ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี เป็นช่วงที่คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องชาวภาคใต้จะต้องเฝ้าระวังพายุถล่มเป็นพิเศษ ผมเองได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากส่วนหนึ่งก็เพราะว่าได้ประสบมากับตัวเองจากเหตุการณ์วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 900 คน ในวันนั้นผมมีอายุ 12 ขวบ อยู่ห่างจากแหลมตะลุมพุกเพียง 5 กิโลเมตร เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ทีไร ผมยังเห็นภาพศพจำนวนมากติดตาอยู่ทุกครั้ง
ต้องขออภัยที่ผมนำเรื่องที่ออกจะเป็นส่วนตัวขึ้นมาเขียนเพราะมันลืมไม่ลงเมื่อพูดถึงเรื่องในทำนองนี้ นอกจากนี้ตำแหน่งบ้านหลังที่ผมเกิดก็ได้กลายเป็นทะเลไปนานแล้วเพราะการกัดเซาะชายฝั่ง
เรื่องที่ผมจะนำมาเสนอในบทความนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดพายุตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่เกิดขึ้นถี่กว่าสมัยที่ผมยังเป็นเด็กเยอะเลย เฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนนี้ เช่น คลื่นความร้อนที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป ฝนตกหนักจนเขื่อนแตกในลาว ไฟป่าครั้งใหญ่แล้วใหญ่อีกที่สหรัฐอเมริกา พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ และล่าสุดแผ่นดินไหวและสึนามิในอินโดนีเซียซึ่งพบศพแล้วกว่า 1,600 คน และสูญหายอีกกว่า 1,000 คน เป็นต้น
ประเด็นที่ผมสนใจมาจากผลงานวิจัยที่ผมเคยอ่านเจอเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว จัดทำโดยบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ และใหญ่เป็นอันดับหกของโลก-แต่ผมจำชื่อไม่ได้ พบว่า “ถ้าอุณหภูมิของผิวน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โอกาสที่จะเกิดพายุในระดับรุนแรงจะเพิ่มขึ้น 31%”
ถ้าคิดกันด้วยเหตุผลธรรมดาๆ การที่อุณหภูมิของผิวน้ำเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณน้ำระเหยมากขึ้น ฝนจึงตกมากขึ้น แต่ถ้าคิดอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของน้ำที่ผิวกับที่ส่วนลึกความเร็วลม ความกดอากาศ ความเค็ม ความเอียงของโลก และรูปทรงเรขาคณิตของแผ่นดิน ตลอดจนกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นจะทำให้มหาสมุทรเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและยังลึกลับมากครับ
แต่ก่อนจะไปว่ากันถึงสิ่งที่เข้าใจยาก เรามารับรู้ความจริงง่ายๆ แต่สำคัญด้วย 2 ภาพต่อไปนี้ครับ
ภาพแรก เป็นปริมาณความร้อนที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งร้อยละ 72 เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล) และทำหน้าที่เป็นผ้าห่มโลกได้กักเก็บความร้อนไว้ ความร้อนดังกล่าวนั้นได้กระจายตัวไปอยู่ที่ไหนบ้าง
จากบทความของ Roz Pidcock ใน Ecowatch ได้สรุปว่า ร้อยละ 93 ของความร้อนจะถูกสะสมไว้ในมหาสมุทร ดังนั้น “ถ้าเราต้องการจะรู้เรื่องโลกร้อน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจการร้อนขึ้นของมหาสมุทรให้ถ่องแท้” ความร้อนที่เหลืออีก 7% จะกระจายตัวอยู่ดังในภาพข้างล่างครับ (https://www.ecowatch.com/ocean-warming-quadrupled-2312784625.html)

ภาพที่สอง เปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวน้ำ (ที่ความลึก 0-2,000 เมตร) ในเดือนกันยายนของปี 1950 กับเดือนเดียวกันของปี 2015 หรือ 65 ปีผ่านไป โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 1961 ถึง 1991 ไม่ใช่เปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมที่เรามักคุ้นเคย

ดูคร่าวๆ เพื่อให้เกิดความคิดนะครับ ที่เห็นสีแดงเถือกไปเกือบหมดในรูปขวามือของภาพ ก็แสดงว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ระดับผิวสูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดพายุในระดับรุนแรงก็มากขึ้น ตามที่กล่าวมาแล้ว
ที่ผ่านๆ มา การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรมีจำนวนสถานีไม่มากพอ เนื่องจากมหาสมุทรกว้างขวางมาก งานวิจัยชิ้นนี้ได้เพิ่มจำนวนสถานีและบูรณาการข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เข้าด้วยกัน
มาวันนี้งานวิจัยใหม่ซึ่งเพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2017 (Journal Science Advances, Vol. 3, no. 3 ชื่อ Improved estimates of ocean heat content from 1960 to 2015) ได้ข้อสรุปที่สำคัญ 2 ประการ
หนึ่ง ผลการประเมินที่จัดทำโดยหน่วยงาน IPCC AR5 (การประเมินในรายงานครั้งที่ 5 ขององค์การสหประชาชาติ) ได้ประเมินอัตราการร้อนขึ้นของมหาสมุทรต่ำกว่าผลงานวิจัยใหม่นี้ประมาณ 10-15%
สองอัตราการเพิ่มของปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่ในชั้นบนของมหาสมุทร (ระดับ 0-700 เมตร-สีน้ำเงิน) ในช่วงปี 1991 ถึง 2015 จะเท่ากับ 4 เท่าของอัตราการเพิ่มในช่วงปี 1955 ถึง 1990
ในขณะที่ในบริเวณน้ำลึก (ระดับ 700-2,000 เมตร-สีแดง) อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณความร้อนดังกล่าวในช่วง 23 ปีสุดท้ายเท่ากับ 9 เท่าของช่วงปี 1955 ถึง 1990 ดังภาพ

ขอย้ำนะครับว่า ผลวิจัยใหม่ข้อที่สองนี้เป็นอัตราการเพิ่ม ไม่ใช่ปริมาณความร้อน
ด้วยเหตุนี้ ผลการพยากรณ์ว่า ถ้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราเท่านั้น เท่านี้ แล้วจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี ค.ศ. 2100 ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริงไปมากเพราะไปใช้อัตราการเพิ่มที่ต่ำมาคำนวณ
นั่นหมายความว่า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งความถี่และความรุนแรงก็จะต่ำกว่าความเป็นจริงไปมากด้วย มนุษยชาติจึงตกอยู่ในความประมาทอย่างมากโดยไม่รู้ตัว
ผมเคยนำเสนอข้อมูลจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ก็ขออีกครั้งดังภาพครับ โดยแยกเรื่องแผ่นดินไหวออกมาออกมาต่างหากด้วย

ที่น่าแปลกใจมากก็คือ นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธรณีวิทยาเชื่อว่า การเกิดของแผ่นดินไหวไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาโลกร้อนแต่ประการใด แต่เกิดจากโครงสร้างของเปลือกโลกที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” แต่ข้อมูลจริงในภาพนี้ (ซ้ายมือล่าง) พบว่า จำนวนครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวก็เพิ่มขึ้นตามเวลาเช่นเดียวกับกรณีน้ำท่วม ไฟป่า และทุกประเภทรวมกัน
ผมเชื่อเรื่องนี้คงต้องมีการศึกษากันให้ละเอียดต่อไป
ที่กล่าวมาแล้วเป็นข้อมูลเชิงสถิติโดยรวมของโลกครับ แต่เมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคม 2561 ที่ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ที่เรียกว่า IPCC) ระหว่างผู้แทนรัฐบาลร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ องค์กรที่ชื่อว่า “องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก” (The World Meteorological Organization-WMO) ได้โพสต์ข้อความใน Twitter ว่า “อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศเกาหลีใต้สูงกว่าเมื่อ 100 ปีก่อนถึง 1.4 องศาเซลเซียสแล้ว ฤดูร้อนนานกว่าเดิม 19 วัน และปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น 11%”
นี่เป็นของจริงที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี 2018 นะครับ แล้วในอนาคตจะสูงถึงเท่าใดกัน

และที่สำคัญกว่าก็คือ ข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2558 ที่จะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงไม่เกิน 2 องศาในปี 2100 เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้น เมื่อมาถึงปี 2561 กำลังจะถูกปรับลงมาเหลือไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสแล้วนั่นหมายความว่าชาวโลกจะต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้มากกว่าที่ได้เคยตกลงไว้แต่เดิม
เท่าที่ผมได้ติดตามเรื่องพลังงานหมุนเวียนมาอย่างใกล้ชิด มนุษยชาติสามารถปฏิบัติลดการปล่อยก๊าซฯ ได้อย่างแน่นอน นอกจากจะไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังมีราคาถูกลงและจะมีการจ้างงานมากขึ้นด้วย ผู้ที่จะสูญเสียก็มีเฉพาะพวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลที่ล้าหลังและเห็นแก่ตัวเท่านั้นเองครับ
ต้องขออภัยที่ผมนำเรื่องที่ออกจะเป็นส่วนตัวขึ้นมาเขียนเพราะมันลืมไม่ลงเมื่อพูดถึงเรื่องในทำนองนี้ นอกจากนี้ตำแหน่งบ้านหลังที่ผมเกิดก็ได้กลายเป็นทะเลไปนานแล้วเพราะการกัดเซาะชายฝั่ง
เรื่องที่ผมจะนำมาเสนอในบทความนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดพายุตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่เกิดขึ้นถี่กว่าสมัยที่ผมยังเป็นเด็กเยอะเลย เฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนนี้ เช่น คลื่นความร้อนที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป ฝนตกหนักจนเขื่อนแตกในลาว ไฟป่าครั้งใหญ่แล้วใหญ่อีกที่สหรัฐอเมริกา พายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ และล่าสุดแผ่นดินไหวและสึนามิในอินโดนีเซียซึ่งพบศพแล้วกว่า 1,600 คน และสูญหายอีกกว่า 1,000 คน เป็นต้น
ประเด็นที่ผมสนใจมาจากผลงานวิจัยที่ผมเคยอ่านเจอเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว จัดทำโดยบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ และใหญ่เป็นอันดับหกของโลก-แต่ผมจำชื่อไม่ได้ พบว่า “ถ้าอุณหภูมิของผิวน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส โอกาสที่จะเกิดพายุในระดับรุนแรงจะเพิ่มขึ้น 31%”
ถ้าคิดกันด้วยเหตุผลธรรมดาๆ การที่อุณหภูมิของผิวน้ำเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณน้ำระเหยมากขึ้น ฝนจึงตกมากขึ้น แต่ถ้าคิดอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของน้ำที่ผิวกับที่ส่วนลึกความเร็วลม ความกดอากาศ ความเค็ม ความเอียงของโลก และรูปทรงเรขาคณิตของแผ่นดิน ตลอดจนกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นจะทำให้มหาสมุทรเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและยังลึกลับมากครับ
แต่ก่อนจะไปว่ากันถึงสิ่งที่เข้าใจยาก เรามารับรู้ความจริงง่ายๆ แต่สำคัญด้วย 2 ภาพต่อไปนี้ครับ
ภาพแรก เป็นปริมาณความร้อนที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งร้อยละ 72 เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล) และทำหน้าที่เป็นผ้าห่มโลกได้กักเก็บความร้อนไว้ ความร้อนดังกล่าวนั้นได้กระจายตัวไปอยู่ที่ไหนบ้าง
จากบทความของ Roz Pidcock ใน Ecowatch ได้สรุปว่า ร้อยละ 93 ของความร้อนจะถูกสะสมไว้ในมหาสมุทร ดังนั้น “ถ้าเราต้องการจะรู้เรื่องโลกร้อน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจการร้อนขึ้นของมหาสมุทรให้ถ่องแท้” ความร้อนที่เหลืออีก 7% จะกระจายตัวอยู่ดังในภาพข้างล่างครับ (https://www.ecowatch.com/ocean-warming-quadrupled-2312784625.html)
ภาพที่สอง เปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวน้ำ (ที่ความลึก 0-2,000 เมตร) ในเดือนกันยายนของปี 1950 กับเดือนเดียวกันของปี 2015 หรือ 65 ปีผ่านไป โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 1961 ถึง 1991 ไม่ใช่เปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมที่เรามักคุ้นเคย
ดูคร่าวๆ เพื่อให้เกิดความคิดนะครับ ที่เห็นสีแดงเถือกไปเกือบหมดในรูปขวามือของภาพ ก็แสดงว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ระดับผิวสูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดพายุในระดับรุนแรงก็มากขึ้น ตามที่กล่าวมาแล้ว
ที่ผ่านๆ มา การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรมีจำนวนสถานีไม่มากพอ เนื่องจากมหาสมุทรกว้างขวางมาก งานวิจัยชิ้นนี้ได้เพิ่มจำนวนสถานีและบูรณาการข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เข้าด้วยกัน
มาวันนี้งานวิจัยใหม่ซึ่งเพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2017 (Journal Science Advances, Vol. 3, no. 3 ชื่อ Improved estimates of ocean heat content from 1960 to 2015) ได้ข้อสรุปที่สำคัญ 2 ประการ
หนึ่ง ผลการประเมินที่จัดทำโดยหน่วยงาน IPCC AR5 (การประเมินในรายงานครั้งที่ 5 ขององค์การสหประชาชาติ) ได้ประเมินอัตราการร้อนขึ้นของมหาสมุทรต่ำกว่าผลงานวิจัยใหม่นี้ประมาณ 10-15%
สองอัตราการเพิ่มของปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่ในชั้นบนของมหาสมุทร (ระดับ 0-700 เมตร-สีน้ำเงิน) ในช่วงปี 1991 ถึง 2015 จะเท่ากับ 4 เท่าของอัตราการเพิ่มในช่วงปี 1955 ถึง 1990
ในขณะที่ในบริเวณน้ำลึก (ระดับ 700-2,000 เมตร-สีแดง) อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณความร้อนดังกล่าวในช่วง 23 ปีสุดท้ายเท่ากับ 9 เท่าของช่วงปี 1955 ถึง 1990 ดังภาพ
ขอย้ำนะครับว่า ผลวิจัยใหม่ข้อที่สองนี้เป็นอัตราการเพิ่ม ไม่ใช่ปริมาณความร้อน
ด้วยเหตุนี้ ผลการพยากรณ์ว่า ถ้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราเท่านั้น เท่านี้ แล้วจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี ค.ศ. 2100 ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริงไปมากเพราะไปใช้อัตราการเพิ่มที่ต่ำมาคำนวณ
นั่นหมายความว่า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งความถี่และความรุนแรงก็จะต่ำกว่าความเป็นจริงไปมากด้วย มนุษยชาติจึงตกอยู่ในความประมาทอย่างมากโดยไม่รู้ตัว
ผมเคยนำเสนอข้อมูลจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ก็ขออีกครั้งดังภาพครับ โดยแยกเรื่องแผ่นดินไหวออกมาออกมาต่างหากด้วย
ที่น่าแปลกใจมากก็คือ นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธรณีวิทยาเชื่อว่า การเกิดของแผ่นดินไหวไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาโลกร้อนแต่ประการใด แต่เกิดจากโครงสร้างของเปลือกโลกที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” แต่ข้อมูลจริงในภาพนี้ (ซ้ายมือล่าง) พบว่า จำนวนครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวก็เพิ่มขึ้นตามเวลาเช่นเดียวกับกรณีน้ำท่วม ไฟป่า และทุกประเภทรวมกัน
ผมเชื่อเรื่องนี้คงต้องมีการศึกษากันให้ละเอียดต่อไป
ที่กล่าวมาแล้วเป็นข้อมูลเชิงสถิติโดยรวมของโลกครับ แต่เมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคม 2561 ที่ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ที่เรียกว่า IPCC) ระหว่างผู้แทนรัฐบาลร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ องค์กรที่ชื่อว่า “องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก” (The World Meteorological Organization-WMO) ได้โพสต์ข้อความใน Twitter ว่า “อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศเกาหลีใต้สูงกว่าเมื่อ 100 ปีก่อนถึง 1.4 องศาเซลเซียสแล้ว ฤดูร้อนนานกว่าเดิม 19 วัน และปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น 11%”
นี่เป็นของจริงที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี 2018 นะครับ แล้วในอนาคตจะสูงถึงเท่าใดกัน
และที่สำคัญกว่าก็คือ ข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2558 ที่จะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงไม่เกิน 2 องศาในปี 2100 เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้น เมื่อมาถึงปี 2561 กำลังจะถูกปรับลงมาเหลือไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสแล้วนั่นหมายความว่าชาวโลกจะต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้มากกว่าที่ได้เคยตกลงไว้แต่เดิม
เท่าที่ผมได้ติดตามเรื่องพลังงานหมุนเวียนมาอย่างใกล้ชิด มนุษยชาติสามารถปฏิบัติลดการปล่อยก๊าซฯ ได้อย่างแน่นอน นอกจากจะไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังมีราคาถูกลงและจะมีการจ้างงานมากขึ้นด้วย ผู้ที่จะสูญเสียก็มีเฉพาะพวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลที่ล้าหลังและเห็นแก่ตัวเท่านั้นเองครับ