์ ที่ทำผิดสัญญาโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2554-57 จนรัฐเกิดความเสียหาย อคส. ได้ส่งหนังสือทวงถาม (โนติส) ไปยังคู่สัญญาทั้งหมด 244 สัญญา ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 61 ซึ่งคู่สัญญาส่วนใหญ่โต้แย้งที่จะชดใช้ความเสียหาย เพราะอ้างว่าไม่ได้ทำผิดสัญญา แต่ข้าวสารในสต๊อกเสื่อมเองตามสภาพ และระยะเวลาที่เก็บนาน ซึ่ง อคส. ได้ยึดหนังสือค้ำประกันสัญญา (แอล/จี) ไว้แล้ว 50 กว่าราย วงเงิน 465 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นแอล/จี ของธนาคารกรุงไทย
อย่างไรก็ตาม อคส. ได้รับการชี้แจงจากธนาคารกรุงไทยว่า การยึด แอล/จี โดยที่ศาลยังไม่ตัดสินว่าคู่สัญญารายนั้นมีความผิดจริง ธนาคารจะถือว่า แอล/จี ที่ อคส. ยึดไปนั้นเป็นเงินกู้ ไม่ใช่แอล/จี เช่น อคส. ยึดแอล/จี 15 ล้านบาท เงินจำนวน 15 ล้านบาท ทางธนาคารจะถือว่าเป็นเงินกู้ และจะเรียกให้คู่สัญญารายนั้นมาชำระเงินกู้ โดยคิดดอกเบี้ยตามราคาตลาด หากคู่สัญญาไม่สามารถหาเงินก้อนมาชำระได้ทั้งหมด ก็ต้องกู้เงินก้อนใหม่ไปเรื่อยๆ และอาจทำให้ขาดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ หรือไม่มีเงินซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่ผลผลิตข้าวเปลือกนาปีกำลังเริ่มออกสู่ตลาด อาจทำให้ชาวนาได้รับผลกระทบได้ ขณะเดียวกัน หาก อคส. ยึดแอล/จี แล้ว และภายหลังศาลตัดสินว่า คู่สัญญารายนั้นไม่มีความผิด อคส. ต้องคืนเงินให้คู่สัญญา พร้อมดอกเบี้ยค่าปรับด้วย
ดังนั้น พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) อคส. ได้สั่งการให้ อคส. สรุปข้อดี ข้อเสีย ของการยึด และไม่ยึด แอล/จี มาให้พิจารณาโดยเร็ว จากนั้นจะนำเสนอ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา และหากมีมติอย่างไร หรือต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป แต่ก็มีแนวโน้มว่า อคส. น่าจะเลือกการฟ้องร้องทางแพ่งคู่สัญญาโดยตรงแบบเต็มจำนวน โดยที่ไม่ยึด แอล/จี ก่อน
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) วันที่ 22 ต.ค.ฯ องค์การคลังสินค้า (อคส.) จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาการคำนวณมูลค่าความเสียหายของข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ปริมาณ 17.76 ล้านตัน ภายหลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้ระบายออกจนหมด และได้เงินส่งคืนกระทรวงการคลังแล้ว มูลค่า 146,000 ล้านบาท โดยเห็นว่าวิธีการคำนวณความเสียหาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์การคำนวณตามมติของ นบข. ในเบื้องต้น จะทำให้รัฐได้รับเงินชดเชยจากคู่สัญญา ทั้งเจ้าของคลังสินค้าที่รัฐเช่าเพื่อฝากเก็บข้าวสาร และ บริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวเยอร์) เป็นวงเงินที่น้อยเกินไป หรือเรียกค่าเสียหายได้ประมาณ 90,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยไปจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ทั้งนี้ ความเสียหายที่คำนวณได้นั้น คำนวณมาจาก ราคากลางของข้าวสารในสต๊อก หักราคาขาย โดยได้ค่าส่วนต่างที่คู่สัญญาต้องจ่ายให้ อคส. เช่น ราคากลางของข้าวสาร เฉลี่ยตันละ 10,000 บาท ขายได้จริง ตันละ 8,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,000 บาท คู่สัญญาต้องจ่ายให้กับ อคส. ตันละ 2,000 บาท แต่ อคส. จะเสนอให้ที่ประชุม นบข. พิจารณาการนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ เช่น ค่าเช่าคลังเก็บข้าวสาร ค่าดูแลรักษาสภาพข้าว เช่น ค่ารมยา มาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้มูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก และคู่สัญญาต้องชดใช้ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ นบข. ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
สำหรับความคืบหน้าการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่สัญญาของ อคส. ภายในสิ้นปี 2561 ทั้งเจ้าของคลังสินค้า และเซอร์เวเยอร์ ที่ทำผิดสัญญาโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2554-57 จนรัฐเกิดความเสียหาย อคส. ได้ส่งหนังสือทวงถาม (โนติส) ไปยังคู่สัญญาทั้งหมด 244 สัญญา ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 61 ซึ่งคู่สัญญาส่วนใหญ่โต้แย้งที่จะชดใช้ความเสียหาย เพราะอ้างว่าไม่ได้ทำผิดสัญญา แต่ข้าวสารในสต๊อกเสื่อมเองตามสภาพ และระยะเวลาที่เก็บนาน ซึ่ง อคส. ได้ยึดหนังสือค้ำประกันสัญญา (แอล/จี) ไว้แล้ว 50 กว่าราย วงเงิน 465 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นแอล/จี ของธนาคารกรุงไทย
อย่างไรก็ตาม อคส. ได้รับการชี้แจงจากธนาคารกรุงไทยว่า การยึด แอล/จี โดยที่ศาลยังไม่ตัดสินว่าคู่สัญญารายนั้นมีความผิดจริง ธนาคารจะถือว่า แอล/จี ที่ อคส. ยึดไปนั้นเป็นเงินกู้ ไม่ใช่แอล/จี เช่น อคส. ยึดแอล/จี 15 ล้านบาท เงินจำนวน 15 ล้านบาท ทางธนาคารจะถือว่าเป็นเงินกู้ และจะเรียกให้คู่สัญญารายนั้นมาชำระเงินกู้ โดยคิดดอกเบี้ยตามราคาตลาด หากคู่สัญญาไม่สามารถหาเงินก้อนมาชำระได้ทั้งหมด ก็ต้องกู้เงินก้อนใหม่ไปเรื่อยๆ และอาจทำให้ขาดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ หรือไม่มีเงินซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่ผลผลิตข้าวเปลือกนาปีกำลังเริ่มออกสู่ตลาด อาจทำให้ชาวนาได้รับผลกระทบได้ ขณะเดียวกัน หาก อคส. ยึดแอล/จี แล้ว และภายหลังศาลตัดสินว่า คู่สัญญารายนั้นไม่มีความผิด อคส. ต้องคืนเงินให้คู่สัญญา พร้อมดอกเบี้ยค่าปรับด้วย
ดังนั้น พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) อคส. ได้สั่งการให้ อคส. สรุปข้อดี ข้อเสีย ของการยึด และไม่ยึด แอล/จี มาให้พิจารณาโดยเร็ว จากนั้นจะนำเสนอ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา และหากมีมติอย่างไร หรือต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป แต่ก็มีแนวโน้มว่า อคส. น่าจะเลือกการฟ้องร้องทางแพ่งคู่สัญญาโดยตรงแบบเต็มจำนวน โดยที่ไม่ยึด แอล/จี ก่อน